“ของราคาแพง” เป็นอะไรที่ทุกคนบ่นกันหมด ถ้าใครลองสังเกตดูว่าราคาข้าวของที่เราใช้มีการปรับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยลองไปเปรียบราคาของดูคงจะตกใจกันแน่ๆ เมื่อ 40 ปีที่แล้ว ราคาข้าวจานละ 50 สตางค์ ถึง 1 บาทเท่านั้นเอง ถ้าราคานี้ตอนนี้คงได้เป็นหมูแน่ๆ เพราะกินไม่ยั้ง (ฮ่า) การที่ข้าวของแพงขึ้นแบบนี้เค้าเรียกว่า “เงินเฟ้อ”
แล้วอะไรคือเหตุผลสำคัญที่ทำให้ “ของราคาแพง” ขึ้น หรือว่าเกิดเงินเฟ้อล่ะ ?
เหตุผลหลักๆ น่าจะประกอบไปด้วย 3 สาเหตุ นั่นก็คือ
1. Cost-Push Inflation
หรือที่เราเรียกว่าสภาวะที่ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เมื่อต้นทุนการผลิตสูงขึ้นแน่นอนว่าเจ้าของกิจการก็ต้องมีการขึ้นราคาสินค้ากันบ้าง ลองนึกถึงเราว่าซื้อของมาราคา 10 บาทไปขายต่อราคา 15 บาทได้ แต่ถ้าวันนี้ของที่เราซื้อมาปรับเป็น 12 บาท ถ้าเรายังขาย 15 บาทอยู่ก็แปลว่าเราจะได้กำไรลดลง แบบนั้นก็ส่งผลต่อกิจการของตัวเราเอง ส่วนใหญ่ก็จะปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้นเพื่อรักษากำไรของตัวเองเอาไว้
2. Demand-Pull Inflation
สาเหตุอันนี้จะมาจากที่ “ความต้องการสินค้า (Demand)” เพิ่มสูงขึ้น ลองนึกถึงเวลาที่อยากได้ของสักอย่างนึง แล้วมันเหลืออยู่อันเดียว แล้วถ้าเราอยากได้ สิ่งที่เราทำได้ก็คงขอซื้อในราคาที่สูงขึ้นไปให้กับคนขายเพื่อให้คนขายนั้นอยากขายให้กับเรา แล้วถ้ายิ่งสินค้านั้นมีความต้องการในตลาดมากหรือกำลังการผลิตไม่พอกับความต้องการในการบริโภคก็ทำให้เกิดเงินเฟ้อในสินค้าหนึ่งได้อย่างรวดเร็ว
3. การเสื่อมค่าของเงิน (Currency Depreciation)
อันนี้เป็นสภาวะที่เกิดกับสกุลเงินไหนก็แล้วแต่ เศรษฐกิจประเทศนั้นลำบากแน่ๆ เพราะการเสื่อมค่าของเงินส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นเร็วและแรงอยู่พอสมควร ลองนึกถึงย้อนไปเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ที่ประเทศไทยเจอวิกฤตต้มยำกุ้ง ตอนนั้นชั่วข้ามคืนจากเดิม 25 บาทเท่ากับ 1 ดอลล่าร์ ก็ถูกปรับเป็น 56 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์ นั้นแปลว่าถ้าใครนำเขาสินค้าช่วงนั้นต้องจ่ายแพงขึ้นเป็น 2 เท่าตัว !
เรื่องค่าเงินก็เป็นอีกปัจจัยนึงในปัจจุบันที่มีผลต่อระบบเศรษฐกิจอย่างมาก เพราะการค้าเปิดเสรีมากขึ้นมากกว่าแต่ก่อน แล้วถ้าอยู่ๆเงินในมือเราเกิดเสื่อมค่าลง ต้องใช้ปริมาณมากขึ้นเพื่อไปแลกสินค้ากับประเทศอื่นหรือลดเงินสกุลอื่นก็จะเป็นต้นทุนให้กับกิจการที่สูงขึ้นได้และผลก็ไปตกอยู่กับผู้บริโภคแบบเราเต็มๆนั่นเอง
การที่ข้าวของแพงขึ้นก็เป็นเรื่องที่เราแทบจะควบคุมด้วยตัวเราเองไม่ได้เลย แต่สิ่งที่เราน่าจะควบคุมได้ก็คือตัวเราเอง ดังนั้นถ้าเรารู้ว่าเงินเฟ้อมันจะมาเรื่อยๆทุกปีอยู่แล้ว งั้นเราก็ควรเพิ่มรายได้เราให้แซงเงินเฟ้อหรืออย่างน้อยเราเทียบเท่าเงินเฟ้อเพื่อรักษามาตรฐานการดำเนินชีวิตของเราต่อไปนั่นเอง
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่นี่
https://goo.gl/DMeaUY
ติดตามเรื่องเล่าเข้าใจง่ายๆของ Money Buffalo ได้ที่
Website
http://www.moneybuffalo.in.th หรือ
FB Page :
fb.com/moneybuffalo
LINE :
https://goo.gl/GAQxF8
3 สาเหตุสำคัญที่ทำให้ “ของราคาแพง” ขึ้น
“ของราคาแพง” เป็นอะไรที่ทุกคนบ่นกันหมด ถ้าใครลองสังเกตดูว่าราคาข้าวของที่เราใช้มีการปรับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยลองไปเปรียบราคาของดูคงจะตกใจกันแน่ๆ เมื่อ 40 ปีที่แล้ว ราคาข้าวจานละ 50 สตางค์ ถึง 1 บาทเท่านั้นเอง ถ้าราคานี้ตอนนี้คงได้เป็นหมูแน่ๆ เพราะกินไม่ยั้ง (ฮ่า) การที่ข้าวของแพงขึ้นแบบนี้เค้าเรียกว่า “เงินเฟ้อ”
แล้วอะไรคือเหตุผลสำคัญที่ทำให้ “ของราคาแพง” ขึ้น หรือว่าเกิดเงินเฟ้อล่ะ ?
เหตุผลหลักๆ น่าจะประกอบไปด้วย 3 สาเหตุ นั่นก็คือ
1. Cost-Push Inflation
หรือที่เราเรียกว่าสภาวะที่ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เมื่อต้นทุนการผลิตสูงขึ้นแน่นอนว่าเจ้าของกิจการก็ต้องมีการขึ้นราคาสินค้ากันบ้าง ลองนึกถึงเราว่าซื้อของมาราคา 10 บาทไปขายต่อราคา 15 บาทได้ แต่ถ้าวันนี้ของที่เราซื้อมาปรับเป็น 12 บาท ถ้าเรายังขาย 15 บาทอยู่ก็แปลว่าเราจะได้กำไรลดลง แบบนั้นก็ส่งผลต่อกิจการของตัวเราเอง ส่วนใหญ่ก็จะปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้นเพื่อรักษากำไรของตัวเองเอาไว้
2. Demand-Pull Inflation
สาเหตุอันนี้จะมาจากที่ “ความต้องการสินค้า (Demand)” เพิ่มสูงขึ้น ลองนึกถึงเวลาที่อยากได้ของสักอย่างนึง แล้วมันเหลืออยู่อันเดียว แล้วถ้าเราอยากได้ สิ่งที่เราทำได้ก็คงขอซื้อในราคาที่สูงขึ้นไปให้กับคนขายเพื่อให้คนขายนั้นอยากขายให้กับเรา แล้วถ้ายิ่งสินค้านั้นมีความต้องการในตลาดมากหรือกำลังการผลิตไม่พอกับความต้องการในการบริโภคก็ทำให้เกิดเงินเฟ้อในสินค้าหนึ่งได้อย่างรวดเร็ว
3. การเสื่อมค่าของเงิน (Currency Depreciation)
อันนี้เป็นสภาวะที่เกิดกับสกุลเงินไหนก็แล้วแต่ เศรษฐกิจประเทศนั้นลำบากแน่ๆ เพราะการเสื่อมค่าของเงินส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นเร็วและแรงอยู่พอสมควร ลองนึกถึงย้อนไปเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ที่ประเทศไทยเจอวิกฤตต้มยำกุ้ง ตอนนั้นชั่วข้ามคืนจากเดิม 25 บาทเท่ากับ 1 ดอลล่าร์ ก็ถูกปรับเป็น 56 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์ นั้นแปลว่าถ้าใครนำเขาสินค้าช่วงนั้นต้องจ่ายแพงขึ้นเป็น 2 เท่าตัว !
เรื่องค่าเงินก็เป็นอีกปัจจัยนึงในปัจจุบันที่มีผลต่อระบบเศรษฐกิจอย่างมาก เพราะการค้าเปิดเสรีมากขึ้นมากกว่าแต่ก่อน แล้วถ้าอยู่ๆเงินในมือเราเกิดเสื่อมค่าลง ต้องใช้ปริมาณมากขึ้นเพื่อไปแลกสินค้ากับประเทศอื่นหรือลดเงินสกุลอื่นก็จะเป็นต้นทุนให้กับกิจการที่สูงขึ้นได้และผลก็ไปตกอยู่กับผู้บริโภคแบบเราเต็มๆนั่นเอง
การที่ข้าวของแพงขึ้นก็เป็นเรื่องที่เราแทบจะควบคุมด้วยตัวเราเองไม่ได้เลย แต่สิ่งที่เราน่าจะควบคุมได้ก็คือตัวเราเอง ดังนั้นถ้าเรารู้ว่าเงินเฟ้อมันจะมาเรื่อยๆทุกปีอยู่แล้ว งั้นเราก็ควรเพิ่มรายได้เราให้แซงเงินเฟ้อหรืออย่างน้อยเราเทียบเท่าเงินเฟ้อเพื่อรักษามาตรฐานการดำเนินชีวิตของเราต่อไปนั่นเอง
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่นี่
https://goo.gl/DMeaUY
ติดตามเรื่องเล่าเข้าใจง่ายๆของ Money Buffalo ได้ที่
Website http://www.moneybuffalo.in.th หรือ
FB Page : fb.com/moneybuffalo
LINE : https://goo.gl/GAQxF8