สอบถามค่ะ มีหมายเรียกให้ไปขึ้นศาลเพื่อการไกล่เกลี่ย ให้การและนัดสืบพยาน โดยมีธนาคารเป็นโจทก์ฟ้อง ตัวเองอยู่ในฐานะเป็นจำเลยที่ 2 ซึ่งนำที่ดินไปจำนองค้ำประกันหนี้ของญาติ ซึ่งเป็นจำเลยที่ 1ไว้ โดยคดีนี้ธนาคารยื่นฟ้องเป็นคดีผู้บริโภค
คำถามคือ
1. ทำไมธนาคารเลือกฟ้องให้เป็นคดีผู้บริโภค แทนที่จะเป็นคดีแพ่งสามัญ?
2. ความแตกต่างของคดีแพ่งสามัญกับคดีผู้บริโภคคืออะไร?
3. ในฐานะจำเลยที่ 2 และเป็นผู้จำนองที่ดินค้ำประกัน สามารถเกี่ยงให้ธนาคารไปไล่บี้ให้ให้ญาติซึ่งอยู่ในฐานะลูกหนี้นำเงินหรือบังคับทรัพย์สินอื่นของญาติไปใช้หนี้ก่อนได้หรือไม่? เพราะในความเป็นจริงแล้วญาติมีทรัพย์สินมีมูลค่าพอที่จะจ่ายทั้งต้นทั้งดอก
4. ก่อนหน้านี้มีจดหมายเรียกคืนเงินกู้ (หนังสือทวงหนี้) จากธนาคารและให้ชำระเงินต้นทั้งดอก ญาติทำการไถ่ถอนที่ดินของญาติเองที่จำนองไว้ก่อนหน้านี้ โดยเป็นที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง และทำการนำที่ดินอื่นที่มีราคาประเมินถูกมาจำนองไว้แทน โดยที่มูลค่าที่ดินแปลงใหม่นี้ไม่ครอบคลุมทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยที่ต้องชำระ และธนาคารก็ดำเนินการให้แต่โดยดี ทำไมถึงมีการสับเปลี่ยนที่ดินค้ำประกันได้ง่ายๆแบบนี้ จริงๆแล้วทำได้หรือไม่?
5.ในวันขึ้นศาล ตั้งใจว่าจะไปร้องขอให้ศาลวินิจฉัยว่าคดีนี้เป็นคดีผู้บริโภคหรือไม่ เพราะธนาคารเป็นโจทก์ ส่วนญาติซึ่งเป็นเจ้าเลยอยู่ในฐานะลูกหนี้โดยในสัญญาเงินกู้ระบุวัตถุประสงค์ของการกู้ครั้งนี้ว่าเอาไปใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการทำธุรกิจ ซึ่งแสดงว่าญาติไม่ได้เป็นผู้บริโภคแต่เป็นผู้ประกอบการ?
6. จริงๆแล้วในฐานะคนจำนองที่ดินค้ำประกันหนี้ของคนอื่นแต่โดนตามทวงหนี้แบบนี้ ขึ้นศาลแพ่งหรือศาลคดีผู้บริโภคอันไหนจะเป็นประโยชน์ในแง่ของการสู้คดีมากกว่ากัน?
ขอบคุณค่ะ
ข้อแตกต่างของคดีผู้บริโภคกับคดีแพ่งสามัญ
คำถามคือ
1. ทำไมธนาคารเลือกฟ้องให้เป็นคดีผู้บริโภค แทนที่จะเป็นคดีแพ่งสามัญ?
2. ความแตกต่างของคดีแพ่งสามัญกับคดีผู้บริโภคคืออะไร?
3. ในฐานะจำเลยที่ 2 และเป็นผู้จำนองที่ดินค้ำประกัน สามารถเกี่ยงให้ธนาคารไปไล่บี้ให้ให้ญาติซึ่งอยู่ในฐานะลูกหนี้นำเงินหรือบังคับทรัพย์สินอื่นของญาติไปใช้หนี้ก่อนได้หรือไม่? เพราะในความเป็นจริงแล้วญาติมีทรัพย์สินมีมูลค่าพอที่จะจ่ายทั้งต้นทั้งดอก
4. ก่อนหน้านี้มีจดหมายเรียกคืนเงินกู้ (หนังสือทวงหนี้) จากธนาคารและให้ชำระเงินต้นทั้งดอก ญาติทำการไถ่ถอนที่ดินของญาติเองที่จำนองไว้ก่อนหน้านี้ โดยเป็นที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง และทำการนำที่ดินอื่นที่มีราคาประเมินถูกมาจำนองไว้แทน โดยที่มูลค่าที่ดินแปลงใหม่นี้ไม่ครอบคลุมทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยที่ต้องชำระ และธนาคารก็ดำเนินการให้แต่โดยดี ทำไมถึงมีการสับเปลี่ยนที่ดินค้ำประกันได้ง่ายๆแบบนี้ จริงๆแล้วทำได้หรือไม่?
5.ในวันขึ้นศาล ตั้งใจว่าจะไปร้องขอให้ศาลวินิจฉัยว่าคดีนี้เป็นคดีผู้บริโภคหรือไม่ เพราะธนาคารเป็นโจทก์ ส่วนญาติซึ่งเป็นเจ้าเลยอยู่ในฐานะลูกหนี้โดยในสัญญาเงินกู้ระบุวัตถุประสงค์ของการกู้ครั้งนี้ว่าเอาไปใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการทำธุรกิจ ซึ่งแสดงว่าญาติไม่ได้เป็นผู้บริโภคแต่เป็นผู้ประกอบการ?
6. จริงๆแล้วในฐานะคนจำนองที่ดินค้ำประกันหนี้ของคนอื่นแต่โดนตามทวงหนี้แบบนี้ ขึ้นศาลแพ่งหรือศาลคดีผู้บริโภคอันไหนจะเป็นประโยชน์ในแง่ของการสู้คดีมากกว่ากัน?
ขอบคุณค่ะ