ทางรถไฟสายมรณะ... มันคุ้มค่าไหมครับกับเส้นทางนี้ ที่กองทัพจักรพรรดิ์ได้ลงทุนลงไป

เพิ่งจะได้มีโอกาศไปชมช่องเขาขาดมาครับกำลังอยู่ในช่วง อินมาก เพราะอ่านประวัติในพิพิธภัณฑ์มา
ในพิพิธภัณฑ์ ก็มักจะเน้นหรือโฟกัสความโหดร้ายและความทารุณกรรมเชลยศึกที่ถูกส่งมาเพื่อก่อสร้างเส้นทางรถไฟนี้
ที่เรียกได้ว่าเป็นอีกบาดแผลจากสงครามโลกก็ว่าได้ ที่ได้เห็นมนุษย์ ทารุณกรรมมนุษย์

แต่ผมมาคิดอีกทีและมองข้ามสิ่งเหล่านั้นไป... นั่นคือความทะเยอทะยานในการสร้างทางรถไฟที่เรียกว่า... ทำได้อย่างไร ???

ผมว่าถ้าญี่ปุ่นชนะสงครามครั้งนั้นและกาลเวลาผ่านไปซัก 4-500 ปี
เส้นทางรถไฟสายนี้อาจเรียกได้ว่ามันคืองานที่ EPIC ทางวิศวกรรม
และขึ้นแท่นสุดยอดโบราณสถานศตวรรตที่ 19 เลยทีเดียว

ทั้งการก่อสร้างด้วยงบประมาณที่จำกัด เทคโนโลยีที่โบราณคร่ำครึ
ทั้งก่อสร้างในยุคสงครามที่สภาวะไม่ปกติ ทั้งขาดแคลนการลำเลียงเสบียงและ
และเครื่องมือที่ใช้ทำงานนี้โดยเฉพาะ
แม้จะเกณฑ์แรงงานคนแรงงานเชลย มากตายมากมาย เพื่อเส้นทางนี้
(แต่มองอีกแบบมันก็ไม่ต่างกับพีระมิด หรือ กำแพงเมืองจีน)
แต่ผมกลับเห็นว่า มันคือความทะเยอทะยานที่แท้จริงของกองทัพลูกพระอาทิตย์อุทัยนี้
ที่ในปัจจุบัน การทางรถไฟที่ไหนจะบ้าขนาดขุดผ่าภูเขาหินทั้งลูกเพื่อสร้างทางรถไฟ ให้กับต่างชาติแบบนี้

คำถามแรกคือ "ความคุ้มค่ามันอยู่ตรงไหน ?"


เส้นทางรถไฟสายมรณะนี้ เริ่มต้นจากที่ บ้านโป่ง ไปสิ้นสุดถึงเมือง ทันบูซายัด ที่พม่า
ระยะทางทั้งสิ้น 400 กว่ากิโลเมตร ส่วนที่ยากสุด (และเป็นส่วนใหญ่) คือทางคดเคี้ยวไปมา
ในพื้นที่เทือกเขาตะนาวศรี ที่ทั้งเป็นป่าดึบ หุบเขาเหวลึก

------------------------


เชลยชาวออสเตเลีย ถูกนำมาจากทั้งชวา สิงค์โปร์ และ มาเลเซียถูกพาขึ้นรถไฟเดินทางตลาดรถไฟสายใต้ของไทย
เพื่อมาเป็นแรงงานที่นี่... ธงชาติออสซี่ที่ถูกวางไว้ พื่อลำลึกว่าผู้ล่วงลับจะไม่ถูกลืม


คนเปลี่ยน ภูมิศาตร์เปลี่ยน เหลือไว้แต่เรื่องราวเมื่อ 70 ปีก่อน
"ช่องทุบ และ ตอก" ทุกอย่างด้วยแรงงานมนุษย์ ทั้งสิ่ว และ ฆ้อนขนาดยักษ์
ในมือมนุษย์สภาพที่อิดโรย ขาดน้ำ ขาดอาหาร เชื่อโรคแพร่ระบาด แต่สร้างทางเส้นนี้ได้สำเร็จ



กับวิวที่สวยที่สุด... วิว แควน้อย
หากญี่ปุ่นชนะสงคราม ผมคงต้องถามผู้ดูแลที่นี่ด้วยภาษาญี่ปุ่น ที่ภายหลังศึกษาพบว่า
เส้นทางมรณะสายนี้ สำหรับคนที่เกี่ยวข้อง มันคือความภาคภูมิใจ มันคือเกียติยศ ที่ทำให้ทางนี้สำเร็จ
และใช้งานได้จริง ในปัจจุบันในญี่ปุ่น ยังมีการจัดงานเพื่อลำลึกชาวญี่ปุ่นที่รับผิดชอบโครงการนี้
และเจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นที่ส่งมาทำงานเป็นนายสถานี ทำงาน ซ่อมบำรุง ที่นี่
ที่อยู่ในความเสี่ยงจากการเป็นเป้าถูกทิ้งระเบิดทางอากาศของสายสัมพันธ์มิตรอยู่เสมอ...


"ลาก่อน"

คำถามที่สองคือ... ทำเราไม่ใช้เส้นทางรถไฟนี้ต่อ...
ปัจจุบันเราสามารถนั่งรถไฟสายนี้ได้ถึงสถานีน้ำตก ซึ่งสิ้นสุดที่น้ำตกไทรโยก
เส้นทางอีกกว่า 300 กิโลเมตรที่เหลือไม่มีอีกแล้ว
เหลือเพียงแต่ร่องรอย เป็นเส้นทางเดินเท้าได้อย่างดี

อ่านเหตุผลคร่าวๆ ทางพม่ารื้อในส่วนของเขาทิ้งเพราะไม่อยากให้กะเหรี่ยงได้ใช้
ของฝั่งทางไทย ที่เสียตังให้จักรวรรดิ์บริเท่นไปเพื่อเส้นทางสายนี้
ที่ส่วนหนึ่งของเส้นทางอยู่ใต้เขื่อน วชิราลงกรณ์

เชิญวิเคราะห์, เล่าเรื่อง...
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่