Trip to China กับประสบการณ์มันๆ เรื่อง FinTech

กระทู้สนทนา
Edited 22/10/2017
ขอออกตัวก่อนว่าไม่ใช่ Professor ด้านจีนศึกษาอะไร เเต่จากประสบการณ์ที่ได้รับมากจากการที่ “มีเมียจีน” เเบบ so real จีน ลักษณะที่ว่าตะโกนคุยกันในระยะ 50 เซ็นติเมตร ในเมืองที่ผมว่า ผมเป็นคนไทยคนเเรกที่มาเหยียบ อารมณ์ประมาณ นีล อามสตรองไปดวงจันทร์ประมาณนั้น ซึ่งจะขอมา share trip จากการไปจีนคราวนี้ (รอบที่ 13) ที่เเบบไปในหัวสมองที่ต้องการเข้าใจในเรื่อง Culture + FinTech ว่าทำไมมันไปเร็วเหลือเกิน Government’s policy เเบบไหน เเนวคิดต่อเรื่อง Fintech เป็นเเบบใด เเล้ว regulator ทำอย่างไร + customer behavior เเบบไหนที่มันทำให้ fintech + cashless society มันโตเร็วเหลือเกิน เเถม ICOs เล็กๆ ในมุมมองของจีนว่าทำไมถึง BAN ตบท้ายด้วย Political issue เล็กๆ ที่ดันมา Jackpot ตรงกับ 19th CPC National Congeess ที่ยิ่งใหญ่เเบบ 5 ปีมีครั้ง ซึ่งสร้างความลำบากให้กับตัวกระผมมากกก

เรื่องเเรกคือ Cashless society ที่เเบบ real จริงๆ คือ มีเเค่มือถือกับ app e-wellet ก็สามารถเดินออกจากบ้านได้ โดยที่สามารถซื้อได้ตั้งเเต่หมูปิ้ง ยันจ่ายค่าโรงเเรม เเละ deposit โรงแรม 5 ดาว ค่าอาหารทุกร้าน คนขายผักข้างถนน เเล้วที่น่าตกใจคือ customer behaviour ที่ support สุดๆ คือ ส่วนตัวมองว่าถ้าคนมันไม่มี behavior ในการใช้ พวก e-wallet ก็คงไม่โตเร็วขนาดนี้ เเล้วที่ตกใจคือคนวัย 50+ ก็ดันใช้เป็นกันด้วย รวมถึงการนำเทคโนโลยีง่อยๆ อย่าง QR Code ที่ครั้งหนึ่ง Audit Firm รายใหญ่เคยออกมาบอกว่า มันโครตจะไม่ secure เลย เเต่ก็ดันกลายมาเป็นตัวแปรสำคัญในการใช้จ่าย นึกภาพตามว่าคนขายก็จะมี QR Code ของตัวเอง คนซื้อก็เเค่เปิด App e-wallet ในมือถือตัวเอง เเล้วก็มา scan ใส่ยอดเงินที่จะจ่าย เงินก็จะเข้าไปสู่ wallet ของพ่อค้า เเล้วที่ตกใจผมอีกอย่างคือ เงินใน wallet ของเเต่ละคนมันเยอะมากกกกก (เคยเเอบหันไปเห็นของเพื่อนเมียเเบบ 8 เเสนกว่าบาท)

มาพูดถึง Provider บ้าง คนใช้เยอะถามว่า เเล้ว Provider มีกี่ราย ตอบคือ 2 รายยักษ์ใหญ่ เเละเป็น unbank หรือไม่ได้เป็น financial institution อะไรเลย มันก็คือ Giant Tech companies คือ Tanscent (QQ / Wechat / เจ้าของ web sanook.com ในบ้านเรา) เเละ Alipay (Alibaba / Jack Ma ซึ่งภายหลังเเปลงไปเป็น Ant Finnance ที่ทำให้มัน flexible ในเรื่อง business model และตอนนี้กำลังจะ IPO ในเร็ววัน เเต่ๆๆๆๆๆ ดันมี rumour ออกมาที่มันทำให้บริษัทจะเจ๋งไปเลยก็ว่าได้ จากการดำเนิน business model ที่ผิดพลาดอย่างหนัก) เรื่อง Ant Finnance ไม่ขอเล่าเดี๋ยวยาว

ต่อมาเเล้ว regulator มี respond อย่างไร ตอนเเรกก็ไม่ทำอะไรเลย ไม่ทำจริงๆ sandbox อะไร กรูไม่สน industry-driven for real พวกเองอยากทำอะไร จะ innovative ขนาดไหน เเต่อย่าให้มาถีบโดนกรูล่ะกัน เดี๋ยวพวกกรูดูอยู่ห่างๆ อย่างห่วงๆ เเต่ๆๆๆ ถ้ามีปัญหาพวกเองโดน regulate แน่ เเล้วกรูจะเอาให้หนักเลย เอาเเบบพวกที่พวกเองทำธุรกิจกันลำบาก ผลคือ industry เลยกลัวกันขี้หดตดหาย คอยเตือนกันเองว่าอย่าเชียวนะ ซึ่งส่วนตัว model ลักษณะนี้คงทำได้เฉพาะประเทศจีนเท่านั้น หน่วยงานรัฐบ้านเราหากจะมาดูงาน บอกเลยไม่ต้องมา มาเเล้วเอากลับไปก็ทำไม่ได้ นึกภาพเอาว่าคิดวันนี้ พรุ่งนี้ประกาศเลย Process แบบนี้ทำให้ได้ก่อนเเล้วค่อยมาดูงานบ้านเค้า

เเต่เเล้วความพังก็เกิดขึ้น เเต่จะเรียกว่าความพังซะทีเดียวก็ไม่ใช่ เรื่องเเรก P2P Lending ที่เกิดความพังเมื่อ website P2P ยักษ์ใหญ่อย่าง Lufex.com ที่ดันโกงกันเเบบเป็น Biliion เลย คำถามคือ รัฐทำไง...คำตอบคือ ก็ต้องไปไล่บี้เอากับ provider ซึ่งก็อ้างต่างๆ นาๆ ว่าเราเป็นเเค่ตัวกลางเราทำอะไรไม่ได้ ก็เตือนเเล้วว่ามันเสี่ยง ผู้ลงทุนอยาก high reuturn มันก็ต้อง take risk ไป ก็เลยกลายเป็นมหากาพย์ยาวๆ กันไป ส่งผลให้ vehicle ของการระดมทุนใหม่ๆ อย่าง ICOs เลยโดน BAN ไปเลย รวมถึงหัสของ regulator เลยกลายเป็น conservative ไปเลย เเละมองว่า การปล่อย player รายใหม่ๆ เข้ามามันทำให้ industry มันเสี่ยง เรื่องการเงิน หรือ FinTech มันไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ผลกระทบมันเป็นวงกว้าง ที่นี้เเนวคิดใหม่คือ กรูก็ให้เฉพาะเจ้าผู้ครองตลาดทำสิครัช นั้นก็คือ 2 เจ้าด้านบนที่กล่าวไป ที่รัฐเชื่อว่ามีระบบงานที่พร้อม เเละความสัมพันธ์ที่เเนบเเน่นกับ regulator มานาน รวมถึงมองว่ามี spirit ที่ดีงามพระรามเเปดว่า  "เราทำมาหากิน ไม่โกงหรอกครับ เราเเค่ทำมาหากินเก็บค่า com นิดหน่อย” ดูไปดูมาก็เหมือนบ้านเรานิดนึง เเต่ไม่ขอพาดพิง ข้ามๆๆๆๆๆ ดังนั้น FinTech ใหม่ๆ จึงไปตกกับ 2 เจ้าถ้วน

ความพังประการที่สอง คือ เรื่อง e-wellet อันนี้ไม่ได้มาจากความดื้อด้านของ provider (ก็บอกไปแล้ว เค้าคนดี) เเต่ดันมาจาก customer behavior ที่ดันใช้กันจนคุมไม่อยู่ provider เองก็คุมไม่อยู่ เงินใน wallet มันมีเยอะกว่าเงินฝากของ Bank อีก + เเต่ Rule and Regulation ของบริษัทเหล่านี้ มันไม่ได้มีเยอะเหมือน Bank ดังนั้น Regulator ด้าน Banking จึงออกเกณฑ์การกำกับดูเเล 2000 กว่าข้อ จะบ้ารือออออ!!!!!!! ป่าวเลย รัฐเเค่ออกมา regulated ว่าเองก็ไป co-op กับ Bank สิ ไอ้ account ไหนที่มันไม่ยอมไปผูกกับบัญชีธนาคารก็ไป limit เรื่องการเบิก หรือถอนงินออกจาก wallet เอา สุดท้ายคนที่มันใช้ก็ต้องไปผูกกับบัญชีเงินฝากของตนเองอยู่ดี ก็เลยกลายมาเป็นการเสริม function ให้กับ Bank ด้าน FinTech ไปโดยปริยาย ซึ่งก็เป็น win-win situation ที่กลายเป็นว่าตอนเเรกมองกันไปว่า FinTech จะมาเป็น disruptor ของ ecosystem ดังนั้น โดยสรุปคือเรื่องเงินๆ ทองๆ มันก็ยังคงต้องไปพึ่งสถาบันทางการเงินอยู่ดี เนื่องมาจากการ regulated มันต่างกัน แล้วไหนจะเรื่องฟอกเงินอีกที่ e-wallet กลายเป็นอีกช่องทางหนึ่งสำหรับการฟอกเงิน เรื่องนี้หากจะขยายก็คงยาวขอเป็นคราวๆก่อนครับ

อีกประเด็นหนึ่งที่อยากพูดถึงคือ การบริหารเงินใน wallet ของลูกค้าที่บอกไปเเล้วว่าเงินใน wallet มันเยอะมากจนขนาดมี service ที่ว่าเองก็เอาเงินที่อยู่ใน wallet มาให้พวกกรูบริหารสิ ลักษณะคล้ายกับพวกกองทุนต่างๆ บ้านเรา ซึ่งถ้าเป็นบ้านเราก็คงติด license ต่างๆ นาๆ ส่วนตัวมองว่า service แบบนี้มันมา serve พวก underserves จริงๆ คือสามารถซื้อได้ตั้งเเต่ 1 หยวน + จะถอนกันออกเมื่อไรก็ได้ + divident จ่ายรายวัน โอ้เเม่เจ้า!!!! หรืออีก service หนึ่งคือ Business Loan ที่เเบบพอ e-commerce มันโตมากๆๆ credit rating มันเลยทำได้ง่าย โดยพ่อค้าเเม่ค้าคนไหนที่ cash flow มันหมุนไม่ทัน ก็สามารถมากู้เงินได้ ซึ่ง credit ก็มาจาก transaction ที่พวกเองค้าขายกัน สรุปสั้นคือ industry-driven by monopoly players + FinTech เล็กรืออออ อย่ามิบังอาจจะมาจนกว่าจะมี 2 players ถ้วน support อยู่

เรื่อง ICOs ว่าทำไมโดน BAN ในมุม regulator มองว่าแมลงเม้าเยอะมาก เเละส่วนใหญ่จะโดนหลอกง่าย เเค่ตลาดหุ้นก็จะคุมกันไม่อยู่เเล้ว ฉะนั้น BAN ก่อน กล้วจะเน่าเหมือน P2P ส่วนทางฝั่ง 2nd rich generation investors (พวกไฮโซบ้านรวย) มองว่าจะเป็นการหลอกมากกว่า พูดง่ายๆ คือ ควรมีตัวกลางมาทำ DD ก่อนออก ICOs เเต่มันก็จะกลายเป็น burden ของ issuer ที่สุดท้ายไม่คุ้ม สู้ไป raise เงิน ขายฝันกับเพื่อนฟูงง่ายกว่า

เเถมอีกเรื่องสำหรับ trip นี้ ที่ดันนนนไม่ตรงกับการประชุมใหญ่พรรค communist พอดี ผลคือ securities เลยสูงระดับเเบบลำบากในการใช้ชีวิตกับคนทั้งประเทศ ประการเเรกคือการเดินทาง คือแบบด่านเยอะโครต เเล้วตรวจไม่ใช่เเบบเอากระจกมาส่องเดิน fashion รอบรถเหมือนบ้านเรา ของเค้าคือ พวกเองต้องลงจากรถทุกคน ตรวจเเบบหมาดมตูด เอาหน้าไป scan biometric ดูว่า match กับใบหน้าของ criminal record หรือป่าว รถติดเป็นกิโล เเต่ช่างมันกูไม่สน 555  รวมถึงพัสดุที่ส่งเค้า Beijing ทุกอย่างหยุดหมด 1 week เต็มๆ เขียนไปก็นั่งดูการประชุมที่ถ่ายทอดสดทุกช่อง เอาจริงอามรมณ์ไม่ต่าง North Korea เลย คุณ Xi พูดจบคนตรบมือ

สรุปสั้นๆ เลยคือ ส่วนตัวมองว่า จึนมาเเน่ในเรื่อง FinTech เพราะ (1) การ initiated ที่ง่าย เเละหน่วยงานรัฐไม่มายุ่งมาก (2) เรื่อง fund ไม่ต้องห่วง VC + angle เต็มไปหมด เเต่ถ้าเองจะคิดการใหญ่ก็ไปหา 2 เจ้าหลักโน้น ให้เค้ามา take over ไป สุดท้าย Tech company จะมาเเน่ เเละจะมาทำหน้าที่เเทนสถาบันการเงินอย่างเเน่นอน
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่