วันก่อน ผมพูดเรื่อง bitcoin ไว้ และในบทความนั้นผมได้เอ่ยถึงการที่นักลงทุนแห่กันเข้าลงทุนใน bitcoin นั้นมีลักษณะที่คล้ายกับปรากฏการณ์ที่มักเกิดในช่วงที่เกิดภาวะฟองสบู่ ก็เลยขอพูดถึงเรื่อง Tinkerbell effect ที่มักจะเป็นที่มาของภาวะฟองสบู่
ตามที่เราทราบกันว่าราคาของสินทรัพย์จะถูกกำหนดด้วยแนวโน้ม supply และ demand โดยที่ในแง่ของทฤษฎีด้าน fundamental analysis นักลงทุนจะใช้การตัดสินใจซื้อขายผ่านกระบวนการตัดสินใจแบบ rational decision making ด้วยการใช้ข้อมูลทั้งหมดที่ปรากฏอยู่ในตลาด ณ ขณะนั้น
ส่วน Tinkerbell effect เป็นอะไรที่ตรงข้ามกันเพราะเกิดจากการใช้อารมณ์หรือความเชื่อที่ไม่จำเป็นต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง เป็นปัจจัยสำคัญในทฤษฎีแนว behavioral finance ซึ่งบอกว่าราคาไม่จำเป็นต้องสะท้อน intrinsic value หรือมูลค่าที่แท้จริงของสินทรัพย์นั้น แต่เป็นผลมาจาก herding behavior ซึ่งแปลง่ายๆได้ว่า “พวกมากลากไป” นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้พวกที่เชื่อเรื่อง behavioral finance มักจะใช้ technical analysis ประกอบในการตัดสินใจลงทุนเพราะจะนำผลกระทบจาก Tinkerbell effect เข้ามาประกอบด้วย
ชื่อ Tinkerbell มาจากตัวละครนางฟ้า Tinker Bell ในนิยายเด็กที่เรารู้จักกันดีคือ Peter Pan เป็นตัวละครที่ถูกนำกลับมาจากความตายด้วยความเชื่อของคนอ่าน ในฉากใกล้ตายของ Tinker Bell พระเอกของเรื่อง Peter Pan พูดกับคนอ่านว่า ถ้าต้องการให้ Tinker Bell ฟื้นคืนชีพ คนอ่านต้องคงความเชื่อในเรื่องเพ้อฝันแบบเทพนิยาย
จากที่ผมลองค้นคว้าเรื่องนี้ดู Tinkerbell effect เน้นเรื่องการที่มูลค่าสินทรัพย์เกิดขึ้นมาจากความเชื่อของนักลงทุนเพียงอย่างเดียว ไม่จำเป็นต้องอยู่พื้นฐานของความเป็นจริง เหมือนกับการที่คนอ่าน Peter Pan ต้องเชื่อเรื่องเทพนิยาย แต่ผมคิดว่ายังมีเรื่องบุคลิกลักษณะของนางฟ้า Tinker Bell ด้วยที่สะท้อนให้เห็นปรากฏการณ์แบบ Tinkerbell effect คือการที่นางฟ้าตนนี้มีอารมณ์วูบวาบ หุนหันพลันแล่นไปตามอารมณ์ น่าจะใช้อธิบายพฤติกรรมนักลงทุนในช่วงฟองสบู่ได้
ผลกระทบของ Tinkerbell Effect ต่อมูลค่า Bitcoin
วันก่อน ผมพูดเรื่อง bitcoin ไว้ และในบทความนั้นผมได้เอ่ยถึงการที่นักลงทุนแห่กันเข้าลงทุนใน bitcoin นั้นมีลักษณะที่คล้ายกับปรากฏการณ์ที่มักเกิดในช่วงที่เกิดภาวะฟองสบู่ ก็เลยขอพูดถึงเรื่อง Tinkerbell effect ที่มักจะเป็นที่มาของภาวะฟองสบู่
ตามที่เราทราบกันว่าราคาของสินทรัพย์จะถูกกำหนดด้วยแนวโน้ม supply และ demand โดยที่ในแง่ของทฤษฎีด้าน fundamental analysis นักลงทุนจะใช้การตัดสินใจซื้อขายผ่านกระบวนการตัดสินใจแบบ rational decision making ด้วยการใช้ข้อมูลทั้งหมดที่ปรากฏอยู่ในตลาด ณ ขณะนั้น
ส่วน Tinkerbell effect เป็นอะไรที่ตรงข้ามกันเพราะเกิดจากการใช้อารมณ์หรือความเชื่อที่ไม่จำเป็นต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง เป็นปัจจัยสำคัญในทฤษฎีแนว behavioral finance ซึ่งบอกว่าราคาไม่จำเป็นต้องสะท้อน intrinsic value หรือมูลค่าที่แท้จริงของสินทรัพย์นั้น แต่เป็นผลมาจาก herding behavior ซึ่งแปลง่ายๆได้ว่า “พวกมากลากไป” นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้พวกที่เชื่อเรื่อง behavioral finance มักจะใช้ technical analysis ประกอบในการตัดสินใจลงทุนเพราะจะนำผลกระทบจาก Tinkerbell effect เข้ามาประกอบด้วย
ชื่อ Tinkerbell มาจากตัวละครนางฟ้า Tinker Bell ในนิยายเด็กที่เรารู้จักกันดีคือ Peter Pan เป็นตัวละครที่ถูกนำกลับมาจากความตายด้วยความเชื่อของคนอ่าน ในฉากใกล้ตายของ Tinker Bell พระเอกของเรื่อง Peter Pan พูดกับคนอ่านว่า ถ้าต้องการให้ Tinker Bell ฟื้นคืนชีพ คนอ่านต้องคงความเชื่อในเรื่องเพ้อฝันแบบเทพนิยาย
จากที่ผมลองค้นคว้าเรื่องนี้ดู Tinkerbell effect เน้นเรื่องการที่มูลค่าสินทรัพย์เกิดขึ้นมาจากความเชื่อของนักลงทุนเพียงอย่างเดียว ไม่จำเป็นต้องอยู่พื้นฐานของความเป็นจริง เหมือนกับการที่คนอ่าน Peter Pan ต้องเชื่อเรื่องเทพนิยาย แต่ผมคิดว่ายังมีเรื่องบุคลิกลักษณะของนางฟ้า Tinker Bell ด้วยที่สะท้อนให้เห็นปรากฏการณ์แบบ Tinkerbell effect คือการที่นางฟ้าตนนี้มีอารมณ์วูบวาบ หุนหันพลันแล่นไปตามอารมณ์ น่าจะใช้อธิบายพฤติกรรมนักลงทุนในช่วงฟองสบู่ได้