19 ตุลาคม “วันเทคโนโลยีของไทย” เทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย”
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระปรีชาสามารถในหลากหลายแขนง ด้านหนึ่งพระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยในวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม และเทคโนโลยี โดยทรงนำมาประยุกต์ใช้สร้างนวัตกรรมมากมาย ในการพัฒนาประเทศผ่านโครงการพระราชดำริต่าง ๆ อาทิ โครงการฝนหลวง แก้มลิง กังหันชัยพัฒนา เพื่อประโยชน์แก่พสกนิกรไทย
ตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ ขณะประทับอยู่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงสนพระทัยด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ทรงประกอบเป็นเครื่องรับวิทยุจากอุปกรณ์ที่วางขายเลหลังราคาถูก ซึ่งสามารถรับฟังวิทยุกระจายเสียงในยุโรปได้หลายแห่ง ต่อมาได้ทรงพัฒนาทำเป็นเครื่องรับ-ส่งวิทยุ และเครื่องขยายเสียง เมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศไทยทรงตั้งสถานีวิทยุ อ.ส. (อักษรย่อของพระที่นั่งอัมพรสถาน) ออกอากาศด้วยคลื่นสั้นและคลื่นยาวในระบบเอเอ็ม พร้อมๆ กัน และเพิ่มการส่งกระจายเสียงในระบบเอฟเอ็มในเวลาต่อมา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงศึกษาคิดค้นสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อการประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ ด้วยพระองค์เอง ทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในงานส่วนพระองค์ เช่น ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อบันทึกพระราชกรณียกิจต่าง ๆ ทรงประดิษฐ์ตำราฝนหลวงเป็นแผนภาพการ์ตูนจากคอมพิวเตอร์ เพื่อประมวลความรู้ทางวิชาการ เทคนิค และขั้นตอนการทำฝนหลวง เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจและใช้เป็นแบบปฏิบัติแก่นักวิชาการฝนหลวงเรื่อยมา
ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยหลายแบบ เพื่อแสดงผลบนจอภาพคอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ เช่น แบบจิตรลดา แบบภูพิงค์ ทั้งยังทรงเคยใช้คอมพิวเตอร์ในการประดิษฐ์ ส.ค.ส. เพื่อพระราชทานแด่ปวงชนชาวไทยเนื่องในวันปีใหม่
ส.ค.ส. พระราชทาน 2530
เดือนพ.ค. 2534 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ บริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน 1,472,900 บาท ให้มหาวิทยาลัยมหิดลจัดทำโครงการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาพระไตรปิฎกและอรรถกถาต่อเนื่องจากโครงการพระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์เดิม ที่มหาวิทยาลัยมหิดลพัฒนาเสร็จแล้ว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงศึกษาพระไตรปิฎกและอรรถกถาฉบับคอมพิวเตอร์นี้ด้วยพระองค์เอง และมีพระบรมราชวินิจฉัย และพระราชวิจารณ์ในการออกแบบโปรแกรมสำหรับใช้ในการสืบค้นข้อมูล ในฐานะแห่งองค์เอกอัครศาสนูปถัมภก
ผลงานด้านเทคโนโลยีที่โดดเด่น ได้รับการเผยแพร่และเป็นที่ยอมรับในหมู่นักวิทยาศาสตร์ องค์กรและสถาบันระดับโลกมากมาย เช่น องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โดยหลายประเทศได้นำไปใช้ด้วยคือการทำฝนหลวง ซึ่ง “เทคโนโลยีฝนหลวง” ได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล และประกาศพระเกียรติคุณ กับทั้งได้รับการจดสิทธิบัตร ภายใต้ชื่อ การดัดแปรสภาพอากาศให้เกิดฝน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระราชกระแสในวันที่โปรดเกล้าฯ ให้รัฐบาลเข้าเฝ้าฯ ถวายสิทธิบัตรฝนหลวง เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2548 ว่า
“สิทธิบัตรนี้ เราคิดเอง คนไทยทำเอง เป็นของคนไทย มิใช่เพื่อพระเจ้าอยู่หัวทำฝนนี้ทำสำหรับชาวบ้านสำหรับประชาชน ไม่ใช่ทำสำหรับพระเจ้าอยู่หัว พระเจ้าอยู่หัวอยากได้น้ำก็ไปเปิดก๊อกเอาน้ำมาใช้ อยากได้น้ำสำหรับการเพาะปลูกก็ไปสูบจากน้ำคลองชลประทานได้ แต่ชาวบ้านชาวนาที่ไม่มีโอกาสมีน้ำสำหรับเกษตรก็ต้องอาศัยฝน ฝนไม่มีก็ต้องอาศัยฝนหลวง”
ด้วยพระอัจฉริยภาพ พระวิสัยทัศน์ พระวิริยะ และพระเมตตา ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงศึกษาค้นคว้าวิจัย และทรงนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ให้เกิดผลงานในด้านเทคโนโลยีในรูปแบบต่าง ๆ ก่อกำเนิดเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมากมาย ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2543 จึงได้มีมติให้ความเห็นชอบในการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในฐานะทรงเป็น
“พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” และให้วันที่
19 ตุลาคมของทุกปีเป็น
“วันเทคโนโลยีของไทย”
*************************
ขอบคุณข้อมูลจาก ประชาชาติธุรกิจ สำนักข่าวเจ้าพระยา ทรูปลูกปัญญา สสส.
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ที่มา OK Nation
ในหลวง ร.9 บิดาแห่งเทคโนโลยีไทย
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระปรีชาสามารถในหลากหลายแขนง ด้านหนึ่งพระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยในวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม และเทคโนโลยี โดยทรงนำมาประยุกต์ใช้สร้างนวัตกรรมมากมาย ในการพัฒนาประเทศผ่านโครงการพระราชดำริต่าง ๆ อาทิ โครงการฝนหลวง แก้มลิง กังหันชัยพัฒนา เพื่อประโยชน์แก่พสกนิกรไทย
ตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ ขณะประทับอยู่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงสนพระทัยด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ทรงประกอบเป็นเครื่องรับวิทยุจากอุปกรณ์ที่วางขายเลหลังราคาถูก ซึ่งสามารถรับฟังวิทยุกระจายเสียงในยุโรปได้หลายแห่ง ต่อมาได้ทรงพัฒนาทำเป็นเครื่องรับ-ส่งวิทยุ และเครื่องขยายเสียง เมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศไทยทรงตั้งสถานีวิทยุ อ.ส. (อักษรย่อของพระที่นั่งอัมพรสถาน) ออกอากาศด้วยคลื่นสั้นและคลื่นยาวในระบบเอเอ็ม พร้อมๆ กัน และเพิ่มการส่งกระจายเสียงในระบบเอฟเอ็มในเวลาต่อมา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงศึกษาคิดค้นสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อการประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ ด้วยพระองค์เอง ทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในงานส่วนพระองค์ เช่น ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อบันทึกพระราชกรณียกิจต่าง ๆ ทรงประดิษฐ์ตำราฝนหลวงเป็นแผนภาพการ์ตูนจากคอมพิวเตอร์ เพื่อประมวลความรู้ทางวิชาการ เทคนิค และขั้นตอนการทำฝนหลวง เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจและใช้เป็นแบบปฏิบัติแก่นักวิชาการฝนหลวงเรื่อยมา
ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยหลายแบบ เพื่อแสดงผลบนจอภาพคอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ เช่น แบบจิตรลดา แบบภูพิงค์ ทั้งยังทรงเคยใช้คอมพิวเตอร์ในการประดิษฐ์ ส.ค.ส. เพื่อพระราชทานแด่ปวงชนชาวไทยเนื่องในวันปีใหม่
ส.ค.ส. พระราชทาน 2530
เดือนพ.ค. 2534 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ บริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน 1,472,900 บาท ให้มหาวิทยาลัยมหิดลจัดทำโครงการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาพระไตรปิฎกและอรรถกถาต่อเนื่องจากโครงการพระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์เดิม ที่มหาวิทยาลัยมหิดลพัฒนาเสร็จแล้ว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงศึกษาพระไตรปิฎกและอรรถกถาฉบับคอมพิวเตอร์นี้ด้วยพระองค์เอง และมีพระบรมราชวินิจฉัย และพระราชวิจารณ์ในการออกแบบโปรแกรมสำหรับใช้ในการสืบค้นข้อมูล ในฐานะแห่งองค์เอกอัครศาสนูปถัมภก
ผลงานด้านเทคโนโลยีที่โดดเด่น ได้รับการเผยแพร่และเป็นที่ยอมรับในหมู่นักวิทยาศาสตร์ องค์กรและสถาบันระดับโลกมากมาย เช่น องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โดยหลายประเทศได้นำไปใช้ด้วยคือการทำฝนหลวง ซึ่ง “เทคโนโลยีฝนหลวง” ได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล และประกาศพระเกียรติคุณ กับทั้งได้รับการจดสิทธิบัตร ภายใต้ชื่อ การดัดแปรสภาพอากาศให้เกิดฝน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระราชกระแสในวันที่โปรดเกล้าฯ ให้รัฐบาลเข้าเฝ้าฯ ถวายสิทธิบัตรฝนหลวง เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2548 ว่า
“สิทธิบัตรนี้ เราคิดเอง คนไทยทำเอง เป็นของคนไทย มิใช่เพื่อพระเจ้าอยู่หัวทำฝนนี้ทำสำหรับชาวบ้านสำหรับประชาชน ไม่ใช่ทำสำหรับพระเจ้าอยู่หัว พระเจ้าอยู่หัวอยากได้น้ำก็ไปเปิดก๊อกเอาน้ำมาใช้ อยากได้น้ำสำหรับการเพาะปลูกก็ไปสูบจากน้ำคลองชลประทานได้ แต่ชาวบ้านชาวนาที่ไม่มีโอกาสมีน้ำสำหรับเกษตรก็ต้องอาศัยฝน ฝนไม่มีก็ต้องอาศัยฝนหลวง”
ด้วยพระอัจฉริยภาพ พระวิสัยทัศน์ พระวิริยะ และพระเมตตา ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงศึกษาค้นคว้าวิจัย และทรงนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ให้เกิดผลงานในด้านเทคโนโลยีในรูปแบบต่าง ๆ ก่อกำเนิดเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมากมาย ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2543 จึงได้มีมติให้ความเห็นชอบในการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในฐานะทรงเป็น “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” และให้วันที่ 19 ตุลาคมของทุกปีเป็น “วันเทคโนโลยีของไทย”
*************************
ขอบคุณข้อมูลจาก ประชาชาติธุรกิจ สำนักข่าวเจ้าพระยา ทรูปลูกปัญญา สสส.
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้