ไม่ใช่แค่ละครที่สะท้อนชีวิตทหาร แต่คือละครที่ควรค่าที่นักวิทยาศาสตร์และผู้สนใจควรจะดู...#ยึดฟ้าหาพิกัดรัก

ดูมาถึงตอนนี้อดที่จะเขียนชื่นชม ทีมงานและคนเขียนบทละครเรื่องนี้ไม่ได้...แต่วันนี้ต้องขอชื่นชมบทละครในมิติของวิทยาศาสตร์ ที่ผู้กำกับและคนเขียนบทใส่ลงไปได้ครบถ้วน ละเอียด เก็บทุกเม็ดแบบไม่ปล่อยผ่านในเรื่องขององค์ความรู้และความเสมือนจริงของงานด้านวิทยาศาสตร์

เปิดเรื่องมาก็เจอ ดร.ไอริณ ในมาดที่มุ่งมั่นในคราบขิงนักวิจัยทางด้านชีวการแพทย์ ที่เรียกได้ว่าเธอเองก็คือกูรูด้านนี้จริงๆ ถ่ายทอดความเป็นนักวิจัยในละครออกมาได้สมกับ บัณฑิตใหม่สาขาชีวการแพทย์ จาก ม.มหิดล จริงๆ...ตรงนี้เราจึงได้เห็นฉากห้อง lab ที่ออกแบบมาได้ใช่เลย ทั้งตัวนักแสดง ทีมนักวิจัย และอุปกรณ์เครื่องต่างๆที่ในห้อง lab ระดับนี้ต้องมี เช่น เครื่องแก้วต่างๆที่ต้องใช้ในห้องทดลองและถูกจัดวางในตำแหน่งทีใช่เลยว่านี่แหละคือห้อง lab จริงๆ รวมถึงเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่ lab ชีวการแพทย์ ต้องมีเช่นกัน ทั้ง กล้องจุลทรรศน์ เครื่อง Flow-cytometry / Spectrophotometry แถมเธอ(น้องเซฟฟานี่) ก็โชว์สกิลในการ set และ run เครื่องแบบ automatic sampling รวมถึงใช้โปรแกรมประมวลผล สิเคราะห์ข้อมูลได้ smart มากๆ สมกับที่เธอได้ร่ำเรียนมาด้านนี้จริง...ยัง ยังไม่พอ เธอยังโชว์สกิลด้วยการเขียนสมการทางเคมีได้เป๊ะมาก และแสดงสูตรโครงสร้างของสารประกอบต่างๆ ทั้ง Aromatic / Aliphatic compounds ได้ถูกต้องเลยละ มีโชว์ Benzene ring เอาใจบรรดานักเคมี/นักวิทยาศาสตร์ ได้เทพมาก ทั้งสูตรโครงสร้างแบบธรรมดา และแอบมีสูตรโครงสร้างแบบ Stereoisomer ชนิด Chair form ของ Benzene ring ไว้ด้วย...นี่แสดงว่า รายละเอียดตรงนี้ผู้กำกับเขาใส่ใจเก็บทุกเม็ดจริงๆ...แบบนี้แหละที่อยากให้ละครไทยเรื่องอื่นๆได้ยกระดับมาตรฐานให้สูงขึ้น ด้วยการทำการบ้านในเนื้องานทุกๆมิติ ทุกๆองค์ความรู้ให้ประจักษ์จริง ไม่ใช่อะไรก็ได้



และที่มาสะดุดและต้องให้ความสนใจอีกครั้ง ก็ตอนที่ได้ดูในวันนี้ (29 ก.ย. 60) เป็นที่ผู้กองกรัณ แนะนำให้ลูกน้องใช้หัวกระสุนชนิดพิเศษที่จะสามารถเจาะทะลุทำลายเกราะกันกระสุนของเหล่าวายร้าย Black Iron...งานนี้ต้องชื่นชมทีมงาน ผู้กำกับ และคนเขียนบทอีกแล้ว ที่ทำการบ้านมาดี ให้ผู้กองได้โชว์สกิลด้วยการสาธยาย/วิเคราะห์ว่า เกราะกันกระสุนของพวกวายร้ายนั่น ทำไมกระสุนทั่วๆไปจึงทำอะไรมันไม่ได้ ฝ่ายวายร้ายเลยตายยากตายเย็นจริงๆเลยพับผ่า...ผู้กองบอกเลยว่า เกราะชนิดพิเศษนี้ มันคงทำมาจาก Silicon Carbine และเคลือบด้วย Ceramic ชนิดที่ทนต่อความร้อนทะลุทลวงจากกระสุนหัวเพลิงได้เป็นอย่างดี จึงต้องใช้กระสุนชนิดพิเศษที่ผู้กองได้มาจากทางกองทัพ...ได้ฟังเท่านั่นแหละ ป้านี่ถึงกับอุทานเลยว่า โอ้ว! นี่มันองค์ความรู้ของศาสตร์ทางด้าน Material science + Silicate science + Chemistry + Physics เลยนะนั่น...งานนี้ต้องชื่นชมจริงๆ ชื่นชมลูกชายของเฮียธง (คุณแผ่นดิน) และคนเขียนบทที่ชื่อ แพรพิมา พวกคุณได้ยกระดับละครไทยให้ก้าวข้ามละครตบตี แย่งผู้ ร้ายๆแรงๆ และละครน้ำเน่ามาได้อย่างสง่างาม


มาถึงประเด็นนี้ ป้าก็คงต้องขออนุญาตเกริ่นองค์ความรู้ด้าน วัสดุกันกระสุน/ระเบิดมาให้หลายๆคนได้อ่านพอได้เข้าใจพอสังเขป (ตามที่สามีป้าได้เล่าและอธิบายให้หังคร่าวๆ)

โดยทั่วไปเสื้อเกราะจะทำจากเส้นใย อะรามิด ซึ่งเป็นเส้นใยโพลิเมอร์สังเคราะที่มีโครงสร้างวงแหวนอะโรมาติกสลับกับหมู่เอไมด์  เช่น เส้นใยเคฟลาร์ ซึ่งมีชื่อทางเคมีว่า poly paraphenyleneterephthalamind, PPD-T

เส้นใยอะรามิดมีความเหนียวดีเยี่ยม สามารถดูดซับแรงที่ตกกระทบได้มากก่อนจะเสียสภาพ จึงมักนำมาใช้งานเป็นเสื้อเกราะกันกระสุนทั่วๆไป ถ้าเสริมด้วยโมเลกุลของสารประกอบ Silicon Carbide และเคลือบ Ceramics ที่ทนความร้อนจากหัวกระสุนเพลิงนำวิถี ที่ิอาจจะซ้อนแบบ laminar composite อีกชั้น...นั่นแสดงว่ามันอาจมีประสิทธิภาพเทียบเท่าหรืออาจจะล้ำเลิศกว่ากระจกกันกระสุน/ระเบิด ก็ได้เลยนะนั่น
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่