สวัสดีค่ะพี่ๆ
เมื่อวันหยุดที่ผ่านมา น้องวางแผนไป Backpack เที่ยวเมืองกาญจนบุรี-สังขละบุรีกับเพื่อนมาค่ะ
จึงอยากแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดกาญจนบุรี ที่น้องได้ไปมา
ระหว่างเสิร์ชหาข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว น้องไปเจอสถานที่ ที่น่าสนใจแห่งหนึ่ง คือ
“พิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาด”
ที่บอกเล่าเรื่องราวช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ของเชลยศึกฝ่ายพันธมิตร(รวมทั้งแรงงานชาวเอเชีย)
ที่ถูกบังคับให้สร้างทางรถไฟยาว 415 กิโลเมตร จากประเทศไทยไปยังประเทศพม่า
หรือชื่อที่เราคุ้นกันคือ
“เส้นทางรถไฟสายมรณะ”
พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่บนเส้นทางเดินทางระหว่างตัวเมืองกาญจนบุรี ไปสังขละบุรีพอดี
ทริปของน้อง จึงวางแผนพักที่กาญฯก่อน 1 คืน เที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาด และจึงเดินทางต่อไปที่สังขละบุรีค่ะ
----------------
แนะนำวิธีการเดินทาง
จากตัวเมืองกาญฯ ไปพิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาด หากไม่ได้ขับรถกันมาเอง
สามารถเดินทางโดยรถประจำทางหรือรถตู้ เส้นทางกาญจนบุรี-สังขละบุรี โดยบอกคนขับว่า ลง”ช่องเขาขาด”
แต่การเดินทางของน้อง น้องเลือกเดินทางโดยรถไฟค่ะ
เพื่อจะได้สัมผัสเส้นทางรถไฟสายมรณะ ก่อนที่น้องไปดูอีกหนึ่งสถานที่จริง ที่เชลยศึกได้ลงแรงทำทางรถไฟ
เริ่มต้นการเดินทางที่สถานีรถไฟกาญจนบุรีค่ะ โดยอาศัยรถไฟฟรี ขบวน9485 เส้นทางชุมชนหนองปลาดุก - น้ำตก
ออกจากสถานีกาญฯ เวลา 06:07น. ถึงสถานีน้ำตก เวลา 08:20น. (ตามเวลาบนตั๋วนะ)
ตอนแรกน้องแอบกังวลนะ รถไฟออก 6 โมงเช้า สถานีรถไฟจะเงียบเหงาไหม
ไปมา ไม่เลย มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ และคนไทยเยอะแยะเลยที่อาศัยรถไฟขบวนนี้ เดินทางไปเที่ยวต่อกัน
(ส่วนใหญ่จากที่ถาม เขาเดินทางไปเที่ยวน้ำตกไทรโยคกันนะ)
เส้นทางรถไฟไม้ อันลือชื่อของจังหวัดกาญจนบุรี สร้างขึ้นสมัยสงครามโลกครั้งที่2
(แต่ดูจากของจริงแล้ว น้องว่าน่าจะผ่านการบูรณะให้สมบูรณ์แข็งแรงและปลอดภัยมากขึ้นแล้วนะ ฉะนั้นไม่ต้องกังวลว่าจะแข็งแรงรึเปล่า)
ถึงสถานีปลายทางแล้ว “สถานีน้ำตก”
เวลาเลทนิดหน่อยแต่ไม่มาก จากนั้นก็ไปต่อรถสองแถว ที่จอดรอผู้โดยสารอยู่ที่หน้าสถานีรถไฟกันได้เลย
การเดินทางต่อ โดยรถสองแถว สามารถเหมารถสองแถวให้เขาไปส่งที่ช่องเขาขาดได้เลย
จากที่ถาม ราคาเหมาไปกลับอยู่ที่ 500 บาท แต่ถ้าจะไปแค่ขาไปขาเดียว ราคาอยู่ที่ 400 บาท
// แต่ถ้าใครอยากประหยัดเงินแบบน้อง ก็นั่งรถสองแถวไปลงที่ น้ำตกไทรโยค 20 บาท
และข้ามถนน ไปรอรถประจำทาง (คันกาญฯ-สังขละ) ฝั่งตรงข้ามน้ำตกไทรโยค บริเวณต้นหูกวางใหญ่ๆได้เลย
หลังจากรอรถเกือบชม. รถโดยสารก็มาแล้ว (ไหนแม่ค้าแถวนั้นบอก รถมาทุก30นาทีไง T^T)
ขึ้นรถปึ๊บ บอกคนขับได้เลยค่ะ ว่าลงช่องเขาขาด ค่าเดินทาง 30 บาท ใช้เวลาเดินทางประมาณ 30 นาทีได้
----------------
ถึงที่หมายแล้ว พิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาด
ตั้งอยู่ภายในกองการเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานทหารพัฒนา หน่วยบัญชาการทหารพัฒนาค่ะ
รถโดยสารให้เราลงที่ปากทางเข้ากองการเกษตรฯ หลังจากนั้น น้องเดินต่อเข้าไปอีก 500 เมตร จึงจะถึงตัวพิพิธภัณฑ์ค่ะ
พิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาด หรือชื่อเต็มอย่างเป็นทางการ “ช่องเขาขาด พิพิธภัณฑ์สถานแห่งความทรงจำ”
แบ่งการเข้าชมออกเป็น 3 ส่วนด้วยกันค่ะ
ส่วนแรกเป็นตัวพิพธภัณฑ์ นำเสนอเรื่องราวความเป็นมา ตั้งแต่แรงจูงใจของญี่ปุ่น ในการสร้างทางรถไฟ,
การเคลื่อนย้ายเชลยศึกมาเพื่อสร้างทางรถไฟ ตลอดจนความเป็นอยู่อย่างยากลำบากของเชลยศึกและแรงงานชาวเอเชีย
ที่ถูกเกณฑ์มาสร้างทางรถไฟจนแล้วเสร็จ ภาพทั้งภาพความเป็นอยู่ของเชลยศึก,
อุปกรณ์ที่ใช้สร้างทางรถไฟด้วยแรงงานคน, สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆของเชลยศึก ประกอบการนำเสนอ
ส่วนที่ 2 เป็นการจัดฉายภาพยนตร์สั้นเกี่ยวกับข้อมูลแนะนำการท่องเที่ยวภายในพิพิธภัณฑ์และทางเดินรถไฟ
และภาพยนตร์เกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่ 2
(น้องต้องขอโทษด้วยที่มัวแต่อ่านเรื่องราว จึงไม่ได้ถ่ายภาพในตัวพิพธภัณฑ์มาโพสต์ให้ชมกัน)
ส่วนที่ 3 เป็นเส้นทงเดินธรรมชาติไปยังทางรถไฟ ช่องเขาขาด ตลอดจนเส้นทางอื่นของทางรถไฟ รวม 4 กิโลเมตร
// แต่น้องเดินได้ถึงเพียงแค่ช่องเขาขาดเท่านั้นนะคะ
ด้วยระยะเวลาที่จำกัด ต้องเดินทางต่อไปสังขละบุรี จึงไม่สามารถเดินไปจนสุดเส้นทางจริงๆ
เส้นทางเดินลงเขา ไปทางรถไฟ ข้างตัวพิพิธภัณฑ์ เป็นบันไดไม้ ค่อนข้างเดินง่ายค่ะ บรรยากาศโดยรอบร่มรื่นมาก
เมื่อเดินลงมาจนถึงบันไดขันสุดท้ายแล้ว ต่อไปนนี้เป็นทางเดินไปทางเดินธรรมชาติของจริง ไปยังช่องเขาขาด
ระยะทางประมาณ 300 เมตรค่ะ ตามทางเดินก็จะพบร่องรอยไม้หมอนรถไฟบ้าง บางระยะค่ะ
ถึงจุดหมายแล้ว “ช่องเขาขาด”
บรรยากาศมันก็จะวังเวงหน่อยๆ เพราะน้องเดินมาคนเดียวเลย (เพื่อนไม่ยอมเดินลงมาด้วย มันบ่นว่าเหนื่อย)
ช่องเขาขาด ตามประวัติว่า ในการขุดเจาะส่วนมากใช้แรงงานคนเป็นหลัก โดยใช้วิธีทุบและตอก โดยคนงานหนึ่งคนถือและหมุนที่เจาะ(สว่าน) และอีกคนหนึ่งออกแรงตอกที่หัวเครื่องเจาะด้วยค้อน ขุดให้ลึกพอที่จะฝังระเบิด เพื่อไว้ระเบิดหินเขา ก้อนหินที่แตกก็ถูกเคลื่อนย้ายออกไปด้วยแรงงานคน และก็ทำการเจาะหลุมเพื่อฝังระเบิดใหม่ จึงทำให้การสร้างทางรถไฟดำเนินไปอย่างล่าช้า
เนื่องจากงานที่ล่าช้ากว่ากำหนดมาก จึงมีการเร่งการทำงานให้เร็วขึ้น กะหนึ่งเชลยศึกและแรงงานชาวเอเชียต้องทำงานถึง 18 ชม.ต่อวัน ด้วยการทำงานอย่างหนัก การพักผ่อนไม่เพียงพอ อาหารที่สารน้อย โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ทำให้ตลอดการสร้างทางรถไฟสายนี้ มีผู้คนบาดเจ็บ ล่มตายไปจำนวนมาก
หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางการไทยได้ทำการซื้อเส้นทางรถไฟที่สร้างโดยเชลยศึกและแรงงานชาวเอเชียดังกล่าวแต่เนื่องด้วยไม่ได้มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ จึงได้ทำการตัดเส้นทางเดินรถไฟออกไปบางส่วน และเหลือเส้นทางที่ยังคงใช้การอยู่ใช้ปัจจุบัน คือเส้นทางชุมชนหนองปลาดุก - น้ำตกค่ะ ขบวนที่น้องนั่งมาพอดีเลย
----------------
เพิ่มเติม
ภาพมุมสูง(นิดนึง) ของช่องชาดขาด ,เริ่มมีผู้คนเดินเข้ามาชมแล้ว บรรยากาศวังเวงค่อยหายไปหน่อย
เส้นทางเดินต่อไป ยังทางรถไฟอื่นๆ (ทั้งหมด4กิโลเมตรที่น้องบอกไปข้างต้น) น้องเดินต่อไปอีกหน่อย สภาพเส้นทางก็เดินได้ค่ะ ไม่ยากลำบากมาก ตลอดเส้นทางยังคงเห็นร่องรอยไม้หมอนรถไฟอยู่เรื่อยๆ
พิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาด เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 9.00น.-16.00น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
----------------
ติดตาม แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวแหล่งอื่นๆ อย่างบ้าๆบอๆ ปนมีสาระหน่อยๆ ได้ที่
https://www.facebook.com/nongjataew นะคะ
[CR] Backpack เที่ยวเมืองกาญ แนะนำ “พิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาด”
เมื่อวันหยุดที่ผ่านมา น้องวางแผนไป Backpack เที่ยวเมืองกาญจนบุรี-สังขละบุรีกับเพื่อนมาค่ะ
จึงอยากแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดกาญจนบุรี ที่น้องได้ไปมา
ระหว่างเสิร์ชหาข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว น้องไปเจอสถานที่ ที่น่าสนใจแห่งหนึ่ง คือ “พิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาด”
ที่บอกเล่าเรื่องราวช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ของเชลยศึกฝ่ายพันธมิตร(รวมทั้งแรงงานชาวเอเชีย)
ที่ถูกบังคับให้สร้างทางรถไฟยาว 415 กิโลเมตร จากประเทศไทยไปยังประเทศพม่า
หรือชื่อที่เราคุ้นกันคือ “เส้นทางรถไฟสายมรณะ”
พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่บนเส้นทางเดินทางระหว่างตัวเมืองกาญจนบุรี ไปสังขละบุรีพอดี
ทริปของน้อง จึงวางแผนพักที่กาญฯก่อน 1 คืน เที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาด และจึงเดินทางต่อไปที่สังขละบุรีค่ะ
----------------
แนะนำวิธีการเดินทาง
จากตัวเมืองกาญฯ ไปพิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาด หากไม่ได้ขับรถกันมาเอง
สามารถเดินทางโดยรถประจำทางหรือรถตู้ เส้นทางกาญจนบุรี-สังขละบุรี โดยบอกคนขับว่า ลง”ช่องเขาขาด”
แต่การเดินทางของน้อง น้องเลือกเดินทางโดยรถไฟค่ะ
เพื่อจะได้สัมผัสเส้นทางรถไฟสายมรณะ ก่อนที่น้องไปดูอีกหนึ่งสถานที่จริง ที่เชลยศึกได้ลงแรงทำทางรถไฟ
เริ่มต้นการเดินทางที่สถานีรถไฟกาญจนบุรีค่ะ โดยอาศัยรถไฟฟรี ขบวน9485 เส้นทางชุมชนหนองปลาดุก - น้ำตก
ออกจากสถานีกาญฯ เวลา 06:07น. ถึงสถานีน้ำตก เวลา 08:20น. (ตามเวลาบนตั๋วนะ)
ตอนแรกน้องแอบกังวลนะ รถไฟออก 6 โมงเช้า สถานีรถไฟจะเงียบเหงาไหม
ไปมา ไม่เลย มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ และคนไทยเยอะแยะเลยที่อาศัยรถไฟขบวนนี้ เดินทางไปเที่ยวต่อกัน
(ส่วนใหญ่จากที่ถาม เขาเดินทางไปเที่ยวน้ำตกไทรโยคกันนะ)
เส้นทางรถไฟไม้ อันลือชื่อของจังหวัดกาญจนบุรี สร้างขึ้นสมัยสงครามโลกครั้งที่2
(แต่ดูจากของจริงแล้ว น้องว่าน่าจะผ่านการบูรณะให้สมบูรณ์แข็งแรงและปลอดภัยมากขึ้นแล้วนะ ฉะนั้นไม่ต้องกังวลว่าจะแข็งแรงรึเปล่า)
ถึงสถานีปลายทางแล้ว “สถานีน้ำตก”
เวลาเลทนิดหน่อยแต่ไม่มาก จากนั้นก็ไปต่อรถสองแถว ที่จอดรอผู้โดยสารอยู่ที่หน้าสถานีรถไฟกันได้เลย
การเดินทางต่อ โดยรถสองแถว สามารถเหมารถสองแถวให้เขาไปส่งที่ช่องเขาขาดได้เลย
จากที่ถาม ราคาเหมาไปกลับอยู่ที่ 500 บาท แต่ถ้าจะไปแค่ขาไปขาเดียว ราคาอยู่ที่ 400 บาท
// แต่ถ้าใครอยากประหยัดเงินแบบน้อง ก็นั่งรถสองแถวไปลงที่ น้ำตกไทรโยค 20 บาท
และข้ามถนน ไปรอรถประจำทาง (คันกาญฯ-สังขละ) ฝั่งตรงข้ามน้ำตกไทรโยค บริเวณต้นหูกวางใหญ่ๆได้เลย
หลังจากรอรถเกือบชม. รถโดยสารก็มาแล้ว (ไหนแม่ค้าแถวนั้นบอก รถมาทุก30นาทีไง T^T)
ขึ้นรถปึ๊บ บอกคนขับได้เลยค่ะ ว่าลงช่องเขาขาด ค่าเดินทาง 30 บาท ใช้เวลาเดินทางประมาณ 30 นาทีได้
----------------
ถึงที่หมายแล้ว พิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาด
ตั้งอยู่ภายในกองการเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานทหารพัฒนา หน่วยบัญชาการทหารพัฒนาค่ะ
รถโดยสารให้เราลงที่ปากทางเข้ากองการเกษตรฯ หลังจากนั้น น้องเดินต่อเข้าไปอีก 500 เมตร จึงจะถึงตัวพิพิธภัณฑ์ค่ะ
พิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาด หรือชื่อเต็มอย่างเป็นทางการ “ช่องเขาขาด พิพิธภัณฑ์สถานแห่งความทรงจำ”
แบ่งการเข้าชมออกเป็น 3 ส่วนด้วยกันค่ะ
ส่วนแรกเป็นตัวพิพธภัณฑ์ นำเสนอเรื่องราวความเป็นมา ตั้งแต่แรงจูงใจของญี่ปุ่น ในการสร้างทางรถไฟ,
การเคลื่อนย้ายเชลยศึกมาเพื่อสร้างทางรถไฟ ตลอดจนความเป็นอยู่อย่างยากลำบากของเชลยศึกและแรงงานชาวเอเชีย
ที่ถูกเกณฑ์มาสร้างทางรถไฟจนแล้วเสร็จ ภาพทั้งภาพความเป็นอยู่ของเชลยศึก,
อุปกรณ์ที่ใช้สร้างทางรถไฟด้วยแรงงานคน, สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆของเชลยศึก ประกอบการนำเสนอ
ส่วนที่ 2 เป็นการจัดฉายภาพยนตร์สั้นเกี่ยวกับข้อมูลแนะนำการท่องเที่ยวภายในพิพิธภัณฑ์และทางเดินรถไฟ
และภาพยนตร์เกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่ 2
(น้องต้องขอโทษด้วยที่มัวแต่อ่านเรื่องราว จึงไม่ได้ถ่ายภาพในตัวพิพธภัณฑ์มาโพสต์ให้ชมกัน)
ส่วนที่ 3 เป็นเส้นทงเดินธรรมชาติไปยังทางรถไฟ ช่องเขาขาด ตลอดจนเส้นทางอื่นของทางรถไฟ รวม 4 กิโลเมตร
// แต่น้องเดินได้ถึงเพียงแค่ช่องเขาขาดเท่านั้นนะคะ
ด้วยระยะเวลาที่จำกัด ต้องเดินทางต่อไปสังขละบุรี จึงไม่สามารถเดินไปจนสุดเส้นทางจริงๆ
เส้นทางเดินลงเขา ไปทางรถไฟ ข้างตัวพิพิธภัณฑ์ เป็นบันไดไม้ ค่อนข้างเดินง่ายค่ะ บรรยากาศโดยรอบร่มรื่นมาก
เมื่อเดินลงมาจนถึงบันไดขันสุดท้ายแล้ว ต่อไปนนี้เป็นทางเดินไปทางเดินธรรมชาติของจริง ไปยังช่องเขาขาด
ระยะทางประมาณ 300 เมตรค่ะ ตามทางเดินก็จะพบร่องรอยไม้หมอนรถไฟบ้าง บางระยะค่ะ
ถึงจุดหมายแล้ว “ช่องเขาขาด”
บรรยากาศมันก็จะวังเวงหน่อยๆ เพราะน้องเดินมาคนเดียวเลย (เพื่อนไม่ยอมเดินลงมาด้วย มันบ่นว่าเหนื่อย)
ช่องเขาขาด ตามประวัติว่า ในการขุดเจาะส่วนมากใช้แรงงานคนเป็นหลัก โดยใช้วิธีทุบและตอก โดยคนงานหนึ่งคนถือและหมุนที่เจาะ(สว่าน) และอีกคนหนึ่งออกแรงตอกที่หัวเครื่องเจาะด้วยค้อน ขุดให้ลึกพอที่จะฝังระเบิด เพื่อไว้ระเบิดหินเขา ก้อนหินที่แตกก็ถูกเคลื่อนย้ายออกไปด้วยแรงงานคน และก็ทำการเจาะหลุมเพื่อฝังระเบิดใหม่ จึงทำให้การสร้างทางรถไฟดำเนินไปอย่างล่าช้า
เนื่องจากงานที่ล่าช้ากว่ากำหนดมาก จึงมีการเร่งการทำงานให้เร็วขึ้น กะหนึ่งเชลยศึกและแรงงานชาวเอเชียต้องทำงานถึง 18 ชม.ต่อวัน ด้วยการทำงานอย่างหนัก การพักผ่อนไม่เพียงพอ อาหารที่สารน้อย โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ทำให้ตลอดการสร้างทางรถไฟสายนี้ มีผู้คนบาดเจ็บ ล่มตายไปจำนวนมาก
หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางการไทยได้ทำการซื้อเส้นทางรถไฟที่สร้างโดยเชลยศึกและแรงงานชาวเอเชียดังกล่าวแต่เนื่องด้วยไม่ได้มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ จึงได้ทำการตัดเส้นทางเดินรถไฟออกไปบางส่วน และเหลือเส้นทางที่ยังคงใช้การอยู่ใช้ปัจจุบัน คือเส้นทางชุมชนหนองปลาดุก - น้ำตกค่ะ ขบวนที่น้องนั่งมาพอดีเลย
----------------
เพิ่มเติม
ภาพมุมสูง(นิดนึง) ของช่องชาดขาด ,เริ่มมีผู้คนเดินเข้ามาชมแล้ว บรรยากาศวังเวงค่อยหายไปหน่อย
เส้นทางเดินต่อไป ยังทางรถไฟอื่นๆ (ทั้งหมด4กิโลเมตรที่น้องบอกไปข้างต้น) น้องเดินต่อไปอีกหน่อย สภาพเส้นทางก็เดินได้ค่ะ ไม่ยากลำบากมาก ตลอดเส้นทางยังคงเห็นร่องรอยไม้หมอนรถไฟอยู่เรื่อยๆ
พิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาด เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 9.00น.-16.00น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
----------------
ติดตาม แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวแหล่งอื่นๆ อย่างบ้าๆบอๆ ปนมีสาระหน่อยๆ ได้ที่
https://www.facebook.com/nongjataew นะคะ