สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 11
สีเป็นความจริงหรือภาพลวงตาอ่ะครับ?? คือผมสงสัยเรื่องนี้มาก อยากรู้ว่าการสะท้อนสีของสิ่งของต่างๆเกิดขึ้นได้ไงอ่ะครับ
บางอย่างทำจากของคล้ายๆกันแต่สีต่างกัน งงครับ
เรื่อง สีสัน ของวัตถุจะต้องอธิบายยาวหน่อยครับ คือการที่สรรพสิ่งทั้งหลาย มีสี ตามที่เราเห็นอยู่นั้น
มาจากคุณสมบัติ 3 อย่างครับ คือ
- Reflect or scatter light (การสะท้อน + กระเจิง)
- Absorb light (การดูดกลืน)
- Refract light (การหักเห)
ทั้ง 3 อย่างนี้ จะแสดงผลออกมาจากวัตถุนั้น ๆ ในระดับโมเลกุล ว่าวัตถุชิ้นนั้นมีมวลสารอะไร
โมเลกุลของมวลสารแต่ละอย่าง จะมีคุณสมบัติที่ทำกับแสงทั้ง 3 ข้อข้างบนต่างกันครับ
ตัวอย่างที่ 1
มะเขือเทศมีสีแดงเพราะอะไร ?
เพราะว่ามะเขือเทศมีสาร Lycopene จำนวนมาก ซึ่ง Lycopene นี้มีคุณสมบัติ absorb แสงในเกือบทุกย่าน ยกเว้นย่านสีแดง
และ reflect ย่านสีแดงออกมา ดังนั้นตามนุษย์จึงมองเห็นมะเขือเทศเป็นสีแดงครับ โดยหากเราวางมะเขือเทศใว้กลางแดด
แสงแดดที่มีแสงสีครบทุกย่านจะตกกระทบมะเขือเทศ และมันก็จะ "แสดง" เฉพาะสีแดงออกมาตามที่อธิบายไปครับ
ตัวอย่างที่ 2
แครอทมีสีออกเหลือง ๆ แดง ๆ เพราะว่า Carotene ที่มีอยู่ในแครอท นั้น มีคุณสมบัติดูดกลืนแสงย่านสีม่วง-น้ำเงิน
และช่วงแสงสีเขียว (450 - 550 นาโนเมตร) ทำให้แสงอาทิตย์ซึ่งมีครบทุก spectrum นั้น ถูกดูดกลินไปในช่วงดังกล่าวครับ
จึงเหลือเพียงแสงย่านสีเหลือง-แดง ที่ reflect ออกมาสู่ตาเราได้ครับ
ตัวอย่างที่ 3
พืชทั่ว ๆ ไปมีสีเขียว เพราะในพืชจะมี Chlorophyll เป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่ง chlorophyll นั้นมีการ absorb แสงย่าน
สีม่วง-น้ำเงิน และ แดง แต่เว้นย่านสีเขียวที่ไม่ absorb ดังนั้น chlorophyll จึงปล่อยเฉพาะแสงย่านสีเขียวให้ reflect เข้าตาเราได้ครับ
บางอย่างทำจากของคล้ายๆกันแต่สีต่างกัน งงครับ
เรื่อง สีสัน ของวัตถุจะต้องอธิบายยาวหน่อยครับ คือการที่สรรพสิ่งทั้งหลาย มีสี ตามที่เราเห็นอยู่นั้น
มาจากคุณสมบัติ 3 อย่างครับ คือ
- Reflect or scatter light (การสะท้อน + กระเจิง)
- Absorb light (การดูดกลืน)
- Refract light (การหักเห)
ทั้ง 3 อย่างนี้ จะแสดงผลออกมาจากวัตถุนั้น ๆ ในระดับโมเลกุล ว่าวัตถุชิ้นนั้นมีมวลสารอะไร
โมเลกุลของมวลสารแต่ละอย่าง จะมีคุณสมบัติที่ทำกับแสงทั้ง 3 ข้อข้างบนต่างกันครับ
ตัวอย่างที่ 1
มะเขือเทศมีสีแดงเพราะอะไร ?
เพราะว่ามะเขือเทศมีสาร Lycopene จำนวนมาก ซึ่ง Lycopene นี้มีคุณสมบัติ absorb แสงในเกือบทุกย่าน ยกเว้นย่านสีแดง
และ reflect ย่านสีแดงออกมา ดังนั้นตามนุษย์จึงมองเห็นมะเขือเทศเป็นสีแดงครับ โดยหากเราวางมะเขือเทศใว้กลางแดด
แสงแดดที่มีแสงสีครบทุกย่านจะตกกระทบมะเขือเทศ และมันก็จะ "แสดง" เฉพาะสีแดงออกมาตามที่อธิบายไปครับ
ตัวอย่างที่ 2
แครอทมีสีออกเหลือง ๆ แดง ๆ เพราะว่า Carotene ที่มีอยู่ในแครอท นั้น มีคุณสมบัติดูดกลืนแสงย่านสีม่วง-น้ำเงิน
และช่วงแสงสีเขียว (450 - 550 นาโนเมตร) ทำให้แสงอาทิตย์ซึ่งมีครบทุก spectrum นั้น ถูกดูดกลินไปในช่วงดังกล่าวครับ
จึงเหลือเพียงแสงย่านสีเหลือง-แดง ที่ reflect ออกมาสู่ตาเราได้ครับ
ตัวอย่างที่ 3
พืชทั่ว ๆ ไปมีสีเขียว เพราะในพืชจะมี Chlorophyll เป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่ง chlorophyll นั้นมีการ absorb แสงย่าน
สีม่วง-น้ำเงิน และ แดง แต่เว้นย่านสีเขียวที่ไม่ absorb ดังนั้น chlorophyll จึงปล่อยเฉพาะแสงย่านสีเขียวให้ reflect เข้าตาเราได้ครับ
ความคิดเห็นที่ 1
เป็นภาพลวงตาครับ
รถคันสีเขียว จอดใต้ไฟสีขาวจะเห็นเป็นสีเขียว จอดใต้ไฟสีแดงก็จะเห็นเป็นอีกสีนึง จอดใต้ไฟสีม่วงก็จะเห็นเป็นอีกสีหนึ่ง สรุปคือเราจะเห็นวัตถุว่าเป็นสีอะไรขึ้นอยู่กับสีดั้งเดิมของตัววัตถุนั้นและสีของแหล่งแสงครับ หรือก็คือสีที่เห็น "เป็นสิ่งสัมพัทธ์" ครับ ขึ้นอยู่กับว่า เราอยู่ภายใต้อิทธิพลของแหล่งกำเนิดแสงแบบใด
รถคันสีเขียว จอดใต้ไฟสีขาวจะเห็นเป็นสีเขียว จอดใต้ไฟสีแดงก็จะเห็นเป็นอีกสีนึง จอดใต้ไฟสีม่วงก็จะเห็นเป็นอีกสีหนึ่ง สรุปคือเราจะเห็นวัตถุว่าเป็นสีอะไรขึ้นอยู่กับสีดั้งเดิมของตัววัตถุนั้นและสีของแหล่งแสงครับ หรือก็คือสีที่เห็น "เป็นสิ่งสัมพัทธ์" ครับ ขึ้นอยู่กับว่า เราอยู่ภายใต้อิทธิพลของแหล่งกำเนิดแสงแบบใด
แสดงความคิดเห็น
สีเป็นความจริงหรือภาพลวงตาอ่ะครับ??
งงครับ
ขอบคุณล่วงหน้าเลยละกัน เพราะขอบคุณไม่เก่ง -0-
ปล.ที่Tagอวกาศก็เพราะว่าสีที่เรามองเห็นก็มีที่นอกโลกด้วยไง