ขอกราบไหว้พระรัตนตรัยด้วยความเคารพอย่างสูงยิ่ง
------------------
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
กกุธสูตรที่ ๘
[๒๖๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระอัญชนวัน สถาน
พระราชทานอภัยแก่เนื้อ เขตเมืองสาเกต ครั้งนั้น กกุธเทวบุตร เมื่อราตรี
ปฐมยามสิ้นไปแล้ว มีวรรณงามยิ่งนัก ยังอัญชนวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้
ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
[๒๖๗] กกุธเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระสมณะ พระองค์ทรงยินดีอยู่หรือ ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรผู้มีอายุ เราได้อะไรจึงจะยินดี ฯ
กกุธเทวบุตรกราบทูลว่า
ข้าแต่พระสมณะ ถ้าอย่างนั้นพระองค์ทรง
เศร้าโศกอยู่หรือ ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรผู้มีอายุ เราเสื่อมอะไรจึงจะเศร้าโศก ฯ
กกุธเทวบุตรกราบทูลว่า
ข้าแต่พระสมณะ ถ้าอย่างนั้นพระองค์ไม่ทรง
ยินดีเลย ไม่ทรงเศร้าโศกเลยหรือ ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
เป็นเช่นนั้นผู้มีอายุ ฯ
[๒๖๘] กกุธเทวบุตร กราบทูลว่า
ข้าแต่ภิกษุ พระองค์ไม่มีทุกข์บ้างหรือ ความเพลิดเพลิน
ไม่มีบ้างหรือ ความเบื่อหน่ายไม่ครอบงำพระองค์ผู้ประทับนั่ง
แต่พระองค์เดียวบ้างหรือ ฯ
[๒๖๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรท่านผู้อันคนบูชา เราไม่มีทุกข์เลย และความเพลิดเพลิน
ก็ไม่มี อนึ่ง ความเบื่อหน่าย ก็ไม่ครอบงำเราผู้นั่งแต่ผู้เดียว ฯ
[๒๗๐] กกุธเทวบุตรกราบทูลว่า
ข้าแต่ภิกษุ ทำไมพระองค์จึงไม่มีทุกข์ ทำไมความเพลิดเพลิน
จึงไม่มี ทำไมความเบื่อหน่าย จึงไม่ครอบงำพระองค์ผู้นั่งแต่ผู้เดียว ฯ
[๒๗๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ผู้มีทุกข์นั่นแหละ จึงมีความเพลิดเพลิน
ผู้มีความเพลิดเพลินนั่นแหละ จึงมีทุกข์
ภิกษุย่อมเป็นผู้ไม่มีความเพลิดเพลิน ไม่มีทุกข์
ท่านจงรู้อย่างนี้เถิด ผู้มีอายุ ฯ
[๒๗๒] กกุธเทวบุตรกราบทูลว่า
นานหนอ ข้าพระองค์จึงพบเห็นภิกษุ ผู้เป็นพราหมณ์
ดับรอบแล้ว ไม่มีความเพลิดเพลิน ไม่มีทุกข์ ข้ามพ้น
เครื่องข้องในโลกแล้ว ฯ
.
๛ ผู้มีทุกข์นั่นแหละ จึงมีความเพลิดเพลิน ผู้มีความเพลิดเพลินนั่นแหละ จึงมีทุกข์ ๛
------------------
สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
[๒๖๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระอัญชนวัน สถาน
พระราชทานอภัยแก่เนื้อ เขตเมืองสาเกต ครั้งนั้น กกุธเทวบุตร เมื่อราตรี
ปฐมยามสิ้นไปแล้ว มีวรรณงามยิ่งนัก ยังอัญชนวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้
ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
[๒๖๗] กกุธเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระสมณะ พระองค์ทรงยินดีอยู่หรือ ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรผู้มีอายุ เราได้อะไรจึงจะยินดี ฯ
กกุธเทวบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระสมณะ ถ้าอย่างนั้นพระองค์ทรง
เศร้าโศกอยู่หรือ ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรผู้มีอายุ เราเสื่อมอะไรจึงจะเศร้าโศก ฯ
กกุธเทวบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระสมณะ ถ้าอย่างนั้นพระองค์ไม่ทรง
ยินดีเลย ไม่ทรงเศร้าโศกเลยหรือ ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นเช่นนั้นผู้มีอายุ ฯ
[๒๖๘] กกุธเทวบุตร กราบทูลว่า
ข้าแต่ภิกษุ พระองค์ไม่มีทุกข์บ้างหรือ ความเพลิดเพลิน
ไม่มีบ้างหรือ ความเบื่อหน่ายไม่ครอบงำพระองค์ผู้ประทับนั่ง
แต่พระองค์เดียวบ้างหรือ ฯ
[๒๖๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรท่านผู้อันคนบูชา เราไม่มีทุกข์เลย และความเพลิดเพลิน
ก็ไม่มี อนึ่ง ความเบื่อหน่าย ก็ไม่ครอบงำเราผู้นั่งแต่ผู้เดียว ฯ
[๒๗๐] กกุธเทวบุตรกราบทูลว่า
ข้าแต่ภิกษุ ทำไมพระองค์จึงไม่มีทุกข์ ทำไมความเพลิดเพลิน
จึงไม่มี ทำไมความเบื่อหน่าย จึงไม่ครอบงำพระองค์ผู้นั่งแต่ผู้เดียว ฯ
[๒๗๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ผู้มีทุกข์นั่นแหละ จึงมีความเพลิดเพลิน
ผู้มีความเพลิดเพลินนั่นแหละ จึงมีทุกข์
ภิกษุย่อมเป็นผู้ไม่มีความเพลิดเพลิน ไม่มีทุกข์
ท่านจงรู้อย่างนี้เถิด ผู้มีอายุ ฯ
[๒๗๒] กกุธเทวบุตรกราบทูลว่า
นานหนอ ข้าพระองค์จึงพบเห็นภิกษุ ผู้เป็นพราหมณ์
ดับรอบแล้ว ไม่มีความเพลิดเพลิน ไม่มีทุกข์ ข้ามพ้น
เครื่องข้องในโลกแล้ว ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=1695&Z=1730&pagebreak=0
อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :-
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=15&siri=99
ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=266
ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :-
[266-272] http://www.84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=15&item=266&items=7
[266-272] http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali.php?B=15&A=266&Z=272
ทุกขเวทนา เป็นทุกข์เพราะตั้งอยู่ เป็นสุขเพราะแปรไป
อทุกขมสุขเวทนา เป็นสุขเพราะรู้ชอบเป็นทุกข์เพราะรู้ผิด"
ใน จูฬเวทัลลสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=9420&Z=9601&pagebreak=0
.