ถึงผู้โดยสารในดวงใจ บทที่ 2: เรื่องวุ่น ๆ ตอน Take-off/Landing By คุณแหงน

บทที่แล้วพูดถึงเรื่องการเข้าห้องน้ำบนเครื่องแบบมืออาชีพไปแล้ว หากใครยังไม่ได้อ่าน ก็กดโลดด
https://ppantip.com/topic/36644263

บทนี้ขอพูดถึง เรื่องวุ่น ๆ ตอน Take -off / Landing ที่มักเป็นประเด็นดราม่าอยู่บ่อย ๆ บ้างนะจ้ะ
ยุคนี้ผู้คนหันมาเดินทางด้วยเครื่องบินเยอะหนักมาก
และด้วยจำนวนที่มันมากขึ้น ก็ไม่แปลกที่จะเกิดคดีดราม่าขึ้นอยู่บ่อยครั้งตามที่เห็นได้จากข่าวทั่ว ๆ ไป
อันก่อให้เกิดความลำใยแก่ชาวเน็ตอยู่บ่อยครั้ง
ฉะนั้น เรามาทำเข้าใจกับข้อปฏิบัติต่าง ๆ ช่วง Take-off/ Landing กันดีฝ่า
มาเข้าเรื่องกันเลยเหอะ หึ่ยย
************************************************************************
ว่าด้วยเรื่องสิ่งที่ต้องทำเวลา Take-off กับ Landing:

ข้อที่ 1: ทำความเข้าใจค่ะ ว่าทุกอย่างที่ลูกเรือแจ้งให้ปฏิบัติมันสำคัญ เพราะ
             “มั น คื อ ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย ข อ ง ทุ ก ค น บ น เ ค รื่ อ ง ค่ ะ“
             อย่าประวิงเวลาค่ะคุณขา
             ถ้าผู้โดยสุดที่รักไม่ทำตาม ไอ่เราก็ยังไปนั่งไม่ได้ นักบินก็เอาเครื่องขึ้นไม่ได้
             หึ่ยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยย !                                                                 
             การถอนหายใจ และมองแรงใส่แอร์ไม่ช่วยให้ท่านผู้โดยสารทำตามใจต้องการได้นะคะ
             ฉะนั้น กรุณาทำความเข้าใจ และทำตามกฎการบินด้วยค่าาา

ข้อที่ 2: การเก็บสัมภาระ
              สำหรับ กระเป๋าสัมภาระติดตัวขึ้นเครื่อง (Carry-0n Baggage) เรามีที่เก็บหลัก 3 ที่ด้วยกัน
              - ที่เก็บของเหนือศีรษะ (Overhead Compartment) : เก็บกระเป๋าใบใหญ่ เป้
              หรือกล่องหมูยอ ฯลฯ แล้วสมมติว่าไอ้ตรงที่เหนือที่นั่งเรามันดันเต็ม เราสามารถนำไปไว้ที่ช่อง
              ถัด ๆ ไปได้เลยเจ้าค่า
              - กระเป๋าเก็บของหน้าที่นั่งด้านหน้า (Seat Pocket) : ไอเท็มสุดฮิตสำหรับผู้โดยสารที่พกเงินเป็น
              ฟ่อนหรือพระพุทธรูป และไม่อยากเอาไว้ที่ Overhead Compartment หรือ ใต้ที่นั่งจ้า
             - พื้นที่ว่างใต้ที่นั่งด้านหน้า : ในข้อนี้ผู้โดยสารชอบสับสนค่ะ จริง ๆ แล้วต้องยัดกระเป๋าทั้งใบให้
              อยู่ใต้ที่นั่งด้านหน้าให้ได้ คือถ้ามันยัดไม่ได้จริง ๆ ก็ต้องเอาไปไว้ที่ Overhead Compartment

** ที่น้องแอร์ต้องจ้ำจี้จำไชเรื่องการเก็บสัมภาระก็เพราะ ในกรณีฉุกเฉิน เช่น เมื่อเครื่องบินตกหลุมอากาศ ไอ้พวก Loose Items อย่างกระเป๋าของพวกเรานี่แหละ ที่มันจะลอยแล้วก็ฟาดหน้า ฟาดหัวพวกเราได้ หรือถ้าต้องมีการอพยพออกจากเครื่องบิน ทุกคนมีเวลาแค่ 90 วินาที เท่านั้น ที่จะออกจากตัวเครื่องบิน ฉะนั้นเราจะมามัวเสียเวลากับการหลบหลีกกระเป๋าน้อยใหญ่ไม่ได้ หึ่ยยยยยยย **


Overhead compartment : แบบขวาถูก แบบซ้ายผิด (แก้ไข)


ที่ว่างที่นั่งด้านหน้า: ภาพบนคือชนะเลิศค่ะ ภาพล่าง 2 อัน คือ เลวร้าย

ข้อที่ 3: เปิดม่านหน้าต่าง
              มีผู้โดยสารจำนวนไม่น้อยเลย ที่ยังไม่เข้าใจว่า ทำไมฉันต้องเปิดหน้าต่าง !
             บ้างก็บ่นว่าร้อน  บางคนพอบอกให้เปิด ก็แกล้งหลับใส่เฉ๊ย หึ่ยยยย เจ็บใจจ
             ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจให้ตรงกันว่า เครื่องบินไม่มีกล้องวงจรปิดตรงเคบิ้น กระจกมอง
             ข้าง กระจกมองหลังเหมือนรถยนต์ ฉะนั้นนักบินและแอร์จะไม่มีวันรู้เลยยยยหากเกิดความ
             ผิดปกติใดใดนอกตัวเครื่องบิน
                            -- คนที่เป็นเหมือนกล้วงวงจรปิดให้พวกเรา ก็คือ ผู้โดยสารตาดำ ๆ นี่เอง --
              ที่ให้เปิดม่านหน้าต่างช่วง Take-off/ Landing ก็เพราะ ในช่วงนี้ของไฟล์ท เราเรียกว่า                        
             Critical Eleven Minutes (3 นาทีหลัง Take-off และ 8 นาทีก่อน Landing)                            
             เป็นช่วงเสี่ยงอันตรายมากที่สุด เราเลยยิ่งต้องคอนเฟิร์มว่า หน้าต่างทุกบานจะต้องเปิด                                              
             เพื่อที่ผู้โดยสารจะได้ช่วยเราดูว่าข้างนอกมีอะไรผิดปกติรึเปล่า งิ


#เปิดให้สุดแล้วหยุดที่ครัวหลัง

ข้อที่ 4 : รัดเข็มขัด
              การรัดเข็มขัดที่นั่ง ก็รัดตอน Take- off/landing แหละตัว และที่สำคัญคือ รัดทุกครั้งที่สัญญาณ
             รัดเข็มขัดปรากฎขึ้น (ส่วนใหญ่ก็เพราะเครื่องมันบินผ่านเขตสภาพอากาศแปรปรวน)              
            
            ใครเดินทางกับเด็กน้อย อายุน้อยกว่า 2 ปี สามารถของ Infant Seatbelt ได้นะคะ              
             การใช้ก็แค่สอด Infant Seatbelt เข้ากับของคุณพ่อ หรือคุณแม่ แล้วก็สามารถอุ้มน้องระหว่าง
              Take-off/Landing ได้เจ้าค่ะ
            
              วิธีรัด แนะนำให้รัดต่ำ คือ รัดบนกระดูกเชิงกรานเด้อ ไม่ใช่บนพุง รัดบนพุง ท้องไส้ตับม้ามแตกกัน
             พอดี เมื่อเกิดแรงกระชาก หึ่ยยย


ภาพบน: รัดให้ต่ำบนกระดูกสะโพก หรือเชิงกรานนะคะ

ข้อที่ 5: เก็บโต๊ะหน้าที่นั่ง และปรับพนักเก้าอี้ให้อยู่ในระดับตรง
              เหตุผลคือ ถ้าเกิดเหตุฉุกเฉิน และต้องทำการอพยพ คนที่นั่งด้านใน รวมถึงตัวคุณเองจะหนีไม่
               ทันน่ะซี่ หึ่ยยยย ท่องเอาไว้ให้ขึ้นใจ คุณมีเวลาแค่ 90 วินาทีเท่านั้น


ขอบคุณคุณนางแบบ สำหรับตัวอย่างที่ดีค่ะ

ข้อที่ 6: ช่วง Take-off/Landing กรุณาปิดโทรศัพท์ และเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด
              อี Airplane Mode ค่อยเปิดระหว่างไฟล์ทเด้อ

ข้อที่ 7 : อย่าลุกขึ้น หลังเครื่องแลนด์ แต่ยังไม่จอดสนิท
.............................................................................................................................
คุณแหงนคิดว่า น่าจะครอบคลุมหมดแล้วนะคะ แต่ถ้าใครมีอะไรเสริมก็สามารถพิมมาในเม้นได้เลยค่ะแล้วกลับมาเจอกันบทหน้า บทที่ 3 : ไอ้หน้ากากอ็อกซิเจน มันคืออิหยัง
แล้วเจอกันค่ะ มวฟๆ
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่