หัวใจสำคัญของประเทศไทย 4.0 คือ
- การปรับเปลี่ยนเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่การขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม
- การปรับเปลี่ยนการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ไปสู่สินค้าเชิงนวัตกรรม
- การปรับเปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
- การปรับเปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้าไปสู่ภาคบริการมากขึ้น
ภาคธุรกิจเอกชน โดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่มองเห็นแนวโน้มนี้มาก่อนแล้ว หลายองค์กรอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมและเทคโนโลยี โดยมีการนำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 มาใช้ในระบบการผลิตและบริการมากขึ้น
โดยศูนย์วิจัยธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ศึกษาและวิเคราะห์ พร้อมระบุว่า ประเทศไทยมีโอกาสและศักยภาพในการเป็นผู้ผลิตหุ่นยนต์ภาคบริการ แม้ยังเป็นตลาดที่ค่อนข้างเล็กในภูมิภาคเอเชีย นอกจากนี้ยังมีความพร้อมทางด้านทักษะเชิงเทคนิคของบุคลากรในประเทศ ที่จะสามารถต่อยอดและพัฒนาหุ่นยนต์บริการในระดับโลกได้ หากได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง ก็มีโอกาสที่จะพัฒนาหุ่นยนต์ให้ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ได้ ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่ช่วยสร้างโอกาสให้กับวงการอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ไทยในระยะต่อไป
รัฐบาลจึงตอบรับที่จะสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาด้านหุ่นยนต์อย่างจริงจัง และมีเป้าหมายที่จะยกระดับประเทศไทยไปสู่การเป็นเจ้าของเทคโนโลยีและผู้ผลิตส่งออกหุ่นยนต์อุตสาหกรรม โดยได้ประกาศจัดตั้งเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ในพื้นที่ของโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC
ล่าสุดสำนักงานคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (กรศ.) ได้มอบหมายให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) จัดหาพื้นที่ในนิคมฯ ที่อยู่ในเขต EEC ซึ่งได้เลือก นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง และนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จ.ชลบุรี และได้หารือกับเอกชนนำร่อง 2 ราย คือ กลุ่มบริษัทอมตะ ซึ่งมีนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จ.ชลบุรี และนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จ.ระยอง และกลุ่ม WHA ซึ่งมีนิคมอุตสาหกรรมเหมราช เพื่อจัดหาพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 500 ไร่ สำหรับเป็นโมเดลตัวอย่างรองรับการลงทุนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์
แต่การพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์จะไม่ครบสมบูรณ์ หากไม่มีการพัฒนาบุคลากร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องรองรับ ที่ผ่านมากระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้ลงนามความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา 8 แห่ง เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อผลิตบุคลากรรองรับการพัฒนาที่จะเกิดขึ้น
นอกจากนี้ยังลงนามความร่วมมือกับเอกชนใหญ่ ๆ หลายราย เช่น บริษัท เอสซีจี จำกัด (มหาชน) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เพื่อช่วยดึงดูดการลงทุนทั้งจากในประเทศและนอกประเทศเข้ามาในพื้นที่ EEC มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีนักลงทุนต่างชาติที่สนใจเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน จีน และเยอรมนี
เป้าหมายของรัฐบาลที่จะยกระดับประเทศไทยไปสู่ภาคการผลิตหุ่นยนต์ได้เอง และก้าวขึ้นเป็นเจ้าของเทคโนโลยีและผู้ผลิตส่งออกหุ่นยนต์อุตสาหกรรมในอนาคต ไม่ใช่เรื่องไกลเกินเอื้อม เพราะวันนี้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่ารัฐ เอกชน สถาบันการศึกษาค้นคว้าวิจัย ฯลฯ ได้ร่วมมือกันอย่างเข้มแข็ง รวดเร็ว จริงจัง ด้วยเล็งเห็นว่ากลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ไม่เพียงเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต แก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานไร้ฝีมือในภาคอุตสาหกรรมที่กำลังจะเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคตอันใกล้นี้ แต่ยังช่วยยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน และเป็นคำตอบของการเข้าสู่เศรษฐกิจยุค 4.0
หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ อุตสาหกรรมสนับสนุน ดึงดูดการลงทุนสู่ EEC
- การปรับเปลี่ยนเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่การขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม
- การปรับเปลี่ยนการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ไปสู่สินค้าเชิงนวัตกรรม
- การปรับเปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
- การปรับเปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้าไปสู่ภาคบริการมากขึ้น
ภาคธุรกิจเอกชน โดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่มองเห็นแนวโน้มนี้มาก่อนแล้ว หลายองค์กรอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมและเทคโนโลยี โดยมีการนำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 มาใช้ในระบบการผลิตและบริการมากขึ้น
โดยศูนย์วิจัยธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ศึกษาและวิเคราะห์ พร้อมระบุว่า ประเทศไทยมีโอกาสและศักยภาพในการเป็นผู้ผลิตหุ่นยนต์ภาคบริการ แม้ยังเป็นตลาดที่ค่อนข้างเล็กในภูมิภาคเอเชีย นอกจากนี้ยังมีความพร้อมทางด้านทักษะเชิงเทคนิคของบุคลากรในประเทศ ที่จะสามารถต่อยอดและพัฒนาหุ่นยนต์บริการในระดับโลกได้ หากได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง ก็มีโอกาสที่จะพัฒนาหุ่นยนต์ให้ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ได้ ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่ช่วยสร้างโอกาสให้กับวงการอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ไทยในระยะต่อไป
รัฐบาลจึงตอบรับที่จะสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาด้านหุ่นยนต์อย่างจริงจัง และมีเป้าหมายที่จะยกระดับประเทศไทยไปสู่การเป็นเจ้าของเทคโนโลยีและผู้ผลิตส่งออกหุ่นยนต์อุตสาหกรรม โดยได้ประกาศจัดตั้งเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ในพื้นที่ของโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC
ล่าสุดสำนักงานคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (กรศ.) ได้มอบหมายให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) จัดหาพื้นที่ในนิคมฯ ที่อยู่ในเขต EEC ซึ่งได้เลือก นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง และนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จ.ชลบุรี และได้หารือกับเอกชนนำร่อง 2 ราย คือ กลุ่มบริษัทอมตะ ซึ่งมีนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จ.ชลบุรี และนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จ.ระยอง และกลุ่ม WHA ซึ่งมีนิคมอุตสาหกรรมเหมราช เพื่อจัดหาพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 500 ไร่ สำหรับเป็นโมเดลตัวอย่างรองรับการลงทุนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์
แต่การพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์จะไม่ครบสมบูรณ์ หากไม่มีการพัฒนาบุคลากร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องรองรับ ที่ผ่านมากระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้ลงนามความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา 8 แห่ง เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อผลิตบุคลากรรองรับการพัฒนาที่จะเกิดขึ้น
นอกจากนี้ยังลงนามความร่วมมือกับเอกชนใหญ่ ๆ หลายราย เช่น บริษัท เอสซีจี จำกัด (มหาชน) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เพื่อช่วยดึงดูดการลงทุนทั้งจากในประเทศและนอกประเทศเข้ามาในพื้นที่ EEC มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีนักลงทุนต่างชาติที่สนใจเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน จีน และเยอรมนี
เป้าหมายของรัฐบาลที่จะยกระดับประเทศไทยไปสู่ภาคการผลิตหุ่นยนต์ได้เอง และก้าวขึ้นเป็นเจ้าของเทคโนโลยีและผู้ผลิตส่งออกหุ่นยนต์อุตสาหกรรมในอนาคต ไม่ใช่เรื่องไกลเกินเอื้อม เพราะวันนี้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่ารัฐ เอกชน สถาบันการศึกษาค้นคว้าวิจัย ฯลฯ ได้ร่วมมือกันอย่างเข้มแข็ง รวดเร็ว จริงจัง ด้วยเล็งเห็นว่ากลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ไม่เพียงเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต แก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานไร้ฝีมือในภาคอุตสาหกรรมที่กำลังจะเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคตอันใกล้นี้ แต่ยังช่วยยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน และเป็นคำตอบของการเข้าสู่เศรษฐกิจยุค 4.0