" (เพลงแรกคือแสงเทียน)... จากนั้น ฉันก็แต่งขึ้นอีกเรื่อย ๆ จนบัดนี้รวมทั้งหมด ๔๐ เพลง ในระยะเวลา ๒๐ ปี
คิดเฉลี่ยปีละ ๒ เพลง ที่ทำได้ก็เพราะได้รับความสนับสนุนจากนักดนตรี นักเพลงและนักร้อง
รวมทั้งประชาชนผู้ฟัง ต่างได้แสดงความพอใจ
และความนิยมพอสมควร จึงเป็นกำลังใจแก่ฉันเรื่อยมาขอถือโอกาสขอบใจมาในที่นี้ด้วย "
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยดนตรีมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงอ่านหนังสือเกี่ยวกับดนตรีตั้งแต่ทรงศึกษาอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงได้รับการฝึกฝนการเขียนโน้ตและบรรเลงแบบคลาสสิก หลังจากทรงฝึกหัดดนตรีขั้นพื้นฐานได้นานพอสมควรแล้ว จึงเริ่มสนพระราชหฤทัยทรงดนตรีแนวแจ๊ส (Jazz) ทรงศึกษาประวัตินักดนตรีที่มีชื่อเสียงและทรงเปรียบเทียบฝีมือการเล่นดนตรีต่าง ๆ จากแผ่นเสียงแล้วจึงทรงบรรเลงสอดแทรกพร้อมกับแผ่นเสียงของนักดนตรี ที่มีชื่อเสียงตามสไตล์ที่ทรงโปรด
ยามที่ทรงว่างจากการศึกษาก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บรรดานักเรียนไทยในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ไปร่วมสโมสรสังสรรค์ ณ พระตำหนักวิลล่าวัฒนา และร่วมทรงดนตรีอย่างสำราญพระราชหฤทัย เมื่อเสด็จฯ ประทับที่สถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงปารีสเป็นการส่วนพระองค์ก็ได้พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณร่วมทรงดนตรีกับนักเรียนไทย ทรงใช้ดนตรีวงสมัครเล่นเป็นสื่อสร้างบรรยากาศและความสัมพันธ์ที่สนุกสนานและเป็นกันเอง
ในหลวงทรงดนตรี H.M. The King Solo
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระปรีชาสามารถในการทรงดนตรีเป็นพิเศษ เครื่องดนตรีที่โปรดคือ เครื่องเป่าแทบทุกชนิด เช่น แซกโซโฟน คลาริเน็ต และทรัมเป็ต ทั้งยังทรงกีตาร์และเปียโนได้อีกด้วย นอกจากนี้ทรงเล่นดนตรีร่วมกับวงดนตรีได้ทุกวง ทรงเข้าบรรเลงร่วมกับวงดนตรีนั้น ๆ ได้ ไม่ว่าวงดนตรีนั้นจะมีแนวการเล่นแบบใด เมื่อถึงตอนเดี่ยว (Solo) ทรงสามารถใช้ปฏิภาณเล่นเดี่ยวได้อย่างยอดเยี่ยม
เพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชปรีชาในเรื่องของดนตรี ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเพลงตั้งแต่ยังทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช รวมบทเพลงพระราชนิพนธ์ทั้งสิ้น 48 เพลง เพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ทำนอง และคำร้องภาษาอังกฤษด้วยพระองค์เอง มี 5 เพลง คือ "Echo", "Still on My Mind", "Old-Fashioned Melody", "No Moon" และ "Dream Island" นอกจากนี้ มีเพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองขึ้นภายหลังใส่ในคำร้องที่มีผู้ประพันธ์ไว้แล้ว คือ ความฝันอันสูงสุด เราสู้ และ รัก
ผู้ที่โปรดเกล้าฯ ให้แต่งคำร้องประกอบเพลงพระราชนิพนธ์มีหลายท่าน ได้แก่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์, ศาสตราจารย์ ท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา, ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร, ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา, นายจำนงราชกิจ (จรัล บุณยรัตพันธุ์), ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ม.ล.ประพันธ์สนิทวงศ์ และท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค เป็นต้น
ในยุคแรก หลังจากที่เพลงพระราชนิพนธ์มีทำนองและคำร้องสมบูรณ์แล้ว จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ครูเอื้อ สุนทรสนาน นำไปบรรเลงในวงดนตรีกรมโฆษณาการหรือวงกรมประชาสัมพันธ์ เพื่อให้แพร่หลายทั่วไป และโดยพระองค์ท่านเองทรงดนตรีร่วมกับวงดนตรี วง อ.ส. วันศุกร์ ออกอากาศ ปรากฏว่าหลายเพลงกลายเป็นเพลงยอดนิยมทั้งในหมู่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ
ในระยะหลังพระองค์มีพระราชกรณียกิจมากมาย ทำให้พระองค์ทรงไม่มีเวลาที่จะทรงพระราชนิพนธ์เพลงใหม่ๆออกมา เพลงสุดท้ายที่พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ออกมาคือเพลง "เมนูไข่" เป็นเพลงแนวสนุกสนาน เนื้อร้องโดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานเป็นของขวัญวันพระราชสมภพครบ 72 พรรษาแด่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส ราชนครินทร์ เมื่อ พ.ศ. 2538
ในหลวงรัชกาลที่ 9 ขณะทรงดนตรี
สถานีวิทยุ อ.ส. สถานีวิทยุส่วนพระองค์ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระราชทานกำเนิด
ปี พ.ศ. ๒๔๙๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินกลับมาประทับอยู่ในประเทศไทยเป็นการถาวร ขณะที่ประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เนื่องจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐานอยู่ระหว่างปรับปรุงซ่อมแซม รัฐบาลโดยกรมประชาสัมพันธ์ได้น้อมเกล้าฯ ถวายวิทยุคลื่นยาวและคลื่นสั้น ซึ่งดัดแปลงมาจากเครื่องส่งคลื่นสั้นจอห์นสันไวกิ้ง รุ่น PC-๖๑๐ มีกำลังส่ง ๑๐๐ วัตต์ ออกอากาศด้วยคลื่นสั้นและคลื่นยาวพร้อมๆ กันในระบบ AM เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๙๕ ทรงพระราชทานนามสถานีวิทยุแห่งนี้ว่า "สถานีวิทยุ อ.ส. พระราชวังสวนดุสิต” ชื่อ อ.ส. ย่อมาจาก "อัมพรสถาน” ซึ่งเป็นสถานที่ที่ใช้ออกอากาศครั้งแรก ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ จึงย้ายสถานีวิทยุนี้เข้าไปตั้งในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยในเรื่องวิทยุมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ เมื่อทรงมีสถานีวิทยุ อ.ส. เป็นสถานีวิทยุส่วนพระองค์เช่นนี้ ก็ทรงใช้สถานีวิทยุให้เป็นประโยชน์สำหรับประชาชนทั้งประเทศ โดยเมื่อเริ่มตั้งสถานีวิทยุ อ.ส. ใหม่ๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปรับเครื่องส่งวิทยุเอง ทรงจัดรายการและทรงเปิดแผ่นเสียงเอง ทรงบันทึกเสียงรายการวงดนตรีของนักเรียนโรงเรียนสอนคนตาบอด วงดนตรีไทย วงข้าราชบริพาร เป็นต้น เนื่องจากสมัยนั้นประเทศไทยยังไม่มีโทรทัศน์ ทั้งเมื่อมีการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนประชาชนในทั่วทุกภาคของประเทศ สถานีวิทยุ อ.ส. พระราชวังสวนดุสิตก็ร่วมกับสถานีวิทยุ จ.ส. กรมการทหารสื่อสาร ถ่ายทอดการเสด็จทุกครั้ง ทำให้ประชาชนได้ยินพระสุรเสียง และได้ฟังพระกระแสพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่ประชาชนในจังหวัดนั้นๆ ด้วย
พระราชประสงค์สำคัญในการจัดตั้งสถานีวิทยุ อ.ส. ก็เพื่อเปิดโอกาสให้พสกนิกรได้มีโอกาสติดต่อสื่อสารกับพระองค์ได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องผ่านขั้นตอนตามพิธีการกับทั้งเป็นหนทางเผยแพร่ข่าวสารและการประชาสัมพันธ์แก่ผู้รับฟังทั่วไปด้วย ซึ่งบทบาทของสถานีวิทยุ อ.ส. มิได้มีเฉพาะด้านการบันเทิงอย่างเดียว หากแต่ได้ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการดำเนินรายการประเภทสารคดีและความรู้ต่างๆ เผยแพร่สู่ประชาชนด้วย นโยบายหลักเกี่ยวกับการบริหารงานของสถานี ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงวางไว้คือ เปิดโอกาสให้คนมีความรู้ความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยราชการหรือเอกชน ได้เข้ามาสนองพระมหากรุณาธิคุณให้มากที่สุด ดังนั้นเจ้าหน้าที่ของสถานีจึงเป็นอาสาสมัครทั้งสิ้น และทรงรับภาระต่างๆ ในการดำเนินการด้วยทุนทรัพย์ส่วนพระองค์
นอกจากการทำหน้าที่สื่อมวนชน เพื่อการบันเทิงและเผยแพร่ความรู้ความก้าวหน้าด้านวิทยาการสาขาต่างๆ แก่ประชาชนแล้ว สถานีวิทยุ อ.ส. ยังมีการกระจายเสียงแจ้งข่าวสารกับประชาชนในยามที่บ้านเมืองประสบภัยพิบัติต่างๆ เช่น การเกิดโรคโปลีโอระบาดในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ อหิวาตกโรคระบาดในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ และเมื่อเกิดวาตภัยที่แหลมตะลุมพุกในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ โดยมีพระราชดำริให้ใช้สถานีวิทยุ อ.ส. ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์กรรม จนเป็นจุดกำเนิดของมูลนิธิราชประชาสมาสัย และมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
ในหลวงทรงแซกโซโฟน
ในหลวงทรงดนตรี
The Best Collection (49) ตอนพิเศษ : เพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และเพลงทรงโปรดของในหลวง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
คิดเฉลี่ยปีละ ๒ เพลง ที่ทำได้ก็เพราะได้รับความสนับสนุนจากนักดนตรี นักเพลงและนักร้อง
รวมทั้งประชาชนผู้ฟัง ต่างได้แสดงความพอใจ
และความนิยมพอสมควร จึงเป็นกำลังใจแก่ฉันเรื่อยมาขอถือโอกาสขอบใจมาในที่นี้ด้วย "
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยดนตรีมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงอ่านหนังสือเกี่ยวกับดนตรีตั้งแต่ทรงศึกษาอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงได้รับการฝึกฝนการเขียนโน้ตและบรรเลงแบบคลาสสิก หลังจากทรงฝึกหัดดนตรีขั้นพื้นฐานได้นานพอสมควรแล้ว จึงเริ่มสนพระราชหฤทัยทรงดนตรีแนวแจ๊ส (Jazz) ทรงศึกษาประวัตินักดนตรีที่มีชื่อเสียงและทรงเปรียบเทียบฝีมือการเล่นดนตรีต่าง ๆ จากแผ่นเสียงแล้วจึงทรงบรรเลงสอดแทรกพร้อมกับแผ่นเสียงของนักดนตรี ที่มีชื่อเสียงตามสไตล์ที่ทรงโปรด
ยามที่ทรงว่างจากการศึกษาก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บรรดานักเรียนไทยในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ไปร่วมสโมสรสังสรรค์ ณ พระตำหนักวิลล่าวัฒนา และร่วมทรงดนตรีอย่างสำราญพระราชหฤทัย เมื่อเสด็จฯ ประทับที่สถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงปารีสเป็นการส่วนพระองค์ก็ได้พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณร่วมทรงดนตรีกับนักเรียนไทย ทรงใช้ดนตรีวงสมัครเล่นเป็นสื่อสร้างบรรยากาศและความสัมพันธ์ที่สนุกสนานและเป็นกันเอง
ในหลวงทรงดนตรี H.M. The King Solo
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระปรีชาสามารถในการทรงดนตรีเป็นพิเศษ เครื่องดนตรีที่โปรดคือ เครื่องเป่าแทบทุกชนิด เช่น แซกโซโฟน คลาริเน็ต และทรัมเป็ต ทั้งยังทรงกีตาร์และเปียโนได้อีกด้วย นอกจากนี้ทรงเล่นดนตรีร่วมกับวงดนตรีได้ทุกวง ทรงเข้าบรรเลงร่วมกับวงดนตรีนั้น ๆ ได้ ไม่ว่าวงดนตรีนั้นจะมีแนวการเล่นแบบใด เมื่อถึงตอนเดี่ยว (Solo) ทรงสามารถใช้ปฏิภาณเล่นเดี่ยวได้อย่างยอดเยี่ยม
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชปรีชาในเรื่องของดนตรี ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเพลงตั้งแต่ยังทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช รวมบทเพลงพระราชนิพนธ์ทั้งสิ้น 48 เพลง เพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ทำนอง และคำร้องภาษาอังกฤษด้วยพระองค์เอง มี 5 เพลง คือ "Echo", "Still on My Mind", "Old-Fashioned Melody", "No Moon" และ "Dream Island" นอกจากนี้ มีเพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองขึ้นภายหลังใส่ในคำร้องที่มีผู้ประพันธ์ไว้แล้ว คือ ความฝันอันสูงสุด เราสู้ และ รัก
ผู้ที่โปรดเกล้าฯ ให้แต่งคำร้องประกอบเพลงพระราชนิพนธ์มีหลายท่าน ได้แก่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์, ศาสตราจารย์ ท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา, ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร, ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา, นายจำนงราชกิจ (จรัล บุณยรัตพันธุ์), ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ม.ล.ประพันธ์สนิทวงศ์ และท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค เป็นต้น
ในยุคแรก หลังจากที่เพลงพระราชนิพนธ์มีทำนองและคำร้องสมบูรณ์แล้ว จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ครูเอื้อ สุนทรสนาน นำไปบรรเลงในวงดนตรีกรมโฆษณาการหรือวงกรมประชาสัมพันธ์ เพื่อให้แพร่หลายทั่วไป และโดยพระองค์ท่านเองทรงดนตรีร่วมกับวงดนตรี วง อ.ส. วันศุกร์ ออกอากาศ ปรากฏว่าหลายเพลงกลายเป็นเพลงยอดนิยมทั้งในหมู่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ
ในระยะหลังพระองค์มีพระราชกรณียกิจมากมาย ทำให้พระองค์ทรงไม่มีเวลาที่จะทรงพระราชนิพนธ์เพลงใหม่ๆออกมา เพลงสุดท้ายที่พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ออกมาคือเพลง "เมนูไข่" เป็นเพลงแนวสนุกสนาน เนื้อร้องโดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานเป็นของขวัญวันพระราชสมภพครบ 72 พรรษาแด่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส ราชนครินทร์ เมื่อ พ.ศ. 2538
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ในหลวงรัชกาลที่ 9 ขณะทรงดนตรี
ปี พ.ศ. ๒๔๙๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินกลับมาประทับอยู่ในประเทศไทยเป็นการถาวร ขณะที่ประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เนื่องจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐานอยู่ระหว่างปรับปรุงซ่อมแซม รัฐบาลโดยกรมประชาสัมพันธ์ได้น้อมเกล้าฯ ถวายวิทยุคลื่นยาวและคลื่นสั้น ซึ่งดัดแปลงมาจากเครื่องส่งคลื่นสั้นจอห์นสันไวกิ้ง รุ่น PC-๖๑๐ มีกำลังส่ง ๑๐๐ วัตต์ ออกอากาศด้วยคลื่นสั้นและคลื่นยาวพร้อมๆ กันในระบบ AM เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๙๕ ทรงพระราชทานนามสถานีวิทยุแห่งนี้ว่า "สถานีวิทยุ อ.ส. พระราชวังสวนดุสิต” ชื่อ อ.ส. ย่อมาจาก "อัมพรสถาน” ซึ่งเป็นสถานที่ที่ใช้ออกอากาศครั้งแรก ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ จึงย้ายสถานีวิทยุนี้เข้าไปตั้งในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยในเรื่องวิทยุมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ เมื่อทรงมีสถานีวิทยุ อ.ส. เป็นสถานีวิทยุส่วนพระองค์เช่นนี้ ก็ทรงใช้สถานีวิทยุให้เป็นประโยชน์สำหรับประชาชนทั้งประเทศ โดยเมื่อเริ่มตั้งสถานีวิทยุ อ.ส. ใหม่ๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปรับเครื่องส่งวิทยุเอง ทรงจัดรายการและทรงเปิดแผ่นเสียงเอง ทรงบันทึกเสียงรายการวงดนตรีของนักเรียนโรงเรียนสอนคนตาบอด วงดนตรีไทย วงข้าราชบริพาร เป็นต้น เนื่องจากสมัยนั้นประเทศไทยยังไม่มีโทรทัศน์ ทั้งเมื่อมีการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนประชาชนในทั่วทุกภาคของประเทศ สถานีวิทยุ อ.ส. พระราชวังสวนดุสิตก็ร่วมกับสถานีวิทยุ จ.ส. กรมการทหารสื่อสาร ถ่ายทอดการเสด็จทุกครั้ง ทำให้ประชาชนได้ยินพระสุรเสียง และได้ฟังพระกระแสพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่ประชาชนในจังหวัดนั้นๆ ด้วย
พระราชประสงค์สำคัญในการจัดตั้งสถานีวิทยุ อ.ส. ก็เพื่อเปิดโอกาสให้พสกนิกรได้มีโอกาสติดต่อสื่อสารกับพระองค์ได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องผ่านขั้นตอนตามพิธีการกับทั้งเป็นหนทางเผยแพร่ข่าวสารและการประชาสัมพันธ์แก่ผู้รับฟังทั่วไปด้วย ซึ่งบทบาทของสถานีวิทยุ อ.ส. มิได้มีเฉพาะด้านการบันเทิงอย่างเดียว หากแต่ได้ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการดำเนินรายการประเภทสารคดีและความรู้ต่างๆ เผยแพร่สู่ประชาชนด้วย นโยบายหลักเกี่ยวกับการบริหารงานของสถานี ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงวางไว้คือ เปิดโอกาสให้คนมีความรู้ความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยราชการหรือเอกชน ได้เข้ามาสนองพระมหากรุณาธิคุณให้มากที่สุด ดังนั้นเจ้าหน้าที่ของสถานีจึงเป็นอาสาสมัครทั้งสิ้น และทรงรับภาระต่างๆ ในการดำเนินการด้วยทุนทรัพย์ส่วนพระองค์
นอกจากการทำหน้าที่สื่อมวนชน เพื่อการบันเทิงและเผยแพร่ความรู้ความก้าวหน้าด้านวิทยาการสาขาต่างๆ แก่ประชาชนแล้ว สถานีวิทยุ อ.ส. ยังมีการกระจายเสียงแจ้งข่าวสารกับประชาชนในยามที่บ้านเมืองประสบภัยพิบัติต่างๆ เช่น การเกิดโรคโปลีโอระบาดในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ อหิวาตกโรคระบาดในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ และเมื่อเกิดวาตภัยที่แหลมตะลุมพุกในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ โดยมีพระราชดำริให้ใช้สถานีวิทยุ อ.ส. ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์กรรม จนเป็นจุดกำเนิดของมูลนิธิราชประชาสมาสัย และมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ในหลวงทรงแซกโซโฟน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ในหลวงทรงดนตรี