ศาลพิพากษา"สมบัติ-บรรเจิด"ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ! .. 13/10/2560
ระวังกันไว้ครับ อย่านึกว่ามีอำนาจแล้วทำอะไรก็ได้ที่ไม่ถูกต้อง
https://ppantip.com/topic/36975746
" พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 แต่เนื่องจากจำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นข้าราชการและนักวิชาการ ที่ไม่ปรากฏว่ามีการกระทำความผิดเห็นสมควรรอการกำหนดโทษเป็นเวลา 3 ปี"
http://www.thaipost.net/?q=node%2F36781
ข้อความสำคัญอื่นๆ..
"ทำให้เชื่อว่ากระบวนการตัดสินใจดำเนินการของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นคู่กรณีโดยตรงกับโจทก์ที่ร้องเรียนให้ตรวจสอบโดยเปิดเผยตัวตนชัดเจน ทำให้เชื่อว่าเป็นมูลเหตุจูงใจให้จำเลยที่ 3 เลือกตัดสินใจกระทำการโดยเลือกกระบวนการที่ทำให้โจทก์ได้รับผลกระทบมากเกินสัดส่วนของประโยชน์ที่สาธารณะจะได้รับและกระทำโดยเจตนาที่จะยังไม่ให้โจทก์สำเร็จการศึกษา อันอยู่ในขอบข่ายของความรับผิดทางอาญา "
"ส่วนจำเลยที่ 1 ในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงของจำเลยที่ 3 แต่ในการวินิจฉัยสั่งการกลับกระทำเพียงให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้ตรวจสอบและนำเสนอข้อเท็จจริง ทั้งที่โจทก์ร้องเรียนกล่าวโทษจำเลยที่ 3 และกระทำในลักษณะดังกล่าวหลายครั้ง แต่ก็โดยความมุ่งหมายเดียวในการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ จนทำให้เชื่อได้ว่ามีเจตนาไม่ให้โจทก์สำเร็จการศึกษาเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน ที่จะยังไม่ให้โจทก์สำเร็จการศึกษาทั้งในคดีแรกและคดีที่สอง แม้จะเป็นการกระทำคนละเวลากันแต่เป็นการกระทำโดยมีความมุ่งหมายเดียวกันในระยะเวลาและตามขั้นตอนที่ต้องอาศัยเวลาและต่อเนื่องกัน เพียงแต่การกระทำที่ต่อเนื่องกันดังกล่าวเป็นการยืนยันถึงเจตนาของจำเลยที่ 1 และที่ 3 การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงเป็นการกระทำกรรมเดียว "
===
ข่าวทั้งหมด..
Home »
ศาลพิพากษา"สมบัติ-บรรเจิด"ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ!
Thursday, October 12, 2017 - 19:24
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 11 ต.ค. ที่ผ่านมา ที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ถ.นครไชยศรี ศาลอ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำสองสำนวน ที่ อท.(ผ) 95/2559 และ 45/2559 ซึ่งได้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกัน ซึ่งคดีดังกล่าวศาลได้มีคำพิพากษาแล้วเป็นคดีหมายเลขแดง อท. (ผ.) 35/2560 ที่นายธนกฤต ปัญจทองเสมอ หรือนายสมศักดิ์ ทองเสมอ นักศึกษาปริญญาโท สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อดีตอธิการบดีนิด้า จำเลยที่ 1 นายประดิษฐ์ วรรณรัตน์ จำเลยที่ 2 นายบรรเจิด สิงคะเนติ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ นิด้า จำเลยที่ 3 นายนเรศร์ เกษประยูร จำเลยที่ 4 นายสุนทร มณีสวัสดิ์ จำเลยที่ 5 น.ส.วริยา ล้ำเลิศ จำเลยที่ 6 น.ส.วนาภรณ์ วนาพิทักษ์ จำเลยที่ 7 นายกิตติภูมิ เนียมหอม จำเลยที่8 นางอัจชญา สิงคาลวาณิช จำเลยที่ 9 น.ส.ภัทริน วรเศรษฐมงคล จำเลยที่ 10 นายธวัชชัย ศุภดิษฐ์ จำเลยที่ 11น.ส.บุญอนันต์ พินัยทรัพย์ จำเลยที่ 12 นายบุญชัย หงส์จารุ จำเลยที่ 13 น.ส.อมรรัตน์ อภินันท์มหกุล จำเลยที่ 14น.ส.วัชรีภรณ์ ไชยมงคล จำเลยที่ 15 นายพิชัย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต จำเลยที่ 16 นายสมบัติ กุสุมาวลี จำเลยที่ 17 นายสุดสันต์ สุทธิพิศาล จำเลยที่ 18 นางอุบลวรรณ เปรมศรีรัตน์ จำเลยที่ 19 นายปราโมทย์ ลือนาม จำเลยที่ 20 น.ส.รุ่งทิพย์ ศิริปิ่น จำเลยที่ 21 และ น.ส.จารุณี พันธ์ศิริ จำเลยที่ 22
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นนักศึกษาของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โดยเรียนจบภาควิชาการจำนวน 24 หน่วยกิตแล้ว มีผลการเรียนได้เกรดเฉลี่ย 4.00 และโจทก์สอบผ่านวิชาวิทยานิพนธ์ตามระเบียบของคณะนิติศาสตร์และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ทางขั้นตอนการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์และสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ผ่านในระดับดี จัดทำรูปเล่มตามข้อแนะนำจากคณะนิติศาสตร์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์และผ่านการอนุมัติรูปแบบ เล่มวิทยานิพนธ์ตามระเบียบของสำนักบรรณสารการพัฒนาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โจทก์ได้ส่งเล่มวิทยานิพนธ์จำนวน 4 เล่มพร้อมแผ่น CD หนึ่งแผ่นครบตามหลักเกณฑ์ของคณะนิติศาสตร์และของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์แล้ว จึงมีสิทธิจบการศึกษาตามความในข้อ 79 (6) และข้อ 42 แห่งข้อบังคับสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ว่าด้วยการศึกษา พ.ศ.2549 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แต่จำเลยทั้งหมดได้ร่วมกัน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติโดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ เนื่องจากไม่พอใจที่โจทก์ร้องเรียนการดำเนินงานการบริหารคณะนิติศาสตร์ของจำเลยที่ 3 ที่ดำเนินการไม่เรียบร้อย ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์และนักศึกษา โดยโจทก์ร้องเรียนไปยังหน่วยงานต่างๆ ตั้งแต่ปี 2554 เรื่อยมา ทำให้โจทก์ไม่สำเร็จการศึกษา ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 157 เรียกค่าเสียหายคดีแรกเป็นค่าลงทะเบียนค่าใช้จ่ายในการเรียน ถ้าขาดประโยชน์จากการที่จะได้รับเงินเพิ่มตามวุฒิการศึกษาที่เพิ่มขึ้นรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 604,700 บาท เรียกค่าเสียหายเป็นเงินค่าเล่าเรียนค่าใช้จ่ายในการเรียนและค่าขาดประโยชน์ที่จะได้รับหากโจทก์สำเร็จการศึกษา รวมเป็นค่าเสียหายทั้งสิ้น 1,484,700 บาท จำเลยทั้งยี่สิบสองให้การปฏิเสธ
ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อความผิดพลาดทั้งหลายในกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการทำวิทยานิพนธ์ของโจทก์เป็นผลจากการที่คณะนิติศาสตร์เป็นคณะที่เพิ่งเปิดใหม่ อาจารย์ในคณะมาจากหน่วยงานอื่นๆ ยังมีความเข้าใจไม่เพียงพอในเรื่องโครงสร้าง หลักเกณฑ์ ขั้นตอน กระบวนการ แนวปฏิบัติดังที่ปรากฏในบันทึกข้อความของคณะนิติศาสตร์ เอกสารในสำนวน การแก้ไขความผิดพลาดควรเป็นหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้อง แต่การแก้ไขดังกล่าวหากก่อให้เกิดผลกระทบแก่ผู้เกี่ยวข้อง ก็จะต้องคำนึงถึงหลักความได้สัดส่วนด้วย ซึ่งเป็นปัญหาในทางปกครอง แต่อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องอันเนื่องมาจากการที่โจทก์มีกรณีร้องเรียนหรือขอให้มีการตรวจสอบการดำเนินการของจำเลยที่ 3 ต่อเนื่องตลอดมา ทำให้เชื่อว่ากระบวนการตัดสินใจดำเนินการของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นคู่กรณีโดยตรงกับโจทก์ที่ร้องเรียนให้ตรวจสอบโดยเปิดเผยตัวตนชัดเจน ทำให้เชื่อว่าเป็นมูลเหตุจูงใจให้จำเลยที่ 3 เลือกตัดสินใจกระทำการโดยเลือกกระบวนการที่ทำให้โจทก์ได้รับผลกระทบมากเกินสัดส่วนของประโยชน์ที่สาธารณะจะได้รับและกระทำโดยเจตนาที่จะยังไม่ให้โจทก์สำเร็จการศึกษา อันอยู่ในขอบข่ายของความรับผิดทางอาญา ในส่วนการกระทำของจำเลยอื่นๆ แม้มีความเชื่อมโยงในทางที่ใกล้เคียงที่จะมีมูลเหตุจูงใจเพียงพอถึงขั้นเป็นคู่กรณีกับโจทก์ดังเช่นจำเลยที่ 4ได้ แต่ตามพยานหลักฐานยังไม่มีความชัดเจนเพียงพอที่จะให้ต้องรับผิดทางอาญา รวมทั้งจำเลยที่ 2 กับจำเลยอื่นในคณะกรรมการ ทคอ. การศึกษา ปรากฏเพียงการร่วมลงมติตามข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 3 นำเสนอ ทั้งตามพยานหลักฐานไม่ปรากฏชัดว่าจำเลยแต่ละคนในคณะกรรมการ ทคอ. การศึกษามีความเห็นชัดเจนอย่างไร ทั้งโจทก์ไม่ได้สร้างความชัดเจนในส่วนนี้จึงไม่เพียงพอที่จะต้องให้รับผิดทางอาญา
ส่วนจำเลยที่ 1 ในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงของจำเลยที่ 3 แต่ในการวินิจฉัยสั่งการกลับกระทำเพียงให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้ตรวจสอบและนำเสนอข้อเท็จจริง ทั้งที่โจทก์ร้องเรียนกล่าวโทษจำเลยที่ 3 และกระทำในลักษณะดังกล่าวหลายครั้ง แต่ก็โดยความมุ่งหมายเดียวในการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ จนทำให้เชื่อได้ว่ามีเจตนาไม่ให้โจทก์สำเร็จการศึกษาเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน ที่จะยังไม่ให้โจทก์สำเร็จการศึกษาทั้งในคดีแรกและคดีที่สอง แม้จะเป็นการกระทำคนละเวลากันแต่เป็นการกระทำโดยมีความมุ่งหมายเดียวกันในระยะเวลาและตามขั้นตอนที่ต้องอาศัยเวลาและต่อเนื่องกัน เพียงแต่การกระทำที่ต่อเนื่องกันดังกล่าวเป็นการยืนยันถึงเจตนาของจำเลยที่ 1 และที่ 3 การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงเป็นการกระทำกรรมเดียว ในส่วนที่เกี่ยวกับความเสียหายที่แม้โจทก์จะกล่าวไว้ในฟ้องทั้งสองคดี แต่มีเพียงคำขอท้ายฟ้องเพียงคดีเดียวให้ชดใช้เงินจำนวน 604,700 บาท แต่ตามทางนำสืบไม่มีรายละเอียดของความเสียหายแม้จะมีรายละเอียดในส่วนของค่าเล่าเรียน แต่เนื่องจากโจทก์ก็ได้รับประโยชน์จากผลของการเรียนการสอนที่ผ่านมาทั้งความผิดพลาดในด้านเอกสารที่เกี่ยวข้องโจทก์ก็มีส่วนที่ก่อให้เกิดด้วยจึงไม่กำหนดค่าเสียหายให้แล้ว พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 แต่เนื่องจากจำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นข้าราชการและนักวิชาการ ที่ไม่ปรากฏว่ามีการกระทำความผิดเห็นสมควรรอการกำหนดโทษเป็นเวลา 3 ปี ยกฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ถึงที่ 22 คำขออื่นทั้งในส่วนอาญาและในส่วนแพ่งให้ยก ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
ขณะที่นายสุริยัณห์ หงษ์วิไล โฆษกศาลยุติธรรม ได้อธิบายถึงความหมายของการ “รอการกำหนดโทษ” ว่า ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 56 กำหนดไว้ว่า “ผู้ใดกระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุกหรือปรับและในคดีนั้นศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปีไม่ว่าจะลงโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตามหรือลงโทษปรับ ถ้าปรากฏว่าผู้นั้น (1) ไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อนหรือ (2) เคยรับโทษจำคุกมาก่อนแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ หรือเป็นโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือ (3) เคยรับโทษจำคุกมาก่อนแต่พ้นโทษจำคุกมาแล้วเกินกว่าห้าปี แล้วมากระทำความผิดอีก โดยความผิดในครั้งหลังเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ และเมื่อศาลได้คำนึงถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัยอาชีพ และสิ่งแวดล้อมของผู้นั้น หรือสภาพความผิด หรือการรับรู้ความผิด และพยายามบรรเทาผลร้ายที่เกิดขึ้น หรือเหตุอื่นอันควรปราณีแล้ว ศาลจะพิพากษาว่าผู้นั้นมีความผิดแต่รอการกำหนดโทษ หรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้ ไม่ว่าจะเป็นโทษจำคุกหรือปรับ อย่างหนึ่งอย่างใดหรือทั้งสองอย่างเพื่อให้โอกาสกับตัวภายในระยะเวลาที่ศาลจะได้กำหนด แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ศาลพิพากษา โดยจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของผู้นั้นด้วยหรือไม่ก็ได้...”
นายสุริยัณห์ กล่าวต่อไปว่า ความแตกต่างของการรอการกำหนดโทษและรอการลงโทษนั้นต่างกันตรงที่ว่ากรณีของการรอการกำหนดโทษดังเช่นคดีนี้ ศาลเพียงแต่พิพากษาว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดแล้ว แต่ว่าจะลงโทษจำคุกเท่าใดนั้นศาลยังมิได้กำหนด โดยภายในระยะเวลาตามที่ศาลกำหนดไว้ ซึ่งในคดีนี้คือ 3 ปี หากจำเลยไม่ได้กระทำความผิดอีก ก็พ้นผิดไป โดยไม่ต้องถูกจำคุก หรือลงโทษปรับแต่อย่างใด แต่หากภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนดจำเลยกระทำความผิดขึ้นอีกและในคดีหลังศาลประสงค์จะลงโทษจำคุกหรือปรับ ศาลในคดีหลังจะย้อนกลับมากำหนดโทษในคดีนี้ แล้วนำไปรวมกับคดีหลังได้ ส่วนรอการลงโทษนั้นศาลตัดสินว่าจำเลยมีความผิดและกำหนดโทษแล้วว่าจะลงโทษจำคุกหรือปรับเท่าใด แต่โทษจำคุกศาลเห็นสมควรให้รอการลงอาญาไว้ก่อน ภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนดเช่นเดียวกัน หากต่อมาภายในระยะเวลานั้นจำเลยกระทำความผิดศาลในคดีหลังจะนำโทษที่ศาลคดีก่อนที่กำหนดไว้แล้วมารวมกับโทษที่จะกำหนดในภายหลังได้เลย โดยไม่ต้องกำหนดโทษใหม่ มาตรการในการรอการกำหนดโทษและรอการลงโทษนั้น เป็นมาตรการที่ศาลยุติธรรมนำมาใช้นานแล้วซึ่งสอดคล้องการมาตรฐานการลงโทษของนานาอารยประเทศเพื่อให้โอกาสแก่จำเลยอีกสักครั้ง เมื่อศาลพิจารณาแล้วว่า จำเลยยังสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นหรือสังคมต่อไปได้ และการให้จำเลยต้องรับโทษโดยเฉพาะโทษจำคุกในทันทีเป็นประโยชน์แก่สังคมน้อยกว่าการรอการลงโทษจำเลยไว้ก่อนดังเช่นคดีนี้.
ศาลพิพากษา"สมบัติ-บรรเจิด"ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ! .. 13/10/2560 สรายุทธ กันหลง
ศาลพิพากษา"สมบัติ-บรรเจิด"ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ! .. 13/10/2560
ระวังกันไว้ครับ อย่านึกว่ามีอำนาจแล้วทำอะไรก็ได้ที่ไม่ถูกต้อง
https://ppantip.com/topic/36975746
" พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 แต่เนื่องจากจำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นข้าราชการและนักวิชาการ ที่ไม่ปรากฏว่ามีการกระทำความผิดเห็นสมควรรอการกำหนดโทษเป็นเวลา 3 ปี"
http://www.thaipost.net/?q=node%2F36781
ข้อความสำคัญอื่นๆ..
"ทำให้เชื่อว่ากระบวนการตัดสินใจดำเนินการของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นคู่กรณีโดยตรงกับโจทก์ที่ร้องเรียนให้ตรวจสอบโดยเปิดเผยตัวตนชัดเจน ทำให้เชื่อว่าเป็นมูลเหตุจูงใจให้จำเลยที่ 3 เลือกตัดสินใจกระทำการโดยเลือกกระบวนการที่ทำให้โจทก์ได้รับผลกระทบมากเกินสัดส่วนของประโยชน์ที่สาธารณะจะได้รับและกระทำโดยเจตนาที่จะยังไม่ให้โจทก์สำเร็จการศึกษา อันอยู่ในขอบข่ายของความรับผิดทางอาญา "
"ส่วนจำเลยที่ 1 ในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงของจำเลยที่ 3 แต่ในการวินิจฉัยสั่งการกลับกระทำเพียงให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้ตรวจสอบและนำเสนอข้อเท็จจริง ทั้งที่โจทก์ร้องเรียนกล่าวโทษจำเลยที่ 3 และกระทำในลักษณะดังกล่าวหลายครั้ง แต่ก็โดยความมุ่งหมายเดียวในการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ จนทำให้เชื่อได้ว่ามีเจตนาไม่ให้โจทก์สำเร็จการศึกษาเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน ที่จะยังไม่ให้โจทก์สำเร็จการศึกษาทั้งในคดีแรกและคดีที่สอง แม้จะเป็นการกระทำคนละเวลากันแต่เป็นการกระทำโดยมีความมุ่งหมายเดียวกันในระยะเวลาและตามขั้นตอนที่ต้องอาศัยเวลาและต่อเนื่องกัน เพียงแต่การกระทำที่ต่อเนื่องกันดังกล่าวเป็นการยืนยันถึงเจตนาของจำเลยที่ 1 และที่ 3 การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงเป็นการกระทำกรรมเดียว "
===
ข่าวทั้งหมด..
Home »
ศาลพิพากษา"สมบัติ-บรรเจิด"ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ!
Thursday, October 12, 2017 - 19:24
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 11 ต.ค. ที่ผ่านมา ที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ถ.นครไชยศรี ศาลอ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำสองสำนวน ที่ อท.(ผ) 95/2559 และ 45/2559 ซึ่งได้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกัน ซึ่งคดีดังกล่าวศาลได้มีคำพิพากษาแล้วเป็นคดีหมายเลขแดง อท. (ผ.) 35/2560 ที่นายธนกฤต ปัญจทองเสมอ หรือนายสมศักดิ์ ทองเสมอ นักศึกษาปริญญาโท สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อดีตอธิการบดีนิด้า จำเลยที่ 1 นายประดิษฐ์ วรรณรัตน์ จำเลยที่ 2 นายบรรเจิด สิงคะเนติ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ นิด้า จำเลยที่ 3 นายนเรศร์ เกษประยูร จำเลยที่ 4 นายสุนทร มณีสวัสดิ์ จำเลยที่ 5 น.ส.วริยา ล้ำเลิศ จำเลยที่ 6 น.ส.วนาภรณ์ วนาพิทักษ์ จำเลยที่ 7 นายกิตติภูมิ เนียมหอม จำเลยที่8 นางอัจชญา สิงคาลวาณิช จำเลยที่ 9 น.ส.ภัทริน วรเศรษฐมงคล จำเลยที่ 10 นายธวัชชัย ศุภดิษฐ์ จำเลยที่ 11น.ส.บุญอนันต์ พินัยทรัพย์ จำเลยที่ 12 นายบุญชัย หงส์จารุ จำเลยที่ 13 น.ส.อมรรัตน์ อภินันท์มหกุล จำเลยที่ 14น.ส.วัชรีภรณ์ ไชยมงคล จำเลยที่ 15 นายพิชัย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต จำเลยที่ 16 นายสมบัติ กุสุมาวลี จำเลยที่ 17 นายสุดสันต์ สุทธิพิศาล จำเลยที่ 18 นางอุบลวรรณ เปรมศรีรัตน์ จำเลยที่ 19 นายปราโมทย์ ลือนาม จำเลยที่ 20 น.ส.รุ่งทิพย์ ศิริปิ่น จำเลยที่ 21 และ น.ส.จารุณี พันธ์ศิริ จำเลยที่ 22
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นนักศึกษาของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โดยเรียนจบภาควิชาการจำนวน 24 หน่วยกิตแล้ว มีผลการเรียนได้เกรดเฉลี่ย 4.00 และโจทก์สอบผ่านวิชาวิทยานิพนธ์ตามระเบียบของคณะนิติศาสตร์และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ทางขั้นตอนการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์และสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ผ่านในระดับดี จัดทำรูปเล่มตามข้อแนะนำจากคณะนิติศาสตร์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์และผ่านการอนุมัติรูปแบบ เล่มวิทยานิพนธ์ตามระเบียบของสำนักบรรณสารการพัฒนาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โจทก์ได้ส่งเล่มวิทยานิพนธ์จำนวน 4 เล่มพร้อมแผ่น CD หนึ่งแผ่นครบตามหลักเกณฑ์ของคณะนิติศาสตร์และของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์แล้ว จึงมีสิทธิจบการศึกษาตามความในข้อ 79 (6) และข้อ 42 แห่งข้อบังคับสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ว่าด้วยการศึกษา พ.ศ.2549 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แต่จำเลยทั้งหมดได้ร่วมกัน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติโดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ เนื่องจากไม่พอใจที่โจทก์ร้องเรียนการดำเนินงานการบริหารคณะนิติศาสตร์ของจำเลยที่ 3 ที่ดำเนินการไม่เรียบร้อย ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์และนักศึกษา โดยโจทก์ร้องเรียนไปยังหน่วยงานต่างๆ ตั้งแต่ปี 2554 เรื่อยมา ทำให้โจทก์ไม่สำเร็จการศึกษา ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 157 เรียกค่าเสียหายคดีแรกเป็นค่าลงทะเบียนค่าใช้จ่ายในการเรียน ถ้าขาดประโยชน์จากการที่จะได้รับเงินเพิ่มตามวุฒิการศึกษาที่เพิ่มขึ้นรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 604,700 บาท เรียกค่าเสียหายเป็นเงินค่าเล่าเรียนค่าใช้จ่ายในการเรียนและค่าขาดประโยชน์ที่จะได้รับหากโจทก์สำเร็จการศึกษา รวมเป็นค่าเสียหายทั้งสิ้น 1,484,700 บาท จำเลยทั้งยี่สิบสองให้การปฏิเสธ
ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อความผิดพลาดทั้งหลายในกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการทำวิทยานิพนธ์ของโจทก์เป็นผลจากการที่คณะนิติศาสตร์เป็นคณะที่เพิ่งเปิดใหม่ อาจารย์ในคณะมาจากหน่วยงานอื่นๆ ยังมีความเข้าใจไม่เพียงพอในเรื่องโครงสร้าง หลักเกณฑ์ ขั้นตอน กระบวนการ แนวปฏิบัติดังที่ปรากฏในบันทึกข้อความของคณะนิติศาสตร์ เอกสารในสำนวน การแก้ไขความผิดพลาดควรเป็นหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้อง แต่การแก้ไขดังกล่าวหากก่อให้เกิดผลกระทบแก่ผู้เกี่ยวข้อง ก็จะต้องคำนึงถึงหลักความได้สัดส่วนด้วย ซึ่งเป็นปัญหาในทางปกครอง แต่อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องอันเนื่องมาจากการที่โจทก์มีกรณีร้องเรียนหรือขอให้มีการตรวจสอบการดำเนินการของจำเลยที่ 3 ต่อเนื่องตลอดมา ทำให้เชื่อว่ากระบวนการตัดสินใจดำเนินการของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นคู่กรณีโดยตรงกับโจทก์ที่ร้องเรียนให้ตรวจสอบโดยเปิดเผยตัวตนชัดเจน ทำให้เชื่อว่าเป็นมูลเหตุจูงใจให้จำเลยที่ 3 เลือกตัดสินใจกระทำการโดยเลือกกระบวนการที่ทำให้โจทก์ได้รับผลกระทบมากเกินสัดส่วนของประโยชน์ที่สาธารณะจะได้รับและกระทำโดยเจตนาที่จะยังไม่ให้โจทก์สำเร็จการศึกษา อันอยู่ในขอบข่ายของความรับผิดทางอาญา ในส่วนการกระทำของจำเลยอื่นๆ แม้มีความเชื่อมโยงในทางที่ใกล้เคียงที่จะมีมูลเหตุจูงใจเพียงพอถึงขั้นเป็นคู่กรณีกับโจทก์ดังเช่นจำเลยที่ 4ได้ แต่ตามพยานหลักฐานยังไม่มีความชัดเจนเพียงพอที่จะให้ต้องรับผิดทางอาญา รวมทั้งจำเลยที่ 2 กับจำเลยอื่นในคณะกรรมการ ทคอ. การศึกษา ปรากฏเพียงการร่วมลงมติตามข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 3 นำเสนอ ทั้งตามพยานหลักฐานไม่ปรากฏชัดว่าจำเลยแต่ละคนในคณะกรรมการ ทคอ. การศึกษามีความเห็นชัดเจนอย่างไร ทั้งโจทก์ไม่ได้สร้างความชัดเจนในส่วนนี้จึงไม่เพียงพอที่จะต้องให้รับผิดทางอาญา
ส่วนจำเลยที่ 1 ในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงของจำเลยที่ 3 แต่ในการวินิจฉัยสั่งการกลับกระทำเพียงให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้ตรวจสอบและนำเสนอข้อเท็จจริง ทั้งที่โจทก์ร้องเรียนกล่าวโทษจำเลยที่ 3 และกระทำในลักษณะดังกล่าวหลายครั้ง แต่ก็โดยความมุ่งหมายเดียวในการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ จนทำให้เชื่อได้ว่ามีเจตนาไม่ให้โจทก์สำเร็จการศึกษาเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน ที่จะยังไม่ให้โจทก์สำเร็จการศึกษาทั้งในคดีแรกและคดีที่สอง แม้จะเป็นการกระทำคนละเวลากันแต่เป็นการกระทำโดยมีความมุ่งหมายเดียวกันในระยะเวลาและตามขั้นตอนที่ต้องอาศัยเวลาและต่อเนื่องกัน เพียงแต่การกระทำที่ต่อเนื่องกันดังกล่าวเป็นการยืนยันถึงเจตนาของจำเลยที่ 1 และที่ 3 การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงเป็นการกระทำกรรมเดียว ในส่วนที่เกี่ยวกับความเสียหายที่แม้โจทก์จะกล่าวไว้ในฟ้องทั้งสองคดี แต่มีเพียงคำขอท้ายฟ้องเพียงคดีเดียวให้ชดใช้เงินจำนวน 604,700 บาท แต่ตามทางนำสืบไม่มีรายละเอียดของความเสียหายแม้จะมีรายละเอียดในส่วนของค่าเล่าเรียน แต่เนื่องจากโจทก์ก็ได้รับประโยชน์จากผลของการเรียนการสอนที่ผ่านมาทั้งความผิดพลาดในด้านเอกสารที่เกี่ยวข้องโจทก์ก็มีส่วนที่ก่อให้เกิดด้วยจึงไม่กำหนดค่าเสียหายให้แล้ว พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 แต่เนื่องจากจำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นข้าราชการและนักวิชาการ ที่ไม่ปรากฏว่ามีการกระทำความผิดเห็นสมควรรอการกำหนดโทษเป็นเวลา 3 ปี ยกฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ถึงที่ 22 คำขออื่นทั้งในส่วนอาญาและในส่วนแพ่งให้ยก ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
ขณะที่นายสุริยัณห์ หงษ์วิไล โฆษกศาลยุติธรรม ได้อธิบายถึงความหมายของการ “รอการกำหนดโทษ” ว่า ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 56 กำหนดไว้ว่า “ผู้ใดกระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุกหรือปรับและในคดีนั้นศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปีไม่ว่าจะลงโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตามหรือลงโทษปรับ ถ้าปรากฏว่าผู้นั้น (1) ไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อนหรือ (2) เคยรับโทษจำคุกมาก่อนแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ หรือเป็นโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือ (3) เคยรับโทษจำคุกมาก่อนแต่พ้นโทษจำคุกมาแล้วเกินกว่าห้าปี แล้วมากระทำความผิดอีก โดยความผิดในครั้งหลังเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ และเมื่อศาลได้คำนึงถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัยอาชีพ และสิ่งแวดล้อมของผู้นั้น หรือสภาพความผิด หรือการรับรู้ความผิด และพยายามบรรเทาผลร้ายที่เกิดขึ้น หรือเหตุอื่นอันควรปราณีแล้ว ศาลจะพิพากษาว่าผู้นั้นมีความผิดแต่รอการกำหนดโทษ หรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้ ไม่ว่าจะเป็นโทษจำคุกหรือปรับ อย่างหนึ่งอย่างใดหรือทั้งสองอย่างเพื่อให้โอกาสกับตัวภายในระยะเวลาที่ศาลจะได้กำหนด แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ศาลพิพากษา โดยจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของผู้นั้นด้วยหรือไม่ก็ได้...”
นายสุริยัณห์ กล่าวต่อไปว่า ความแตกต่างของการรอการกำหนดโทษและรอการลงโทษนั้นต่างกันตรงที่ว่ากรณีของการรอการกำหนดโทษดังเช่นคดีนี้ ศาลเพียงแต่พิพากษาว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดแล้ว แต่ว่าจะลงโทษจำคุกเท่าใดนั้นศาลยังมิได้กำหนด โดยภายในระยะเวลาตามที่ศาลกำหนดไว้ ซึ่งในคดีนี้คือ 3 ปี หากจำเลยไม่ได้กระทำความผิดอีก ก็พ้นผิดไป โดยไม่ต้องถูกจำคุก หรือลงโทษปรับแต่อย่างใด แต่หากภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนดจำเลยกระทำความผิดขึ้นอีกและในคดีหลังศาลประสงค์จะลงโทษจำคุกหรือปรับ ศาลในคดีหลังจะย้อนกลับมากำหนดโทษในคดีนี้ แล้วนำไปรวมกับคดีหลังได้ ส่วนรอการลงโทษนั้นศาลตัดสินว่าจำเลยมีความผิดและกำหนดโทษแล้วว่าจะลงโทษจำคุกหรือปรับเท่าใด แต่โทษจำคุกศาลเห็นสมควรให้รอการลงอาญาไว้ก่อน ภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนดเช่นเดียวกัน หากต่อมาภายในระยะเวลานั้นจำเลยกระทำความผิดศาลในคดีหลังจะนำโทษที่ศาลคดีก่อนที่กำหนดไว้แล้วมารวมกับโทษที่จะกำหนดในภายหลังได้เลย โดยไม่ต้องกำหนดโทษใหม่ มาตรการในการรอการกำหนดโทษและรอการลงโทษนั้น เป็นมาตรการที่ศาลยุติธรรมนำมาใช้นานแล้วซึ่งสอดคล้องการมาตรฐานการลงโทษของนานาอารยประเทศเพื่อให้โอกาสแก่จำเลยอีกสักครั้ง เมื่อศาลพิจารณาแล้วว่า จำเลยยังสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นหรือสังคมต่อไปได้ และการให้จำเลยต้องรับโทษโดยเฉพาะโทษจำคุกในทันทีเป็นประโยชน์แก่สังคมน้อยกว่าการรอการลงโทษจำเลยไว้ก่อนดังเช่นคดีนี้.