การเดินทางของกาแฟ จากอดีตจนถึงวันนี้

กระทู้สนทนา
ประวัติของกาแฟ



         ต้นกาแฟ ค้นพบครั้งแรกใน เอธิโอเปีย (Ethiopia) เนื่องจากชายเลี้ยงแพะสังเกตุเห็นแพะที่เลี้ยงอยู่มีอาการกระปรี้กระเปร่า เป็นพิเศษ หลังจากได้กินผลสีแดงคล้ายเชอรี่ของต้นไม้ชนิดหนึ่ง ชายเลี้ยงแพะจึงลองเก็บผลชนิดนั้นมาลองกินดูบ้าง ปรากฎว่าเกิดอาการเช่นเดียวกับแพะ ข่าวดังกล่าวแพร่หลายอย่า รวดเร็วจนกระทั่งทราบไปถึงผู้สอนศาสนาที่รู้ถึง ความมหัศจรรย์ของผลสีแดงนี้ พระผู้สอนศาสนาจึงทดลองนำผลเชอรี่ดังกล่าวไปแช่น้ำและดื่มน้ำนั้นดู ทำให้เกิดความรู้สึกกระฉับกระเฉง เหตุนี้จึงเป็นต้นกำเนิดของการดื่มน้ำผลเชอรี่หรือผลกาแฟนั่นเอง ความนิยมของกาแฟเริ่มแพร่กระจายในอาหรับมากขึ้น กระทั่งในปี ค.ศ1534 สุลตานแห่งอิสตันบูล นามว่า ออสโตมัส สั่งประกาศให้ เป็นสิ่งผิดกฏหมาย แต่เหมือนยิ่งห้ามก็เหมือนยิ่งยุหนึ่งปีต่อมากาแฟเป็นที่นิยมมากขึ้นและมีร้านกาแฟเกิดขึ้น เป้นพี่พบปะของเหล่านักคิด นักปราชญ์ศิลปินรวมเหล่านักคิด ศิลปินแต่องค์กรศาสนากับมองว่าร้านกาแฟเป็นที่ซ่องซุมทำให้คนไม่สนใจศาสนา จึงประกาศว่า กาแฟเป็นเครื่องดื่มสีดำมืดของปีศาจซาตาน คนนิยมในกาแฟจึงลดลง กระทั่งยุคของสมเด็จสันปะปาคลีเมนที่ 13ได้ทดลองเครื่องดื่มดังกล่าว และประกาศว่าแท้จริงแล้วกาแฟมิได้เป็นอย่างข้อกล่าวหา กาแฟจึงกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งหนึ่ง

หลังจากนั้นการดื่มกาแฟ เริ่มแพร่หลายไปอย่างกว้างขวาง ต่อมามีการนำผลกาแฟไปเผยแพร่แก่ชาวยุโรป ทำให้เครื่องดื่มชนิดนี้เป็นที่แพร่หลายไปทั่วยุโรปอย่างรวดเร็ว

ในปี ค.ศ. 1700 เริ่มมีการนำต้นกาแฟไปปลูกแถบอเมริกาใต้ ซึ่งกลายเป็นที่นิยมปลูกกันมากในระยะเวลาต่อมา ปัจจุบันพื้นที่แถบอเมริกาใต้ปลูกกาแฟมากกว่า 19 ล้านตัน

ปัจจุบันมีหลายประเทศปลูกกาแฟ

ภูมิประเทศ ที่เหมาะสมสำหรับปลูกกาแฟอยู่บริเวณแนวขนานของเส้นศูนย์สูตร และบริเวณใต้เส้นศูนย์สูตร หรือประเทศเขตร้อน

ปัจจุบันมี 44 ประเทศ ที่เป็นสมาชิกขององค์การผู้ปลูกกาแฟ ได้แก่ Angola , Bolivia , Brazil , Burundi , Cameroon , Central African , Columbia , Congo , Congo Republic of , Costa Rica , Cuba , Dominican , El Salvador , Equatorial Guinea , Gabon , Ghana , Guaatemala , Guinea , Haiti , Honduras , India , Indonesia , Jamaica , Kenya , Madagascar , Malawi , Maxico , Nicaragua , Nigeria , Papua New Guinea , Paraguay , Philippines , Ruanda , Tanzania , Togo , Uganda , Venezuela , Vietnam , Zambia , Zimbabue , Thailand

ประเทศที่ปลูกและให้ผลผลิตกาแฟเป็นอันดับ 1 ได้แก่ บราซิล รองลงมา คือ โคลัมเบีย และอินโดนีเซีย ตามลำดับ

ประเทศไทย มีผลผลิตกาแฟประมาณ 80,000 – 100,000 ตัน / ปี สัดส่วนการบริโภคภายในประเทศประมาณ 30,000 ตัน และอีก 70,000 ตันส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศ โดยมีตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา , แคนาดา , สเปน , เยอรมัน , อิตาลี , เกาหลีใต้ , ญี่ปุ่น ฯลฯ *ปีพ.ศ. 2540 ประเทศไทยสามารถส่งออกกาแฟได้จำนวน 73,286 ตัน ( * ที่มา : กรมการค้าต่างประเทศ ตัวเลขการส่งออกกาแฟตั้งแต่เดือนมกราคม – ตุลาคม 2540 )

ปัจจุบันกาแฟถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำให้เกิดอุตสาหกรรมหลัก และมีการซื้อขาย (Trade) กาแฟในอีกหลากหลายรูปแบบ (Commodity) เป็นอันดับสองรองจากปิโตรเลียม (Petroleum)

สำหรับการเดินทางของกาแฟมายังเมืองไทยนั้น ในปี 2447 โดยนายดีหมุน ผู้นับถือศาสนา อิสลาม และนำเมล็ดกาแฟโรบัสต้า จากเมืองเมกกะวาอุอาระเบีย มาปลูกที่ตำบนโตนด อำเภอสะบ้าย้อยหัวเมือง สงขลา ส่วนสายพันธ์กาแฟอราบิก้า นั้นเข้ามาในปี2549 นำมาปลูกทางตอนเหนือของประเทศไทย

กาแฟมีสายพันธุ์หลักๆ 2 พันธุ์ คือ

          กาแฟพันธุ์อราบิก้า (Arabica) ปลูกที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 3,000 ฟุต ให้ผลผลิตสม่ำเสมอ รสหอมกลมกล่อม ในเมล็ดกาแฟพันธุ์อราบิก้ามีปริมาณคาเฟอีนน้อยกว่าพันธุ์โรบัสต้า ประมาณ 1 เท่า ผลผลิตของกาแฟทั่วโลกเป็นกาแฟพันธุ์อราบิก้า 75%

          กาแฟพันธุ์โรบัสต้า (Robusta) ปลูกในพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่มากนัก ส่วนใหญ่ปลูกในประเทศแถบร้อนชื้น มีรสชาติเข้มข้น หอมฉุนกว่ากาแฟพันธุ์อราบิก้า มีสัดส่วนของผลผลิตกาแฟทั่วโลก 25%

          กาแฟเป็นไม้พุ่มยืนต้น ขนาดปานกลางสูง ประมาณ 3-4 เมตร ใบสีเขียวแตกออกจากข้อเป็นคู่ๆ ดอกออกตามข้อของกิ่งมีสีขาวบริสุทธิ์ กลิ่นหอมต้นกาแฟในประเทศไทยเริ่มออกดอกในเดือนตุลาคม – กุมภาพันธ์ ระยะเวลาตั้งแต่การออกดอกถึงการเก็บเกี่ยวใช้เวลาประมาณ 8-12 เดือน หลังจากปลูกกาแฟได้ 2-3 ปี กาแฟจะเริ่มออกดอกและติดผล ผลของกาแฟเรียกว่า Coffee Cherry มีลักษณะค่อนข้างกลม ขณะที่ผลยังอ่อนมีสีเขียว และเมื่อผลแก่จัดจะมีสีแดง ในแต่ละข้อของกิ่งกาแฟติดผลประมาณ 10-60 ผล แต่ละผลมีเมล็ดกาแฟอยู่ 2 เมล็ดโดยส่วนแบนของเมล็ดประกบติดกัน เมื่อเก็บผลเชอรี่แล้วจึงเข้า สู่ขั้นตอนการลอกเปลือก เพื่อให้ได้เมล็ดกาแฟ ซึ่งมี 2 กรรมวิธี คือ

กรรมวิธีตากแห้ง (Dry Method) เป็นการนำผลเชอรี่มาตากแห้ง ใช้เวลาประมาณ 15 วัน จากนั้นจึงทำการกระเทาะเปลือกออกอีกครั้งหนึ่ง

กรรมวิธีแช่น้ำ (Wet Method) คือ การนำผลเชอรี่แช่ในน้ำ เสร็จแล้วนำเข้าเครื่องกระเทาะเปลือก จากนั้นนำมาตากแห้ง หรือเข้าเครื่องอบ วิธีนี้ใช้เวลาน้อยกว่าวิธีตากแห้ง (Dry Method)

ประวัติความเป็นมาของกาแฟในประเทศไทย

         คำว่า “กาแฟ” ในสมัยรัชกาลที่4 เรียกว่า “ข้าวแฟ” ยังไม่ ได้เปลี่ยนเป็นกาแฟเหมือนในปัจจุบัน ดังปรากฏอยู่ในหนังสือ สัพพะวัจนะภาษาไทย ของปาเลอกัว ฉบับพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2397 นอกจากนี้ยังปรากฏอีกว่าได้มีการปลูกกาแฟขึ้นในเมืองไทยแล้วปลูกแถวๆ จังหวัดสงขลา กล่าวกันว่าเป็นกาแฟรสดีพอใช้และปลูกกันมากทีเดียวมีบันทึกว่าประเทศไทยปลูกกาแฟมาตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว เนื่องจากมีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติ แต่การดื่มนั้นเห็นจะไม่ค่อยนิยม เพราะรสชาติจะขมอาจจะคิดว่าเป็นยาเสียด้วยซ้ำว่า คนไทยจึงไม่ค่อยคุ้นกับกาแฟ เพราะเหตุนี้เข้าใจว่าคนไทยมารู้จักกาแฟกันอย่างแพร่หลายกรุงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในปี พ.ศ.2367 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่3 ได้มีการนำเมล็ดกาแฟมาทดลองปลูกในพระบรมมหาราชวังและแจกจ่ายให้เสนาบดีนำไปปลูกต่อๆ กันด้วยถึงกับพระราชประสงค์ให้ทำาสวนกาแฟขึ้น สวนกาแฟมีว่านี้อยู ่ในบริเวณวัดราชประดิษฐ์ฯการทำสวนกาแฟในสมัยนั้นเป็นเครื่องวัดได้อย่างหนึ่งว่า ในสมัยรัชกาลที่3 เป็นช่วงที่กาแฟแพร่หลายมากที่สุดต่อมาในสมัยรัชกาลที่4 ก็ยังปรากฏว่ามีการทำสวนกาแฟกันอยู ่ และที่มีชื่อกล่าวถึงในจดหมายเหตุของเซอร์จอห์น เบาว์ริง

อัคราชทูตอังกฤษ ซึ่งเข้ามาเจรจาทำาสนธิสัญญากับสยามเมื่อ พ.ศ. 2398 ความว่า เคยตามเสด็จไปเที่ยวสวนกาแฟของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ ปรากฏว่ามีต้นกาแฟมากมาย ในการนี้รัชกาลที่4 โปรดเกล้าฯให้เซอร์จอห์น เบาว์ริง เก็บไปเป็นตัวอย่างถึง 3 กระสอบเพื่อลองเสวย นั้นแสดงว่าการปลูกกาแฟของไทยเคยพยายามทำให้เป็นล่ำเป็นสันกันมาแล้วแต่จะเป็นด้วยคนไทยในสมัยนั้นไม่นิยมดื่มกาแฟ หรือจะเป็นด้วยกาแฟพันธุ์ไม่ดีจึง ไม่ ได้รับความนิยมก็มิอาจทราบได้


                                                       https://sites.google.com/site/newalcohol/prawati-khwam-pen-ma-khxng-kafae-ni-prathesthiy

          มิสโคล ผู ้ก่อตั้งร้าน“Red Cross Tea Room”เรื่องทำาสวนกาแฟเห็นจะหยุดชะงักมานานจนเลิกกิจการไป ไม่มีใครคิดจะปลูกกันอีก แต่สำาหรับการดื่มกาแฟเห็นจะมีแพร่หลายมากขึ้น ร้านกาแฟในกรุงเทพฯเริ่มมีกันมากขึ้นในสมัยไหนไม่พบหลักฐานแต่ปรากฏว่าในปีพ.ศ. 2460 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่1 มิสโคลชาวอเมริกันได้ตั้งร้านขายกาแฟชื่อ “Red Cross TeaRoom” อยู ่แถวถนนสี่กั๊กพระยาศรี โดยขายทุกวันพฤหัสบดี หน้าร้านปักธงกาชาดปรากฏว่าว่ามีเจ้านายและข้าราชการตลอดจนชาวต่างประเทศพากันมาอุดหนุน ผลกำไรที่ได้จากการขายกาแฟมิสโคลได้ส่งไปบำรุงกาชาดของสัมพันธมิตรจึงเป็นที่เข้าใจว่าร้านกาแฟคงเริ่มมีมากขึ้นในสมัยรัชกาลที่6 และที่7 นี่เอง


https://sites.google.com/site/newalcohol/prawati-khwam-pen-ma-khxng-kafae-ni-prathesthiy

          ในประเทศไทยมีการปลูกกาแฟอาราบิก้าเมื่อปี พ.ศ. 2393 โดยครั้งแรกไปปลูกไว้ที่จังหวัดจันทบุรี ซึ่งต่อมามีชื่อเรียกกันว่า “กาแฟจันทรบูร”ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 กรมกสิกรรม(กรมวิชาการเกษตรในปัจจุบัน) ได้สั่งเมล็ดกาแฟอาราบิก้าจำานวน 4 พันธุ์ คือ มุนดูนูวู(Mundo Novo) เบอร์บ อ ง (Bourbon)แ ค ทู ร่ า (Catura) แ ล ะ ทิปปิก้า(Typica) จากประเทศบราซิล มาปลูกทดลองที่สถานีทดลองพืชไร่แม่โจ้ สถานีทดลองพืชสวนฝางจังหวัดเชียงใหม่ และสถานีทดลองพืชสวนดอยมูเซอ จังหวัดตาก แต่ต้นกาแฟส่วนใหญ่ไม่สามารถต้านทานต่อโรคราสนิทได้ จึงโทรมและตายต่อมาในปี พ.ศ. 2518 โครงการหลวงพัฒนาชาวเขาได้มีโครงการทำการวิจัยกาแฟอาราบิก้าเพื่อทดแทนการปลูกฝิ่นของชาวไทยภูเขาในภาคเหนือ โดยทาง โครงการหลวงได้สั่งพันธุ์กาแฟอาราบิก้าลูกผสมที่ได้รับการปรับปรุงให้สามารถทนทานต่อโรคราสนิทได้ โดยได้รับความร่วมมือจากกองโรคพืชและชีววิทยากับสถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร ดำาเนินการคัดเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่บนที่สูงทางภาคเหนือของประเทศไทย ประกอบกับมีการจัดตั้งโครงการปลูกพืชทดแทนและพัฒนาเศรษฐกิจของชาวไทยภูเขา เป็นโครงการร่วมระหว่างไทยและสหประชาชาติเพื่อทดแทนการปลูกฝิ่น ซึ่งการปลูกกาแฟอาราบิก้าเป็นพืชความหวังใหม่ ในขณะนั้น ระยะเวลาโครงการรวม 10 ปี โดยมีผู ้เชี่ยวชาญจากสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ให้คำปรึกษาและแนะนำพันธุ์กาแฟอาราบิก้าที่จะนำามาปลูกในไทย หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2526 กรมวิชาการเกษตรได้ส่งนักวิชาการไปประชุมเรื่องโรคราสนิมและ ได้นำพันธุ ์กาแฟใหม่ๆเข้ามาทดลองปลูกที่สถานีทดลองเกษตรหลวงขุนวาง และศูนย์วิจัยและส่งเสริมกาแฟอาราบิก้า บ้านแม่หลอด อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และในปี พ.ศ.2529-2532 ได้มีการจัดตั้งโครงการส่งเสริมการปลูกกาแฟอาราบิก้าภาคเหนือ ซึ่งกรมวิชาการเกษตร โดยสถาบันวิจัยพืชสวนได้ผลิตต้นกล้ากาแฟอาราบิก้าจำนวน 2,000,000 ต้น เพื่อแจกจ่ายให้แก่เกษตรกรในจังหวัดต่างๆในภาคเหนือ

กาแฟขี้ช้าง

     

                                                                          http://webm06.blogspot.com/2015/09/45000-2545-15-10-8.html

      กาแฟที่แพงที่สุดในโลกหลายๆคนมักจะนึกถึงกาแฟขี้ชะมดจากประเทศอินโดนีเซีย…ให้ลืมไปได้ เพราะประเทศไทยได้เปิดตัว "กาแฟ ขี้ช้าง" โดยใช้ชื่อว่า แบล็ค ไอวอรี่ คอฟฟี่ (Black Ivory Coffee) ถือเป็นหนึ่งในสุดยอดกาแฟที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมีราคาแพงที่สุดในโลก กาแฟขี้ช้าง เป็นผลผลิตที่ได้จากเมล็ดกาแฟที่ช้างกินเข้าไป แล้วขับถ่ายออกมา ซึ่งเอนไซม์ในกระบวนการย่อยอาหาร จะทำให้โปรตีนในเมล็ดกาแฟ ทำให้เกิดรสขม แตกตัวกลายเป็นโมเลกุลขนาดเล็ก ความขมจึงลดลง

ขั้นตอนในการทำกาแฟขี้ช้างจะเริ่มจากการคัดเลือกเมล็ดกาแฟไทยอาราบิก้า แล้วนำมาให้ช้างกินเมื่อช้างขับถ่ายออกมา ควาญช้างก็จะนำไปตากแห้ง ทั้งนี้ ต้องรอให้ช้างกินผลกาแฟโดยสมัครใจกาแฟขี้ช้างมี มูลค่าสูงถึง 1,100 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อหนึ่งกิโลกรัม ซึ่งแพงกว่ากาแฟขี้ชะมดราคากิโลกรัมละประมาณ 600 ดอลลาร์สหรัฐฯ ใครที่สนใจ อยากสัมผัสกับรสชาติของกาแฟ สามารถไปลองกันได้ในแก้วละ 1,200 บาท

การคั่วกาแฟ

       กาแฟคั่วการคั่วกาแฟเป็นวิธีและขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการดึงคุณสมบัติต่างของกาแฟ ออกมาไม่ว่าจะเป็นความหอม ความกลมกล่อมของรสชาติเข้ม กลมกล่อม ต่างๆ ออกมา ปกติการคั่วกาแฟจะใช้ความร้อนที่ 180 – 240 องศาเซลเซียส ใช้ระยะเวลาประมาณ 10 -20 นาที อุณหภูมิและระยะเวลาที่ใช้จะมีผลต่อความหอมและรสชาติกาแฟ เป็นอย่างยิ่ง ระดับความเข้มอ่อนของการคั่ว สามารถแบ่งออกเป็นระดับได้มากกว่า 12 ระดับ และกลิ่นหอม แต่จะขออธิบายง่ายๆเป็น 3 กลุ่มเพื่อความเข้าใจในเบื้องต้น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่