มาร์ชเมลโลเทสต์ คืออะไร คือกระบวนการขั้นตอนทดสอบเด็กๆ เพื่อใช้เก็บข้อมูลในการหาความยับยั้งชั่งใจ ที่เป็น 1 ใน EF นั่นเองค่ะ
ที่มาคืองานวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด โดยนักวิจัยได้ทดลองให้เด็กๆ ประมาณ 600 คน ที่มีอายุระหว่าง 4-6 ขวบ
อยู่ในห้องตามลําพัง โดยแจกขนม “มาร์ชเมลโล” ให้เด็กคนละก้อน
จากนั้นเสนอให้เด็กเลือกว่า จะกินมันเข้าไปทันที หรือจะคอยอีก 15 นาที ถ้าเด็กคนไหนคอยได้ ก็จะได้มาร์ชเมลโลไปอีกก้อน เป็น 2 ก้อน
ผลการทดสอบนี้ ปรากฎว่าเด็กบางคนกินขนมมาร์ชเมลโลเข้าไปทันที ในขณะที่บางคนเลือกที่จะคอย
(อายุของเด็กๆ ก็เป็นอีกหนึ่งตัวแปร ซึ่งเด็กเล็กๆ ความยับยั้งชั่งใจจะไม่ค่อยมี)
ต่อมาอีกประมาณ 10 กว่า ปี นักวิจัยก็ตามหาเด็กๆ เหล่านี้ และสัมภาษณ์ โดยผลวิจัยออกมาว่า
เด็กที่สามารถยับยั้งชั่งใจไม่กินขนมมาร์ชเมลโลได้นั้น มีผลการเรียนที่ดีกว่า สามารถเข้ากับคนอื่นได้ดีกว่า
และจัดการกับความเครียดได้ดีกว่าเด็กที่ไม่สามารถห้ามใจตัวเองไม่ให้กินขนมมาร์ชเมลโลก้อนแรก
การประเมินผลในครั้งที่สอง อีก 10 ปีต่อมา พบว่าเด็กที่สามารถควบคุมตัวเองโดยไม่กินขนม
จะมีผลคะแนนการสอบเข้ามหาวิทยาลัย (หรือการสอบ SAT) สูงกว่าและสามารถเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยได้ดีกว่า
การประเมินครั้งที่ 3 อีก 20 กว่าปีต่อมา ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กเหล่านั้นอยู่ในวัยกลางคน
โดยได้ทำสแกนสมองโดยพบว่า ผู้ใหญ่ที่ตอนเด็กได้ทำการทดสอบนี้และสามารถรอคอยที่จะไม่กินขนมได้นานกว่า
จะมีระดับสมองที่มีทั้งสติปัญญาและมีทักษะทางอารมณ์ที่ดีกว่า ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานมากกว่า รวมถึงยังมีชีวิตการแต่งงานที่ดีกว่าด้วย
การทดสอบมาร์ชเมลโล่นี้ได้ชี้ให้เห็นว่า การพัฒนาทุนมนุษย์ควรเริ่มทำตั้งแต่แรกเกิดโดยครอบครัวมีความสำคัญมาก ไม่ใช่จะรอจากระบบการเรียนการสอนในโรงเรียนแต่เพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะการพัฒนาตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล โดยการมีทักษะทางอารมณ์ที่ดีตั้งแต่วัยเด็กจะมีนัยสำคัญต่อคนๆ นั้นในอนาคต
แต่ จขกท เอง ก็ได้ทดสอบลูกชายตัวเอง ที่นางก็ไม่ได้ชอบมาร์ชเมลโลเท่าไหร่ แต่ก็ไม่ได้กินมานานมากๆ อยากกินอยู่ค่ะ
ผลตามคลิปเลย ส่วนปีหน้า จะทดสอบด้วยชมพู่ เป็นของที่นางชอบมากกว่ามากๆ อยากรู้เหมือนกันว่าจะยังได้อยู๋ไหม
มาชวนพ่อแม่ทำ มาชเมลโลเทสต์ ทดสอบ EF ลูกกันค่ะ
ที่มาคืองานวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด โดยนักวิจัยได้ทดลองให้เด็กๆ ประมาณ 600 คน ที่มีอายุระหว่าง 4-6 ขวบ
อยู่ในห้องตามลําพัง โดยแจกขนม “มาร์ชเมลโล” ให้เด็กคนละก้อน
จากนั้นเสนอให้เด็กเลือกว่า จะกินมันเข้าไปทันที หรือจะคอยอีก 15 นาที ถ้าเด็กคนไหนคอยได้ ก็จะได้มาร์ชเมลโลไปอีกก้อน เป็น 2 ก้อน
ผลการทดสอบนี้ ปรากฎว่าเด็กบางคนกินขนมมาร์ชเมลโลเข้าไปทันที ในขณะที่บางคนเลือกที่จะคอย
(อายุของเด็กๆ ก็เป็นอีกหนึ่งตัวแปร ซึ่งเด็กเล็กๆ ความยับยั้งชั่งใจจะไม่ค่อยมี)
ต่อมาอีกประมาณ 10 กว่า ปี นักวิจัยก็ตามหาเด็กๆ เหล่านี้ และสัมภาษณ์ โดยผลวิจัยออกมาว่า
เด็กที่สามารถยับยั้งชั่งใจไม่กินขนมมาร์ชเมลโลได้นั้น มีผลการเรียนที่ดีกว่า สามารถเข้ากับคนอื่นได้ดีกว่า
และจัดการกับความเครียดได้ดีกว่าเด็กที่ไม่สามารถห้ามใจตัวเองไม่ให้กินขนมมาร์ชเมลโลก้อนแรก
การประเมินผลในครั้งที่สอง อีก 10 ปีต่อมา พบว่าเด็กที่สามารถควบคุมตัวเองโดยไม่กินขนม
จะมีผลคะแนนการสอบเข้ามหาวิทยาลัย (หรือการสอบ SAT) สูงกว่าและสามารถเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยได้ดีกว่า
การประเมินครั้งที่ 3 อีก 20 กว่าปีต่อมา ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กเหล่านั้นอยู่ในวัยกลางคน
โดยได้ทำสแกนสมองโดยพบว่า ผู้ใหญ่ที่ตอนเด็กได้ทำการทดสอบนี้และสามารถรอคอยที่จะไม่กินขนมได้นานกว่า
จะมีระดับสมองที่มีทั้งสติปัญญาและมีทักษะทางอารมณ์ที่ดีกว่า ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานมากกว่า รวมถึงยังมีชีวิตการแต่งงานที่ดีกว่าด้วย
การทดสอบมาร์ชเมลโล่นี้ได้ชี้ให้เห็นว่า การพัฒนาทุนมนุษย์ควรเริ่มทำตั้งแต่แรกเกิดโดยครอบครัวมีความสำคัญมาก ไม่ใช่จะรอจากระบบการเรียนการสอนในโรงเรียนแต่เพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะการพัฒนาตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล โดยการมีทักษะทางอารมณ์ที่ดีตั้งแต่วัยเด็กจะมีนัยสำคัญต่อคนๆ นั้นในอนาคต
แต่ จขกท เอง ก็ได้ทดสอบลูกชายตัวเอง ที่นางก็ไม่ได้ชอบมาร์ชเมลโลเท่าไหร่ แต่ก็ไม่ได้กินมานานมากๆ อยากกินอยู่ค่ะ
ผลตามคลิปเลย ส่วนปีหน้า จะทดสอบด้วยชมพู่ เป็นของที่นางชอบมากกว่ามากๆ อยากรู้เหมือนกันว่าจะยังได้อยู๋ไหม