สำหรับเพื่อนๆ ที่ต้องการจะมีบ้านเป็นของตนเอง ใครที่คิดจะซื้อบ้านใหม่ การยื่นกู้กับทางธนาคารคงทำได้ไม่ยากมากนัก เพราะแต่ละโครงการจะมีเจ้าหน้าที่คอยให้ความช่วยเหลือในการยื่นอยู่หลากหลายสถาบัน แต่สำหรับคนที่ยื่นกู้เพื่อซื้อบ้านมือ 2 นั้นอาจจะมีขั้นตอนที่เพิ่มขึ้นซักหน่อย
K-Expert จึงอยากที่จะมาแนะนำสำหรับใครที่กำลังต้องการที่จะเป็นเจ้าของบ้านมือ 2 แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร โดยสรุปมาเป็น 3 ขั้นตอนหลักๆ ดังนี้
การเจรจา และ การทำสัญญา โดยเริ่มจากหาบ้านมือ 2 ที่ถูกใจ แล้วทำการติดต่อกับผู้ขายเพื่อตกลงราคา และทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านมือสองหลังดังกล่าว สัญญาจะต้องระบุราคาซื้อขาย การจ่ายมัดจำ และระยะเวลาในการชำระเงินในส่วนที่เหลือ โดยระยะเวลานี้ส่วนใหญ่จะกำหนดโดยผู้ขาย ซึ่งหากผู้ซื้อไม่สามารถชำระได้ตามกำหนด ผู้ขายก็มีสิทธิ์ที่จะยึดเงินมัดจำที่เราวางไว้ได้
ในส่วนของสัญญาจะซื้อจะขายเราสามารถทำขึ้นมาเอง หรือใช้แบบฟอร์มมาตรฐานที่มีอยู่ โดยสามารถหาโหลดได้จากเว็บไซต์ เมื่อเราได้เอกสารแล้วจึงสามารถที่จะทำเรื่องเพื่อขอกู้กับสถาบันทางการเงินต่างๆ ต่อไป
การติดต่อกับธนาคาร ขั้นตอนนี้สำหรับคนที่ต้องการยื่นกู้กับสถาบันทางการเงินต่างๆ โดยเอกสารในการขอกู้ หลักๆ จะประกอบด้วย เอกสารทางการเงินที่แสดงแหล่งที่มาของรายได้ เช่น สลิปเงินเดือน รายการเดินบัญชีย้อนหลังอย่างน้อย 3 เดือน สัญญาจะซื้อจะขาย พร้อมสำเนาโฉนดที่ดินที่ได้มาจากผู้ขาย ยื่นกับธนาคารเพื่อให้ประเมินราคาทรัพย์สิน ซึ่งปกติหากเป็นบ้านมือสองธนาคารก็จะให้วงเงินกู้ไม่เกิน 80% ของราคาซื้อขายหรือราคาประเมิน โดยเลือกราคาที่ต่ำกว่า ส่วนที่เหลืออีก 20% ผู้ซื้ออย่างเราๆ จำเป็นต้องเป็นคนหามาเพิ่ม
การนัดวันโอนบ้านกับกรมที่ดิน เมื่อเราได้รับการอนุมัติวงเงินเพื่อซื้อบ้านแล้ว ก็เตรียมนัดวันในการโอนบ้าน พร้อมจำนองบ้านหลังดังกล่าวต่อให้กับทางธนาคาร เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการกู้เงินดังกล่าว และ ก็เป็นวันเดียวกับที่ผู้ขายจะได้เงินทั้งหมดในส่วนที่ได้ทำสัญญากันไว้ วันนี้จึงต้องเป็นวันที่มี 3 ฝ่ายมาทำสัญญากันที่กรมที่ดิน ประกอบด้วย ผู้ซื้อ ผู้ขาย และ ธนาคารผู้ให้วงเงิน
โดยค่าใช้จ่ายต่างๆ เกี่ยวกับการซื้อขายบ้าน จะประกอบด้วย การโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินมาเป็นของผู้ซื้อ การจำนองทรัพย์สินให้กับธนาคาร ได้แก่ ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% ของราคาซื้อขายหรือราคาประเมินกรมที่ดินโดยใช้ราคาที่สูงกว่า หากผู้ขายถือครองบ้านและที่ดินน้อยกว่า 5 ปี และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านไม่ถึง 1 ปี แต่หากผู้ขายถือครองบ้านและที่ดินเกินกว่า 5 ปี หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านเกินกว่า 1 ปีก็จะเสียแค่ค่าอากรแสตมป์ 0.5% ของราคาซื้อขายหรือราคาประเมินกรมที่ดินโดยใช้ราคาที่สูงกว่า นอกจากนี้ก็จะเสียค่าโอน 2% ของราคาประเมินกรมที่ดิน ค่าจำนอง 1% ของวงเงินกู้ ซึ่งจะต้องชำระให้กับกรมที่ดิน ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ผู้ซื้อและผู้ขายมักมีการตกลงกันตั้งแต่วันทำสัญญาจะซื้อจะขายว่า ใครจะเป็นคนจ่ายค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง หรือตกลงแบ่งจ่ายกันอย่างไร
แม้การซื้อบ้านมือ 2 ในปัจจุบันจะทำได้ง่ายขึ้นโดยค้นหาผ่านเว็บไซต์ประกาศขายบ้านต่างๆ ซึ่งมีรูปภาพช่วยบอกรายละเอียดต่างๆ อย่างดีแล้วก็ตาม เราก็ควรที่จะต้องตรวจดูสภาพบ้านด้วยตนเอง โดยควรตรวจสอบสภาพแวดล้อม บุคลิกของคนที่อยู่อาศัย หรือการจราจร ต่างๆ เพราะสิ่งเหล่านี้ภาพอาจจะไม่สามารถเล่าเรื่องได้ครบถ้วน
หากเพื่อนๆ ท่านอื่นมีประสบการณ์ในการซื้อบ้านมือ 2 อยากจะให้ช่วยกันแชร์เพื่อให้เพื่อนๆ ที่ต้องการจะซื้อบ้านมือ 2 ได้เตรียมตัวรับมือกันด้วยนะครับ
3 ข้อควรรู้! ก่อนซื้อบ้านมือ 2
สำหรับเพื่อนๆ ที่ต้องการจะมีบ้านเป็นของตนเอง ใครที่คิดจะซื้อบ้านใหม่ การยื่นกู้กับทางธนาคารคงทำได้ไม่ยากมากนัก เพราะแต่ละโครงการจะมีเจ้าหน้าที่คอยให้ความช่วยเหลือในการยื่นอยู่หลากหลายสถาบัน แต่สำหรับคนที่ยื่นกู้เพื่อซื้อบ้านมือ 2 นั้นอาจจะมีขั้นตอนที่เพิ่มขึ้นซักหน่อย
K-Expert จึงอยากที่จะมาแนะนำสำหรับใครที่กำลังต้องการที่จะเป็นเจ้าของบ้านมือ 2 แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร โดยสรุปมาเป็น 3 ขั้นตอนหลักๆ ดังนี้
การเจรจา และ การทำสัญญา โดยเริ่มจากหาบ้านมือ 2 ที่ถูกใจ แล้วทำการติดต่อกับผู้ขายเพื่อตกลงราคา และทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านมือสองหลังดังกล่าว สัญญาจะต้องระบุราคาซื้อขาย การจ่ายมัดจำ และระยะเวลาในการชำระเงินในส่วนที่เหลือ โดยระยะเวลานี้ส่วนใหญ่จะกำหนดโดยผู้ขาย ซึ่งหากผู้ซื้อไม่สามารถชำระได้ตามกำหนด ผู้ขายก็มีสิทธิ์ที่จะยึดเงินมัดจำที่เราวางไว้ได้
ในส่วนของสัญญาจะซื้อจะขายเราสามารถทำขึ้นมาเอง หรือใช้แบบฟอร์มมาตรฐานที่มีอยู่ โดยสามารถหาโหลดได้จากเว็บไซต์ เมื่อเราได้เอกสารแล้วจึงสามารถที่จะทำเรื่องเพื่อขอกู้กับสถาบันทางการเงินต่างๆ ต่อไป
การติดต่อกับธนาคาร ขั้นตอนนี้สำหรับคนที่ต้องการยื่นกู้กับสถาบันทางการเงินต่างๆ โดยเอกสารในการขอกู้ หลักๆ จะประกอบด้วย เอกสารทางการเงินที่แสดงแหล่งที่มาของรายได้ เช่น สลิปเงินเดือน รายการเดินบัญชีย้อนหลังอย่างน้อย 3 เดือน สัญญาจะซื้อจะขาย พร้อมสำเนาโฉนดที่ดินที่ได้มาจากผู้ขาย ยื่นกับธนาคารเพื่อให้ประเมินราคาทรัพย์สิน ซึ่งปกติหากเป็นบ้านมือสองธนาคารก็จะให้วงเงินกู้ไม่เกิน 80% ของราคาซื้อขายหรือราคาประเมิน โดยเลือกราคาที่ต่ำกว่า ส่วนที่เหลืออีก 20% ผู้ซื้ออย่างเราๆ จำเป็นต้องเป็นคนหามาเพิ่ม
การนัดวันโอนบ้านกับกรมที่ดิน เมื่อเราได้รับการอนุมัติวงเงินเพื่อซื้อบ้านแล้ว ก็เตรียมนัดวันในการโอนบ้าน พร้อมจำนองบ้านหลังดังกล่าวต่อให้กับทางธนาคาร เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการกู้เงินดังกล่าว และ ก็เป็นวันเดียวกับที่ผู้ขายจะได้เงินทั้งหมดในส่วนที่ได้ทำสัญญากันไว้ วันนี้จึงต้องเป็นวันที่มี 3 ฝ่ายมาทำสัญญากันที่กรมที่ดิน ประกอบด้วย ผู้ซื้อ ผู้ขาย และ ธนาคารผู้ให้วงเงิน
โดยค่าใช้จ่ายต่างๆ เกี่ยวกับการซื้อขายบ้าน จะประกอบด้วย การโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินมาเป็นของผู้ซื้อ การจำนองทรัพย์สินให้กับธนาคาร ได้แก่ ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% ของราคาซื้อขายหรือราคาประเมินกรมที่ดินโดยใช้ราคาที่สูงกว่า หากผู้ขายถือครองบ้านและที่ดินน้อยกว่า 5 ปี และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านไม่ถึง 1 ปี แต่หากผู้ขายถือครองบ้านและที่ดินเกินกว่า 5 ปี หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านเกินกว่า 1 ปีก็จะเสียแค่ค่าอากรแสตมป์ 0.5% ของราคาซื้อขายหรือราคาประเมินกรมที่ดินโดยใช้ราคาที่สูงกว่า นอกจากนี้ก็จะเสียค่าโอน 2% ของราคาประเมินกรมที่ดิน ค่าจำนอง 1% ของวงเงินกู้ ซึ่งจะต้องชำระให้กับกรมที่ดิน ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ผู้ซื้อและผู้ขายมักมีการตกลงกันตั้งแต่วันทำสัญญาจะซื้อจะขายว่า ใครจะเป็นคนจ่ายค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง หรือตกลงแบ่งจ่ายกันอย่างไร
แม้การซื้อบ้านมือ 2 ในปัจจุบันจะทำได้ง่ายขึ้นโดยค้นหาผ่านเว็บไซต์ประกาศขายบ้านต่างๆ ซึ่งมีรูปภาพช่วยบอกรายละเอียดต่างๆ อย่างดีแล้วก็ตาม เราก็ควรที่จะต้องตรวจดูสภาพบ้านด้วยตนเอง โดยควรตรวจสอบสภาพแวดล้อม บุคลิกของคนที่อยู่อาศัย หรือการจราจร ต่างๆ เพราะสิ่งเหล่านี้ภาพอาจจะไม่สามารถเล่าเรื่องได้ครบถ้วน
หากเพื่อนๆ ท่านอื่นมีประสบการณ์ในการซื้อบ้านมือ 2 อยากจะให้ช่วยกันแชร์เพื่อให้เพื่อนๆ ที่ต้องการจะซื้อบ้านมือ 2 ได้เตรียมตัวรับมือกันด้วยนะครับ