กว่าจะได้ไปถึงส่วนยอดภูเขาหิมะฮาปา มีอุปสรรคสำหรับคนไทยอยู่ไม่ใช่น้อย(ภาพจากอินเตอร์เน็ต)
ความเดิมจากตอนที่แล้ว:
https://ppantip.com/topic/37035010
จากที่ได้เกริ่นไว้ในตอนก่อน ๆ แล้วว่า การเดินทางไปภูเขาหิมะฮาปาสำหรับคนไทยแล้ว สะดวกสบายและรวดเร็ว โดยถ้าใครขึ้นเครื่องบินจากไทยไปคุนหมิง จากนั้นต่อเครื่องบินไปลี่เจียง และจากลี่เจียงก็ต่อรถไปยังหมู่บ้านฮาปา เวลาการเดินทางทั้งหมดจะแค่ 8-10 ชม.เท่านั้น
นอกจากนี้ การคมนาคมแต่ละเมืองยังสะดวก มีทางเลือกให้หลายเส้นทาง จะบิน จะนั่งรถ หรือจะนั่งรถไฟ ระหว่างคุนหมิง-ต้าหลี่-ลี่เจียง ทำได้หมด(เฉพาะการไปหมู่บ้านฮาปาที่ต้องนั่งรถเท่านั้น) โดยเฉพาะการเดินทางโดยรถประจำทาง ซึ่งวันนึงมีหลายรอบให้เราได้เลือกสรร หรือจะเหมารถก็ไม่ยาก มีรถรับจ้างอยู่ทั่วไป
แต่จากประสบการณ์ที่ผมได้เดินทางไปภูเขาหิมะฮาปาเมื่อวันที่ 18-24 ตุลาคม 2017 ที่ผ่านมา ผมพบว่า นอกเหนือจากการเดินทางที่อำนวยความสะดวกให้กับคนไทยเป็นอย่างมากแล้ว ปัจจัยอื่น ๆ กลับค่อนข้างสาหัสสากรรจ์อยู่มิใช่น้อย
บทความเกี่ยวกับภูเขาหิมะฮาปาในตอนนี้ ผมก็เลยจะขอแจกแจงให้เห็นหลาย ๆ ประเด็น(ปัญหา) ที่เพื่อน ๆ นักเดินเขาชาวไทยควรจะพิจารณาก่อนที่จะเดินทางไปยังฮาปานะครับ
ภูเขาหิมะฮาปาอาจจะไม่เหมาะกับคนไทย เพราะ:
1. คนที่หมู่บ้านฮาปาพูดภาษาอังกฤษไม่ได้
สำหรับคนที่รู้ภาษาจีน(กลาง) การไปยังภูเขาหิมะฮาปาจะเป็นเรื่องที่ง่ายดายมาก แต่สำหรับคนไทยที่ไม่รู้ภาษาจีนนั้น บอกได้เลยว่า ลำบากหนัก เพราะชาวหมู่บ้านฮาปาทุกคนที่ผมได้ติดต่อด้วย ไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้เลยแม้แต่น้อย ไม่ว่าจะคนที่ผมติดต่อจองทริปปีนเขา แม่ครัว ไกด์นำทาง และคนอื่น ๆ
จะติดต่อกับซ๊อซื่อเรื่องทริปปีนภูเขาฮาปา ต้องภาษาจีนเท่านั้น
แต่ยังไงเสีย ผมก็ค่อนข้างมั่นใจว่า ขอแค่ไปถึงหมู่บ้านฮาปาได้ ถึงจะสื่อสารด้านภาษากับคนที่นั่นไม่ได้ พวกเราคนไทยก็ยังสามารถผ่านทริปปีนเขานี้ไปได้ด้วยดี แต่อาจจะขลุกขลัก(ไม่)หน่อย เท่านั้นเองครับ (อาจต้องเมื่อยกับภาษามือเล็กน้อย)
2. เปลี่ยนระดับความสูงเร็ว จนปรับตัวแทบไม่ทัน
ทริปปีนภูเขาหิมะฮาปาที่ทางเอเยนต์จัดให้ จะเดินขึ้นเขาแค่สองวันเท่านั้น โดยวันแรก เราต้องเดินขึ้นจากหมู่บ้านฮาปา(2650 เมตร) ไปยังฮาปาเบสแคมป์(4100 เมตร) และวันที่สอง จะเดินจากเบสแคมป์ขึ้นสู่ยอดเขา(5396 เมตร) เรียกว่าเปลี่ยนระดับเร็วเป็นขึ้นลิฟท์กันเลยทีเดียว --"
ยิ่งสูงยิ่งอากาศเบาบาง หายใจกันแทบไม่ทัน
แน่นอนว่า การเปลี่ยนระดับเร็วเช่นนี้ย่อมส่งผลเสียต่อสภาพร่างกายของเราแน่นอน โดยเฉพาะอาการโรคแพ้ที่สูง (altitude sickness) ที่ใครเคยเป็นจะรู้ว่ามันทรมานมาก ขนาดผมที่ผ่านABC กับย่าติง มาแล้ว งวดนี้ยังเล่นเอาแย่ --"
3. ทริปปีนเขาที่นี่ ไม่มีลูกหาบ !
ลูกหาบแทบจะเป็นปัจจัยหลักของทริปปีนเขาต่าง ๆ ไม่ว่าจะที่ไทยหรือที่ประเทศใด ๆ ก็ตาม แต่ที่ฮาปาจะมีแต่ม้า(หรือลา,ล่อ)แบกของให้เราตอนขึ้นจากหมู่บ้านฮาปาไปยังเบสแคมป์เท่านั้น ส่วนการเดินขึ้นพิชิตยอดเขา เราต้องแบกของกันเอาเอง
ไกด์เองก็ต้องแบกอุปกรณ์ส่วนตัวของเขา จึงช่วยเราแบกของเพิ่มไม่ได้
4. แบกของตัวเองก็แย่แล้ว ต้องแบกอุปกรณ์พิเศษเองอีกด้วย !
การปีนภูเขาหิมะ มีความจำเป็นจะต้องมีอุปกรณ์พิเศษมากไปกว่าการปีนเขาปกติทั่วไป เพราะมีความเสี่ยงอันตรายมากกว่า ดังนั้น ทางทีมงานไกด์จะให้อุปกรณ์กับเรา 3 อย่างด้วยกัน คือ หนามเหล็กตะปู(Crampons), ขวานน้ำแข็ง(Ice Axe) และเข็มขัดนิรภัย
ปีนภูเขาหิมะนี่มัน(ตัว)หนักจริง ๆ
น้ำหนักรวมกันของทั้งสามอย่างนี้ ไม่เท่าไหร่หรอกครับ แค่เกือบยี่สิบกิโลเอง --" เรียกว่าทำเอาเพื่อน ๆ กลุ่มผมถอดใจ ทิ้งกล้องDSLRไว้ที่เบสแคมป์ไปตาม ๆ กัน
5. ไกด์หลายคนนิสัยไม่ค่อยจะโอเคนัก
ถึงเราจะไม่มีลูกหาบแบกของขึ้นสู่ยอดเขา แต่ทางเอเยนต์จะจัดไกด์ประกบตัวต่อตัวให้กับพวกเรา ทีมผมมี 12 คน ทางเขาก็จัดไกด์มา 12 คนเช่นกัน ประโยชน์ของไกด์จะเห็นได้ชัด ก็ต่อเมื่อเราไปถึงบริเวณที่เป็นทางหิมะ โดยพวกเขาจะช่วยเราใส่อุปกรณ์เดินหิมะ สอนการเดินบนหิมะ และทั้งดึงทั้งดันเราขึ้นไปบนยอดเขาให้ได้
แต่ก่อนที่เราจะได้รู้ถึงความจำเป็นของพวกเขา สิ่งที่พวกเราต้องประสบก็คือ การปฏิบัติตัวที่ไม่สู้จะดีนัก ทำเอาพวกเรารู้สึกไม่ดี เฟลกันไปตาม ๆ กัน โดนเยอะมากจนลิสต์กันเป็นข้อ ๆ ได้เลยครับ:
– เพื่อนผมใช้ลำโพงบลูทูธฟังเพลงอยู่(หนีบอยู่กับเป้) จู่ ๆ ไกด์คนหนึ่งก็มาดึงไปเชื่อมต่อกับมือถือตัวเองหน้าตาเฉย
– เพื่อนอีกคน เอาขนมลูกอมเวเธอร์(Werther’s) ออกมากิน ไกด์คนนึงเห็น รีบเข้ามาฉกไปทั้งแท่ง ผมไปขอคืน ให้คืนมาเม็ดเดียว -"-
– ไกด์แถวหน้านำทางแบบไม่ค่อยจะรอ ผมมักต้องรีบวิ่งตาม เพื่อจะได้ไม่หลงเส้นทาง
– ส่วนไกด์แถวหลังนี่ ร้องไล่เพื่อนผมที่เดินช้าให้รีบเดิน แถมตอนเดินขึ้นยอดเขายังคอยบอกอีกว่า คุณน่ะ ไม่ไหวแล้ว ลงเขาไปเถอะ เรียกว่าคอยป่วนเพื่อน ๆ ผมไม่หยุดไม่หย่อน
– มีพูดจาลามกกับเพื่อนผู้หญิงของผม พูดต่อหน้าผมที่ฟังภาษาจีนออกหน้าตาเฉย
– ทีมงานไกด์สูบบุหรี่ทุกคน ใครแพ้บุหรี่คงลำบากหน่อย หายใจบนที่สูงก็ลำบากแล้ว ยังต้องมาคอยหลบควันบุหรี่อีก --"
แต่โดยรวม ๆ ผมก็ยังโอเคกับทีมงานไกด์อยู่ หลายคนก็นิสัยดี ผมคิดว่า พวกเขาอาจไม่ชินกับลูกค้าต่างชาติ เลยไม่รู้วิธีปฏิบัติตัวที่เหมาะสมกับพวกเรา คงต้องปรับปรุงกันอีกไม่น้อย ถ้าผมไปอีกรอบ คงต้องย้ำกับเอเยนต์ให้ดูแลเรื่องนี้ให้ดีและเหมาะสมกว่านี้ครับ
6. สภาพความเป็นอยู่บนเบสแคมป์อนาจมาก
นี่ก็เป็นอีกเรื่องที่มีข้อติติงเยอะ จนต้องลิสต์กันหลายข้อ(อีกแล้ว) --"
– บนเบสแคมป์ไม่มีน้ำกับไฟฟ้า
– ที่นอนมีจำกัด ถ้าคนเยอะคงต้องมีกางเต๊นท์นอนกัน
– ที่นอนสะอาดโอเค แต่ถ้าช่วงไฮซีซั่น คงสกปรกพอดู
– ไม่มีน้ำดื่มให้ ต้องรอไกด์ต้มน้ำ ใครไม่มีกระติกน้ำร้อนก็ซวยไป อย่างผมนี่ อดน้ำกันเลย --"
– ห้องน้ำอยู่ไกลจากที่พักมากกก
– แน่นอนว่าสกปรกมากด้วยเช่นกัน(น้ำล้างไม่มี) ประตูก็ปิดไม่ลงอีก
มีแต่ที่นอนที่พอจะโอเค เรื่องอื่นยังต้องปรับปรุง
โชคยังดีที่เราต้องอยู่เบสแคมป์แค่คืนเดียว ก็เชื่อว่าคนไทยคงพออดทนผ่านไปได้ครับ ต้องอดทนกันนิดนึง
7.ขึ้นเขาว่าเหนื่อยแล้ว ตอนลงเหนื่อยเป็นสองเท่า !
แพ๊คเกจปีนเขาสองวันหนึ่งคืนของที่นี่ หมายความว่า เรามีเวลาเดินขึ้นสองวัน และเวลาเดินลงวันเดียว ซึ่งก็คือ ตอนเราเดินลง เราต้องเดินระยะเวลาเท่ากับที่เราเดินขึ้นสองวัน !
ซึ่งเมื่อพิจารณาว่า วันแรกเราเดินขึ้น 8-9 ชม. ส่วนวันที่สองเดินอีก 8-9 ชม. เช่นกัน ถ้าคิดว่า เวลาเดินลง เราต้องใช้เวลาราว ๆ กึ่งหนึ่งของการเดินขึ้น เท่ากับว่า เราต้องเดินลงราว ๆ 9 ชม.
และวันเดินลงนั้น เราต้องลงวันเดียวกับที่เราขึ้นยอดเขา(เดินขึ้นวันที่สอง) เท่ากับว่า ในวันนั้น เราต้องเดินรวมกัน 17-18 ชม. !
กลุ่มผมที่ไปไม่ถึงยอดนั้น วันนั้นเราเดินกันรวม ๆ เกือบ 11 ชม. ก็แทบแย่แล้วครับ (วันนั้นฝนตกด้วย ยิ่งเดินยาก) ถ้าใครมา ผมคงต้องแนะนำว่า วันเดินลง ช่วงระยะจากเบสแคมป์ไปหมู่บ้านฮาปา เช่าม้าน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า(เยอะเลยครับ)
8. ภูเขาฮาปาไม่ได้เดินขึ้นง่ายอย่างที่คิด
ก่อนจะมาที่ฮาปา ภาพในใจของภูเขาฮาปาสำหรับผมก็คือ “ภูเขาหิมะที่ปีนขึ้นถึงยอดได้ง่าย ๆ” แต่เมื่อได้ลองมาปีนเอง ผมถึงได้รู้ว่า มันไม่มีหรอกครับ ภูเขาหิมะที่ปีนถึงยอดได้ง่าย ๆ น่ะ --"
ใช้เวลาปีนแค่สองวันก็ถึงยอด มันฟังดูไม่ยากเย็นอะไร แต่ผมกล้าพูดได้ว่า ที่นี่ไม่ใช่ที่สำหรับมือใหม่ คนที่จะมา ผมแนะนำเลยว่า ควรมีประสบการณ์การเดินขึ้นเขาสูง(ฟูจิ,คินาบาลู,รินจานี,ฯลฯ)มาบ้างก็จะดี นอกจากนี้ก็ควรต้องฟิตร่างกายก่อนที่จะมาด้วยครับ จู่ ๆ มาเลยนี่ ผมว่าจะแย่เอา
นอกจากความยากลำบากในการเดินขึ้นแล้ว(รุ่นพี่ที่เคยไปรินจานีบอกว่า ที่นี่โหดกว่าเยอะมาก) ปัจจัยเรื่องลม(ลมที่นี่แรงมากกก)และหิมะก็ยิ่งเพิ่มความยากลำบากเข้าไปอีก คนที่จะมา ผมแนะนำว่า ถ้าเป็นไปได้ เสื้อผ้าและรองเท้าควรจะเป็นของเกรดดี(เสื้อกันลม, เสื้อหนาว, รองเท้ากันน้ำ,ฯลฯ)
ที่กล่าวมาทั้งหมดก็เป็นอุปสรรคอยู่บ้างสำหรับคนไทยอย่างพวกเรา แต่ผมเชื่อว่า เมื่อทุกคนได้ทราบถึงปัญหาที่ผมได้แจกแจงมา ใครที่จะไปฮาปา ก็คงพอจะหามาตรการป้องกันและบรรเทาปัญหาไปได้บ้างครับ
ในตอนหน้า จะเป็นตอนสุดท้ายแล้วนะครับ ก็จะว่ากันถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่าง ๆ ที่ผมได้มาจากประสบการณ์จริง และจากการค้าหาทางอินเตอร์เน็ตครับ
ภูเขาหิมะฮาปา ตอนที่ 4: ฮาปาเท่าที่รู้
https://ppantip.com/topic/37035270
ภูเขาหิมะฮาปา ตอนที่ 3: ภูเขาหิมะที่คนไทยเดินทางไปพิชิตยอดเขาได้สะดวกที่สุด(แต่อาจจะไม่เหมาะกับคนไทย?)
กว่าจะได้ไปถึงส่วนยอดภูเขาหิมะฮาปา มีอุปสรรคสำหรับคนไทยอยู่ไม่ใช่น้อย(ภาพจากอินเตอร์เน็ต)
ความเดิมจากตอนที่แล้ว: https://ppantip.com/topic/37035010
จากที่ได้เกริ่นไว้ในตอนก่อน ๆ แล้วว่า การเดินทางไปภูเขาหิมะฮาปาสำหรับคนไทยแล้ว สะดวกสบายและรวดเร็ว โดยถ้าใครขึ้นเครื่องบินจากไทยไปคุนหมิง จากนั้นต่อเครื่องบินไปลี่เจียง และจากลี่เจียงก็ต่อรถไปยังหมู่บ้านฮาปา เวลาการเดินทางทั้งหมดจะแค่ 8-10 ชม.เท่านั้น
นอกจากนี้ การคมนาคมแต่ละเมืองยังสะดวก มีทางเลือกให้หลายเส้นทาง จะบิน จะนั่งรถ หรือจะนั่งรถไฟ ระหว่างคุนหมิง-ต้าหลี่-ลี่เจียง ทำได้หมด(เฉพาะการไปหมู่บ้านฮาปาที่ต้องนั่งรถเท่านั้น) โดยเฉพาะการเดินทางโดยรถประจำทาง ซึ่งวันนึงมีหลายรอบให้เราได้เลือกสรร หรือจะเหมารถก็ไม่ยาก มีรถรับจ้างอยู่ทั่วไป
แต่จากประสบการณ์ที่ผมได้เดินทางไปภูเขาหิมะฮาปาเมื่อวันที่ 18-24 ตุลาคม 2017 ที่ผ่านมา ผมพบว่า นอกเหนือจากการเดินทางที่อำนวยความสะดวกให้กับคนไทยเป็นอย่างมากแล้ว ปัจจัยอื่น ๆ กลับค่อนข้างสาหัสสากรรจ์อยู่มิใช่น้อย
บทความเกี่ยวกับภูเขาหิมะฮาปาในตอนนี้ ผมก็เลยจะขอแจกแจงให้เห็นหลาย ๆ ประเด็น(ปัญหา) ที่เพื่อน ๆ นักเดินเขาชาวไทยควรจะพิจารณาก่อนที่จะเดินทางไปยังฮาปานะครับ
ภูเขาหิมะฮาปาอาจจะไม่เหมาะกับคนไทย เพราะ:
1. คนที่หมู่บ้านฮาปาพูดภาษาอังกฤษไม่ได้
สำหรับคนที่รู้ภาษาจีน(กลาง) การไปยังภูเขาหิมะฮาปาจะเป็นเรื่องที่ง่ายดายมาก แต่สำหรับคนไทยที่ไม่รู้ภาษาจีนนั้น บอกได้เลยว่า ลำบากหนัก เพราะชาวหมู่บ้านฮาปาทุกคนที่ผมได้ติดต่อด้วย ไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้เลยแม้แต่น้อย ไม่ว่าจะคนที่ผมติดต่อจองทริปปีนเขา แม่ครัว ไกด์นำทาง และคนอื่น ๆ
จะติดต่อกับซ๊อซื่อเรื่องทริปปีนภูเขาฮาปา ต้องภาษาจีนเท่านั้น
แต่ยังไงเสีย ผมก็ค่อนข้างมั่นใจว่า ขอแค่ไปถึงหมู่บ้านฮาปาได้ ถึงจะสื่อสารด้านภาษากับคนที่นั่นไม่ได้ พวกเราคนไทยก็ยังสามารถผ่านทริปปีนเขานี้ไปได้ด้วยดี แต่อาจจะขลุกขลัก(ไม่)หน่อย เท่านั้นเองครับ (อาจต้องเมื่อยกับภาษามือเล็กน้อย)
2. เปลี่ยนระดับความสูงเร็ว จนปรับตัวแทบไม่ทัน
ทริปปีนภูเขาหิมะฮาปาที่ทางเอเยนต์จัดให้ จะเดินขึ้นเขาแค่สองวันเท่านั้น โดยวันแรก เราต้องเดินขึ้นจากหมู่บ้านฮาปา(2650 เมตร) ไปยังฮาปาเบสแคมป์(4100 เมตร) และวันที่สอง จะเดินจากเบสแคมป์ขึ้นสู่ยอดเขา(5396 เมตร) เรียกว่าเปลี่ยนระดับเร็วเป็นขึ้นลิฟท์กันเลยทีเดียว --"
ยิ่งสูงยิ่งอากาศเบาบาง หายใจกันแทบไม่ทัน
แน่นอนว่า การเปลี่ยนระดับเร็วเช่นนี้ย่อมส่งผลเสียต่อสภาพร่างกายของเราแน่นอน โดยเฉพาะอาการโรคแพ้ที่สูง (altitude sickness) ที่ใครเคยเป็นจะรู้ว่ามันทรมานมาก ขนาดผมที่ผ่านABC กับย่าติง มาแล้ว งวดนี้ยังเล่นเอาแย่ --"
3. ทริปปีนเขาที่นี่ ไม่มีลูกหาบ !
ลูกหาบแทบจะเป็นปัจจัยหลักของทริปปีนเขาต่าง ๆ ไม่ว่าจะที่ไทยหรือที่ประเทศใด ๆ ก็ตาม แต่ที่ฮาปาจะมีแต่ม้า(หรือลา,ล่อ)แบกของให้เราตอนขึ้นจากหมู่บ้านฮาปาไปยังเบสแคมป์เท่านั้น ส่วนการเดินขึ้นพิชิตยอดเขา เราต้องแบกของกันเอาเอง
ไกด์เองก็ต้องแบกอุปกรณ์ส่วนตัวของเขา จึงช่วยเราแบกของเพิ่มไม่ได้
4. แบกของตัวเองก็แย่แล้ว ต้องแบกอุปกรณ์พิเศษเองอีกด้วย !
การปีนภูเขาหิมะ มีความจำเป็นจะต้องมีอุปกรณ์พิเศษมากไปกว่าการปีนเขาปกติทั่วไป เพราะมีความเสี่ยงอันตรายมากกว่า ดังนั้น ทางทีมงานไกด์จะให้อุปกรณ์กับเรา 3 อย่างด้วยกัน คือ หนามเหล็กตะปู(Crampons), ขวานน้ำแข็ง(Ice Axe) และเข็มขัดนิรภัย
ปีนภูเขาหิมะนี่มัน(ตัว)หนักจริง ๆ
น้ำหนักรวมกันของทั้งสามอย่างนี้ ไม่เท่าไหร่หรอกครับ แค่เกือบยี่สิบกิโลเอง --" เรียกว่าทำเอาเพื่อน ๆ กลุ่มผมถอดใจ ทิ้งกล้องDSLRไว้ที่เบสแคมป์ไปตาม ๆ กัน
5. ไกด์หลายคนนิสัยไม่ค่อยจะโอเคนัก
ถึงเราจะไม่มีลูกหาบแบกของขึ้นสู่ยอดเขา แต่ทางเอเยนต์จะจัดไกด์ประกบตัวต่อตัวให้กับพวกเรา ทีมผมมี 12 คน ทางเขาก็จัดไกด์มา 12 คนเช่นกัน ประโยชน์ของไกด์จะเห็นได้ชัด ก็ต่อเมื่อเราไปถึงบริเวณที่เป็นทางหิมะ โดยพวกเขาจะช่วยเราใส่อุปกรณ์เดินหิมะ สอนการเดินบนหิมะ และทั้งดึงทั้งดันเราขึ้นไปบนยอดเขาให้ได้
แต่ก่อนที่เราจะได้รู้ถึงความจำเป็นของพวกเขา สิ่งที่พวกเราต้องประสบก็คือ การปฏิบัติตัวที่ไม่สู้จะดีนัก ทำเอาพวกเรารู้สึกไม่ดี เฟลกันไปตาม ๆ กัน โดนเยอะมากจนลิสต์กันเป็นข้อ ๆ ได้เลยครับ:
– เพื่อนผมใช้ลำโพงบลูทูธฟังเพลงอยู่(หนีบอยู่กับเป้) จู่ ๆ ไกด์คนหนึ่งก็มาดึงไปเชื่อมต่อกับมือถือตัวเองหน้าตาเฉย
– เพื่อนอีกคน เอาขนมลูกอมเวเธอร์(Werther’s) ออกมากิน ไกด์คนนึงเห็น รีบเข้ามาฉกไปทั้งแท่ง ผมไปขอคืน ให้คืนมาเม็ดเดียว -"-
– ไกด์แถวหน้านำทางแบบไม่ค่อยจะรอ ผมมักต้องรีบวิ่งตาม เพื่อจะได้ไม่หลงเส้นทาง
– ส่วนไกด์แถวหลังนี่ ร้องไล่เพื่อนผมที่เดินช้าให้รีบเดิน แถมตอนเดินขึ้นยอดเขายังคอยบอกอีกว่า คุณน่ะ ไม่ไหวแล้ว ลงเขาไปเถอะ เรียกว่าคอยป่วนเพื่อน ๆ ผมไม่หยุดไม่หย่อน
– มีพูดจาลามกกับเพื่อนผู้หญิงของผม พูดต่อหน้าผมที่ฟังภาษาจีนออกหน้าตาเฉย
– ทีมงานไกด์สูบบุหรี่ทุกคน ใครแพ้บุหรี่คงลำบากหน่อย หายใจบนที่สูงก็ลำบากแล้ว ยังต้องมาคอยหลบควันบุหรี่อีก --"
แต่โดยรวม ๆ ผมก็ยังโอเคกับทีมงานไกด์อยู่ หลายคนก็นิสัยดี ผมคิดว่า พวกเขาอาจไม่ชินกับลูกค้าต่างชาติ เลยไม่รู้วิธีปฏิบัติตัวที่เหมาะสมกับพวกเรา คงต้องปรับปรุงกันอีกไม่น้อย ถ้าผมไปอีกรอบ คงต้องย้ำกับเอเยนต์ให้ดูแลเรื่องนี้ให้ดีและเหมาะสมกว่านี้ครับ
6. สภาพความเป็นอยู่บนเบสแคมป์อนาจมาก
นี่ก็เป็นอีกเรื่องที่มีข้อติติงเยอะ จนต้องลิสต์กันหลายข้อ(อีกแล้ว) --"
– บนเบสแคมป์ไม่มีน้ำกับไฟฟ้า
– ที่นอนมีจำกัด ถ้าคนเยอะคงต้องมีกางเต๊นท์นอนกัน
– ที่นอนสะอาดโอเค แต่ถ้าช่วงไฮซีซั่น คงสกปรกพอดู
– ไม่มีน้ำดื่มให้ ต้องรอไกด์ต้มน้ำ ใครไม่มีกระติกน้ำร้อนก็ซวยไป อย่างผมนี่ อดน้ำกันเลย --"
– ห้องน้ำอยู่ไกลจากที่พักมากกก
– แน่นอนว่าสกปรกมากด้วยเช่นกัน(น้ำล้างไม่มี) ประตูก็ปิดไม่ลงอีก
มีแต่ที่นอนที่พอจะโอเค เรื่องอื่นยังต้องปรับปรุง
โชคยังดีที่เราต้องอยู่เบสแคมป์แค่คืนเดียว ก็เชื่อว่าคนไทยคงพออดทนผ่านไปได้ครับ ต้องอดทนกันนิดนึง
7.ขึ้นเขาว่าเหนื่อยแล้ว ตอนลงเหนื่อยเป็นสองเท่า !
แพ๊คเกจปีนเขาสองวันหนึ่งคืนของที่นี่ หมายความว่า เรามีเวลาเดินขึ้นสองวัน และเวลาเดินลงวันเดียว ซึ่งก็คือ ตอนเราเดินลง เราต้องเดินระยะเวลาเท่ากับที่เราเดินขึ้นสองวัน !
ซึ่งเมื่อพิจารณาว่า วันแรกเราเดินขึ้น 8-9 ชม. ส่วนวันที่สองเดินอีก 8-9 ชม. เช่นกัน ถ้าคิดว่า เวลาเดินลง เราต้องใช้เวลาราว ๆ กึ่งหนึ่งของการเดินขึ้น เท่ากับว่า เราต้องเดินลงราว ๆ 9 ชม.
และวันเดินลงนั้น เราต้องลงวันเดียวกับที่เราขึ้นยอดเขา(เดินขึ้นวันที่สอง) เท่ากับว่า ในวันนั้น เราต้องเดินรวมกัน 17-18 ชม. !
กลุ่มผมที่ไปไม่ถึงยอดนั้น วันนั้นเราเดินกันรวม ๆ เกือบ 11 ชม. ก็แทบแย่แล้วครับ (วันนั้นฝนตกด้วย ยิ่งเดินยาก) ถ้าใครมา ผมคงต้องแนะนำว่า วันเดินลง ช่วงระยะจากเบสแคมป์ไปหมู่บ้านฮาปา เช่าม้าน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า(เยอะเลยครับ)
8. ภูเขาฮาปาไม่ได้เดินขึ้นง่ายอย่างที่คิด
ก่อนจะมาที่ฮาปา ภาพในใจของภูเขาฮาปาสำหรับผมก็คือ “ภูเขาหิมะที่ปีนขึ้นถึงยอดได้ง่าย ๆ” แต่เมื่อได้ลองมาปีนเอง ผมถึงได้รู้ว่า มันไม่มีหรอกครับ ภูเขาหิมะที่ปีนถึงยอดได้ง่าย ๆ น่ะ --"
ใช้เวลาปีนแค่สองวันก็ถึงยอด มันฟังดูไม่ยากเย็นอะไร แต่ผมกล้าพูดได้ว่า ที่นี่ไม่ใช่ที่สำหรับมือใหม่ คนที่จะมา ผมแนะนำเลยว่า ควรมีประสบการณ์การเดินขึ้นเขาสูง(ฟูจิ,คินาบาลู,รินจานี,ฯลฯ)มาบ้างก็จะดี นอกจากนี้ก็ควรต้องฟิตร่างกายก่อนที่จะมาด้วยครับ จู่ ๆ มาเลยนี่ ผมว่าจะแย่เอา
นอกจากความยากลำบากในการเดินขึ้นแล้ว(รุ่นพี่ที่เคยไปรินจานีบอกว่า ที่นี่โหดกว่าเยอะมาก) ปัจจัยเรื่องลม(ลมที่นี่แรงมากกก)และหิมะก็ยิ่งเพิ่มความยากลำบากเข้าไปอีก คนที่จะมา ผมแนะนำว่า ถ้าเป็นไปได้ เสื้อผ้าและรองเท้าควรจะเป็นของเกรดดี(เสื้อกันลม, เสื้อหนาว, รองเท้ากันน้ำ,ฯลฯ)
ที่กล่าวมาทั้งหมดก็เป็นอุปสรรคอยู่บ้างสำหรับคนไทยอย่างพวกเรา แต่ผมเชื่อว่า เมื่อทุกคนได้ทราบถึงปัญหาที่ผมได้แจกแจงมา ใครที่จะไปฮาปา ก็คงพอจะหามาตรการป้องกันและบรรเทาปัญหาไปได้บ้างครับ
ในตอนหน้า จะเป็นตอนสุดท้ายแล้วนะครับ ก็จะว่ากันถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่าง ๆ ที่ผมได้มาจากประสบการณ์จริง และจากการค้าหาทางอินเตอร์เน็ตครับ
ภูเขาหิมะฮาปา ตอนที่ 4: ฮาปาเท่าที่รู้
https://ppantip.com/topic/37035270