ข้อกล่าวหาในการยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ หลักๆ คือ
1. ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบฯ
2. ไม่ระงับยับยั้งโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งทำให้รัฐเสียหายกว่า 5 แสนล้านบาท
โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ต่อสู้ใน 6 ประเด็น คือ
1. กระบวนการไต่สวน และยื่นฟ้อง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากมีการนำเอกสารหลักฐานอื่นที่อยู่นอกเหนือจากสำนวน ป.ป.ช. เช่น การระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ มาฟ้องเพิ่ม และการตรวจสอบคุณภาพข้าวแบบแบ่งเกรดมีความผิดพลาด คลาดเคลื่อน จนเกิดการนำข้าวดี ไปประมูลขายเป็นอาหารสัตว์
2. นโยบายรับจำนำข้าวที่กำหนดราคาสูงกว่าราคาตลาด เพื่อชี้นำให้ราคาข้าวในตลาดสูงขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์กับชาวนา และราคารับประกันที่ตันละ 15,000 บาท เป็นการเทียบกับค่าแรงขั้นต่ำ
3. นายกรัฐมนตรีไม่ได้มีอำนาจยับยั้งโครงการตามอำเภอใจโดยลำพัง เนื่องจากการบริหารโครงการรับจำนำข้าวเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี
4. โครงการรับจำนำข้าวไม่ได้สร้างความเสียหายตามคำฟ้อง หนี้สาธารณะและระบบการเงิน – การคลังของประเทศยังอยู่ในกรอบที่วางไว้
5. ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพราะเมื่อ ป.ป.ช. และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ทำหนังสือทักทวงมา ครม.ก็ได้แต่งตั้งให้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เป็นประธานตรวจสอบการทุจริต และสั่งกระทรวงกลาโหม สกัดการนำข้าวจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาสวมสิทธิ์
6 ไม่ได้ปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริตในการระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ เพราะ ครม.ให้อำนาจกระทรวงพาณิชย์และกรมการค้าต่างประเทศ ดำเนินการโดยตรง โดยออกข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ที่เข้มงวด ชัดเจนอยู่แล้ว
ซึ่งนายนรวิทย์ หล้าแหล่ง ทนายความ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยอมรับว่า ตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคมเป็นต้นมา ยังไม่ได้รับการติดต่อจาก น.ส.ลิ่งลักษณ์ เลยแม้แต่ครั้งเดียว แต่ทันทีที่ทราบคำพิพากษา ก็จะพยายามติดต่อกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เพื่อหารือว่าจะยื่นอุทธรณ์หรือไม่ หรือดำเนินการอย่างไรต่อไป
ส่วนสถานการณ์ที่ศาลตั้งแต่ช่วงเช้าจนถึงขณะนี้ ทุกอย่างยังเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่ได้มีการปิดพื้นที่เหมือนเมื่อวันที่ 25 สิงหาคมที่ผ่านมา และอนุญาตให้กลุ่มผู้สนับสนุน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เข้ามาปักหลักรอฟังคำพิพากษาได้ที่หน้าตัวอาคารศาล
ที่มา
http://www.krobkruakao.com/politics/53317
คดีประกันราคาข้าวตอนนี้ ปปช. งมสำนวนขึ้นมาได้หรือยัง
องค์คณะผู้พิพากษา ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อยู่ระหว่างการเขียนคำพิพากษากลาง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
1. ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบฯ
2. ไม่ระงับยับยั้งโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งทำให้รัฐเสียหายกว่า 5 แสนล้านบาท
โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ต่อสู้ใน 6 ประเด็น คือ
1. กระบวนการไต่สวน และยื่นฟ้อง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากมีการนำเอกสารหลักฐานอื่นที่อยู่นอกเหนือจากสำนวน ป.ป.ช. เช่น การระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ มาฟ้องเพิ่ม และการตรวจสอบคุณภาพข้าวแบบแบ่งเกรดมีความผิดพลาด คลาดเคลื่อน จนเกิดการนำข้าวดี ไปประมูลขายเป็นอาหารสัตว์
2. นโยบายรับจำนำข้าวที่กำหนดราคาสูงกว่าราคาตลาด เพื่อชี้นำให้ราคาข้าวในตลาดสูงขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์กับชาวนา และราคารับประกันที่ตันละ 15,000 บาท เป็นการเทียบกับค่าแรงขั้นต่ำ
3. นายกรัฐมนตรีไม่ได้มีอำนาจยับยั้งโครงการตามอำเภอใจโดยลำพัง เนื่องจากการบริหารโครงการรับจำนำข้าวเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี
4. โครงการรับจำนำข้าวไม่ได้สร้างความเสียหายตามคำฟ้อง หนี้สาธารณะและระบบการเงิน – การคลังของประเทศยังอยู่ในกรอบที่วางไว้
5. ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพราะเมื่อ ป.ป.ช. และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ทำหนังสือทักทวงมา ครม.ก็ได้แต่งตั้งให้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เป็นประธานตรวจสอบการทุจริต และสั่งกระทรวงกลาโหม สกัดการนำข้าวจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาสวมสิทธิ์
6 ไม่ได้ปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริตในการระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ เพราะ ครม.ให้อำนาจกระทรวงพาณิชย์และกรมการค้าต่างประเทศ ดำเนินการโดยตรง โดยออกข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ที่เข้มงวด ชัดเจนอยู่แล้ว
ซึ่งนายนรวิทย์ หล้าแหล่ง ทนายความ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยอมรับว่า ตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคมเป็นต้นมา ยังไม่ได้รับการติดต่อจาก น.ส.ลิ่งลักษณ์ เลยแม้แต่ครั้งเดียว แต่ทันทีที่ทราบคำพิพากษา ก็จะพยายามติดต่อกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เพื่อหารือว่าจะยื่นอุทธรณ์หรือไม่ หรือดำเนินการอย่างไรต่อไป
ส่วนสถานการณ์ที่ศาลตั้งแต่ช่วงเช้าจนถึงขณะนี้ ทุกอย่างยังเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่ได้มีการปิดพื้นที่เหมือนเมื่อวันที่ 25 สิงหาคมที่ผ่านมา และอนุญาตให้กลุ่มผู้สนับสนุน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เข้ามาปักหลักรอฟังคำพิพากษาได้ที่หน้าตัวอาคารศาล
ที่มา http://www.krobkruakao.com/politics/53317
คดีประกันราคาข้าวตอนนี้ ปปช. งมสำนวนขึ้นมาได้หรือยัง