สำรวจ ภาพสลักโบราณ บนลานหินทราย "หนานรูป" อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช
สำรวจภาพสลักบนลานหินทราย "หนานรูป"วัดขนาน ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช กรมศิลปากรเคยทำการสำรวจและจัดทำรายงานไว้เมื่อปี พ.ศ.2538
หนานรูปภาพสลักบนลานหินทราย จ.นครศรีธรรมราช
ตามที่ สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช ได้รับแจ้งจากราษฎรในพื้นที่เรื่องการพบภาพสลักบนลานหินทราย "หนานรูป" ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 บ้านขนาน ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2560 ที่ผ่านมา จึงได้ลงพื้นที่สำรวจร่วมกับนายอำเภอทุ่งใหญ่ (นายกฤษณะ ณ สงขลา) โดยมีพระครู ดร.พิศาล เขตคณารักษ์ เจ้าอาวาสวัดขนาน และประชาชนในพื้นที่ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก
จากการตรวจสอบพบว่า ภาพสลักนี้กรมศิลปากรเคยทำการสำรวจและจัดทำรายงานไว้เมื่อปี พ.ศ.2538 เป็นภาพสลักบนผนังหินทราย พื้นที่ภาพยาวประมาณ 1.4 เมตร สูงประมาณ 80 เซนติเมตร จากการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า ประกอบด้วยภาพที่สันนิษฐานว่าเป็นแท่นฐานสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป เนื่องจากส่วนบนปรากฏลักษณะเป็นรูปกลีบบัวขนาดเล็กเรียงกันจำนวน 11 กลีบ ถัดลงมาเป็นลายช่องกระจกรูปกลีบบัวขนาดใหญ่ 2 ช่อง และช่องรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งอาจตีความว่าเป็นช่องประตูหน้าต่างก็เป็นได้
ส่วนด้านล่างปรากฏลักษณะขาโต๊ะและตรงกลางเป็นลายผ้าทิพย์ ถัดไปทางขวามือมีภาพสลักรูปบุคคลแต่งองค์ทรงเครื่องอย่างงดงาม อยู่ในอาการเคลื่อนไหว มือทั้งสองข้างจับชูนาคไว้เหนือศีรษะ อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาที่เท้าซ้ายของรูปพบว่าเป็นลักษณะของเท้าสัตว์ประเภทลิง ดังนั้น รูปนี้จึงมิน่าจะเป็นรูปบุคคล เทพ หรือยักษ์แต่อย่างใด และจากลักษณะท่าทางทำให้นึกถึงภาพตัวละครในหนังใหญ่ เช่น รูป "วานรจับนาค" ซึ่งน่าจะเป็นแรงบัลดาลใจในการสลักภาพดังกล่าวก็เป็นได้ นอกจากนี้ถัดไปทางด้านขวาห่างไปประมาณ 1 เมตร ยังมีภาพร่างเป็นลายเส้นรูปเศียรพญานาคอีกด้วย
ในเบื้องต้น กำหนดอายุภาพสลักจากลวดลายที่ปรากฏ สันนิษฐานว่าน่าจะทำขึ้นในช่วงสมัยอยุธยาตอนปลาย หรือต้นรัตนโกสินทร์ บริเวณนี้คงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์หรือสถานที่สำคัญ ที่ผู้คนในสมัยโบราณได้มาสร้างสรรค์งานศิลปกรรมที่งดงามและทรงคุณค่า แสดงให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชุมชนโบราณในพื้นที่แถบนี้ได้เป็นอย่างดี
อนึ่ง สำหรับคำว่า "หนาน" ในภาษาพื้นถิ่นปักษ์ใต้เป็นคำนามหมายถึง ผาที่มีน้ำตก หรือพื้นที่ต่างระดับที่มีทางน้ำไหลผ่าน บริเวณโบราณสถานมีลักษณะเป็นลานหินทรายกว้างใหญ่ลาดเอียง แต่เดิมมีทางน้ำไหลผ่าน แม้ในปัจจุบันก็ยังมีน้ำซึมผ่านอยู่ตลอดเวลา และเนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีภาพสลักจึงเรียกว่า หนานรูป นอกจากนี้ในหมู่บ้าน ยังมีหนานที่สำคัญอีก 2 แห่งคือ หนานใหญ่ และหนานนุ้ย ซึ่งชาวบ้านนับถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้าน ปัจจุบันจึงได้ร่วมแรงรวมใจกันอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่หนานหรือลานหินทรายทั้ง 3 แห่ง เพื่อเชิดชูคุณค่า เป็นศูนย์รวมจิตใจ และส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชน
เครดิต
http://www.nationtv.tv/main/content/social/378568540/
สำรวจ ภาพสลักโบราณ บนลานหินทราย "หนานรูป" อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช
สำรวจภาพสลักบนลานหินทราย "หนานรูป"วัดขนาน ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช กรมศิลปากรเคยทำการสำรวจและจัดทำรายงานไว้เมื่อปี พ.ศ.2538
หนานรูปภาพสลักบนลานหินทราย จ.นครศรีธรรมราช
ตามที่ สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช ได้รับแจ้งจากราษฎรในพื้นที่เรื่องการพบภาพสลักบนลานหินทราย "หนานรูป" ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 บ้านขนาน ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2560 ที่ผ่านมา จึงได้ลงพื้นที่สำรวจร่วมกับนายอำเภอทุ่งใหญ่ (นายกฤษณะ ณ สงขลา) โดยมีพระครู ดร.พิศาล เขตคณารักษ์ เจ้าอาวาสวัดขนาน และประชาชนในพื้นที่ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก
จากการตรวจสอบพบว่า ภาพสลักนี้กรมศิลปากรเคยทำการสำรวจและจัดทำรายงานไว้เมื่อปี พ.ศ.2538 เป็นภาพสลักบนผนังหินทราย พื้นที่ภาพยาวประมาณ 1.4 เมตร สูงประมาณ 80 เซนติเมตร จากการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า ประกอบด้วยภาพที่สันนิษฐานว่าเป็นแท่นฐานสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป เนื่องจากส่วนบนปรากฏลักษณะเป็นรูปกลีบบัวขนาดเล็กเรียงกันจำนวน 11 กลีบ ถัดลงมาเป็นลายช่องกระจกรูปกลีบบัวขนาดใหญ่ 2 ช่อง และช่องรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งอาจตีความว่าเป็นช่องประตูหน้าต่างก็เป็นได้
ส่วนด้านล่างปรากฏลักษณะขาโต๊ะและตรงกลางเป็นลายผ้าทิพย์ ถัดไปทางขวามือมีภาพสลักรูปบุคคลแต่งองค์ทรงเครื่องอย่างงดงาม อยู่ในอาการเคลื่อนไหว มือทั้งสองข้างจับชูนาคไว้เหนือศีรษะ อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาที่เท้าซ้ายของรูปพบว่าเป็นลักษณะของเท้าสัตว์ประเภทลิง ดังนั้น รูปนี้จึงมิน่าจะเป็นรูปบุคคล เทพ หรือยักษ์แต่อย่างใด และจากลักษณะท่าทางทำให้นึกถึงภาพตัวละครในหนังใหญ่ เช่น รูป "วานรจับนาค" ซึ่งน่าจะเป็นแรงบัลดาลใจในการสลักภาพดังกล่าวก็เป็นได้ นอกจากนี้ถัดไปทางด้านขวาห่างไปประมาณ 1 เมตร ยังมีภาพร่างเป็นลายเส้นรูปเศียรพญานาคอีกด้วย
ในเบื้องต้น กำหนดอายุภาพสลักจากลวดลายที่ปรากฏ สันนิษฐานว่าน่าจะทำขึ้นในช่วงสมัยอยุธยาตอนปลาย หรือต้นรัตนโกสินทร์ บริเวณนี้คงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์หรือสถานที่สำคัญ ที่ผู้คนในสมัยโบราณได้มาสร้างสรรค์งานศิลปกรรมที่งดงามและทรงคุณค่า แสดงให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชุมชนโบราณในพื้นที่แถบนี้ได้เป็นอย่างดี
อนึ่ง สำหรับคำว่า "หนาน" ในภาษาพื้นถิ่นปักษ์ใต้เป็นคำนามหมายถึง ผาที่มีน้ำตก หรือพื้นที่ต่างระดับที่มีทางน้ำไหลผ่าน บริเวณโบราณสถานมีลักษณะเป็นลานหินทรายกว้างใหญ่ลาดเอียง แต่เดิมมีทางน้ำไหลผ่าน แม้ในปัจจุบันก็ยังมีน้ำซึมผ่านอยู่ตลอดเวลา และเนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีภาพสลักจึงเรียกว่า หนานรูป นอกจากนี้ในหมู่บ้าน ยังมีหนานที่สำคัญอีก 2 แห่งคือ หนานใหญ่ และหนานนุ้ย ซึ่งชาวบ้านนับถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้าน ปัจจุบันจึงได้ร่วมแรงรวมใจกันอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่หนานหรือลานหินทรายทั้ง 3 แห่ง เพื่อเชิดชูคุณค่า เป็นศูนย์รวมจิตใจ และส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชน
เครดิต http://www.nationtv.tv/main/content/social/378568540/