จากการที่ดิฉันตอบความเห็นในกระทู้
https://ppantip.com/topic/36944888/comment3 ใน 2ประเด็นหลักๆคือ
1. นายกปู อาจจะไม่สามารถขอสถานะผู้ลี้ภัยทางการเมืองได้เพราะคดีที่ถูกตัดสินเป็นเรื่องคอรัปชั่นการทุจริต
ที่ไม่ว่าประเทศไหนๆก็มีมาตรฐานในการตัดสินโทษตามแบบฉบับของประเทศนั้นๆ
2. ครอบครัวไม่สามารถขอสถานะผู้ลี้ภัยได้เพราะไม่ได้ถูกคุกคาม และไม่ได้กระทำผิด
ส่วนคุณ สมาชิกหมายเลข 3752251 ได้เข้ามาให้คำชี้แนะ ในคหที่
https://ppantip.com/topic/36944888/comment3-1
https://ppantip.com/topic/36944888/comment6-2
ประเด็นหลักๆคือ
1. หากศาลฏีกาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตัดสินคดีใดๆ ย่อมถือเป็นคดีทางการเมือง
2. หากประเทศปลายทางที่ถูกร้องขอให้ส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน ไม่มีศาลเดียวกันกับทางต้นทางที่เป็นผู้ตัดสินคดี จะไม่เข้าข่ายการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน
3. หากได้สถานะผู้ลี้ภัยแล้ว จะได้ PR และจะขอสถานะผู้ลี้ภัยแก่ครอบครัวได้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ตามประเด็นหลักๆ ข้างต้น ดิฉันขอให้ข้อมูลดังนี้
1. เรื่องการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน
การส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนนั้น ไม่ได้มองว่า จะต้องมีศาลเดียวกัน ตัดสินเหมือนกัน แล้วจะส่งตัวผู้ร้ายให้
แต่เน้นไปที่การตัดสินโทษในคดีนั้นๆ หลักฐานในการกระทำผิดนั้นๆ หนักแน่นพอที่จะตัดสินให้ผู้มีความผิด
ต้องรับโทษหรือไม่ พูดง่ายๆคือ หากนายกปู ทำผิดในอังกฤษ จะถูกพิจารณาให้รับโทษหรือไม่
หากใช่ อังกฤษก็ต้องส่งตัวนายกปูให้กับทางการไทย ซึ่งในการขอตัวผู้ร้ายข้ามแดนนั้น ทางตำรวจไทย
ก็ต้องส่งสำนวนและหลักฐานต่างๆให้อังกฤษเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
**ไม่ได้มองแค่ว่าเป็น "ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง" ก็ถือว่าอังกฤษไม่มีศาลนี้ ก็ปฏิเสธได้เลย
เงื่อนไขสำคัญในการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้อย่างไรก็ดี เเม้จะมีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามเเดนก็ตามก็มิได้หมายความว่า เมื่อมีการร้องขอให้มีการส่งผู้ร้ายข้ามเเดนเเล้ว
รัฐที่ได้รับการร้องขอจะต้องส่งให้ตามคำร้องเสมอ โดยปกติเเล้ว ตามสนธิสัญญาว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามเเดนหรือ
กฎหมายภายในเกี่ยวกับการส่งผู้ร้ายข้ามเเดนจะระบุเงื่อนไขหรือเกณฑ์ที่ใช้พิจารณารวมถึงข้อยกเว้นบางประการด้วย
เกณฑ์หรือเงื่อนไขของการส่งผู้ร้ายข้ามเเดนที่สำคัญคือ
ประการเเรก ความผิดที่จะส่งให้เเก่กันได้นั้นต้องเป็นความผิดของทั้งสองประเทศคือทั้งของประเทศที่ร้องของ
เเละประเทศที่ได้รับการร้องขอ ไม่ว่าจะเรียกฐานความผิดในชื่อใดก็ตาม เกณฑ์นี้นักกฎหมายเรียกว่า Double-criminality
หรือ Double-jeopardy
ประการที่สอง โทษขั้นต่ำของฐานความผิด (เช่น ต้องไม่ต่ำกว่า 1 ปี)
ประการที่สาม ความผิดที่จะถูกดำเนินคดีได้เมื่อมีการส่งผู้ร้ายข้ามเเดนตามคำขอนั้น รัฐที่ร้องขอจะพิจารณาคดี
เเละลงโทษได้เฉพาะความผิดที่ร้องขอเท่านั้น จะไปดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นที่เกิดขึ้นก่อนที่จะมีการร้องขอให้มีการ
ส่งผู้ร้ายข้ามเเดนไม่ได้ เกณฑ์ข้อนี้มีไว้เพื่อป้องกันมิให้มีการดำเนินคดีในควาผิดที่ไม่อาจส่งผู้ร้ายข้ามเเดนให้เเก่กันได้
เเต่รัฐได้อาศัยช่องทางของการส่งผู้ร้ายข้ามเเดน ในความผิดฐานหนึ่งเพื่อไปดำเนินคดีหรือลงโทษในอีกความผิดฐานหนึ่ง
เกณฑ์นี้เรียกว่า "Speciality"
ที่มา: https://prachatai.com/journal/2008/08/17701
2. การลี้ภัยทางการเมือง (Political Asylum)
ผู้ลี้ภัย หมายถึง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้บุคคลที่จากที่อยู่ของตนโดยถูกบีบบังคับจากเหตุการณ์ที่ตนไม่มีอำนาจควบคุม เช่น ภัยแห่งสงคราม
การบุกรุกของชาติอื่น หรือภัยธรรมชาติ ทำให้ต้องเปลี่ยนสถานที่อยู่ ผู้ลี้ภัยมักจะเป็นผู้ลี้ภัยทางการเมืองเสียส่วนใหญ่
การลี้ภัยแบ่งเป็น 2 พวก
1.พวกที่ถูกบังคับให้หนีภัย เช่น ในปีคศ.1915 รัฐบาลเชโกสโลวาเกียขับไล่ชาวเยอรมันในแคว้นโชเดเต็น
2.พวกหนีโดยความสมัครใจจากเหตุการ์ณการเมืองบีบบังคับ
คุณสมบัติของผู้ลี้ภัย
1.อยู่นอกประเทศที่ตนมีสัญชาติ (ถ้าเป็นบุคคลไร้สัญชาติให้ถือประเทศที่ตนมีถิ่นที่อยู่ประจำแทน)
2.โดยความกลัวว่าอาจจะถูกประหารเนื่องจากสาเหตุข้อหนึ่งข้อใด เช่น เชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ สมาชิกภาพในกลุ่มทางสังคม
สมาชิกภาพในกลุ่มความคิดทางการเมือง
3.เนื่องจากความกลัวนั้นไม่สามารถหรือไม่สมัครใจที่จะได้รับความคุ้มครองจากประเทศที่ตนมีสัญชาติ
ที่มา https://www.gotoknow.org/posts/179062
ส่วนเงื่อนไขที่บุคคลจะอยู่ในข่ายที่จะได้รับสิทธิลี้ภัยนั้น ส่วนใหญ่กฎหมายของเเต่ละประเทศจะอิงหรืออาศัยคำนิยามของอนุสัญญาว่าด้วยผู้ลี้ภัยค.ศ. 1951 รวมทั้งพิธีสาร ค.ศ. 1967 เป็นเเนวทางในการพิจารณา ส่วนเรื่องขั้นตอนวิธีการการขอเเละการอุทธรณ์เป็นไปตามกฎหมายภายในของเเต่ละประเทศ เงื่อนไขประการสำคัญที่ผู้ร้องจะได้รับสิทธิการลี้ภัยก็คือ ความเกรงกลัวว่าจะถูกประหัตประหาร (Persecute) โดยมีการเลือกปฎิบัติด้วยเหตุผลทางชาติพันธุ์ (race) ศาสนา (religion) สัญชาติ (Nationality) การเป็นสมาชิกของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เเละความคิดเห็นทางการเมือง (Political opinion) ซึ่งคำว่า "ความคิดเห็นทางการเมือง" นั้นมีความหมายกว้าง
ที่มา https://prachatai.com/journal/2008/08/17701
3. คดีการเมือง / ความผิดทางการเมือง
แบ่งได้เป็นลักษณะย่อยๆ ได้ดังนี้
3.1. ออกความเห็นทางการเมือง
3.2. การกระทำที่มีผลสืบเนื่องจากการเมือง เช่น การเสียหายจากการชุมนุมทางการเมือง การถูกบีบบังคับให้กระทำ เพราะสาเหตุทางการเมือง
3.3. ถูกตัดสินโทษ เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง
3.4. ถูกตัดสินโทษ เพราะเหตุการณ์ทางการเมือง
4. ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ศาลนี้ เป็นศาลที่มีไว้เพื่อ "ตัดสินผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง" ไม่ใช่ "ตัดสินคดีการเมือง" เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้อำนาจหน้าที่ในวงราชการเข้ามาแทรกแทรงอำนาจศาล เช่น ข้อหาประพฤติมิชอบในวงราชการ หากเข้าข่ายผู้ดำรงตำแหน่งการการเมือง ย่อมต้องเข้าศาลนี้
ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คือ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้นายกรัฐมนตรี
รัฐมนตรี
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
สมาชิกวุฒสภา
ข้าราชการการเมืองอื่นๆ
ผู้ร่วมกระทำผิดที่เป็นตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุนให้บุคคล ตาม 1-5 กระทำความผิด
คดีอะไรบ้างที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีอำนาจพิจารณา
คดีที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ
คดีที่เป็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ถึง มาตรา 166 เช่น เรียกรับสินบน เจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ เจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือเจ้าพนักงานทำเอกสารเท็จหรือเอกสารปลอม และอื่นๆ
หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่นๆ
ผู้ที่มีสิทธินำคดีฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คือ
อัยการสูงสุด
คณะกรรมการ ป.ป.ช.
ประธานวุฒิสภา กรณีกล่าวหาว่า กรรมการป.ป.ช. ร่ำรวยผิดปกติ หรือทุจริตต่อหน้าที่ เพื่อตรวจสอบการทำหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช.
ผู้เสียหายไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องเอง ต้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.เท่านั้น
ที่มา http://guru.sanook.com/6395/
ดังหลักที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น หากจะมองไปที่คดีของ นายกปู ย่อมมองได้หลายกรณ๊
1. การได้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 (เดิม) และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
การป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 123/1
ซึ่งเป็นความผิดทางราชการไม่ใช่ทางการเมือง
ซึ่งหากต้องการขอลี้ภัยทางการเมือง ย่อมต้องอ้าง 3.3 ตามข้างต้น เท่านั้น
2. ทั้งนี้ทั้งนั้น อาจจะต้องดูด้วยว่า หากกฏหมายเดียวกันของอังกฤษ ให้โทษมากกว่า 1 ปี อาจจะไม่ได้สถานะผู้ลี้ภัย ก็เป็นได้
3. หรือ ในฐานะ Accountability ของนายก ไม่มีความผิดจริง ก็อาจจะให้สถานะผู้ลี้ภัยได้
4. หรือ หากศาลเห็นพ้องว่า การตัดสินโทษคดี G2G ไม่มีความผิดจริง และเป็นการหวังผลทางการเมือง ก็อาจจะให้สถานะได้เช่นกัน เพราะถือว่า เป็นการหวังผลสืบเนื่อง ในข้อ 3.2
ดังนั้น การคิดง่ายๆว่า
"แค่ชื่อศาลก็ฟ้องโต้งๆแล้วว่า เป็นคดีทางการเมือง" นั้น เป็นความคิดที่ผิดค่ะ
ส่วนเรื่อง สถานะผู้ลี้ภัย สามารถขอ PR ได้หลังจาก living in the U.S. for one year. After five years of residence in the U.S. and gaining Permanent Resident Status, he or she may apply for citizenship.
ที่มา
http://www.kyha.com/CM/Initiatives/Safety_and_Quality_Resources/Immigrant_v_Refugee_Difference.aspx
และต้องอาศัยใน US ไม่ต่ำกว่า 2 ปี จึงจะขอสถานะให้กับครอบครัวได้
https://therefugeecenter.org/resources/family-reunification/
ตามความเห็นของเรา การได้สถานะผู้ลี้ภัยจะได้ PR ยังไม่ตรงความเป็นจริงเท่าไหร่
แต่หากต้องรอ 2 ปีแล้วขอสถานะให้ครอบครัวได้ เราถือว่า คุณพูดถูก และขอบคุณที่ช่วยชี้ประเด็น
source ที่เป็นภาษาอังกฤษ คุณคงอ่านแล้วเข้าใจมากกว่าเรา หากเราเข้าใจผิด ช่วยชี้แนะด้วย
และที่อ้างถึงนี้ เป็นเกณฑ์ของ US
หากใครมีเกณฑ์ของ สหราชอาณาจักร ซึ่งตรงกับการโต้เถียงมากกว่า กรุณาช่วยบอกพิกัดด้วย
ขอบคุณ
โต้แย้งเพื่อเปิดโลกทัศน์ค่ะ ใครมีอะไรเพิ่มเติม เชิญชี้แนะ
ปล. ที่คัดลอกมาจากเวบอื่นอยู่ในสปอย หากมีการโต้แย้ง เชิญโต้แย้งหัวขข้อที่อยู่นอกสปอยได้เลยค่ะ
[แตกประเด็น] เชิญคุณ สมาชิก 3752251 เรื่องผู้ลี้ภัยและคดีการเมือง
1. นายกปู อาจจะไม่สามารถขอสถานะผู้ลี้ภัยทางการเมืองได้เพราะคดีที่ถูกตัดสินเป็นเรื่องคอรัปชั่นการทุจริต
ที่ไม่ว่าประเทศไหนๆก็มีมาตรฐานในการตัดสินโทษตามแบบฉบับของประเทศนั้นๆ
2. ครอบครัวไม่สามารถขอสถานะผู้ลี้ภัยได้เพราะไม่ได้ถูกคุกคาม และไม่ได้กระทำผิด
ส่วนคุณ สมาชิกหมายเลข 3752251 ได้เข้ามาให้คำชี้แนะ ในคหที่
https://ppantip.com/topic/36944888/comment3-1
https://ppantip.com/topic/36944888/comment6-2
ประเด็นหลักๆคือ
1. หากศาลฏีกาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตัดสินคดีใดๆ ย่อมถือเป็นคดีทางการเมือง
2. หากประเทศปลายทางที่ถูกร้องขอให้ส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน ไม่มีศาลเดียวกันกับทางต้นทางที่เป็นผู้ตัดสินคดี จะไม่เข้าข่ายการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน
3. หากได้สถานะผู้ลี้ภัยแล้ว จะได้ PR และจะขอสถานะผู้ลี้ภัยแก่ครอบครัวได้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ตามประเด็นหลักๆ ข้างต้น ดิฉันขอให้ข้อมูลดังนี้
1. เรื่องการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน
การส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนนั้น ไม่ได้มองว่า จะต้องมีศาลเดียวกัน ตัดสินเหมือนกัน แล้วจะส่งตัวผู้ร้ายให้
แต่เน้นไปที่การตัดสินโทษในคดีนั้นๆ หลักฐานในการกระทำผิดนั้นๆ หนักแน่นพอที่จะตัดสินให้ผู้มีความผิด
ต้องรับโทษหรือไม่ พูดง่ายๆคือ หากนายกปู ทำผิดในอังกฤษ จะถูกพิจารณาให้รับโทษหรือไม่
หากใช่ อังกฤษก็ต้องส่งตัวนายกปูให้กับทางการไทย ซึ่งในการขอตัวผู้ร้ายข้ามแดนนั้น ทางตำรวจไทย
ก็ต้องส่งสำนวนและหลักฐานต่างๆให้อังกฤษเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
**ไม่ได้มองแค่ว่าเป็น "ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง" ก็ถือว่าอังกฤษไม่มีศาลนี้ ก็ปฏิเสธได้เลย
เงื่อนไขสำคัญในการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
2. การลี้ภัยทางการเมือง (Political Asylum)
ผู้ลี้ภัย หมายถึง [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
3. คดีการเมือง / ความผิดทางการเมือง
แบ่งได้เป็นลักษณะย่อยๆ ได้ดังนี้
3.1. ออกความเห็นทางการเมือง
3.2. การกระทำที่มีผลสืบเนื่องจากการเมือง เช่น การเสียหายจากการชุมนุมทางการเมือง การถูกบีบบังคับให้กระทำ เพราะสาเหตุทางการเมือง
3.3. ถูกตัดสินโทษ เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง
3.4. ถูกตัดสินโทษ เพราะเหตุการณ์ทางการเมือง
4. ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ศาลนี้ เป็นศาลที่มีไว้เพื่อ "ตัดสินผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง" ไม่ใช่ "ตัดสินคดีการเมือง" เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้อำนาจหน้าที่ในวงราชการเข้ามาแทรกแทรงอำนาจศาล เช่น ข้อหาประพฤติมิชอบในวงราชการ หากเข้าข่ายผู้ดำรงตำแหน่งการการเมือง ย่อมต้องเข้าศาลนี้
ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คือ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ดังหลักที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น หากจะมองไปที่คดีของ นายกปู ย่อมมองได้หลายกรณ๊
1. การได้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 (เดิม) และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
การป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 123/1 ซึ่งเป็นความผิดทางราชการไม่ใช่ทางการเมือง
ซึ่งหากต้องการขอลี้ภัยทางการเมือง ย่อมต้องอ้าง 3.3 ตามข้างต้น เท่านั้น
2. ทั้งนี้ทั้งนั้น อาจจะต้องดูด้วยว่า หากกฏหมายเดียวกันของอังกฤษ ให้โทษมากกว่า 1 ปี อาจจะไม่ได้สถานะผู้ลี้ภัย ก็เป็นได้
3. หรือ ในฐานะ Accountability ของนายก ไม่มีความผิดจริง ก็อาจจะให้สถานะผู้ลี้ภัยได้
4. หรือ หากศาลเห็นพ้องว่า การตัดสินโทษคดี G2G ไม่มีความผิดจริง และเป็นการหวังผลทางการเมือง ก็อาจจะให้สถานะได้เช่นกัน เพราะถือว่า เป็นการหวังผลสืบเนื่อง ในข้อ 3.2
ดังนั้น การคิดง่ายๆว่า "แค่ชื่อศาลก็ฟ้องโต้งๆแล้วว่า เป็นคดีทางการเมือง" นั้น เป็นความคิดที่ผิดค่ะ
ส่วนเรื่อง สถานะผู้ลี้ภัย สามารถขอ PR ได้หลังจาก living in the U.S. for one year. After five years of residence in the U.S. and gaining Permanent Resident Status, he or she may apply for citizenship.
ที่มา http://www.kyha.com/CM/Initiatives/Safety_and_Quality_Resources/Immigrant_v_Refugee_Difference.aspx
และต้องอาศัยใน US ไม่ต่ำกว่า 2 ปี จึงจะขอสถานะให้กับครอบครัวได้
https://therefugeecenter.org/resources/family-reunification/
ตามความเห็นของเรา การได้สถานะผู้ลี้ภัยจะได้ PR ยังไม่ตรงความเป็นจริงเท่าไหร่
แต่หากต้องรอ 2 ปีแล้วขอสถานะให้ครอบครัวได้ เราถือว่า คุณพูดถูก และขอบคุณที่ช่วยชี้ประเด็น
source ที่เป็นภาษาอังกฤษ คุณคงอ่านแล้วเข้าใจมากกว่าเรา หากเราเข้าใจผิด ช่วยชี้แนะด้วย
และที่อ้างถึงนี้ เป็นเกณฑ์ของ US
หากใครมีเกณฑ์ของ สหราชอาณาจักร ซึ่งตรงกับการโต้เถียงมากกว่า กรุณาช่วยบอกพิกัดด้วย
ขอบคุณ
โต้แย้งเพื่อเปิดโลกทัศน์ค่ะ ใครมีอะไรเพิ่มเติม เชิญชี้แนะ
ปล. ที่คัดลอกมาจากเวบอื่นอยู่ในสปอย หากมีการโต้แย้ง เชิญโต้แย้งหัวขข้อที่อยู่นอกสปอยได้เลยค่ะ