เช้าตอกบัตรเย็นเลิกงาน ทำเท่าไหร่ก็ไม่รวยซะที คงจะเป็นคำพูดติดหูของใครหลายๆ คน คงไม่ต้องแปลกใจที่มีคนไม่น้อยเลือกที่จะออกมาทำอาชีพอิสระ โดยที่ไม่ต้องไปเป็นลูกจ้างใคร ยิ่งยุคดิจิตอลที่สามารถเริ่มต้นธุรกิจได้ง่ายก็ยิ่งทำให้คนอยากออกมาทำเองมากขึ้น พอเริ่มมีรายได้เข้ามาก็เริ่มอยากที่จะมีอะไรเป็นของตนเอง บ้านก็เป็นความฝันอย่างหนึ่งของใครหลายๆ คน แต่เพราะรายได้บางเดือนที่ไม่สม่ำเสมอ แถมเอกสารให้ตรวจสอบก็ทำได้ยาก ไม่เหมือนพนักงานประจำที่มีสลิปเงินเดือน ถึงแม้บางคนที่ทำอาชีพอิสระจะมีรายได้เข้ามาเยอะมากก็ตาม คงเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้กู้ซื้อบ้านได้ลำบาก
แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ เพราะการกู้บ้านสำหรับคนที่ไม่ใช่พนักงานประจำ แต่ยังไม่ถึงขั้นเป็นเจ้าของธุรกิจที่มีการจดทะเบียนพาณิชย์ ก็ยังพอมีทาง ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าบ้านนั้นเป็นหนี้ก้อนใหญ่และต้องจ่ายอย่างต่อเนื่องหลายปี เพราะงั้นผู้ให้กู้ก็ต้องการความมั่นใจว่า คนที่จะขอกู้สามารถที่จะชำระได้จนครบสัญญา จุดสำคัญคือการแสดงที่มาของรายได้แล้วจะแสดงยังไงก็ตามนี้เลยครับ
อันดับแรกคือ ต้องแสดงให้รู้ว่าเราทำงานอะไร บางอาชีพมีบัตรประกอบวิชาชีพ เช่น ใบอนุญาตขายประกัน ผู้ตรวจสอบบัญชี แต่สำหรับใครที่ไม่มีบัตรประจำตัววิชาชีพหรือใบประกอบวิชาชีพ ก็อาจใช้หนังสือสัญญาว่าจ้าง หรือให้ทางบริษัทที่จ้างเราทำงานออกหนังสือรับรองการจ้างงานให้ก็ได้เช่นเดียวกัน
ข้อต่อมาก็สำคัญคือ ต้องแสดงให้เห็นว่ารายได้ที่เข้ามาเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ มีความสม่ำเสมอแค่ไหนจุดนี้สำคัญคือรายได้ดังกล่าวต้องสามารถตรวจสอบได้ หากใครที่นึกไม่ออกว่าเอกสารเป็นแบบไหน ยกตัวอย่างเช่น
หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือที่เรียกกันว่า 50 ทวิ เปรียบเสมือนใบเสร็จที่ได้รับจากบริษัทที่เราทำงานให้ ซึ่งใบ 50 ทวิ จะมีรายละเอียดที่แสดงว่าได้รับเงินจากบริษัทไหน เป็นจำนวนเงินเท่าไร ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเท่าไร และเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทไหน สำหรับการยื่นกู้เงินกับธนาคารควรมีเอกสารในช่วง 6 เดือนย้อนหลังเป็นอย่างน้อย
หลักฐานการเสียภาษี ซึ่งหลักฐานการเสียภาษีจะเป็นเอกสารหนึ่งที่แสดงได้ว่า ทั้งปีมีรายได้มาจากการทำงานอะไร เป็นจำนวนเงินเท่าไร และธนาคารอาจนำเงินได้ทั้งปีมาหารเฉลี่ยคิดเป็นรายได้ต่อเดือนให้กับเรา
รายการเดินบัญชีย้อนหลัง (Statement) ในการจ่ายเงินของบริษัทที่จ้างเราทำงานให้ อาจใช้วิธีการโอนเงินเข้าบัญชี ซึ่งเป็นหลักฐานหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่ามีรายได้เข้ามาเดือนละเท่าไร แต่หากได้รับเป็นเงินสด แนะนำให้นำเงินเข้าบัญชีเสียก่อนค่อยถอนออกมาใช้จ่าย โดยยอดเงินที่ได้รับแต่ละครั้งก็จะตรงกับหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) นั่นเอง
แต่สำคัญนอกจากแสดงที่มาของรายได้แล้วต้องไม่ลืมว่าแบงก์จะดูภาระผ่อนหนี้สินอื่นๆ ด้วยเช่นกันว่า เราผ่อนอะไรอยู่บ้าง เพราะภาระผ่อนต่อเดือนที่แบงก์ให้ส่วนใหญ่คือ 40% ของรายได้ เช่นรายได้เดือนละ 20,000 บาท ไม่ใช่ว่าเราเอาเงินทั้งหมดมาผ่อนได้นะ เราจะผ่อนบ้านได้เพียง 8,000 บาทเท่านั้น โดยหากมีภาระผ่อนอื่นๆ ก็จะทำความสามารถในการผ่อนของเราลดลงไปด้วย ส่วนการอนุมัติวงเงินกู้ยังต้องพิจารณาในเรื่องอื่นๆ อีกเช่น ประวัติการผ่อนชำระที่ผ่านมาในเครดิตบูโร และเงื่อนไขอื่นๆ ตามหลักเกณฑ์ของแต่ละธนาคาร ซึ่งมีความแตกต่างกันครับ
หลายคงคงรู้สึกว่าทำไมมันดูยุ่งยาก แต่มันเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อป้องกันทั้งผู้กู้ และ ผู้ให้กู้ ในระยะยาว หวังว่าคงพอจะเป็นไอเดียให้เพื่อนๆ ได้ตระเตรียมก่อนขอกู้ซื้อบ้านกันนะครับ
สำหรับใครที่อยากรู้ว่า เงินเดือน 2 หมื่นบาทซื้อบ้านได้กี่ล้าน? ติดตามไปอ่านต่อได้ที่
https://ppantip.com/topic/36917243
ไม่ใช่พนักงานประจำแต่อยากกู้บ้านทำไง?
แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ เพราะการกู้บ้านสำหรับคนที่ไม่ใช่พนักงานประจำ แต่ยังไม่ถึงขั้นเป็นเจ้าของธุรกิจที่มีการจดทะเบียนพาณิชย์ ก็ยังพอมีทาง ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าบ้านนั้นเป็นหนี้ก้อนใหญ่และต้องจ่ายอย่างต่อเนื่องหลายปี เพราะงั้นผู้ให้กู้ก็ต้องการความมั่นใจว่า คนที่จะขอกู้สามารถที่จะชำระได้จนครบสัญญา จุดสำคัญคือการแสดงที่มาของรายได้แล้วจะแสดงยังไงก็ตามนี้เลยครับ
อันดับแรกคือ ต้องแสดงให้รู้ว่าเราทำงานอะไร บางอาชีพมีบัตรประกอบวิชาชีพ เช่น ใบอนุญาตขายประกัน ผู้ตรวจสอบบัญชี แต่สำหรับใครที่ไม่มีบัตรประจำตัววิชาชีพหรือใบประกอบวิชาชีพ ก็อาจใช้หนังสือสัญญาว่าจ้าง หรือให้ทางบริษัทที่จ้างเราทำงานออกหนังสือรับรองการจ้างงานให้ก็ได้เช่นเดียวกัน
ข้อต่อมาก็สำคัญคือ ต้องแสดงให้เห็นว่ารายได้ที่เข้ามาเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ มีความสม่ำเสมอแค่ไหนจุดนี้สำคัญคือรายได้ดังกล่าวต้องสามารถตรวจสอบได้ หากใครที่นึกไม่ออกว่าเอกสารเป็นแบบไหน ยกตัวอย่างเช่น
หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือที่เรียกกันว่า 50 ทวิ เปรียบเสมือนใบเสร็จที่ได้รับจากบริษัทที่เราทำงานให้ ซึ่งใบ 50 ทวิ จะมีรายละเอียดที่แสดงว่าได้รับเงินจากบริษัทไหน เป็นจำนวนเงินเท่าไร ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเท่าไร และเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทไหน สำหรับการยื่นกู้เงินกับธนาคารควรมีเอกสารในช่วง 6 เดือนย้อนหลังเป็นอย่างน้อย
หลักฐานการเสียภาษี ซึ่งหลักฐานการเสียภาษีจะเป็นเอกสารหนึ่งที่แสดงได้ว่า ทั้งปีมีรายได้มาจากการทำงานอะไร เป็นจำนวนเงินเท่าไร และธนาคารอาจนำเงินได้ทั้งปีมาหารเฉลี่ยคิดเป็นรายได้ต่อเดือนให้กับเรา
รายการเดินบัญชีย้อนหลัง (Statement) ในการจ่ายเงินของบริษัทที่จ้างเราทำงานให้ อาจใช้วิธีการโอนเงินเข้าบัญชี ซึ่งเป็นหลักฐานหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่ามีรายได้เข้ามาเดือนละเท่าไร แต่หากได้รับเป็นเงินสด แนะนำให้นำเงินเข้าบัญชีเสียก่อนค่อยถอนออกมาใช้จ่าย โดยยอดเงินที่ได้รับแต่ละครั้งก็จะตรงกับหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) นั่นเอง
แต่สำคัญนอกจากแสดงที่มาของรายได้แล้วต้องไม่ลืมว่าแบงก์จะดูภาระผ่อนหนี้สินอื่นๆ ด้วยเช่นกันว่า เราผ่อนอะไรอยู่บ้าง เพราะภาระผ่อนต่อเดือนที่แบงก์ให้ส่วนใหญ่คือ 40% ของรายได้ เช่นรายได้เดือนละ 20,000 บาท ไม่ใช่ว่าเราเอาเงินทั้งหมดมาผ่อนได้นะ เราจะผ่อนบ้านได้เพียง 8,000 บาทเท่านั้น โดยหากมีภาระผ่อนอื่นๆ ก็จะทำความสามารถในการผ่อนของเราลดลงไปด้วย ส่วนการอนุมัติวงเงินกู้ยังต้องพิจารณาในเรื่องอื่นๆ อีกเช่น ประวัติการผ่อนชำระที่ผ่านมาในเครดิตบูโร และเงื่อนไขอื่นๆ ตามหลักเกณฑ์ของแต่ละธนาคาร ซึ่งมีความแตกต่างกันครับ
หลายคงคงรู้สึกว่าทำไมมันดูยุ่งยาก แต่มันเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อป้องกันทั้งผู้กู้ และ ผู้ให้กู้ ในระยะยาว หวังว่าคงพอจะเป็นไอเดียให้เพื่อนๆ ได้ตระเตรียมก่อนขอกู้ซื้อบ้านกันนะครับ
สำหรับใครที่อยากรู้ว่า เงินเดือน 2 หมื่นบาทซื้อบ้านได้กี่ล้าน? ติดตามไปอ่านต่อได้ที่
https://ppantip.com/topic/36917243