เปิดเผยงบการเงินทีม NBA ปีที่ผ่านมา ขาดทุนกันเกือบครึ่งลีค รวมถึง Cleveland ด้วย

บทความค่อนข้างยาวนะครับ ขอสรุปเฉพาะจุดที่น่าสนใจครับ ใครสนใจอ่านเต็มๆ อ่านได้จากลิงค์นี้ครับ

A confidential report shows nearly half the NBA lost money last season. Now what?
http://www.espn.com/nba/story/_/id/20747413/a-confidential-report-shows-nearly-half-nba-lost-money-last-season-now-what




ถึงแม้ว่า NBA จะได้รับรายได้จากค่าลิขสิทธิ์ทางทีวีทั่วประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล แต่ในทางตรงกันข้าม จากรายงานงบการเงินปีล่าสุด

จะพบว่ามีถึง 14 ทีมเลยทีเดียวที่มีผลประกอบการขาดทุน ก่อนที่จะได้รับรายได้จากส่วนแบ่ง revenue-sharing payout*  และถึงแม้ว่าจะได้รับ

ส่วนแบ่งจาก revenue-sharing payout แล้วก็ตาม ก็ยังมีถึง 9 ทีมที่ประสพภาวะขาดทุนอยู่



* revenue-sharing  payout คือการที่ทีมที่ได้กำไรจะต้องแบ่งกำไรส่วนนึงมาช่วยทีมที่ขาดทุน เพื่อให้ทีมเล็กๆสามารถอยู่ได้ ใน NBA

เนื่องจากแต่ละทีมจะมีรายได้จากการขายลิขสิทธิ์ให้กับทีวีท้องถิ่นเป็นของตัวเอง ซึ่งเมืองใหญ่ๆจะได้เปรียบสามารถเก็บค่าลิขสิทธิ์ได้สูง

ตรงข้ามกับเมืองเล็กๆ ( อย่าง Laker ได้ค่าลิขสิทธิ์ท้องถิ่นสูงสุดอยู่ที่ 149 ล้านเหรียญ  ส่วน Memphis ได้ต่ำสุดแค่ 9.4 ล้านเหรียญเท่านั้นเอง )


ลีคจะมีการประชุมบอรด์ในวันที่ 27-29 กันยายน โดยจะมีการพูดคุยถึงเรื่อง ช่องว่างทางรายได้ของทีมที่กำไรมาก และทีมที่กำไรน้อย

รวมถึงเรื่อง  revenue-sharing payout  ด้วย  เนื่องจากการที่ salary cap เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ช่องว่างระหว่างทีมใหญ่กับทีมเล็กมีมากขึ้น

ทีมใหญ่มีความสามารถหาเงินได้มาก ถึงแม้ว่าจะจ่าย salary tax จำนวนมาก ก็ยังสามารถทำกำไรได้อยู่ ตรงกันข้ามกับทีมเล็กที่ไม่สามารถจ่าย tax

มหาศาลได้ ซึ่งตรงนี้จะส่งผลโดยตรงกับความสามารถในการสร้างทีม การดึงสตาร์เข้าสู่ทีมได้



รายชื่อ 14 ทีมที่ขาดทุน ( หักค่าใช้จ่ายในส่วน luxury tax แล้ว ) ก่อนที่จะได้รับเงินช่วยเหลือ ( revenue-sharing payout ) คือ

Bucks, Grizzlies, Hawks, Hornets, Kings, Magic, Nets, Pacers, Pelicans, Pistons, Suns, Timberwolve , Trail Blazers และ Wizards


และถึงแม้ว่าจะได้รับเงินช่วยเหลือแล้ว ก็ยังมีถึง 9 ทีมที่ตัวเลขยังติดลบอยู่ ซึ่งก็คือ

Bucks, Cavalier , Hawks, Grizzlies, Magic, Nets,  Pistons, Spurs, Wizards


ส่วนทีมที่กำไรสูงที่สุดในปีที่แล้วคือ Laker  สามารถทำกำไรได้ถึง 164 ล้านเหรียญ แต่ก็ต้องโดนหักกำไรไปถึง 49 ล้านเหรียญ เพื่อไปช่วยเหลือ

ทีมที่ขาดทุน  ซึ่งกำไรหลักของ Laker เกิดจากการขายลิขสิทธิ์ทีวีท้องถิ่นได้ถึง 149 ล้านเหรียญ ตรงกันข้ามกับ Grizzlies ที่ขายลิขสิทธิ๋ให้กับ

ทีวีท้องถิ่นได้ต่ำที่สุดแค่ 9.4 ล้านเหรียญ ซึ่งส่งผลให้ปีนี้ Grizzlies  ต้องขาดทุนร่วม 40 ล้านเหรียญเลยทีเดียว  ทีมที่ทำกำไรได้รองลงมาคือ GSW

กำไร 134 ล้าน และโดนหักไป 42 ล้าน คงเหลือกำไร 92 ล้าน



ยอดเงิน revenue-sharing payout  ทั้งหมดของปีนี้คือ 201 ล้านเหรียญ มาจาก 10 ทีม จะถูกกระจายไปให้กับ 15 ทีม ( และมี 5 ทีมที่ไม่ได้

รับส่วนแบ่ง แต่ก็ไม่ต้องจ่ายทีมในกลุ่มนี้คือ Toronto, Brooklyn, Miami, Dallas and Philadelphia ) **วิธีการคำนวนส่วนแบ่งค่อนข้างซับซ้อนนะครับ

ทั้งที่จริงๆ Net เป็นทีมที่ขาดทุนเยอะที่สุดเลย แต่กลับไม่ได้รับส่วนแบ่งใน revenue-sharing payout เลย

ในยอดรวม 201 ล้านเหรียญนี่ กว่า 71.5% มาจากทีม 4 ทีม ซึ่งก็คือ  Warriors, Knicks, Lakers and Bulls หรือคิดเป็นยอดเงินที่ 144 ล้าน

เหรียญเลยทีเดียว ซึ่งแน่นอนว่าเจ้าของทีมกลุ่มนี้คงไม่พอใจอย่างแน่นอน ซึ่งก็มีผู้บริหารคนนึงในทีมกลุ่มนี้ให้สัมภาษณ์ว่า ระบบ revenue-sharing

payout  นี่ควรจะนำมาใช้แค่เฉพาะในสถาณการณ์พิเศษนะ ไม่ใช่จะมาช่วยกันแบบถาวรทุกปีไป





ปัญหามันเกิดจากอะไร ทำไมถึงขาดทุนได้


Salary Cap  (ซึ่งมองในมุมของทีมมันก็คือค่าใช้จ่าย และน่าจะเป็นค่าใช้จ่ายหลักของทีมด้วย) ถูกคำนวนมาจากยอดรายรับรวม

ของทุกทีมในลีคครับ แต่ในความเป็นจริง รายรับของแต่ละทีมนั้นไม่เท่ากัน ซึ่งเมื่อยิ่งรายรับจากการถ่ายทอดสดเพิ่มขึ้นมาก

มันก็ยิ่งสร้างช่องว่างมากขึ้นระหว่างทีมในตลาดใหญ่ กับทีมในตลาดเล็ก ( เสริมข้อมูลนิดนึงว่า อย่างบางทีมปัจจุบันสัญญา

กับเคเบิ้ลท้องถิ่นก็ยังเป็นสัญญาเก่าด้วย ยังไม่ได้ตกลงสัญญาใหม่ที่น่าจะมีมูลค่าสูงขึ้น )   เมื่อสองปีก่อน Salary Cap ยังอยู่ที่ 60 ล้านเหรียญ

แต่กับก้าวกระโดดมาเป็น 94 ล้านเหรียญอย่างรวดเร็ว ดังนั้นทีมเล็กๆไม่สามารถหารายได้เพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็วเท่าทีมใหญ่  ( อธิบายเพิ่มเติมว่า

ทำไมถึงต้องใช้วิธีการคำนวน  Salary cap จากรายรับรวม  ทั้งที่รายได้ของทีมแตกต่างกันมาก คำตอบคือ ไม่งั้นสหภาพของนักบาส

ไม่ยอมครับ อาทิเช่นรายรับรวมของลีคอยู่ที่ 500 ล้าน  ก็ต้องเอายอดนี้มาคำนวนแบ่งเป็นเงินเดือนให้นักบาสครับ จะไปคำนวนยอดที่ลดลง

แบบนี้นักบาสก็จะสไตรค์ไม่ยอมเล่น เหมือนที่เคยมีมาในอดีต ) ซึ่งทางสหพันธ์ผู้เล่นเองก็มองว่าตัวเลขที่ทีมแจ้งในงบการเงินจริงๆเป็น

ตัวเลขที่ถูกตบแต่งมาแล้ว จริงๆทีมไม่ได้มีรายได้น้อยขนาดนี้หรอก ซึ่งต้องอธิบายเพิ่มเติมอีกนิดว่า การคำนวนงบรายได้ในบทความนี้

ถูกคำนวนเฉพาะในส่วนผลประกอบการจากธุรกิจบาส  NBA เท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น ทีมอย่าง NET ทีมีสนาม Barclays Center เป็นของตัวเอง

จริงๆแล้ว Net จะมีรายได้จากการให้เช่าสนามในการจัดคอนเสริต์ในวันที่ไม่มีการแข่งขัน แต่ก็จะไม่ถูกนำเข้ามาคำนวนในงบนี้   ดังนั้นจริงๆแล้ว

ถ้าพูดถึงโดยรวม ทีมต่างๆอาจจะไม่ได้ขาดทุนเสียทีเดียว เพราะทีมยังมีรายได้จากทางอื่นเข้ามาด้วย อย่างที่เราจะเห็นว่ามูลค่าของทีม

อย่างHouston Rocket เพิ่มขึ้นจาก  85 ล้านเหรียญใน ปี 1993 มาเป็น 2,200 ล้านเหรีญในปีนี้ หรือเพิ่มขึ้น 15 เท่าเลยทีเดียว ( ในปีที่ผ่านมา

Rocket มีกำไรสุทธิปีล่าสุดที่ 53 ล้านเหรียญ )



ส่วนเรื่องสปอนเซอร์ที่หน้าอกเสื้อปีนี้ ก็ปรากฏว่ารายได้ตรงส่วนนี้ทีมจะได้รับเงินจริงๆแค่ 25% ส่วน 50% จะถูกไปจ่ายให้กับผู้เล่น และอีก 25%

จะถูกไปแชร์ร่วมกับทีมอื่นๆ  ส่วนรายได้จากลิขสิทธิ์ทั่วประเทศจะถูกแบ่งให้ทุกทีมเท่ากัน แต่รายได้หลักของทีมที่ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย

จริงๆนั้นมาจากลิขสิทธิ์ทางท้องถิ่นครับ




บทสรุปทางออกในการแก้ปัญหา


ในบทความเชื่อว่าสุดท้าย ก็จะมีทางเลือกอยู่แค่สองทาง คือการเพิ่ม revenue-sharing payout  ขึ้นไปอีก คือดึงเงินจากทีมที่ได้กำไรมามากขึ้น

( ซึ่งทีมใหญ่ๆก็คงไม่ชอบใจแน่ๆ ) ซึ่งถึงแม้ว่า Adam Sliver จะยืนยันว่าจะไม่มีการเพิ่มเปอร์เซนต์ใน  revenue-sharing payout ในเร็วๆนี้

แต่อย่างไรก็ตามซิลเวอร์เองก็ยอมรับว่า ในอนาคตอาจจะเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  หรือไม่ทางออกอีกทางนึงก็คือ ทีมเล็กๆก็ต้องย้ายเมือง

เพื่อสร้างโอกาสที่จะทำรายได้เพิ่มมากขึ้น



** รายได้จาก revenue-sharing payout ของทีมที่ขาดทุนแต่ละทีมได้รับไม่เท่ากันนะครับ อย่าง Memphis ได้รับสูงสุดอยู่ที่ 32 ล้าน

เหรียญ  ส่วนกรณีของ Cleveland ที่ขาดทุน ถึงแม้บทความจะไม่ได้ให้รายละเอียดไว้ แต่ผมก็เชื่อว่าน่าจะขาดทุนเนื่องจากโดนค่าปรับจาก  

luxury tax มากกว่า ต่างจากทีมอื่นๆที่รายได้ค่อนข้างน้อย เพราะปีที่ผ่านมา Cav ใช้ Cap ไป 126 ล้าน ( จากเพดาน 101 ล้านเหรียญ)

และต้องเสีย luxury tax ไปถึง 45  ล้าน และที่หนักไปกว่านั้นคือ ฤดูกาลนี้ Cav จะต้องเสีย tax ในเรตของ repeater แล้ว ( โดนปรับในเรตที่

สูงขึ้น เนื่องจากใช้แคปเกินต่อเนื่องหลายปี ) ถ้ามองในมุมเจ้าของทีมนี่บางทีทำทีมลุ้นแชมป์แต่ต้องมาขาดทุน มันก็เหนื่อยเหมือนกันนะครับ อ

ใจจริง Dan Gilbert ตอนนี้แกอาจจะอยากให้ เจมส์ย้ายออกปีหน้าก็ได้นะ จะได้ทำทีมใช้งบสบายๆแต่ได้ตังค์บ้าง เพราะแชมป์ก็ได้ไปแล้ว 555
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่