สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
จากข้อมูลการจำหน่ายไฟฟ้าของ กฟผ.
สุ่มคำนวณราคาจากการขายไฟอ้างอิงการขายให้ กฟน. จะอยู่ที่ประมาณ 2 บาท 68 สตางค์ ต่อหน่วย (มีไฟฟ้าบางส่วนที่ไทยซื้อไฟฟ้าจากลาวมาประมาณ 1.8-1.9 บาท/หน่วย)
คราวนี้เราจะมาลองคิดดูคร่าวๆ ว่าหากมีการเก็บเงินค่าน้ำจากการผลิตพลังงานไฟฟ้าขนาดใหญ่ ตามข่าวที่ท่านอธิบดีให้ข่าวมาข้างต้นนั้น จะเกินความสามารถในการแบกรับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นตรงนี้หรือไม่
สำหรับข้อมูลในการใช้น้ำในการผลิตไฟฟ้าจริงในแต่ละโรงนั้นจะมีเป็นกราฟให้ดูว่า Head น้ำสูงเท่าไหร่ Guide Vane เปิดไปที่ระดับกี่ % และใช้น้ำไปเท่าไหร่ในการปั่นไฟในแต่ละครั้ง และมีหลายโรงที่ใช้วิธีคำนวณอัตราการใช้น้ำจากระดับน้ำเหนืออ่างที่ลดลง จขกท ยังไม่สามารถพอที่จะดึงข้อมูลตรงนี้มานำเสนอได้ และคิดว่าเป็นข้อมูลเฉพาะของทางองค์กรที่ไม่กล้าก้าวล่วงเข้าไปตรงนั้น แต่จะมาใช้สูตรคำนวณมาลองคิดหาอัตราการใช้น้ำโดยเฉลี่ยในการใช้น้ำผลิตกระแสไฟฟ้าในแต่ละครั้งแทน มาดูกันว่าจะคุ้มค่ากับการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังน้ำออกมาขายหรือไม่เมื่อเทียบกับอัตราการเก็บค่าน้ำจากร่าง พรบ. ที่ สนช. กำลังพิจารณาอยู่นี้ คือ เก็บค่าน้ำไม่ต่ำกว่า 3 บาทต่อลบ.ม. หรือภาษาชาวบ้านคือไม่ต่ำกว่าสามบาทต่อหน่วย
เมื่อพิจารณากำลังผลิตของระบบ กฟผ. แบ่งตามประเภทโรงไฟฟ้า จะเห็นได้ว่า โรงไฟฟ้าพลังน้ำแม้หลายโรงจะเน้นเดินเครื่องในช่วงเวลา Peak Load แต่สัดส่วนในการผลิตไฟฟ้าจากน้ำของประเทศไทยก็ไม่ได้ถือว่าน้อย และจะมีผลอย่างไรบ้างเมื่อมีการเก็บเงินค่าน้ำนี้ มันจะส่งผลต่อต้นทุนการผลิตไฟฟ้าโดยรวมของประเทศไทยหรือไม่ และจะส่งผลต่อค่าไฟของประชาชนที่จะต้องจ่ายขึ้นหรือไม่ เดี๋ยวผมจะลองมาคำนวณดูว่าการผลิตไฟฟ้าในแต่ละหน่วยที่เพิ่มขึ้นนั้นจะใช้น้ำไปกี่หน่วย และต้องจ่ายค่าน้ำประมาณกี่บาท
โดยสมมุติฐานเบื้องต้นที่ จขกท สงสัย และมาตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาคือ น้ำ 1 ลบ.ม. หรือน้ำหนึ่งหน่วยที่จะเก็บหน่วยละ 3 บาท+ นี่มันจะเป็นไปได้ยังไงในการผลิตไฟฟ้าในแต่ละหน่วยนั้น มันจะต้องใช้น้ำไปทั้งหมดกี่หน่วย และเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่กันแน่ ?
พลังงานน้ำเป็นพลังหรือกำลังที่เกิดจากการไหลของนํ้า ซึ่งเป็นพลังที่มีอานุภาพมาก พลังงานจลน์ และพลังงานศักย์ของนํ้าซึ่งเกิดจากการไหลของนํ้า และการปล่อยนํ้าจากที่สูง หรือการขึ้น-ลงของคลื่น แปลงเป็นพลังงานกลขับเคลื่อนกังหันนํ้าและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เรียกว่า ไฟฟ้าพลังนํ้าการแปลงรูปพลังงานขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ คือ ความสูงของหัวนํ้า และความเร็วของนํ้า ขั้นตอนต่างๆ มีการสูญเสีย (loss) เช่น ความฝืดของผิววัสดุที่นํ้าไหลผ่านการรั่วไหลของนํ้า เป็นต้น สมการรวมแสดงความสัมพันธ์การแปลงพลังงานนํ้าเป็นพลังงานไฟฟ้า ได้แก่
P = γQHη/1000
เมื่อ P = กำลังไฟฟ้า (กิโลวัตต์)
Q = อัตราการไหลของนํ้าผ่านเครื่องกังหันนํ้า (ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที)
H = ความสูงของหัวนํ้า (เมตร) (ในที่นี้ จขกท ขอแทนค่าด้วยความสูงของ Head น้ำที่เฉลี่ยประมาณ 50 เมตร มาคำนวณ)
γ = หน่วยของแรงโน้มถ่วงที่กระทำต่อนํ้า มีค่าเท่ากับ 9,806 นิวตัน/ลูกบาศก์เมตร
η = ประสิทธิภาพรวมของกังหันนํ้าและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ปกติจะอยู่ระหว่าง 0.5-0.9 (ในที่นี้ จขกท ขออนุญาตใช้ค่า 0.7 เมื่อเทียบกับอายุการใช้งานของโรงไฟฟ้าต่างๆโดยเฉลี่ย)
ถึงขั้นตอนนี้จะลองมาแทนท่าคำนวณดูนะครับ ในกรณีกำลังไฟฟ้า 1 กิโลวัตต์นั้น เราจะต้องใช้อัตราการไหลของนํ้าผ่านเครื่องกังหันนํ้า กี่ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
จากสูตร P = γQHη/1000
แทนค่า
1 (kW) = 9,806(N/m^3) * Q(m^3/sec) * 50(m) * 0.7/1,000
Q(m^3/sec) = 1 * 1000 / (9,806*50*0.7)
Q = 0.0029 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
W = PT
เมื่อ W = ปริมาณพลังงานไฟฟ้า หรือจำนวนหน่วยไฟฟ้า (กิโลวัตต์-ชั่วโมง)
P = กำลังไฟฟ้า (กิโลวัตต์)
T = ระยะเวลาในการผลิต (ชั่วโมง)
ไฟฟ้า 1 หน่วยนั่นคือ
1 (kWh) = 1(kW) * 1 (h)
จาก อัตราการไหลของนํ้าผ่านเครื่องกังหันนํ้า (ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) = 0.0029 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที หรือ = 10.44 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง
เพราะฉะนั้นในการผลิตไฟฟ้าต่อหนึ่งหน่วยจะใช้น้ำประมาณ 10.44 ลูกบาศก์เมตร หรือ 10.44 หน่วย โดยประมาณ
หากคิดเป็นค่าน้ำตามร่าง พรบ. ที่อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ แถลงถึงการจัดทำร่างพ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ ว่าจะจัดเก็บไม่ต่ำกว่าสามบาทต่อหน่วยนั้น จขกท ขอคิดแค่ 3 บาทก็พอ มันจะเป็นเงินค่าต้นทุนในการปั่นไฟเฉพาะน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติที่ 10.44*3 = 31.32 บาท นี่มันแพงกว่าน้ำมันดีเซลเป็นลิตรเสียอีก
เพราะฉะนั้นแล้ว มันจะส่งผลอย่างไรหรือไม่ต่อค่าไฟของประชาชนที่จะต้องจ่ายเพิ่มขึ้น หากนำโรงไฟฟ้าพลังน้ำมาปั่นไฟขายให้กับประชาชน สิ่งนี้จะเป็นจุดที่ สนช. ทั้งคณะที่กำลังร่วมพิจารณาจะมองข้ามไปไม่ได้
โรงไฟฟ้าพลังน้ำเป็นพลังงานที่สะอาดและต้นทุนในการติดตั้งที่สูงกว่าโรงไฟฟ้าประเภทอื่น โดยใช้เม็ดเงินลงทุนสูงในครั้งแรก และใช้พลังงานน้ำจากแหล่งน้ำควบคู่ไปกับการทำเกษตรกรรมและชลประทาน มีระยะเวลาคืนทุนตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปถ้าปั่นไฟขายแบบเป็นจริงเป็นจังอย่างเช่นโรงไฟฟ้าของประเทศลาว แต่ก็จะต้องเข้าแผน Renovation ประมาณ 16 ปี นอกเหนือไปจากการทำ Minor Inspection ทุกๆ 2 ปี และ Major OverHaul ทุกๆ 6-8 ปีเป็นอย่างช้า แต่ในขณะเดียวกันหากปั่นไฟขายเฉพาะช่วงเวลา Peak Load แบบที่หลายโรงไฟฟ้าพลังน้ำของไทย ระยะเวลาคืนทุนก็จะมากยิ่งขึ้นอาจถึง 20 ปีถึงจะได้ทุนคืนในการสร้าง พอคืนทุนได้ไม่นานก็จะต้องมาเข้าแผน Renovation อีก ทำให้ได้แทบไม่ได้กำไรอะไรจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำ แต่ในเชิงบวกคือไม่เกิดมลพิษทางอากาศและสิ่งแวดล้อม ส่วนทางน้ำหากป้องกันไม่ให้น้ำมันทั้งระบบ Lub. Oil และ Control Oil รั่วไหลลงสู่ท้ายน้ำก็ไม่ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำแต่อย่างใด
แต่ถ้าเมื่อมีต้นทุนเพิ่มขึ้นอย่างมากจากการเก็บค่าใช้น้ำในการผลิตไฟฟ้านี้ขึ้นมา ทางผู้ผลิตไฟฟ้าทั้งของ กฟผ. และของกระทรวงพลังงาน รวมไปถึงของเอกชน (อันหลังสุดนี้ จขกท ไม่ทราบว่ามีหรือไม่ หากใครทราบข้อมูลแจ้งเสริมได้เลยครับ) ในส่วนของโรงไฟฟ้าพลังน้ำจะอยู่ดำเนินงานต่อไปได้หรือไม่ หรือหากดำเนินการต่อมันจะส่งผลต่อภาคการผลิตไฟฟ้าโดยรวมทำให้ต้นทุนการไฟฟ้าสูงขึ้น และท้ายสุดก็คงไม่พ้นที่จะต้องขึ้นค่าไฟ ในที่สุดผู้ที่ต้องมาแบกรับภาระเพิ่มก็คงไม่พ้นประชาชน
จากกราฟ ไฟฟ้าที่ได้จากพลังน้ำมีในอัตราส่วนที่ไม่น้อย
หากไฟฟ้าพลังน้ำในประเทศลดปริมาณการผลิตไฟฟ้าลง แต่นอนว่าเราต้องนำเข้าแหล่งพลังงานจากต่างประเทศมากขึ้น เช่น รับซื้อไฟฟ้าจากลาว หรือรับซื้อก๊าซธรรมชาติจากพม่าเป็นต้น จึงอยากฝากเรื่องนี้ให้ผุ้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองโปรดพิจารณา
กระทู้นี้เป็นเพียงแค่การคำนวณคร่าวๆโดยเฉลี่ยเท่านั้น ยิ่ง Head น้ำต่ำเท่าไหร่ ยิ่งจำเป็นที่จะต้องใช้น้ำในการผลิตไฟฟ้ามากเท่านั้น หากมีการเก็บค่าน้ำก็ขอให้คำนึงว่าให้อยู่ให้ได้โดยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อกำลังการผลิต หากผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญท่านใดมีอะไรจะชี้แนะ หรือเพิ่มเติมข้อมูล จขกท ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะรับฟัง เพราะ จขกท ไม่ใช่ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ทำได้แค่เพียงหวังให้ประเทศชาติอยู่ได้โดยที่ประชาชนไม่เดือดร้อนเท่านั้น
ขอบพระคุณ แหล่งข้อมูลประกอบการตั้งกระทู้
https://powerplant2.wordpress.com/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3/
https://www.egat.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1989:article20170525-01&catid=49&Itemid=251
https://ienergyguru.com/2015/10/power-plant-types/
https://www.egat.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=80&Itemid=116
https://www.egat.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=92&Itemid=117
The Mario : 1 ตุลาคม 2560
สุ่มคำนวณราคาจากการขายไฟอ้างอิงการขายให้ กฟน. จะอยู่ที่ประมาณ 2 บาท 68 สตางค์ ต่อหน่วย (มีไฟฟ้าบางส่วนที่ไทยซื้อไฟฟ้าจากลาวมาประมาณ 1.8-1.9 บาท/หน่วย)
คราวนี้เราจะมาลองคิดดูคร่าวๆ ว่าหากมีการเก็บเงินค่าน้ำจากการผลิตพลังงานไฟฟ้าขนาดใหญ่ ตามข่าวที่ท่านอธิบดีให้ข่าวมาข้างต้นนั้น จะเกินความสามารถในการแบกรับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นตรงนี้หรือไม่
สำหรับข้อมูลในการใช้น้ำในการผลิตไฟฟ้าจริงในแต่ละโรงนั้นจะมีเป็นกราฟให้ดูว่า Head น้ำสูงเท่าไหร่ Guide Vane เปิดไปที่ระดับกี่ % และใช้น้ำไปเท่าไหร่ในการปั่นไฟในแต่ละครั้ง และมีหลายโรงที่ใช้วิธีคำนวณอัตราการใช้น้ำจากระดับน้ำเหนืออ่างที่ลดลง จขกท ยังไม่สามารถพอที่จะดึงข้อมูลตรงนี้มานำเสนอได้ และคิดว่าเป็นข้อมูลเฉพาะของทางองค์กรที่ไม่กล้าก้าวล่วงเข้าไปตรงนั้น แต่จะมาใช้สูตรคำนวณมาลองคิดหาอัตราการใช้น้ำโดยเฉลี่ยในการใช้น้ำผลิตกระแสไฟฟ้าในแต่ละครั้งแทน มาดูกันว่าจะคุ้มค่ากับการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังน้ำออกมาขายหรือไม่เมื่อเทียบกับอัตราการเก็บค่าน้ำจากร่าง พรบ. ที่ สนช. กำลังพิจารณาอยู่นี้ คือ เก็บค่าน้ำไม่ต่ำกว่า 3 บาทต่อลบ.ม. หรือภาษาชาวบ้านคือไม่ต่ำกว่าสามบาทต่อหน่วย
เมื่อพิจารณากำลังผลิตของระบบ กฟผ. แบ่งตามประเภทโรงไฟฟ้า จะเห็นได้ว่า โรงไฟฟ้าพลังน้ำแม้หลายโรงจะเน้นเดินเครื่องในช่วงเวลา Peak Load แต่สัดส่วนในการผลิตไฟฟ้าจากน้ำของประเทศไทยก็ไม่ได้ถือว่าน้อย และจะมีผลอย่างไรบ้างเมื่อมีการเก็บเงินค่าน้ำนี้ มันจะส่งผลต่อต้นทุนการผลิตไฟฟ้าโดยรวมของประเทศไทยหรือไม่ และจะส่งผลต่อค่าไฟของประชาชนที่จะต้องจ่ายขึ้นหรือไม่ เดี๋ยวผมจะลองมาคำนวณดูว่าการผลิตไฟฟ้าในแต่ละหน่วยที่เพิ่มขึ้นนั้นจะใช้น้ำไปกี่หน่วย และต้องจ่ายค่าน้ำประมาณกี่บาท
โดยสมมุติฐานเบื้องต้นที่ จขกท สงสัย และมาตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาคือ น้ำ 1 ลบ.ม. หรือน้ำหนึ่งหน่วยที่จะเก็บหน่วยละ 3 บาท+ นี่มันจะเป็นไปได้ยังไงในการผลิตไฟฟ้าในแต่ละหน่วยนั้น มันจะต้องใช้น้ำไปทั้งหมดกี่หน่วย และเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่กันแน่ ?
พลังงานน้ำเป็นพลังหรือกำลังที่เกิดจากการไหลของนํ้า ซึ่งเป็นพลังที่มีอานุภาพมาก พลังงานจลน์ และพลังงานศักย์ของนํ้าซึ่งเกิดจากการไหลของนํ้า และการปล่อยนํ้าจากที่สูง หรือการขึ้น-ลงของคลื่น แปลงเป็นพลังงานกลขับเคลื่อนกังหันนํ้าและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เรียกว่า ไฟฟ้าพลังนํ้าการแปลงรูปพลังงานขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ คือ ความสูงของหัวนํ้า และความเร็วของนํ้า ขั้นตอนต่างๆ มีการสูญเสีย (loss) เช่น ความฝืดของผิววัสดุที่นํ้าไหลผ่านการรั่วไหลของนํ้า เป็นต้น สมการรวมแสดงความสัมพันธ์การแปลงพลังงานนํ้าเป็นพลังงานไฟฟ้า ได้แก่
P = γQHη/1000
เมื่อ P = กำลังไฟฟ้า (กิโลวัตต์)
Q = อัตราการไหลของนํ้าผ่านเครื่องกังหันนํ้า (ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที)
H = ความสูงของหัวนํ้า (เมตร) (ในที่นี้ จขกท ขอแทนค่าด้วยความสูงของ Head น้ำที่เฉลี่ยประมาณ 50 เมตร มาคำนวณ)
γ = หน่วยของแรงโน้มถ่วงที่กระทำต่อนํ้า มีค่าเท่ากับ 9,806 นิวตัน/ลูกบาศก์เมตร
η = ประสิทธิภาพรวมของกังหันนํ้าและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ปกติจะอยู่ระหว่าง 0.5-0.9 (ในที่นี้ จขกท ขออนุญาตใช้ค่า 0.7 เมื่อเทียบกับอายุการใช้งานของโรงไฟฟ้าต่างๆโดยเฉลี่ย)
ถึงขั้นตอนนี้จะลองมาแทนท่าคำนวณดูนะครับ ในกรณีกำลังไฟฟ้า 1 กิโลวัตต์นั้น เราจะต้องใช้อัตราการไหลของนํ้าผ่านเครื่องกังหันนํ้า กี่ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
จากสูตร P = γQHη/1000
แทนค่า
1 (kW) = 9,806(N/m^3) * Q(m^3/sec) * 50(m) * 0.7/1,000
Q(m^3/sec) = 1 * 1000 / (9,806*50*0.7)
Q = 0.0029 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
W = PT
เมื่อ W = ปริมาณพลังงานไฟฟ้า หรือจำนวนหน่วยไฟฟ้า (กิโลวัตต์-ชั่วโมง)
P = กำลังไฟฟ้า (กิโลวัตต์)
T = ระยะเวลาในการผลิต (ชั่วโมง)
ไฟฟ้า 1 หน่วยนั่นคือ
1 (kWh) = 1(kW) * 1 (h)
จาก อัตราการไหลของนํ้าผ่านเครื่องกังหันนํ้า (ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) = 0.0029 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที หรือ = 10.44 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง
เพราะฉะนั้นในการผลิตไฟฟ้าต่อหนึ่งหน่วยจะใช้น้ำประมาณ 10.44 ลูกบาศก์เมตร หรือ 10.44 หน่วย โดยประมาณ
หากคิดเป็นค่าน้ำตามร่าง พรบ. ที่อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ แถลงถึงการจัดทำร่างพ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ ว่าจะจัดเก็บไม่ต่ำกว่าสามบาทต่อหน่วยนั้น จขกท ขอคิดแค่ 3 บาทก็พอ มันจะเป็นเงินค่าต้นทุนในการปั่นไฟเฉพาะน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติที่ 10.44*3 = 31.32 บาท นี่มันแพงกว่าน้ำมันดีเซลเป็นลิตรเสียอีก
เพราะฉะนั้นแล้ว มันจะส่งผลอย่างไรหรือไม่ต่อค่าไฟของประชาชนที่จะต้องจ่ายเพิ่มขึ้น หากนำโรงไฟฟ้าพลังน้ำมาปั่นไฟขายให้กับประชาชน สิ่งนี้จะเป็นจุดที่ สนช. ทั้งคณะที่กำลังร่วมพิจารณาจะมองข้ามไปไม่ได้
โรงไฟฟ้าพลังน้ำเป็นพลังงานที่สะอาดและต้นทุนในการติดตั้งที่สูงกว่าโรงไฟฟ้าประเภทอื่น โดยใช้เม็ดเงินลงทุนสูงในครั้งแรก และใช้พลังงานน้ำจากแหล่งน้ำควบคู่ไปกับการทำเกษตรกรรมและชลประทาน มีระยะเวลาคืนทุนตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปถ้าปั่นไฟขายแบบเป็นจริงเป็นจังอย่างเช่นโรงไฟฟ้าของประเทศลาว แต่ก็จะต้องเข้าแผน Renovation ประมาณ 16 ปี นอกเหนือไปจากการทำ Minor Inspection ทุกๆ 2 ปี และ Major OverHaul ทุกๆ 6-8 ปีเป็นอย่างช้า แต่ในขณะเดียวกันหากปั่นไฟขายเฉพาะช่วงเวลา Peak Load แบบที่หลายโรงไฟฟ้าพลังน้ำของไทย ระยะเวลาคืนทุนก็จะมากยิ่งขึ้นอาจถึง 20 ปีถึงจะได้ทุนคืนในการสร้าง พอคืนทุนได้ไม่นานก็จะต้องมาเข้าแผน Renovation อีก ทำให้ได้แทบไม่ได้กำไรอะไรจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำ แต่ในเชิงบวกคือไม่เกิดมลพิษทางอากาศและสิ่งแวดล้อม ส่วนทางน้ำหากป้องกันไม่ให้น้ำมันทั้งระบบ Lub. Oil และ Control Oil รั่วไหลลงสู่ท้ายน้ำก็ไม่ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำแต่อย่างใด
แต่ถ้าเมื่อมีต้นทุนเพิ่มขึ้นอย่างมากจากการเก็บค่าใช้น้ำในการผลิตไฟฟ้านี้ขึ้นมา ทางผู้ผลิตไฟฟ้าทั้งของ กฟผ. และของกระทรวงพลังงาน รวมไปถึงของเอกชน (อันหลังสุดนี้ จขกท ไม่ทราบว่ามีหรือไม่ หากใครทราบข้อมูลแจ้งเสริมได้เลยครับ) ในส่วนของโรงไฟฟ้าพลังน้ำจะอยู่ดำเนินงานต่อไปได้หรือไม่ หรือหากดำเนินการต่อมันจะส่งผลต่อภาคการผลิตไฟฟ้าโดยรวมทำให้ต้นทุนการไฟฟ้าสูงขึ้น และท้ายสุดก็คงไม่พ้นที่จะต้องขึ้นค่าไฟ ในที่สุดผู้ที่ต้องมาแบกรับภาระเพิ่มก็คงไม่พ้นประชาชน
จากกราฟ ไฟฟ้าที่ได้จากพลังน้ำมีในอัตราส่วนที่ไม่น้อย
หากไฟฟ้าพลังน้ำในประเทศลดปริมาณการผลิตไฟฟ้าลง แต่นอนว่าเราต้องนำเข้าแหล่งพลังงานจากต่างประเทศมากขึ้น เช่น รับซื้อไฟฟ้าจากลาว หรือรับซื้อก๊าซธรรมชาติจากพม่าเป็นต้น จึงอยากฝากเรื่องนี้ให้ผุ้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองโปรดพิจารณา
กระทู้นี้เป็นเพียงแค่การคำนวณคร่าวๆโดยเฉลี่ยเท่านั้น ยิ่ง Head น้ำต่ำเท่าไหร่ ยิ่งจำเป็นที่จะต้องใช้น้ำในการผลิตไฟฟ้ามากเท่านั้น หากมีการเก็บค่าน้ำก็ขอให้คำนึงว่าให้อยู่ให้ได้โดยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อกำลังการผลิต หากผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญท่านใดมีอะไรจะชี้แนะ หรือเพิ่มเติมข้อมูล จขกท ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะรับฟัง เพราะ จขกท ไม่ใช่ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ทำได้แค่เพียงหวังให้ประเทศชาติอยู่ได้โดยที่ประชาชนไม่เดือดร้อนเท่านั้น
ขอบพระคุณ แหล่งข้อมูลประกอบการตั้งกระทู้
https://powerplant2.wordpress.com/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3/
https://www.egat.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1989:article20170525-01&catid=49&Itemid=251
https://ienergyguru.com/2015/10/power-plant-types/
https://www.egat.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=80&Itemid=116
https://www.egat.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=92&Itemid=117
The Mario : 1 ตุลาคม 2560
แสดงความคิดเห็น
ค่าน้ำ พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำฯ โรงไฟฟ้าพลังน้ำจะอยู่ได้หรือไม่และส่งผลกระทบทำให้ค่าไฟฟ้าของ ปชช เพิ่มขึ้นหรือไม่ (The Mario)
WM ห้องราชดำเนินโปรดพิจารณาให้กระทู้นี้ได้คงอยู่ เพราะไม่ได้มาโจมตีการทำงานของรัฐบาล แต่เป็นการขอความเห็นและสะท้อนไปยังรัฐบาลเพื่อหาทางออกร่วมกัน และป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หากร่าง พรบ.นี้ผ่านการพิจารณา และเป็นไปตามข่าวที่อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำได้ให้ข่าวไว้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันประเทศชาติและประชาชนที่จะได้รับผลกระทบจาก พรบ.นี้
กระทู้นี้อาจต้องใช้เวลาในการปูทางมากไปบ้างเพื่อความเข้าใจง่ายในบทสรุปที่ผู้อ่านทุกท่านจะหาทางออกร่วมกัน แต่ จขกท จะพยายามรวบรัดที่สุดเท่าที่จะทำได้
ขอเริ่มต้นจากข่าวนี้ก่อนคร่าวๆ
เมื่อวันที่ 28 ก.ย. ที่กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) นายวรศาสน์ อภัยพงษ์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ แถลงถึงการจัดทำร่างพ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ พ.ศ…. โดยกล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่ความเสี่ยงเรื่องทรัพยากรน้ำ รัฐบาลจึงต้องมีกลไกบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งร่างพ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำที่รัฐบาลผลักดันอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติในขณะนี้ หากมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายจะอยู่ภายใต้คณะกรรมการทรัพยากรนํ้าแห่งชาติ (กนช.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
นายวรศาสน์กล่าวต่อว่า การจัดสรรน้ำเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญในการบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอ ซึ่งระบบการจัดสรรน้ำจะสร้างสิทธิในการเข้าถึงน้ำสาธารณะที่หมายถึงแม่น้ำ ลำคลอง บึง แหล่งน้ำใต้ดิน ทะเลสาบ และแหล่งน้ำตามธรรมชาติอื่นๆ ทั้งที่รัฐจัดสร้างหรือพัฒนาขึ้น เพื่อให้ใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างเป็นธรรม โดยกฎหมายได้กำหนดประเภทการใช้น้ำไว้ 3 ประเภทคือ ประเภทที่ 1 ใช้นํ้าเพื่อการดำรงชีพ ไม่ต้องเสียค่าใช้นํ้า ประเภทที่ 2 ใช้นํ้าด้านการเกษตร เลี้ยงสัตว์เพื่อการพาณิชย์ เก็บค่าน้ำไม่เกิน 50 สตางค์ต่อลบ.ม. ด้านการท่องเที่ยว โรงแรม สถานที่พักผ่อน ร้านอาหาร เก็บค่าน้ำ 1-3 บาทต่อลบ.ม. และธุรกิจสนามกอล์ฟ การผลิตพลังงานไฟฟ้า การประปาสัมปทาน เก็บค่าน้ำไม่เกิน 3 บาทต่อลบ.ม. และประเภทที่ 3 สำหรับภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ การผลิตพลังงานไฟฟ้าขนาดใหญ่ และกิจการอื่นๆ ที่ใช้น้ำในปริมาณมากตามมติ ของกนช. เก็บค่าน้ำไม่ต่ำกว่า 3 บาทต่อลบ.ม.
อ่านเนื้อหาข่าวเพิ่มเติมได้ที่ https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_537177
ก่อนอื่นเรามารู้จักโรงไฟฟ้าพลังน้ำกันก่อนครับ
โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ
โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ เป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของประเทศไทย โรงไฟฟ้าชนิดนี้ใช้น้ำในลำน้ำธรรมชาติเป็นพลังงาน ในการเดินเครื่อง โดยวิธีสร้างเขื่อนปิดกั้นแม่น้ำไว้ เป็นอ่างเก็บน้ำ ให้มีระดับอยู่ในที่สูงจนมีปริมาณน้ำ และแรงดันเพียงพอที่จะนำมาหมุนเครื่องกังหันน้ำและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าซึ่งอยู่ในโรงไฟฟ้าท้ายน้ำที่มีระดับต่ำกว่าได้ กำลังผลิตติดตั้งและพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโรงไฟฟ้าชนิดนี้ จะเพิ่มเป็นสัดส่วนโดยตรงกับแรงดันและปริมาณน้ำที่ไหลผ่านเครื่องกังหันน้ำ
หลักการทำงาน
- หลักการทำงานคือสร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำ ให้มีระดับน้ำสูงกว่าระดับของโรงไฟฟ้า
- ปล่อยน้ำปริมาณที่ต้องการไปตามท่อส่งน้ำ เพื่อไปยังโรงไฟฟ้าที่อยู่ต่ำกว่า
- พลังน้ำจะไปหมุนเพลาของกังหันน้ำที่ต่อกับเพลา ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ทำให้โรเตอร์ หมุน เกิดการเหนี่ยวนำขึ้นในเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ได้พลังไฟฟ้าเกิดขึ้น
ข้อดี-ข้อเสียของโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ
ข้อดีของโรงไฟฟ้าพลังงานนน้ำมีดังต่อไปนี้
- ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่ำ สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ด้วยราคาถูก ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมบำรุงรักษาต่ำ
- สามารถเดินเครื่องจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ทันที ใช้เวลาจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ ภายในเวลา 4–5 นาที การเพิ่มหรือลดพลังงานทำให้รวดเร็ว สามารถจัดให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง โดยไม่เสียประสิทธิภาพ
- เป็นโครงการเอนกประสงค์สามารถใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น ผลิตพลังงานไฟฟ้า การชลประทาน การป้องกันน้ำท่วม การคมนาคมทางน้ำ การเลี้ยงสัตว์น้ำ และสัตว์ป่า ฯลฯ
- ไม่สิ้นเปลืองเชื้อเพลิง ไม่มีควันเสีย, เขม่า หรือก๊าซพิษ ค่าเก็บรักษาเชื้อเพลิง ค่าจำกัดของเสียจึงไม่มี
- มีความแน่นอนในการใช้งาน ประสิทธิภาพของโรงจักรไฟฟ้าไม่เปลี่ยนแปลงมากตามอายุการใช้งานเพราะเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหมุนด้วยความเร็วต่ำ อุณหภูมิใช้งานต่ำ
ข้อเสียของโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำมีดังต่อไปนี้
- การลงทุนในระยะแรกตอนสร้างโรงไฟฟ้าและเขื่อนสูงมาก
- ใช้เวลานานประมาณ 4 – 5 ปี ในการสำรวจหาบริเวณที่ตั้ง และระยะเวลาในการก่อสร้าง
- การผลิตไฟฟ้าขึ้นอยู่กับสภาวะของน้ำฝนที่จะตกลงสู่อ่างเก็บน้ำ ซึ่งไม่ค่อยแน่นอนถ้าปีใดฝนน้อยอาจมีปัญหในการผลิตไฟฟ้าได้
- อาจกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ป่าไม้ ที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน โบราณวัตถุ ฯลฯ
- ส่วนมากโรงไฟฟ้าจะอยู่ห่างไกลจากชุมชนอยู่ห่างไกลจากศูนย์กลางการใช้ไฟฟ้าทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในเรื่องของสายส่งไฟฟ้า นอกจากนี้ยังมีพลังงานสูญเสียในสายส่งด้วย
ประเภทของกังหันน้ำโดยทั่วไปที่ จขกท เคยเห็นในเมืองไทย จะมีหลักๆอยู่ 3 ประเภท นั่นตือ แบบ Kaplan Turbine , Francis turbine , Bulb Turbine และ Pelton Turbine ขออธิบายคร่าวๆและปริมาณการใช้น้ำแบบคร่าวๆ และจะเน้นไปที่ Mechanical Part กับการใช้น้ำดังนี้ (ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญท่านใดอยากจะเสริมในส่วนของ Electrical Part เรียนเชิญด้วยความยินดีครับ)
Kaplan Turbine
Kaplan Turbine จะเป็นลักษณะกังหันน้ำที่รับน้ำมาจากด้านเหนือน้ำของเขื่อน น้ำจะไหลผ่าน Inlet Valve และถูกลำเลียงน้ำผ่านอุโมงน้ำขนาดใหญ่ ก่อนที่ปลายอุโมงน้ำจะมีลักษณะคดเคี้ยวเรียกว่า Spiral Case และ Stay Vane วิ่งเข้าไปหมุนกังหันน้ำ โดยก่อนที่น้ำจะไปหมุนใบ Runner จะมีการปรับปริมาณน้ำด้วยใบพัดเป็นซี่ๆ (Guide Vane) ล้อมรอบตัว Turbine Runner อีกชั้นหนึ่งเพื่อควบคุมความเร็วในการหมุน เพราะถ้าไม่มีการปรับปริมาณน้ำที่เข้าสู่ใบ Runner มันจะหมุนเร็วเกินไปจนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะสั่ง Trip ระบบ Head น้ำและความยาวของอุโมงค์ลำเลียงน้ำที่ใช้จะอยู่ในระดับกลางๆไม่สูงมาก ประมาณ 40-80 เมตร แล้วแต่พื้นที่ในการติดตั้งโรงไฟฟ้าที่อยู่หลังเขื่อน น้ำที่ผ่านการหมุน Turbine Runner จะถูกส่งผ่านท่อ Draft Tube ลงสู่ท้ายน้ำเป็นลำดับต่อไป
Francis turbine
Francis turbine โดยหลักการทั่วไป การใช้ปริมาณน้ำ ลักษณะการลำเลียงน้ำและกายภาพจะคล้ายๆกันกับ Kaplan Turbine จะต่างกันที่รูปร่างของตัว Turbine Runner เท่านั้นที่มีลักษณะเป็นซี่ๆมากกว่าแบบ Kaplan ที่มีลักษณะคล้ายๆใบพัดเรือ Francis turbine จะมีใบพัดที่มากกว่าและถูกติดตั้งไว้ตรงกลางของ Spiral Case ที่มีลักษณะคล้ายๆเปลือกหอย น้ำที่ผ่านการหมุนใบ Runner ก็จะถูกส่งผ่านท่อ Draft Tube ลงสู่ท้ายน้ำเช่นเดียวกัน
Bulb Turbine
Bulb Turbine ที่ว่านี้ใช้ความสูงของระดับน้ำไม่มาก จะวางดักไปกับทางเดินของน้ำ ให้ไปหมุน Turbine Runner ใช้ Head ของน้ำที่ต่ำ แต่ใหญ่ ใช้ปริมาณน้ำที่มากในการหมุน Turbine Runner ให้แรงบิดที่สูงเพื่อไปหมุน Generator ในการผลิตไฟฟ้า น้ำที่ผ่านการหมุนใบ Runner ก็จะถูกส่งผ่านท่อ Draft Tube ลงสู่ท้ายน้ำเช่นเดียวกัน
Pelton Turbine
Pelton Turbine นี้จะมีลักษณะเป็นกระเปาะล้อมรอบแกนหมุน (Turbine Shaft) หมุนได้ด้วยการใช้น้ำผ่านท่อลำเลียงน้ำที่ใช้ Head ที่สูง และระยะท่อลำเลียงน้ำที่ยาว แต่จะใช้น้ำในปริมาณที่น้อยที่สุดในบรรดาทุกกังหันที่กล่าวมาข้างต้น โดยน้ำที่ใช้จะผ่านหัว Nozzle ฉีกเข้าไปที่กระเปาะของ Turbine Runner ให้เกิดพลังงานในการหมุน การจะสร้างโรงไฟฟ้าประเภทนี้ต้องมีข้อจำกัดด้านความสูงต่างระดับระหว่าเหนือน้ำกับท้ายน้ำที่เพียงพอจะสร้างแรงดันน้ำให้ฉีดผ่าน Nozzle ด้วยความแรงพอที่จะไปหมุนใบ Runner ได้ ใช้พื้นที่มากในการสร้างโรงไฟฟ้าแต่จะใช้น้ำในปริมาณที่น้อยที่สุด ที่เห็นในเมืองไทยตอนนี้มีโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนจุฬาภรณ์ที่ทำได้ แต่กำลังการผลิตของเครื่องยังทำได้เพียง 40,000 kW
นอกจากบรรดากังหันน้ำที่ จขกท กล่าวมาข้างต้นนั้น โรงไฟฟ้าพลังน้ำของไทยยังมีโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับอีกด้วย ซึ่งเป็นการสูบน้ำที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าจากอ่างท้ายน้ำกลับขึ้นไปยังอ่างเหนือน้ำอีกที มีลักษณะการทำงานเช่นเดียวกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำทั่วไป ก็คือ การปล่อยน้ำจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนที่อยู่ด้านบน ลงมาอ่างที่อยู่ในระดับต่ำกว่า โดยกระแสน้ำจะไปหมุนกันหันเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ส่วนที่แตกต่างกันจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำทั่วไป คือ จะต้องมีการสร้างอ่างเก็บน้ำเพิ่มขึ้นอีก 1 อ่าง อาจจะเป็นการสร้างอ่างบนใหม่เหนืออ่างเก็บน้ำ เช่นที่โรงไฟฟ้าลำตะคอง หรือมีการสร้างอ่างล่างใหม่ที่ท้ายน้ำ เช่น ที่โรงไฟฟ้าเขื่อนภูมิพล หรือ โรงไฟฟ้าเขื่อนศรีนครินทร์ และมีปั้มน้ำที่ทำหน้าที่ดูดน้ำกลับขึ้นไปยังอ่างบน
ข้อดีของโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ คือ จ่ายไฟฟ้าได้รวดเร็วจึงมักจะผลิตไฟฟ้าในช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้ามาก นอกจากนี้ ยังเป็นพลังงานสะอาด ที่ไม่ปล่อยมลสารสู่สิ่งแวดล้อม
ส่วนข้อเสียคือ มีการสูญเสียพลังงานราวร้อยละ 15 – 30 ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อมของการออกแบบ เนื่องจากพลังงานที่ใช้การสูบน้ำกลับขึ้นมาอ่างบน จะมากกว่าพลังงานที่ได้จากการปล่อยน้ำลงไปสู่อ่างล่าง
เมื่อมีการสูบน้ำกลับไปยังแหล่งน้ำสาธารณะเดิม แล้วจะเก็บค่าการใช้น้ำเป็นหน่วยได้อย่างไร ในเมื่อมีการคืนน้ำกลับสู่แหล่งน้ำเดิม?
(เนื้อหากระทู้ และการคำนวณมีต่อที่ช่องคอมเมนต์ครับผม)