"Non bene pro toto libertas venditur auro"
เสรีภาพไม่อาจแลกเปลี่ยนด้วยทองคำทั้งมวล
(Liberty is not well sold for all the gold)
Dubrovnik เคยเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐ Ragusa ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ ๑๔ ถึงต้นศตวรรษที่ ๑๙ เป็นอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรืองและร่ำรวยด้วยการค้าทางทะเลจนถึงขีดสุดในราวศตวรรษที่ ๑๕ และ ๑๖ ก่อนจะเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่อันนำไปสู่การถดถอยของสาธารณรัฐ Ragusa ในเวลาต่อมา
เสรีภาพ คือ สิ่งที่สาธารณรัฐ Ragusa ให้ความสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด ทักษะทางการทูตของผู้ครองเมืองในการถ่วงดุลอำนาจระหว่างสาธารณรัฐเวนิสและจักรวรรดิออตโตมัน (มีศูนย์กลางในตุรกีปัจจุบัน) ที่มุ่งหวังครอบครองเส้นทางการเดินเรือในทะเลเอเดรียติก (เป็นส่วนหนึ่งของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน) ช่วยให้สาธารณรัฐ Ragusa มีอิสระในการปกครองตนเอง แม้ในความเป็นจริงจะเป็นประเทศราชของจักรวรรดิออตโตมันก็ตาม
Dubrovnik เริ่มต้นการยกเลิกการค้าทาสตั้งแต่ปี ๑๔๑๘ ก่อนสหรัฐอเมริกาที่ยกเลิกราว ๓๐๐ กว่าปีให้หลัง
เมื่อการค้าทาสถูกยกเลิกไป พ่อค้าชาว Dubrovnik ได้เริ่มต้นเดินเรือด้วยการชักธงสีขาวที่มีข้อความภาษาละติน Libertal หรือเสรีภาพ เพื่อทำการค้าในที่ต่าง ๆ และขยายเส้นทางไปทั่วโลกจากอินเดียถึงอเมริกา โดยอเมริกาอนุญาตให้เรือของพ่อค้า Dubrovnik ล่องผ่านน่านน้ำได้โดยเสรี
ปัจจุบัน ภัยคุกคามเสรีภาพของ Dubrovnik ไม่ได้มาจากอำนาจทางการเมืองในสมัยก่อน แต่หากเป็นจำนวนนักท่องเที่ยวที่ล้นทะลักเข้ามาในตัวเมืองเก่าจนส่งผลกระทบต่อคนท้องถิ่นที่นั่น ในฤดูร้อนที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวเข้ามาใน Dubrovnik หลักแสนในวันเดียวเลยทีเดียว
นักท่องเที่ยวส่งผลให้อสังหาริมทรัพย์แพงขึ้นจนชาวบ้านไม่สามารถรับภาระไหว ต้องย้ายออกไปเป็นจำนวนมาก คนที่ยังอาศัยอยู่ต้องคอยดูโทรทัศน์ที่รายงานบรรยากาศภายนอก เมื่อเห็นว่านักท่องเที่ยวซาลง จึงได้เริ่มออกจากบ้าน ความจริงแล้ว สถานการณ์แบบนี้ได้เกิดขึ้นกับเวนิสมานานแล้ว จนปัจจุบัน การเดินเที่ยวเวนิสก็แทบไม่ต่างจากการเดินเที่ยวสวนสนุกหรือ theme park ที่มีแต่นักท่องเที่ยว ไม่มีโอกาสสัมผัสวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนท้องถิ่นเหมือนแต่ก่อน
ผมมีโอกาสมา Dubrovnik ครั้งแรกในปลายเดือนธันวาคม ๒๕๕๖ เพื่อมา countdown ที่นี่ เห็นรูปครั้งแรกก็ตั้งมั่นเลยว่า ต้องมาให้ได้ แม้จะใช้เวลาเดินทางนานเป็นวันจากสาธารณรัฐเช็กก็ถาม ยังจำได้คราวที่พลาดรถไฟจากเวียนนามาซาเกร็บ (เมืองหลวงโครเอเชีย) แต่ก็ยังดั้นด้นมา นั่งรถบัสเที่ยวกลางคืนร่วม ๑๐ ชั่วโมง จนมาถึง Dubrovnik ในตอนเช้า เห็นแล้วหายเหนื่อยเลย ผมอยู่ที่นี่ราว ๔ คืน แต่ละวันออกมาเดินเที่ยวไม่เบื่อเลย ในสมัยนั้น นักท่องเที่ยวยังไม่เยอะ ถนนโล่ง เดินเล่นได้สบาย ๆ เป็นประสบการณ์การ countdown ครั้งหนึ่งที่ประทับใจมากพอ ๆ กับตอนที่ไป countdown ที่ Hallstatt
พอได้เห็นข่าวหมู่มวลนักท่องเที่ยวล้นทะลักเข้ามาใน Dubrovnik ก็อดใจหายไม่ได้ พลันอดตั้งคำถามในใจไม่ได้ว่า
สุดท้ายแล้ว เสรีภาพของ Dubrovnik คงถูกเงินทองซื้อไปเกือบหมดแล้วกระมัง...
--------
ใครสนใจการเรียน การทำงาน และการท่องเที่ยวแนว hidden gems ในยุโรป ก็ขอเชิญไปเยี่ยมชมหรือพูดคุยกันได้ที่เฟสบุ๊คแฟนเพจครับ
https://www.facebook.com/IRememberEurope/
Dubrovnik ฤๅเสรีภาพอาจซื้อได้ด้วยทอง?
เสรีภาพไม่อาจแลกเปลี่ยนด้วยทองคำทั้งมวล
(Liberty is not well sold for all the gold)
Dubrovnik เคยเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐ Ragusa ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ ๑๔ ถึงต้นศตวรรษที่ ๑๙ เป็นอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรืองและร่ำรวยด้วยการค้าทางทะเลจนถึงขีดสุดในราวศตวรรษที่ ๑๕ และ ๑๖ ก่อนจะเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่อันนำไปสู่การถดถอยของสาธารณรัฐ Ragusa ในเวลาต่อมา
เสรีภาพ คือ สิ่งที่สาธารณรัฐ Ragusa ให้ความสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด ทักษะทางการทูตของผู้ครองเมืองในการถ่วงดุลอำนาจระหว่างสาธารณรัฐเวนิสและจักรวรรดิออตโตมัน (มีศูนย์กลางในตุรกีปัจจุบัน) ที่มุ่งหวังครอบครองเส้นทางการเดินเรือในทะเลเอเดรียติก (เป็นส่วนหนึ่งของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน) ช่วยให้สาธารณรัฐ Ragusa มีอิสระในการปกครองตนเอง แม้ในความเป็นจริงจะเป็นประเทศราชของจักรวรรดิออตโตมันก็ตาม
Dubrovnik เริ่มต้นการยกเลิกการค้าทาสตั้งแต่ปี ๑๔๑๘ ก่อนสหรัฐอเมริกาที่ยกเลิกราว ๓๐๐ กว่าปีให้หลัง
เมื่อการค้าทาสถูกยกเลิกไป พ่อค้าชาว Dubrovnik ได้เริ่มต้นเดินเรือด้วยการชักธงสีขาวที่มีข้อความภาษาละติน Libertal หรือเสรีภาพ เพื่อทำการค้าในที่ต่าง ๆ และขยายเส้นทางไปทั่วโลกจากอินเดียถึงอเมริกา โดยอเมริกาอนุญาตให้เรือของพ่อค้า Dubrovnik ล่องผ่านน่านน้ำได้โดยเสรี
ปัจจุบัน ภัยคุกคามเสรีภาพของ Dubrovnik ไม่ได้มาจากอำนาจทางการเมืองในสมัยก่อน แต่หากเป็นจำนวนนักท่องเที่ยวที่ล้นทะลักเข้ามาในตัวเมืองเก่าจนส่งผลกระทบต่อคนท้องถิ่นที่นั่น ในฤดูร้อนที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวเข้ามาใน Dubrovnik หลักแสนในวันเดียวเลยทีเดียว
นักท่องเที่ยวส่งผลให้อสังหาริมทรัพย์แพงขึ้นจนชาวบ้านไม่สามารถรับภาระไหว ต้องย้ายออกไปเป็นจำนวนมาก คนที่ยังอาศัยอยู่ต้องคอยดูโทรทัศน์ที่รายงานบรรยากาศภายนอก เมื่อเห็นว่านักท่องเที่ยวซาลง จึงได้เริ่มออกจากบ้าน ความจริงแล้ว สถานการณ์แบบนี้ได้เกิดขึ้นกับเวนิสมานานแล้ว จนปัจจุบัน การเดินเที่ยวเวนิสก็แทบไม่ต่างจากการเดินเที่ยวสวนสนุกหรือ theme park ที่มีแต่นักท่องเที่ยว ไม่มีโอกาสสัมผัสวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนท้องถิ่นเหมือนแต่ก่อน
ผมมีโอกาสมา Dubrovnik ครั้งแรกในปลายเดือนธันวาคม ๒๕๕๖ เพื่อมา countdown ที่นี่ เห็นรูปครั้งแรกก็ตั้งมั่นเลยว่า ต้องมาให้ได้ แม้จะใช้เวลาเดินทางนานเป็นวันจากสาธารณรัฐเช็กก็ถาม ยังจำได้คราวที่พลาดรถไฟจากเวียนนามาซาเกร็บ (เมืองหลวงโครเอเชีย) แต่ก็ยังดั้นด้นมา นั่งรถบัสเที่ยวกลางคืนร่วม ๑๐ ชั่วโมง จนมาถึง Dubrovnik ในตอนเช้า เห็นแล้วหายเหนื่อยเลย ผมอยู่ที่นี่ราว ๔ คืน แต่ละวันออกมาเดินเที่ยวไม่เบื่อเลย ในสมัยนั้น นักท่องเที่ยวยังไม่เยอะ ถนนโล่ง เดินเล่นได้สบาย ๆ เป็นประสบการณ์การ countdown ครั้งหนึ่งที่ประทับใจมากพอ ๆ กับตอนที่ไป countdown ที่ Hallstatt
พอได้เห็นข่าวหมู่มวลนักท่องเที่ยวล้นทะลักเข้ามาใน Dubrovnik ก็อดใจหายไม่ได้ พลันอดตั้งคำถามในใจไม่ได้ว่า
สุดท้ายแล้ว เสรีภาพของ Dubrovnik คงถูกเงินทองซื้อไปเกือบหมดแล้วกระมัง...
--------
ใครสนใจการเรียน การทำงาน และการท่องเที่ยวแนว hidden gems ในยุโรป ก็ขอเชิญไปเยี่ยมชมหรือพูดคุยกันได้ที่เฟสบุ๊คแฟนเพจครับ https://www.facebook.com/IRememberEurope/