โดยภาพรวมของประเทศไทย ด้วยอัตราการเติบโตที่ค่อยเป็นค่อยไป จนทำให้ความสามารถในการฟื้นฟูตัวเองของประเทศ ไม่สามารถสู้กับเศรษฐกิจโลก และการเติบโตของประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคได้
รัฐบาลจึงต้องกระตุ้นความน่าสนใจให้กับโครงการพัฒนาระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor (EEC) ซึ่งครอบคลุมพื้นที่จังหวัดฉะะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง โดยการกระตุ้นความน่าสนใจให้นักลงทุนถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ เร่งรัดโครงการก่อสร้างพื้นฐาน และลดความซับซ้อนของกฎข้อบังคับต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้ EEC เป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสูง เพิ่มมูลค่า และใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ พร้อมกับชูประเทศไทยที่เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญสำหรับการเชื่อมต่อคมนาคม - ขนส่งในภูมิภาคอาเซียน และในระดับโลก
ดังนั้น การเติบโตขึ้นของธุรกิจในอุตสาหกรรม จะทำให้เกิดผลกระทบในแง่บวกเป็นลูกโซ่ โดยเฉพาะ 3 กลุ่มธุรกิจนี้จะยกระดับ และต่อยอดพื้นฐานการผลิตเดิมที่มีการดำเนินกิจการอยู่แล้วในพื้นที่ภาคตะวันออก
• ธุรกิจโลจิสติกส์
ด้วยขนาดในการผลิตของภาคอุตสาหกรรมภายในโครงการ EEC ที่จะมีปริมาณ และจำนวนเพิ่มขึ้น จึงจำเป็นต้องอาศัยช่องทางการกระจายสินค้าเข้า - ออกที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะทั้งทางบก (ระบบถนน และระบบราง) ทางนํ้า และทางอากาศ รัฐบาลจึงได้มีแผนพัฒนาโดยเฉพาะการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 และการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาให้เป็นสนามบินนานาชาติแห่งที่ 3 เพื่อรองรับปริมาณสินค้า และปริมาณของนักท่องเที่ยวที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี
• ธุรกิจอุตสาหกรรมเชื้อเพลิง และเคมีชีวภาพ
เป็นอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีศักยภาพสูง เนื่องจากมีวัตถุดิบ และความชำนาญของแรงงาน ทำให้ธุรกิจในกลุ่มนี้จะมีการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การผลิตพลาสติกชีวภาพ (Bioplastic) รวมถึงการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ในอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ โดยการผลิตเชื้อเพลิงจากวัตถุดิบที่ไม่เป็นอาหาร เช่นของเหลือใช้จากภาคอุตสาหกรรมทางการเกษตร เช่น ซังงข้าวโพด หรือชานอ้อย ซึ่งประเทศไทยสามารถใช้จุดแข็งในด้านการเกษตรที่มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลาย สภาพภูมิรัฐศาสตร์ที่เป็นจุดศูนย์กลางของอาเซียนที่มีศักภาพสูง เป็นจุดเพิ่มความน่าสนใจในการลงทุน
• ธุรกิจท่องเที่ยว
เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต โดยเฉพาะจุดมุ่งหมายที่ต้องการยกระดับการท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มีรายได้ปานกลางถึงสูง นักท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มรักสุขภาพ ศูนย์พักฟื้น โรงพยาบาล ให้เป็นการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมากขึ้น และเน้นการเส่งเสริมให้เป็นศูนย์กลางการจัดประชุมในระดับนานาชาติ จากนโยบายที่เน้นเรื่องการเพิ่มคุณภาพของนักท่องเที่ยวต่างประเทศ และการรณรงค์ให้ไทย-เที่ยว-ไทย จะทำให้แนวโน้มของโลกในด้านนี้มีผลต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศไทย
ด้วยศักยภาพที่เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงการคมนาคมหลายรูปแบบ EEC จะช่วยเพิ่มความสะดวก และความน่าสนใจจากทั้งนักลงทุน และนักท่องเที่ยวให้ตัดสินใจที่จะเลือกประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทาง
แต่แรงงานไทยเองก็จะต้องพัฒนา และต้องเติบโตขึ้นไปด้วยเช่นกัน เพราะหากแรงงานปรับตัวไม่ทัน หรือมัวแต่มุ่งหวังที่จะทำแต่งานที่ทำประจำเดิมๆ รูปแบบเดิมๆ ก็มีโอกาสตกรถไฟขบวนนี้อย่างแน่นอน ในอนาคตแรงงานทั้งในภาคเกษตร และภาคอุตสาหกรรม จะต้องปรับเปลี่ยนเป็นแรงงานในภาคการบริการมากขึ้น
ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมี GDP มาจากภาคบริการ 50%, ภาคอุตสาหกรรม 40% และภาคเกษตรเพียง 10% เท่านั้น แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างเช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา GDP ส่วนใหญ่จะมาจากภาคบริการถึง 80%, ประเทศสิงค์โปร์ 78% และประเทศญี่ปุ่น 72%
การจะผลักดันให้โครงการพัฒนาระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออกสามารถสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนได้
ทางรัฐบาลจึงควรจะมีการกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจนของโครงการต่างๆ และการพัฒนาฝีมือแรงงานให้มีความพร้อมรองรับอุตสาหกรรมต่างๆ ด้วย
ที่มา :
ศูนย์ประสานงาน EEC (Eastern Economic Corridor)
EEC - 3 ธุรกิจอนาคตไกล เป้าหมายในการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทย !!!
รัฐบาลจึงต้องกระตุ้นความน่าสนใจให้กับโครงการพัฒนาระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor (EEC) ซึ่งครอบคลุมพื้นที่จังหวัดฉะะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง โดยการกระตุ้นความน่าสนใจให้นักลงทุนถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ เร่งรัดโครงการก่อสร้างพื้นฐาน และลดความซับซ้อนของกฎข้อบังคับต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้ EEC เป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสูง เพิ่มมูลค่า และใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ พร้อมกับชูประเทศไทยที่เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญสำหรับการเชื่อมต่อคมนาคม - ขนส่งในภูมิภาคอาเซียน และในระดับโลก
ดังนั้น การเติบโตขึ้นของธุรกิจในอุตสาหกรรม จะทำให้เกิดผลกระทบในแง่บวกเป็นลูกโซ่ โดยเฉพาะ 3 กลุ่มธุรกิจนี้จะยกระดับ และต่อยอดพื้นฐานการผลิตเดิมที่มีการดำเนินกิจการอยู่แล้วในพื้นที่ภาคตะวันออก
• ธุรกิจโลจิสติกส์
ด้วยขนาดในการผลิตของภาคอุตสาหกรรมภายในโครงการ EEC ที่จะมีปริมาณ และจำนวนเพิ่มขึ้น จึงจำเป็นต้องอาศัยช่องทางการกระจายสินค้าเข้า - ออกที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะทั้งทางบก (ระบบถนน และระบบราง) ทางนํ้า และทางอากาศ รัฐบาลจึงได้มีแผนพัฒนาโดยเฉพาะการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 และการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาให้เป็นสนามบินนานาชาติแห่งที่ 3 เพื่อรองรับปริมาณสินค้า และปริมาณของนักท่องเที่ยวที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี
• ธุรกิจอุตสาหกรรมเชื้อเพลิง และเคมีชีวภาพ
เป็นอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีศักยภาพสูง เนื่องจากมีวัตถุดิบ และความชำนาญของแรงงาน ทำให้ธุรกิจในกลุ่มนี้จะมีการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การผลิตพลาสติกชีวภาพ (Bioplastic) รวมถึงการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ในอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ โดยการผลิตเชื้อเพลิงจากวัตถุดิบที่ไม่เป็นอาหาร เช่นของเหลือใช้จากภาคอุตสาหกรรมทางการเกษตร เช่น ซังงข้าวโพด หรือชานอ้อย ซึ่งประเทศไทยสามารถใช้จุดแข็งในด้านการเกษตรที่มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลาย สภาพภูมิรัฐศาสตร์ที่เป็นจุดศูนย์กลางของอาเซียนที่มีศักภาพสูง เป็นจุดเพิ่มความน่าสนใจในการลงทุน
• ธุรกิจท่องเที่ยว
เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต โดยเฉพาะจุดมุ่งหมายที่ต้องการยกระดับการท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มีรายได้ปานกลางถึงสูง นักท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มรักสุขภาพ ศูนย์พักฟื้น โรงพยาบาล ให้เป็นการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมากขึ้น และเน้นการเส่งเสริมให้เป็นศูนย์กลางการจัดประชุมในระดับนานาชาติ จากนโยบายที่เน้นเรื่องการเพิ่มคุณภาพของนักท่องเที่ยวต่างประเทศ และการรณรงค์ให้ไทย-เที่ยว-ไทย จะทำให้แนวโน้มของโลกในด้านนี้มีผลต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศไทย
ด้วยศักยภาพที่เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงการคมนาคมหลายรูปแบบ EEC จะช่วยเพิ่มความสะดวก และความน่าสนใจจากทั้งนักลงทุน และนักท่องเที่ยวให้ตัดสินใจที่จะเลือกประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทาง
แต่แรงงานไทยเองก็จะต้องพัฒนา และต้องเติบโตขึ้นไปด้วยเช่นกัน เพราะหากแรงงานปรับตัวไม่ทัน หรือมัวแต่มุ่งหวังที่จะทำแต่งานที่ทำประจำเดิมๆ รูปแบบเดิมๆ ก็มีโอกาสตกรถไฟขบวนนี้อย่างแน่นอน ในอนาคตแรงงานทั้งในภาคเกษตร และภาคอุตสาหกรรม จะต้องปรับเปลี่ยนเป็นแรงงานในภาคการบริการมากขึ้น
ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมี GDP มาจากภาคบริการ 50%, ภาคอุตสาหกรรม 40% และภาคเกษตรเพียง 10% เท่านั้น แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างเช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา GDP ส่วนใหญ่จะมาจากภาคบริการถึง 80%, ประเทศสิงค์โปร์ 78% และประเทศญี่ปุ่น 72%
ทางรัฐบาลจึงควรจะมีการกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจนของโครงการต่างๆ และการพัฒนาฝีมือแรงงานให้มีความพร้อมรองรับอุตสาหกรรมต่างๆ ด้วย
ที่มา : ศูนย์ประสานงาน EEC (Eastern Economic Corridor)