เห็นเด็กจำนวนมากสอบเอ็นติดแต่พอเรียนไปได้เพียงปีเดียวก็พบว่าไม่ใช่คณะที่อยากเรียน
โดยส่วนตัวมองว่ามีหลายปัจจัยเช่น ตามแรงกดดันของครอบครัว, ตามเพื่อน, เป็นอาชีพในฝัน
ปัจจัยหนึ่งของปัญหานี้คือเด็กเองไม่รู้ว่าชอบทำอะไรเพราะยังไม่เคยทำงาน
หากตัวเด็กเองได้ลองมีโอกาสได้ทำงานก็จะมีสองกรณีคือ
1.ได้ค้นพบว่าตัวเองชอบอะไรและสาสารถเลือกคณะที่ตรงกับความต้องการที่แท้จริงของตัวเอง
ไม่ต้องสุ่มๆสอบไปตามแรงกดดันของครอบครัว,ตามเพื่อนหรือตามความฝันซึ่งบางทีอาจขัดกับความจริง
2.หากได้มีโอกาสทำงานที่เกี่ยวข้องในสายงานที่ตัวเองคิดว่าชอบจริงๆก็อาจจะค้นพบตัวเองว่า
ตัวเองเหมาะ,ชอบ ในงานที่ตัวเองใฝ่ฝัน และก็จะไม่เลือกสอบเอ็นทรานส์ในคณะนั้น
ถ้ารัฐบาลกำหนดว่าหลังจากจบ ม.6แล้ว 1 ปีผู้ที่จะสมัครสอบต้องมีใบผ่านงานเพื่อเป็นหลักฐานในการสมัครด้วย
อาจเป็นงานที่เกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกับคณะที่ตนเองสมัครสอบก็ได้
แบบนี้น่าจะเป็นการลดการเรียนแค่ 1 ปีแล้วไปสมัครสอบใหม่ เพราะไม่ชอบในสาขาหรือคณะที่ตัวเองเรียนได้
จริงอยู่บางคนมองว่าเป็นการเสียเวลา แต่ส่วนตัวมองว่านอกจากจะให้เด็กได้รู้จักความชอบที่แท้จริงแล้ว
อาจทำให้การเรียนภาคทฤษฎีในห้องสนุกขึ้นด้วยเพราะสามารถเชื่อมโยงกับประสบการณ์ที่ทำงานมา
และทำให้อาจารย์ที่สักแต่สอนตามตำราต้องปรับตัว ไม่ใช่ใช้ตำรามาอ่านหรือท่องให้เด็กฟังเพียงอย่างดียว
ถ้าบังคับให้เด็กจบม.6ต้องทำงานก่อน1ปีแล้วค่อยสอบเอ็นทรานส์จะช่วยลดปัญหาเด็กเอ็นใหม่เพราะเรียนแล้วไม่ชอบคณะที่เอ็นติด
โดยส่วนตัวมองว่ามีหลายปัจจัยเช่น ตามแรงกดดันของครอบครัว, ตามเพื่อน, เป็นอาชีพในฝัน
ปัจจัยหนึ่งของปัญหานี้คือเด็กเองไม่รู้ว่าชอบทำอะไรเพราะยังไม่เคยทำงาน
หากตัวเด็กเองได้ลองมีโอกาสได้ทำงานก็จะมีสองกรณีคือ
1.ได้ค้นพบว่าตัวเองชอบอะไรและสาสารถเลือกคณะที่ตรงกับความต้องการที่แท้จริงของตัวเอง
ไม่ต้องสุ่มๆสอบไปตามแรงกดดันของครอบครัว,ตามเพื่อนหรือตามความฝันซึ่งบางทีอาจขัดกับความจริง
2.หากได้มีโอกาสทำงานที่เกี่ยวข้องในสายงานที่ตัวเองคิดว่าชอบจริงๆก็อาจจะค้นพบตัวเองว่า
ตัวเองเหมาะ,ชอบ ในงานที่ตัวเองใฝ่ฝัน และก็จะไม่เลือกสอบเอ็นทรานส์ในคณะนั้น
ถ้ารัฐบาลกำหนดว่าหลังจากจบ ม.6แล้ว 1 ปีผู้ที่จะสมัครสอบต้องมีใบผ่านงานเพื่อเป็นหลักฐานในการสมัครด้วย
อาจเป็นงานที่เกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกับคณะที่ตนเองสมัครสอบก็ได้
แบบนี้น่าจะเป็นการลดการเรียนแค่ 1 ปีแล้วไปสมัครสอบใหม่ เพราะไม่ชอบในสาขาหรือคณะที่ตัวเองเรียนได้
จริงอยู่บางคนมองว่าเป็นการเสียเวลา แต่ส่วนตัวมองว่านอกจากจะให้เด็กได้รู้จักความชอบที่แท้จริงแล้ว
อาจทำให้การเรียนภาคทฤษฎีในห้องสนุกขึ้นด้วยเพราะสามารถเชื่อมโยงกับประสบการณ์ที่ทำงานมา
และทำให้อาจารย์ที่สักแต่สอนตามตำราต้องปรับตัว ไม่ใช่ใช้ตำรามาอ่านหรือท่องให้เด็กฟังเพียงอย่างดียว