หลายท่านที่กำลังสอบเอาใบอนุญาตว่าความ หรือ ที่เราเรียกกันสั้นๆว่า ตั๋วทนาย นั้น บางคนสอบหลายรอบแล้วยังไม่ผ่าน หรือ บางคนเพิ่งจะมีโอกาสสอบเป็นครั้งแรก ผมมีเกร็ดเล็กๆน้อยๆมาฝากในการทำข้อสอบให้ได้คะแนนมาฝากกันครับ
..
อย่างแรกเลยคือ แบ่งเวลาให้เหมาะสม อ้าว...แล้วจะแบ่งยังไงล่ะ วิธีง่ายๆคือ อะไรที่คิดว่าทำได้เลยไม่ต้องคิดมาก ให้ทำก่อนเป็นอันดับแรก อย่างเช่นพวก คำร้อง คำแถลง หนังสือทวงถาม หนังสือมอบอำนาจ สัญญาต่างๆ ซึ่งข้อสอบพวกนี้แทบจะมีรูปแบบไม่ต่างกันเลย ดังนั้นข้อสอบเหล่านี้เราควรได้คะแนนเกินครึ่ง อย่ามองข้ามเด็ดขาด เพราะมันเป็นตัวช่วยให้ผ่านทั้งสิ้น
..
ต่อมาก็ดูว่า เราจะทำข้อสอบแพ่ง หรือ อาญาก่อนดี
ถ้าเรามองผ่านๆ เราจะรู้ว่าทั้งข้อสอบอาญาและแพ่ง ผู้เสียหายและจำเลยมักจะเป็นคู่ความเดียวกัน เพียงแต่ความรับผิดในทางแพ่ง อาจไม่เป็นความผิดในทางอาญาก็ได้ ดังนั้นในการฟ้องคดีแพ่ง อย่ายึดหลักตัวละครในอาญามากเกินไป เพราะความผิดทางอาญา แน่นอนในทางแพ่งเค้าต้องรับผิดอยู่แล้ว..จริงมั้ย แต่ในทางแพ่ง อาจรับผิดตามสัญญา หรือ นิติเหตุ(ละเมิด)เท่านั้น
..
เรื่องที่เค้าถาม หนีไม่พ้น 2 อย่างครับ คือ ผิดสัญญาทางแพ่ง หรือ ละเมิดในทางแพ่ง ส่วนคำฟ้องในทางอาญา แน่นอนยังไงก็ผิดอาญาแน่ๆ (ไม่งั้นเค้าจะให้ร่างคำฟ้องอาญาทำไม จริงมั้ย) และที่ลืมไม่ได้เลย คือ ผู้ลงชื่อท้ายฟ้องอาญาต้องเป็นตัวความเท่านั้น ดังนั้นทนายความโจทก์ลงชื่อไม่ได้เลย ยกเว้นว่าจะได้รับมอบอำนาจอีกที และ ก็ลงชื่อได้ในฐานะผู้รับมอบอำนาจ ไม่ใช่ลงชื่อในนามทนายโจทก์
..
สำหรับคำถามข้อ กขคง. นั้น บางคนชอบทำก่อนเพื่อนเลย อันนี้แล้วแต่สะดวก แต่เชื่อมั้ยว่า การทำข้อ กขคง ก่อนนั้น มันเสียเวลามาก เพราะคุณมัวแต่อ่านแล้วคิดๆๆๆ จนทำให้เสียเวลาในการทำข้อสอบพวกนี้มากเกินไป สำหรับผม ผมทำหลังสุด เพราะหากเวลาไม่พอ ผมยังกามั่วได้ แต่ถ้าเราทำก่อนเพื่อนเลย หากเวลาไม่พอเราไปเขียนคำร้อง คำแถลง หรือ คำฟ้อง ไม่ทันแน่ๆ อันนี้แล้วแต่ท่านนะครับ
..
การมองตัวละครว่าใครต้องรับผิดในฐานะจำเลย หรือ ใครถูกโต้แย้งสิทธิในฐานะโจทก์ หากโจทก์จำเลยเป็นบุคคลธรรมดา คุณต้องหาคู่ความให้เจอ โดยดูว่าใครเป็นผู้เสียหาย และ ใครผิดสัญญาหรือทำละเมิด จากนั้นเมื่อได้คู่กรณีแล้ว ก็เอามาร่างฟ้องได้อย่างถูกต้อง ในกรณีที่โจทก์จำเลยเป็นนิติบุคคล คุณตั้งฟ้องเอาชื่อนิติบุคคลมาเป็นโจทก์จำเลยได้ทันที เพราะตามกฎหมายแล้ว นิติบุคคล เป็นบุคคลที่แยกต่างหากจากบุคคลธรรมดา ดังนั้นโจทก์จึงเป็นนิติบุคคลได้โดยอิสระ (คุณอย่าเอากรรมการ หรือ ผู้มีอำนาจมาตั้งเป็นโจทก์จำเลยเด็ดขาด ยกเว้นใบแต่งทนาย ต้องแต่งทนายโดยผู้มีอำนาจเท่านั้น)
..
คดีแพ่งและคดีอาญาเรื่องเช็ค คุณฟ้องนิติบุคคลและผู้สั่งจ่ายได้ ซึ่งต่างกับคดีแพ่งที่ผิดสัญญา คุณฟ้องได้แค่นิติบุคคลเท่านั้น คุณจะฟ้องให้กรรมการรับผิดส่วนตัวไม่ได้ หากเค้าทำในขอบข่ายอำนาจ ยกเว้นว่ากรรมการคนนั้นกระทำนอกอำนาจ คุณย่อมฟ้องคนๆนั้นได้
..
บางรุ่น ข้อสอบให้เขียนคำให้การ ซึ่งดูเหมือนยาก แต่จริงๆแล้วง่ายมาก เพราะจะเขียนคำให้การได้นั้น เค้าก็ต้องมีคำฟ้องมาให้เราอ่านก่อนจริงมั้ย ดังนั้นเราจึงเขียนคำให้การล้อประเด็นในคำฟ้องที่เค้าให้มาได้เลย จะรับประเด็นไหน จะสู้ประเด็นไหนก็ว่าไป หรือ บางรุ่นอาจให้เขียนคำให้การและฟ้องแย้ง คุณก็แค่ต่อท้ายคำให้การว่า "จำเลยขอฟ้องแย้งโจทก์ดังต่อไปนี้" คุณก็ขึ้นประเด็นใหม่ที่คุณจะฟ้องแย้งไปเท่านั้นเอง
..
คดีที่ขึ้นสู่ศาลมี 2 อย่าง คือ คดีมีข้อพิพาท กับคดีไม่มีข้อพิพาท
ดังนั้นคดีมีข้อพิพาท ต้องทำเป็นคำฟ้อง ส่วนคดีไม่มีข้อพิพาทต้องทำเป็นคำร้อง (อย่าทำผิดล่ะ) เช่นร้องขอครอบครองปรปักษ์ ร้องขอจัดการมรดก เป็นต้น
..
หากข้อสอบรุ่นใดมีคำถามแปลกๆ หรือ ให้ร่างคำฟ้อง คำร้อง คดีแปลกๆ คุณไม่ต้องตกใจ อย่างแรก คือ จับประเด็นก่อนว่า ใครร้อง ใครฟ้อง และ ร้องเรื่องอะไร หรือ ฟ้องใครก่อน จากนั้นเมื่อจับคู่ความได้แล้ว เราใช้หลักการร่างโดยแบ่งออกเป็นส่วนใหญ่ๆ ดังนี้
1. ฐานะโจทก์จำเลย
2. นิติสัมพันธ์
3. ข้อโต้แย้งสิทธิ หรือ ผิดสัญญา หรือ ละเมิด
4. คำขอบังคับ
..
ท้ายฟ้องแพ่ง การคำนวนดอกเบี้ยนั้น แน่นอนควรคำนวนดอกเบี้ยให้ถูกต้องดีที่สุด แต่ถ้าคำนวนไม่ทัน หรือ คำนวนไม่ได้ ยังไงก็ต้องมีการเรียกดอกเบี้ยผิดนัดเข้าไปด้วยเสมอ เช่น คำนวนดอกเบี้ยได้ 2 หมื่น ก็เรียกไป 2 หมื่น หรือ คำนวนได้ 20,452 บาท เราอาจเรียกดอกเบี้ยแค่ 2 หมื่น ตัวเลขกลมๆก็ได้ ไม่ผิดกติกา และอย่าลืมเรียกดอกเบี้ยในช่วงที่ 2 คือ ดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จจนครบด้วยล่ะ เพราะส่วนนี้คือคะแนนสำคัญ
..
การลงชื่อโจทก์จำเลย
ผมเชื่อว่าท่านคงไม่พลาดแล้วนะ ว่าใครลงชื่อได้บ้าง
ขอให้โชคดีครับ
..
ด้วยความปราถนาดีจาก "ทนายใหม่ไปศาล"
+คำแนะนำในการสอบใบอนุญาตว่าความ (ตั๋วทนาย)+
..
อย่างแรกเลยคือ แบ่งเวลาให้เหมาะสม อ้าว...แล้วจะแบ่งยังไงล่ะ วิธีง่ายๆคือ อะไรที่คิดว่าทำได้เลยไม่ต้องคิดมาก ให้ทำก่อนเป็นอันดับแรก อย่างเช่นพวก คำร้อง คำแถลง หนังสือทวงถาม หนังสือมอบอำนาจ สัญญาต่างๆ ซึ่งข้อสอบพวกนี้แทบจะมีรูปแบบไม่ต่างกันเลย ดังนั้นข้อสอบเหล่านี้เราควรได้คะแนนเกินครึ่ง อย่ามองข้ามเด็ดขาด เพราะมันเป็นตัวช่วยให้ผ่านทั้งสิ้น
..
ต่อมาก็ดูว่า เราจะทำข้อสอบแพ่ง หรือ อาญาก่อนดี
ถ้าเรามองผ่านๆ เราจะรู้ว่าทั้งข้อสอบอาญาและแพ่ง ผู้เสียหายและจำเลยมักจะเป็นคู่ความเดียวกัน เพียงแต่ความรับผิดในทางแพ่ง อาจไม่เป็นความผิดในทางอาญาก็ได้ ดังนั้นในการฟ้องคดีแพ่ง อย่ายึดหลักตัวละครในอาญามากเกินไป เพราะความผิดทางอาญา แน่นอนในทางแพ่งเค้าต้องรับผิดอยู่แล้ว..จริงมั้ย แต่ในทางแพ่ง อาจรับผิดตามสัญญา หรือ นิติเหตุ(ละเมิด)เท่านั้น
..
เรื่องที่เค้าถาม หนีไม่พ้น 2 อย่างครับ คือ ผิดสัญญาทางแพ่ง หรือ ละเมิดในทางแพ่ง ส่วนคำฟ้องในทางอาญา แน่นอนยังไงก็ผิดอาญาแน่ๆ (ไม่งั้นเค้าจะให้ร่างคำฟ้องอาญาทำไม จริงมั้ย) และที่ลืมไม่ได้เลย คือ ผู้ลงชื่อท้ายฟ้องอาญาต้องเป็นตัวความเท่านั้น ดังนั้นทนายความโจทก์ลงชื่อไม่ได้เลย ยกเว้นว่าจะได้รับมอบอำนาจอีกที และ ก็ลงชื่อได้ในฐานะผู้รับมอบอำนาจ ไม่ใช่ลงชื่อในนามทนายโจทก์
..
สำหรับคำถามข้อ กขคง. นั้น บางคนชอบทำก่อนเพื่อนเลย อันนี้แล้วแต่สะดวก แต่เชื่อมั้ยว่า การทำข้อ กขคง ก่อนนั้น มันเสียเวลามาก เพราะคุณมัวแต่อ่านแล้วคิดๆๆๆ จนทำให้เสียเวลาในการทำข้อสอบพวกนี้มากเกินไป สำหรับผม ผมทำหลังสุด เพราะหากเวลาไม่พอ ผมยังกามั่วได้ แต่ถ้าเราทำก่อนเพื่อนเลย หากเวลาไม่พอเราไปเขียนคำร้อง คำแถลง หรือ คำฟ้อง ไม่ทันแน่ๆ อันนี้แล้วแต่ท่านนะครับ
..
การมองตัวละครว่าใครต้องรับผิดในฐานะจำเลย หรือ ใครถูกโต้แย้งสิทธิในฐานะโจทก์ หากโจทก์จำเลยเป็นบุคคลธรรมดา คุณต้องหาคู่ความให้เจอ โดยดูว่าใครเป็นผู้เสียหาย และ ใครผิดสัญญาหรือทำละเมิด จากนั้นเมื่อได้คู่กรณีแล้ว ก็เอามาร่างฟ้องได้อย่างถูกต้อง ในกรณีที่โจทก์จำเลยเป็นนิติบุคคล คุณตั้งฟ้องเอาชื่อนิติบุคคลมาเป็นโจทก์จำเลยได้ทันที เพราะตามกฎหมายแล้ว นิติบุคคล เป็นบุคคลที่แยกต่างหากจากบุคคลธรรมดา ดังนั้นโจทก์จึงเป็นนิติบุคคลได้โดยอิสระ (คุณอย่าเอากรรมการ หรือ ผู้มีอำนาจมาตั้งเป็นโจทก์จำเลยเด็ดขาด ยกเว้นใบแต่งทนาย ต้องแต่งทนายโดยผู้มีอำนาจเท่านั้น)
..
คดีแพ่งและคดีอาญาเรื่องเช็ค คุณฟ้องนิติบุคคลและผู้สั่งจ่ายได้ ซึ่งต่างกับคดีแพ่งที่ผิดสัญญา คุณฟ้องได้แค่นิติบุคคลเท่านั้น คุณจะฟ้องให้กรรมการรับผิดส่วนตัวไม่ได้ หากเค้าทำในขอบข่ายอำนาจ ยกเว้นว่ากรรมการคนนั้นกระทำนอกอำนาจ คุณย่อมฟ้องคนๆนั้นได้
..
บางรุ่น ข้อสอบให้เขียนคำให้การ ซึ่งดูเหมือนยาก แต่จริงๆแล้วง่ายมาก เพราะจะเขียนคำให้การได้นั้น เค้าก็ต้องมีคำฟ้องมาให้เราอ่านก่อนจริงมั้ย ดังนั้นเราจึงเขียนคำให้การล้อประเด็นในคำฟ้องที่เค้าให้มาได้เลย จะรับประเด็นไหน จะสู้ประเด็นไหนก็ว่าไป หรือ บางรุ่นอาจให้เขียนคำให้การและฟ้องแย้ง คุณก็แค่ต่อท้ายคำให้การว่า "จำเลยขอฟ้องแย้งโจทก์ดังต่อไปนี้" คุณก็ขึ้นประเด็นใหม่ที่คุณจะฟ้องแย้งไปเท่านั้นเอง
..
คดีที่ขึ้นสู่ศาลมี 2 อย่าง คือ คดีมีข้อพิพาท กับคดีไม่มีข้อพิพาท
ดังนั้นคดีมีข้อพิพาท ต้องทำเป็นคำฟ้อง ส่วนคดีไม่มีข้อพิพาทต้องทำเป็นคำร้อง (อย่าทำผิดล่ะ) เช่นร้องขอครอบครองปรปักษ์ ร้องขอจัดการมรดก เป็นต้น
..
หากข้อสอบรุ่นใดมีคำถามแปลกๆ หรือ ให้ร่างคำฟ้อง คำร้อง คดีแปลกๆ คุณไม่ต้องตกใจ อย่างแรก คือ จับประเด็นก่อนว่า ใครร้อง ใครฟ้อง และ ร้องเรื่องอะไร หรือ ฟ้องใครก่อน จากนั้นเมื่อจับคู่ความได้แล้ว เราใช้หลักการร่างโดยแบ่งออกเป็นส่วนใหญ่ๆ ดังนี้
1. ฐานะโจทก์จำเลย
2. นิติสัมพันธ์
3. ข้อโต้แย้งสิทธิ หรือ ผิดสัญญา หรือ ละเมิด
4. คำขอบังคับ
..
ท้ายฟ้องแพ่ง การคำนวนดอกเบี้ยนั้น แน่นอนควรคำนวนดอกเบี้ยให้ถูกต้องดีที่สุด แต่ถ้าคำนวนไม่ทัน หรือ คำนวนไม่ได้ ยังไงก็ต้องมีการเรียกดอกเบี้ยผิดนัดเข้าไปด้วยเสมอ เช่น คำนวนดอกเบี้ยได้ 2 หมื่น ก็เรียกไป 2 หมื่น หรือ คำนวนได้ 20,452 บาท เราอาจเรียกดอกเบี้ยแค่ 2 หมื่น ตัวเลขกลมๆก็ได้ ไม่ผิดกติกา และอย่าลืมเรียกดอกเบี้ยในช่วงที่ 2 คือ ดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จจนครบด้วยล่ะ เพราะส่วนนี้คือคะแนนสำคัญ
..
การลงชื่อโจทก์จำเลย
ผมเชื่อว่าท่านคงไม่พลาดแล้วนะ ว่าใครลงชื่อได้บ้าง
ขอให้โชคดีครับ
..
ด้วยความปราถนาดีจาก "ทนายใหม่ไปศาล"