AQ แจงละเอียดยิบไม่กระทบหากถูกเพิกถอนสัญญาจัดการขายที่ดิน 4,300 ไร่ เหตุสิทธิขาดเป็นของกรุงไทย เปิดคำวินิจฉัยศาลฎีกาชี้ชัดค่าเสียหาย 10,004 ล้านบาทกับมูลหนี้ศาลแพ่งก้อนเดียวกัน กางรายงานที่ปรึกษาร่ายยาวที่มาราคาหุ้นเพิ่มทุนพีพีคำนวณบนฐานถูกบังคับขาย มั่นใจกลับมาเทรดรอบใหม่เร็วๆนี้
ตามที่ตลาดหลักทรัพย์ให้บริษัทเอคิว เอสเตท จำกัด (มหาชน) (AQ) ชี้แจงข้อมูลให้นักลงทุนได้รับ ทราบข้อมูลอย่างครบถ้วนและชัดเจน เพื่อเป็นข้อมูลประกอบพิจารณาในการรับหุ้นเพิ่มทุนจดทะเบียนใน 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1.สัญญาจัดการทรัพย์สินและคำพิพากษาของศาลแพ่งระหว่างบริษัทโกลเด้น อินดัสเตรียล พาร์ค จำกัด (โกลเด้น) กับธนาคารกรุงไทย และ 2.การประเมินมูลค่าหุ้น AQ โดยบริษัทเอส 14 แอดไวเซอรี่ จำกัด (S14)
บริษัท AQ ชี้แจงว่า ประเด็นแรก สัญญาจัดการทรัพย์สินนั้น AQ ไม่ทราบว่าเหตุใดนายวิชัย กฤษดาธา นนท์ จึงฟ้องร้องขอยกเลิกเพิกถอนสัญญาจัดการทรัพย์สิน ที่ลงวันที่ 16 ตุลาคม 2560 ตลอดจนห้ามก่อนิติกรรมใดๆกับที่ดินหลักประกันเนื้อที่ 4,323 ไร่ ทั้งๆที่ตลอดเวลาของการเจรจาและดำเนินการ 2 ปีที่ผ่านมาครอบครัว กฤษดาธานนท์ รับทราบรายละเอียดมาโดยตลอด และเห็นว่าหาก AQ มาช่วยจัดการขายที่ดินย่อมมีโอกาสจะขายที่ดินได้ 11,500 ล้านบาทตามที่ธนาคารอนุมัติไว้ โดยคดีนี้ศาลนัดชี้ 2 สถาน หรือ สืบพยายนโจทย์ครั้งแรกวันที่ 12 ตุลาคมนี้
ทั้งนี้ AQ เข้าทำสัญญาจัดการทรัพย์สิน ระหว่าง AQ โกลเด้น และบริษัทโปรเกรส พร๊อพเพอร์ตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด(โปรเกรส) ระยะ 3 ปี คือระหว่างวันที่ 16 ตุลาคม 2558-16 กันยายน 2561 โดยโปรเกรสโอนหุ้นโกลเด้นให้ AQ จำนวน 68% เพื่อการติดต่อนักลงทุนที่สนใจและทำข้อตกลงกับธนาคารได้ และเมื่อขายทรัพย์สำเร็จ AQ จะสละการถือหุ้นในโกลเด้นทั้งหมด
ส่วนเรื่องคำพิพากษาของศาลแพ่งระหว่างโกลเด้นกับธนาคารกรุงไทย โดยธนาคารกรุงไทยฟ้องแพ่งโกลเด้นกับพวก 4 ราย เรียกชำระหนี้ 10,234 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 15% ต่อปี AQ ชี้แจงว่า AQ ไม่ได้เป็นจำเลยในคดี ดังนั้นการทำสัญญาประนีประนอมระหว่างธนาคารและโกลเด้น ซึ่งเป็นเรื่องของการชำระหนี้ในคดีแพ่ง จะเกิดขึ้นหรือไม่ขึ้นต้องขึ้นกับทั้ง 2 ฝ่าย แต่ขณะนี้ธนาคารกรุงไทยเลือกจะบังคับในคดีอาญาแทนคดีแพ่งที่ยังไม่ยุติ โดยศาลนัดอ่านคำพิพากษาในคดีแพ่งวันที่ 28 กันยายนนี้
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2559 ศาลฎีกาพิจารณาคำร้องของ AQ ที่ขอคำอธิบายข้อความคำพิพากษาที่ว่า หากมีการชำระหนี้ในคดีแพ่งจะถือเป็นค่าเสียหายในคดีอาญาหรือไม่ ซึ่งศาลฎีกาพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ถ้าธนาคารผู้เสียหายได้รับชำระคืนในคดีแพ่งเป็นจำนวนเท่าใด ก็ให้หักออกจากจำนวนที่สั่งให้ใช้คืนตามส่วนนั้น ดังนั้นหนี้ในคดีแพ่งและคดีอาญาจึงเป็นมูลหนี้เดียวกัน
AQ ยังชี้แจงด้วยว่า หมายศาลเพื่อขอให้เพิกถอนสัญญาจัดการทรัพย์สินดังกล่าวไม่กระทบต่อการชำระหนี้ตามคำพิพากษา 10,004 ล้านบาท แผนการชำระค่าเสียหายของ AQ และไม่กระทบต่อสัญญาประนีประนอมของโกลเด้นกับธนาคาร เนื่องจากเมื่อธนาคารยึดที่ดินในคดีอาญาแล้ว ดังนั้นการอยู่หรือไม่อยู่ของสัญญาจัดการทรัพย์สิน ที่ดินของโกลเด้นจำนวน 4,323 ไร่ ก็ถูกบังคับคดีอยู่แล้ว
ส่วนการตั้งสำรองความเสียหายโดยใช้มูลค่าบังคับขายจากที่ดินหลักประกัน 4,300 ไร่ ที่กำหนดไว้ในอัตรา 50% ของราคาตลาดนั้น มีความเหมาะสม เนื่องจากคณะกรรมการพิจารณาเห็นว่าไม่มีโอกาสที่จะขายที่ดินให้แก่ผู้สนใจได้โดยตรง จะต้องเป็นการบังคับขายทอดตลาดเท่านั้น และเงินที่ได้จะถูกนำไปชำระค่าเสียหายตามคำพิพากษาของศาลฎีกาทั้งหมด
นอกจากนี้คณะกรรมการบริษัทเห็นว่า การขอให้บริษัทเพิกถอนสัญญาการจัดการทรัพย์สินจะไม่กระทบต่อแผนการชำระค่าเสียหายตามคำพิพากษา 10,004 ล้านบาท ของ AQ ดังนั้นคดีดังกล่าวจึงไม่มีผลต่อการตั้งค่าความเสียหายจำนวน 4,687 ล้านบาท ตามงบการเงินปี 2559
ส่วนกรณีที่ AQ ไม่ได้รับสัญญายืนยันการใช้สิทธิไล่เบี้ยจากบริษัทเค แอนด์ วี เอส อาร์ การ์เด้นโฮม จำกัด(การ์เด้นโฮม)นั้น ที่ปรึกษากฎหมายมีความเห็นว่าโกลเด้นไม่สามารถสวมสิทธิธนาคารเพื่อไล่เบี้ยจาก AQ ได้ เพราะหากธนาคารได้รับเงินจากการบังคับขายทอดตลาดที่ดินที่เป็นเหตุแห่งความเสียหายแล้ว โกลเด้นซึ่งถือหุ้นในการ์เด้นโฮม 99.99% ก็ไม่สามารถไล่เบี้ยได้อีก และ AQ ไม่ต้องดำเนินการใดๆในประเด็นนี้อีก
ประเด็นต่อมา การประเมินมูลค่าหุ้น AQ โดยบริษัท เอส 14 แอดไวเซอรี่ จำกัด ฉบับที่จัดส่งให้ตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2560 เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการรับหุ้นเพิ่มทุนที่จัดสรรให้บุคคลในวงจำกัด(PP) ที่ราคาหุ้นละ 0.05 บาท เมื่อวันที่ 12-14 และ 17-19 กรกฎาคม 2560 โดยไม่ขอเข้าเงื่อนไขห้ามซื้อขายหุ้น(Silent Period) เนื่องจากราคาขาย PP สูงกว่า ราคาประเมินโดย เอส 14 ที่ 0.04 บาทต่อหุ้นนั้น
AQ ชี้แจงว่า เนื่องจากบริษัทต้องเร่งจัดสรรและจำหน่ายหุ้นเพิ่มทุนเพื่อนำมาชำระค่าเสียหายในคดีอาญา และหุ้นของบริษัทถูกพักการซื้อขาย จึงไม่สามารถหาราคาตลาดได้ และไม่มีราคา Book Building คณะกรรมการจึงพิจารณาจัดสรรโดยราคายุติธรรม ที่ประเมินโดยที่ปรึกษาการเงิน ที่ทำรายงาน 2 ฉบับ ใช้ราคาประเมินทรัพย์สิน 37 รายการ โดยวิธีปรับปรุงมูลค่าตามบัญชี และวิธีส่วนรวมของกิจการ
ที่ปรึกษาทางการเงินพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อมูลค่าหุ้นมากที่สุด คือการตั้งสำรองค่าความเสียหายตามคำพิพากษาคดีอาญญา จำนวน 4,686 ล้านบาท มาจาก มูลค่าที่ AQ ต้องชำระตามคำพิพากษา 10,004 ล้านบาท หักด้วยประมาณการจำนวนเงินที่ธนาคารจะรับจากการขายทอดตลาดในราคาที่บังคับขาย 5,800 ล้านบาท
ส่วนกรณีที่สมุติฐานของรายงาน 2 ฉบับแตกต่างกันนั้น เนื่องจากระยะเวลาของการเก็บข้อมูลเป็นคนละช่วงเวลา ฉบับแรก 31 พฤษภาคม 2560 ใช้งบการเงินไตรมาสที่ 3 ปี 2559 และข้อมูลการขายโครงการ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงถึงสิ้นปี 2559 ส่วนฉบับที่ 2 ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2560 2560 ใช้งบการเงินปี 2559 และข้อมูลการขายโครงการ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงถึงไตรมาสที่ 2 ปี 2560
คณะกรรมการAQ เห็นว่า ราคาหุ้น 0.04 บาท ที่ เอส 14 ประเมินตามรายงานฉบับลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2560 เป็นราคาที่เหมาะสม จัดทำบนงบการเงินล่าสุด ปี 2559 ที่ผ่านการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีแล้ว และวิธีที่ใช้ในการประเมินก็เป็นวิธีที่ปฎิบัติโดยทั่วไป ราคาประเมินที่ได้จึงสะท้อนถึงมูลค่ากอิจการของ AQ ที่ใกล้เคียงปัจจุบันที่สุด ดังนั้นราคาที่เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนแก่ PP ที่หุ้นละ 0.05 บาท จึงมีความเหมาะสม จึงไม่เข้าข่ายการจำหน่ายหุ้นราคาต่ำตามประกาศก.ล.ต.
รายงานข่าวจากโบรกเกอร์ระบุว่าตามขั้นตอนเมื่อมีการชี้แจงและมีการสารสนเทศแล้ว ตลาดหลักทรัพย์ควรจะอนุมัติรับหุ้นเพิ่มทุนเข้าสู่ระบบการซื้อขาย ซึ่งขณะนี้นักลงทุนหลายรายร้องเรียนถึงความล่าช้าของตลาดหลักทรัพย์ในการดำเนินการดังกล่าว หลังจากที่จ่ายเงินเพิ่มทุนไปแล้วเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2560
AQ เคลียร์ทุกข้อสงสัย มั่นใจกลับเทรดรอบใหม่
AQ แจงละเอียดยิบไม่กระทบหากถูกเพิกถอนสัญญาจัดการขายที่ดิน 4,300 ไร่ เหตุสิทธิขาดเป็นของกรุงไทย เปิดคำวินิจฉัยศาลฎีกาชี้ชัดค่าเสียหาย 10,004 ล้านบาทกับมูลหนี้ศาลแพ่งก้อนเดียวกัน กางรายงานที่ปรึกษาร่ายยาวที่มาราคาหุ้นเพิ่มทุนพีพีคำนวณบนฐานถูกบังคับขาย มั่นใจกลับมาเทรดรอบใหม่เร็วๆนี้
ตามที่ตลาดหลักทรัพย์ให้บริษัทเอคิว เอสเตท จำกัด (มหาชน) (AQ) ชี้แจงข้อมูลให้นักลงทุนได้รับ ทราบข้อมูลอย่างครบถ้วนและชัดเจน เพื่อเป็นข้อมูลประกอบพิจารณาในการรับหุ้นเพิ่มทุนจดทะเบียนใน 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1.สัญญาจัดการทรัพย์สินและคำพิพากษาของศาลแพ่งระหว่างบริษัทโกลเด้น อินดัสเตรียล พาร์ค จำกัด (โกลเด้น) กับธนาคารกรุงไทย และ 2.การประเมินมูลค่าหุ้น AQ โดยบริษัทเอส 14 แอดไวเซอรี่ จำกัด (S14)
บริษัท AQ ชี้แจงว่า ประเด็นแรก สัญญาจัดการทรัพย์สินนั้น AQ ไม่ทราบว่าเหตุใดนายวิชัย กฤษดาธา นนท์ จึงฟ้องร้องขอยกเลิกเพิกถอนสัญญาจัดการทรัพย์สิน ที่ลงวันที่ 16 ตุลาคม 2560 ตลอดจนห้ามก่อนิติกรรมใดๆกับที่ดินหลักประกันเนื้อที่ 4,323 ไร่ ทั้งๆที่ตลอดเวลาของการเจรจาและดำเนินการ 2 ปีที่ผ่านมาครอบครัว กฤษดาธานนท์ รับทราบรายละเอียดมาโดยตลอด และเห็นว่าหาก AQ มาช่วยจัดการขายที่ดินย่อมมีโอกาสจะขายที่ดินได้ 11,500 ล้านบาทตามที่ธนาคารอนุมัติไว้ โดยคดีนี้ศาลนัดชี้ 2 สถาน หรือ สืบพยายนโจทย์ครั้งแรกวันที่ 12 ตุลาคมนี้
ทั้งนี้ AQ เข้าทำสัญญาจัดการทรัพย์สิน ระหว่าง AQ โกลเด้น และบริษัทโปรเกรส พร๊อพเพอร์ตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด(โปรเกรส) ระยะ 3 ปี คือระหว่างวันที่ 16 ตุลาคม 2558-16 กันยายน 2561 โดยโปรเกรสโอนหุ้นโกลเด้นให้ AQ จำนวน 68% เพื่อการติดต่อนักลงทุนที่สนใจและทำข้อตกลงกับธนาคารได้ และเมื่อขายทรัพย์สำเร็จ AQ จะสละการถือหุ้นในโกลเด้นทั้งหมด
ส่วนเรื่องคำพิพากษาของศาลแพ่งระหว่างโกลเด้นกับธนาคารกรุงไทย โดยธนาคารกรุงไทยฟ้องแพ่งโกลเด้นกับพวก 4 ราย เรียกชำระหนี้ 10,234 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 15% ต่อปี AQ ชี้แจงว่า AQ ไม่ได้เป็นจำเลยในคดี ดังนั้นการทำสัญญาประนีประนอมระหว่างธนาคารและโกลเด้น ซึ่งเป็นเรื่องของการชำระหนี้ในคดีแพ่ง จะเกิดขึ้นหรือไม่ขึ้นต้องขึ้นกับทั้ง 2 ฝ่าย แต่ขณะนี้ธนาคารกรุงไทยเลือกจะบังคับในคดีอาญาแทนคดีแพ่งที่ยังไม่ยุติ โดยศาลนัดอ่านคำพิพากษาในคดีแพ่งวันที่ 28 กันยายนนี้
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2559 ศาลฎีกาพิจารณาคำร้องของ AQ ที่ขอคำอธิบายข้อความคำพิพากษาที่ว่า หากมีการชำระหนี้ในคดีแพ่งจะถือเป็นค่าเสียหายในคดีอาญาหรือไม่ ซึ่งศาลฎีกาพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ถ้าธนาคารผู้เสียหายได้รับชำระคืนในคดีแพ่งเป็นจำนวนเท่าใด ก็ให้หักออกจากจำนวนที่สั่งให้ใช้คืนตามส่วนนั้น ดังนั้นหนี้ในคดีแพ่งและคดีอาญาจึงเป็นมูลหนี้เดียวกัน
AQ ยังชี้แจงด้วยว่า หมายศาลเพื่อขอให้เพิกถอนสัญญาจัดการทรัพย์สินดังกล่าวไม่กระทบต่อการชำระหนี้ตามคำพิพากษา 10,004 ล้านบาท แผนการชำระค่าเสียหายของ AQ และไม่กระทบต่อสัญญาประนีประนอมของโกลเด้นกับธนาคาร เนื่องจากเมื่อธนาคารยึดที่ดินในคดีอาญาแล้ว ดังนั้นการอยู่หรือไม่อยู่ของสัญญาจัดการทรัพย์สิน ที่ดินของโกลเด้นจำนวน 4,323 ไร่ ก็ถูกบังคับคดีอยู่แล้ว
ส่วนการตั้งสำรองความเสียหายโดยใช้มูลค่าบังคับขายจากที่ดินหลักประกัน 4,300 ไร่ ที่กำหนดไว้ในอัตรา 50% ของราคาตลาดนั้น มีความเหมาะสม เนื่องจากคณะกรรมการพิจารณาเห็นว่าไม่มีโอกาสที่จะขายที่ดินให้แก่ผู้สนใจได้โดยตรง จะต้องเป็นการบังคับขายทอดตลาดเท่านั้น และเงินที่ได้จะถูกนำไปชำระค่าเสียหายตามคำพิพากษาของศาลฎีกาทั้งหมด
นอกจากนี้คณะกรรมการบริษัทเห็นว่า การขอให้บริษัทเพิกถอนสัญญาการจัดการทรัพย์สินจะไม่กระทบต่อแผนการชำระค่าเสียหายตามคำพิพากษา 10,004 ล้านบาท ของ AQ ดังนั้นคดีดังกล่าวจึงไม่มีผลต่อการตั้งค่าความเสียหายจำนวน 4,687 ล้านบาท ตามงบการเงินปี 2559
ส่วนกรณีที่ AQ ไม่ได้รับสัญญายืนยันการใช้สิทธิไล่เบี้ยจากบริษัทเค แอนด์ วี เอส อาร์ การ์เด้นโฮม จำกัด(การ์เด้นโฮม)นั้น ที่ปรึกษากฎหมายมีความเห็นว่าโกลเด้นไม่สามารถสวมสิทธิธนาคารเพื่อไล่เบี้ยจาก AQ ได้ เพราะหากธนาคารได้รับเงินจากการบังคับขายทอดตลาดที่ดินที่เป็นเหตุแห่งความเสียหายแล้ว โกลเด้นซึ่งถือหุ้นในการ์เด้นโฮม 99.99% ก็ไม่สามารถไล่เบี้ยได้อีก และ AQ ไม่ต้องดำเนินการใดๆในประเด็นนี้อีก
ประเด็นต่อมา การประเมินมูลค่าหุ้น AQ โดยบริษัท เอส 14 แอดไวเซอรี่ จำกัด ฉบับที่จัดส่งให้ตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2560 เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการรับหุ้นเพิ่มทุนที่จัดสรรให้บุคคลในวงจำกัด(PP) ที่ราคาหุ้นละ 0.05 บาท เมื่อวันที่ 12-14 และ 17-19 กรกฎาคม 2560 โดยไม่ขอเข้าเงื่อนไขห้ามซื้อขายหุ้น(Silent Period) เนื่องจากราคาขาย PP สูงกว่า ราคาประเมินโดย เอส 14 ที่ 0.04 บาทต่อหุ้นนั้น
AQ ชี้แจงว่า เนื่องจากบริษัทต้องเร่งจัดสรรและจำหน่ายหุ้นเพิ่มทุนเพื่อนำมาชำระค่าเสียหายในคดีอาญา และหุ้นของบริษัทถูกพักการซื้อขาย จึงไม่สามารถหาราคาตลาดได้ และไม่มีราคา Book Building คณะกรรมการจึงพิจารณาจัดสรรโดยราคายุติธรรม ที่ประเมินโดยที่ปรึกษาการเงิน ที่ทำรายงาน 2 ฉบับ ใช้ราคาประเมินทรัพย์สิน 37 รายการ โดยวิธีปรับปรุงมูลค่าตามบัญชี และวิธีส่วนรวมของกิจการ
ที่ปรึกษาทางการเงินพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อมูลค่าหุ้นมากที่สุด คือการตั้งสำรองค่าความเสียหายตามคำพิพากษาคดีอาญญา จำนวน 4,686 ล้านบาท มาจาก มูลค่าที่ AQ ต้องชำระตามคำพิพากษา 10,004 ล้านบาท หักด้วยประมาณการจำนวนเงินที่ธนาคารจะรับจากการขายทอดตลาดในราคาที่บังคับขาย 5,800 ล้านบาท
ส่วนกรณีที่สมุติฐานของรายงาน 2 ฉบับแตกต่างกันนั้น เนื่องจากระยะเวลาของการเก็บข้อมูลเป็นคนละช่วงเวลา ฉบับแรก 31 พฤษภาคม 2560 ใช้งบการเงินไตรมาสที่ 3 ปี 2559 และข้อมูลการขายโครงการ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงถึงสิ้นปี 2559 ส่วนฉบับที่ 2 ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2560 2560 ใช้งบการเงินปี 2559 และข้อมูลการขายโครงการ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงถึงไตรมาสที่ 2 ปี 2560
คณะกรรมการAQ เห็นว่า ราคาหุ้น 0.04 บาท ที่ เอส 14 ประเมินตามรายงานฉบับลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2560 เป็นราคาที่เหมาะสม จัดทำบนงบการเงินล่าสุด ปี 2559 ที่ผ่านการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีแล้ว และวิธีที่ใช้ในการประเมินก็เป็นวิธีที่ปฎิบัติโดยทั่วไป ราคาประเมินที่ได้จึงสะท้อนถึงมูลค่ากอิจการของ AQ ที่ใกล้เคียงปัจจุบันที่สุด ดังนั้นราคาที่เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนแก่ PP ที่หุ้นละ 0.05 บาท จึงมีความเหมาะสม จึงไม่เข้าข่ายการจำหน่ายหุ้นราคาต่ำตามประกาศก.ล.ต.
รายงานข่าวจากโบรกเกอร์ระบุว่าตามขั้นตอนเมื่อมีการชี้แจงและมีการสารสนเทศแล้ว ตลาดหลักทรัพย์ควรจะอนุมัติรับหุ้นเพิ่มทุนเข้าสู่ระบบการซื้อขาย ซึ่งขณะนี้นักลงทุนหลายรายร้องเรียนถึงความล่าช้าของตลาดหลักทรัพย์ในการดำเนินการดังกล่าว หลังจากที่จ่ายเงินเพิ่มทุนไปแล้วเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2560