คือนี่เป็นการบ้านผมครับบอกเลย555
คือผมเรียนวิชาปรัชญา อ.ก็ให้ไปศึกษาสาขาของปรัชญามาคร่าวๆ แล้วสั่งงานให้ไปหาข่าวมาแล้ววิเคราะห์ในแง่มุมของปรัชญาทั้ง 4 สาขา (ในที่นี้ได้แก่ อภิปรัชญา ญาณวิทยา ตรรกวิทยา และจริยศาสตร์) ผมก็ไปทำมาแล้วได้ดังต่อไปนี้
วิเคราะห์เดาๆมั่วๆเอง บอกเลยว่าไม่รู้จริงๆว่าต้องทำไง ถูกต้องตามแนวคิดไหม เพราะไม่ได้ดูตัวอย่างหลักกการวิเคราะห์มา และคำถามนี้จะต้องใช้ในการสอบด้วยครับ คิดว่าชาวพันทิปน่าจะช่วยติ และเสริมความรู้ส่วนนี้ให้ผมได้ และน่าจะจำได้ดีกว่า
-----------------------------------
ปล. ผมไม่รู้ว่าอ.สั่งว่าไง แต่ที่ผมเขียนตอบ ก็มีแต่วิเคราะห์ตามที่เข้าใจ และยกตัวอย่างว่ามันสะท้อนปรัชญาข้อไหน ทฤษฎีไหน ประมาณนี้ครับ555
1. อภิปรัชญา (Metaphysics)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริงในสถานการณ์นี้ จำเป็นต้องวิเคราะห์โดยตัดการสมมติ(การเรียกชื่อว่าเป็นนักศึกษาแพทย์) ตัดสภาวะ(ว่านี่คือการกระทำที่ผิดกฏหมาย) เหลือไว้แต่ความจริงอันสูงสุด(ซึ่งอยู่เบื้องหลังความสมมติและสภาวะต่างๆ) แล้ว เราจึงจะสนใจความจริงแท้มากกว่าสิ่งที่เห็นหรือได้รับรู้มา ในที่นี้เราจะได้ข้อความที่ใช้วิเคราะห์ประมาณว่า “สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่ามนุษย์ ทำให้ชีวิตของสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าสัตว์ที่เรียกว่าสุนัขสิ้นสุดลง (เรียกว่าฆ่า – สิ้นสุดชีวิตลง คือความจริงที่ว่าไม่มีการเคลื่อนของรูปร่างและพลังงานในสิ่งมีชีวตต่างๆอีกต่อไป) ซึ่งฆ่าด้วยสสารที่เรียกว่า ยา ซึ่งทั้งสามสิ่งนั้นมีรูปร่าง และมีพลังงานในตัว ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าด้วยเพราะคุณสมบัติการมีตัวตนและพลังงานดังกล่าว (ทฤษฎีสสารนิยม) สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคนจึงกระทำการฆ่า ยาออกฤทธิ์ และสิ่งมีชิวิตที่เรียกว่าสุนัขได้สิ้นสุดการมีชีวิตลง
เมื่อลองใคร่ครวญตามตัวอย่างข้างต้นก็จะได้สะท้อนให้เห็นปรัชญาถึงความจริงอันสูงสุด (อันติมสัจ; Ultimate Truth) ได้ว่า สสารทุกสิ่งทุกอย่างมีตนตนและเกิดปรากฏการณ์ต่างๆขึ้นได้เพราะมีรูปร่างและพลังงานในตัว ซึ่งจุดนี้ คำว่านักศึกษาแพทย์ คุณธรรมจริยธรรม การโกหก ความโลภ จึงไม่สำคัญเพราะเป็นเพียงแค่ การสมมติ และสภาวะ (State) ที่เป็นสิ่งที่เห็นและเข้าใจ ไม่มีอยู่จริง ไม่สำคัญ ประกอบขึ้นจากองค์ประกอบย่อยหลายๆส่วน และเปลี่ยนแปลงได้ตลอด
2. ญาณวิทยา (Epistemology)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ญาณวิทยาเป็นการคิดเพื่อให้ได้ซึ่งความรู้ต่าง ในที่นี้เราจะพอสรุปความรู้อันสะท้อนหลักปรัชญาต่างๆได้ว่า
-ในสังคมยังมีอาชญากรรมอยู่เสมอ ต่อให้โลกพัฒนาแค่ไหนก็ตาม (ความหลากหลายในสังคม มีทั้งคนดีและชั่ว)
-มนุษย์สามารถยอมทำทุกสิ่งทุกอย่าง แม้แต่การฆ่าสิ่งมีชีวิตได้ลงคอ เพียงเพื่อความโลภ (การทำตามแรงปรารถนาอย่างขาดสติไตร่ตรองถึงความถูกผิด ; id, ego, super ego ในทฤษฎีบุคลิกภาพของฟรอยด์)
-คนเรียนวิชาชีพแพทย์มีความรู้ที่ดีมากก็จริง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีคุณธรรมทุกคน (อาชีพตัดสินความเป็นคนดีมีคุณธรรมไม่ได้)
-ความรู้หากใช้ในทางที่ถูกต้องก็จะเป็นประโยชน์ หากใช้ในทางที่ผิดก็จะส่งผลต่อทั้งตนเองและผู้อื่น (ความรู้เป็นเสมือนดาบสองคม)
-มีวิธีการหลายอย่างในการพิสูจน์หลักฐานหาความจริงได้ (คำโกหกไม่สามารถปิดบังความจริงได้)
3. ตรรกศาสตร์ (Logic)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้หากวิเคราะห์ในทางตรรกศาสตร์แล้ว เราจำเป็นต้องวิเคราะห์ที่เหตุและผลในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อตัดสินว่าถูกต้องอย่างสมเหตุสมผลหรือไม่ กล่าวคือ เนื่องจากกรณีนี้เป็นเรื่องของการกระทำที่มีผลมารองรับ หากเราลองแบ่งการสนใจไปที่ 3 ส่วนหลักๆ คือ ก่อนกระทำ ระหว่างกระทำ และหลังกระทำแล้ว จะได้ดังนี้
-ก่อนกระทำ
“นักศึกษาแพทย์รายนี้ พาสุนัขไปที่โรงพยาบาลสัตว์” เพราะ “เห็นว่าหมาตายและต้องการชันสูตร” เพื่อ “ต้องการใบวินิจฉัยว่าสุนัขตายเพราะการขนส่งที่ไม่ดี” เพื่อ “นำไปเรียกร้องค่าเสียหายจากบริษัทขนส่ง” สรุปได้ว่า “นักศึกษาแพทย์รายนี้ พาสุนัขไปที่โรงพยาบาลสัตว์เพราะต้องการค่าเสียหายจากบริษัทขนส่ง” (ซึ่งในหลักความเป็นจริงคือถ้าหากยุติธรรมก็จะไม่มีปัญหาตามมา)
-ระหว่างกระทำ
“สัตวแพทย์ตรวจพบยาเม็ดในกระเพาะอาหารของสุนัข” ดังนั้น “สุนัขตายเพราะได้รับยาเกินขนาด” และ “แพทย์แจ้งว่สุนัขตายเพราะโดนให้ยาเกินขนาด” และ “เป็นไปได้ที่มีคนให้ยาเกินขนาดแก่สุนัข” ซึ่ง “คนที่เป็นไปไม่ได้คือสัตวแพทย์และพนักงานขนส่ง” แต่ “ที่เป็นไปได้คือนักศึกษาแพทย์หรือคนอื่นๆที่ไม่อยู่ในสถานการณ์” แต่ว่า “ไม่มีคนอยู่ในสถานการณ์” ดังนั้นจึงกล่าวสรุปได้ว่า “นักศึกษาแพทย์อาจจะเป็นผู้ให้ยาหมาเกินขนาด”
-หลังกระทำ
“นักศึกษาแพทย์ยอมรับว่าให้ยาจริงซึ่งอ้างว่าเป็นยาที่ได้จากโรงพยาบาลสัตว์กรุงเทพ” และ “มีใบแจ้งการวินิจฉัยที่ปลอมว่าได้ยาที่ถูกต้อง และกินตามขนาด” แต่ “ยาที่พบเป็นยาที่ใช้สำหรับมนุษย์ซึ่งสามารถทำให้สัตว์ตายได้” และ “ยาที่พบมีจำนวนมากกว่าที่อ้างไว้”ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า “นักศึกษาแพทย์โกหกว่าให้ยาตามขนาดและปลอมเอกสารมา” ซึ่งหมายถึง “นักศึกษาแพทย์พยายามอ้างว่าตนเองไม่ได้ฆ่า” เพราะ “ไม่ได้ต้องการเป็นผู้กระทำผิด” และ “อยากโยนความผิดไปที่อื่น คือโรงพยาบาลสัตว์ที่กรุงเทพซึ่งไม่จริง และพนักงานขับรถซึ่งไม่มีหลักฐานใดเอาผิด”
สรุป
เหตุ : นักศึกษาแพทย์ได้ให้สุนัขกินยาสำหรับมนุษย์เกินขนาด
ผล : สุนัขตายเพราะกินยาเกินขนาด
ดังนั้น : นักศึกษาแพทย์ทำให้สุนัขตาย
เหตุ : นักศึกษาแพทย์โยนความผิดให้ผู้อื่นเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย แต่มีหลักฐานชัดเจนว่านักศึกษาแพทย์ผิด
ผล : ผู้อื่นไม่ผิด และไม่ต้องจ่ายค่าเสียหาย
ดังนั้น : นักศึกษาแพทย์บ่ายเบี่ยงความผิดตน แต่สุดท้ายต้องรับโทษ
ทั้งหมดจึงกล่าวสรุปได้ว่า “นักศึกษาแพทย์เป็นคนฆ่าสุนัขตาย และโกหกเพราะต้องการเงินค่าเสียหาย แต่ถูกจับได้ จึงเป็นผู้มีความผิด”
4. จริยศาสตร์ (Ethics)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ในทางจริยศาสตร์อันเป็นศาสตร์อันเป็นศาสตร์ที่ตัดสินและประเมินคุณค่าในสิ่งต่างๆว่าดี ไม่ดี ควร หรือไม่ควรแล้ว ในกรณีนี้เองจากกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมไทย การกระทำของนักศึกษาแพทย์รายนี้นั้นจึงถูกตัดสินว่ามีพฤติกรรมที่โหดร้าย ยอมฆ่าสิ่งมีชีวิตอย่างไร้เมตตาเพื่อความโลภของตน ซึ่งไม่ว่าจะมองตามหลักศาสนาใดๆก็ตาม การกระทำนี้คือการกระทำผิดอย่างแน่นอน(เพราะพรากชีวิตได้ลงคอ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุการณ์นี้ก็สะท้อนแนวคิดของพระพุทธศาสนาเรื่องกฏแห่งกรรม(ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว) หรือแม้จะหากมองตามความเป็นจริง(ไม่อิงศาสนา) คนในลักษณะแบบนี้ที่โหดเหี้ยม เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ไม่น่าให้โอกาส และไม่ควรปล่อยให้ประกอบอาชีพแพทย์ เพราะในอนาคตอาจจะเกิดเหตการณ์ที่ร้ายแรงกว่านี้กับคนไข้ได้ และแม้หากจะมองในด้านเสรีภาพแห่งเจตจำนง (Freedom of Will) ซึ่งเป็นอิสรภาพของมนุษย์แล้ว คนเราเองก็คงไม่มีสิทธิ์ที่จะตัดสินชีวิตสิ่งมีชีวิตให้จบลงได้ เพราะชีวิตของสิ่งมีชีวิตใดๆนั้นล้วนเป็นสิทธิของมัน ดังนั้นจึงเป็นการละเมิดสิทธิในการที่จะมีชีวิตของสิ่งต่างๆนั่นเอง
สรุป
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้กรณีนักศึกษาแพทย์ฆ่าสุนัขเพื่อเรียกร้องเงินค่าเสียหายจากบริษัทขนส่งนี้ เป็นเหตุการณ์ที่ได้รับความสนใจและได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก เพราะมีคนส่วนใหญ่มองว่าเป็นเรื่องที่ผิดอย่างร้ายแรงในฐานะที่ผู้กระทำเป็นผู้ที่จะประกอบวิชาชีพแพทย์ในอนาคต ซึ่งเป็นอาชีพที่ควรมีจิตใจเมตตาอารีและใช้ความรู้ไปในทางที่ถูกต้อง หรือถ้าหากนักศึกษาแพทย์รายนี้มีอาการผิดปกติทางจิตก็ไม่สามารถที่จะศึกษาต่อได้(ผิดกฎการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ)
หากมองสถานการณ์นี้ในแง่ของอภิปรัชญาก็จะเป็นเพียงแค่ข้อสรุปของข้อเท็จจริงสูงสุดที่เกิดขึ้นว่าเป็นเพียงแค่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามพลังและอำนาจของสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติเท่านั้น แต่การเป็นแพทย์ ความคิดเห็น ศีลธรรม หรือกฎหมายก็ไม่ได้น่าสนใจที่จะกล่าวถึง(เพราะถือเป็นสิ่งสมมติและเป็นสภาวะที่ไม่เป็นจริงนิรันดร์) หรือหากมองว่าการกระทำนี้อาจจะแพร่ขยายต่อไปได้ในอนาคตได้(หากไม่ได้มีหลักศีลธรรมหรือกฏหมายควบคุม) ก็อาจจะเป็นกระบวนการแห่งการสูญสิ้นแห่งสสาร(สิ่งมีชีวิต)ไปเรื่อยๆก็ได้ อย่างไรก็ตามในส่วนของญาณวิทยา ตรรกศาสตร์ และจริยศาสตร์นั้นก็จะมองไปในทางตรงข้ามเพราะเห็นว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมีตัวตนจริง สิ่งสมมติใดๆภายใต้กรอบความเข้าใจและการยึดถือและเห็นพ้องของมนุษย์จึงเป็นสิ่งสำคัญเพราะมันล้วนส่งผลต่อสภาพความเป็นอยู่ชีวิตมนุษยชาติได้ ด้วยเหตุนี้จึงได้เกิดความรู้และหลักปรัชญาต่างๆที่ใช้ในการเรียนและการศึกษามาเพื่ออธิบายเหตุการณ์ต่างๆตามความเป็นจริงได้โดยหลักการทางญาณวิทยา(เหตุการณ์ดังกล่าวสะท้อนความรู้และปรัชญาไว้หลายประการ) ได้เกิดหลักการทางตรรกศาสตร์คือการตรวจสอบเหตุและผลเพื่อใช้เป็นความรู้และเป็นหลักในการตัดสินเหตุการณ์ต่างๆว่าสมเหตุสมผลและถูกต้องเหมาะสมในกรอบของมนุษย์และธรรมชาติหรือไม่ (เกิดการตัดสินตามหลักเหตุและผล) และจริยศาสตร์ก็ได้ตัดสินคุณค่าของการกระทำของมนุษย์เพื่อกำจัดความเลวร้าย และมุ่งทำแต่ความดีงาม เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขบนโลกอย่างสมดุลกับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ (ถูกสังคมลงโทษและถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่เป็นการกระทำที่ไม่ดีตามมา)
ปรัชญา-กรณีนักศึกษาแพทย์ฆ่าสุนัขเพื่อเรียกร้องเงินประกัน
คือผมเรียนวิชาปรัชญา อ.ก็ให้ไปศึกษาสาขาของปรัชญามาคร่าวๆ แล้วสั่งงานให้ไปหาข่าวมาแล้ววิเคราะห์ในแง่มุมของปรัชญาทั้ง 4 สาขา (ในที่นี้ได้แก่ อภิปรัชญา ญาณวิทยา ตรรกวิทยา และจริยศาสตร์) ผมก็ไปทำมาแล้วได้ดังต่อไปนี้
วิเคราะห์เดาๆมั่วๆเอง บอกเลยว่าไม่รู้จริงๆว่าต้องทำไง ถูกต้องตามแนวคิดไหม เพราะไม่ได้ดูตัวอย่างหลักกการวิเคราะห์มา และคำถามนี้จะต้องใช้ในการสอบด้วยครับ คิดว่าชาวพันทิปน่าจะช่วยติ และเสริมความรู้ส่วนนี้ให้ผมได้ และน่าจะจำได้ดีกว่า
-----------------------------------
ปล. ผมไม่รู้ว่าอ.สั่งว่าไง แต่ที่ผมเขียนตอบ ก็มีแต่วิเคราะห์ตามที่เข้าใจ และยกตัวอย่างว่ามันสะท้อนปรัชญาข้อไหน ทฤษฎีไหน ประมาณนี้ครับ555
1. อภิปรัชญา (Metaphysics)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
2. ญาณวิทยา (Epistemology)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
3. ตรรกศาสตร์ (Logic)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
4. จริยศาสตร์ (Ethics)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สรุป
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้