บ้านก็อยากได้ รถก็อยากขับ แล้วเอาอะไรก่อนดี
การจะซื้อ บ้าน หรือ รถยนต์ หากแนะนำกันทั่วไปก็จะบอกกันว่าซื้อบ้านก่อนสิ แต่จริงๆ แล้วมันถูกต้องรึยัง หากลองคิดกันไปลึกๆ แล้ว ก็ต้องบอกว่าไม่ถูกต้องทั้งหมด เพราะบ้านกับรถยนต์ก็มีวัตถุประสงค์ที่ไม่เหมือนกัน แต่ดันเป็นหนี้ที่มีมูลค่าสูง และใช้ระยะเวลาผ่อนนาน นี่ยังไม่นับเรื่องค่าบำรุงรักษาอีกนะ ตามมาอีกเพียบ เรียกได้ว่าวางแผนไม่ดีมีกินแกลบแน่นอน
แล้วจะใช้อะไรตัดสินล่ะว่าควรจะซื้ออะไรดี? ก่อนจะคิดขอแนะนำให้รวบรวมลมปราณ เอ้ยรวบรวมก่อนว่าเราจะซื้อมันเพราะมีความจำเป็นอย่างไร ลองเขียนลงในกระดาษถึงข้อดีข้อเสียของบ้านหรือรถยนต์ เช่น บ้านปัจจุบันเราพักอาศัยกับพ่อแม่ แต่ต้องเดินทางไกล รอรถเมล์ก็นาน แถมเจอ 3 ต่อ แต่ละรอบใช้ระยะเวลา 2-3 ชม.ต่อวัน โดยเฉพาะสาวๆถ้าต้องกลับบ้านดึกก็ยิ่งน่ากังวลเรื่องความปลอดภัย หากมีความจำเป็นดังนี้ รถยนต์ก็อาจจะเป็นตัวเลือกแรกในการตัดสินใจ หรือคนที่เดินทางมาทำงานในกรุงเทพฯ และคิดว่าจะอยู่ยาว การที่ต้องจ่ายค่าที่พักให้กับผู้ให้เช่าเทียบกับการที่เราผ่อนคอนโดฯ หรือบ้านเอง ก็น่าจะเป็นตัวเลือกที่ควรซื้อ อีกทั้งบ้านยังเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ในอนาคตหากต้องการขายหรือปล่อยเช่าก็สามารถทำได้
หากเพื่อนๆ คิดถึงความจำเป็นของแต่ละคนได้แล้ว (ความจำเป็นนะ) สิ่งสำคัญที่ต้องคิดตามมาเลยคือ แล้วเราจะผ่อนไหวไหม การขอสินเชื่อจากธนาคารหรือสถาบันการเงิน ภาระหนี้ต่อเดือนไม่ควรเกิน 40-60% ของรายได้ แต่ทั้งนี้ K-Expert แนะนำว่า ภาระผ่อนหนี้ต่อเดือนไม่ควรเกิน 30% ของรายได้ เพราะหากเราต้องเอารายได้ไปผ่อนเยอะ อาจกระทบกับการเงินเราในอนาคตได้ เพราะอย่าลืมการซื้อแล้วไม่ใช่ว่าจบ เพราะจะมีทั้งค่าบำรุงรักษา ภาษี และอื่นๆ ตามมาอีกเพียบ
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ หากรายได้ต่อเดือนอยู่ที่ 30,000 บาท โดยเลือกว่าจะซื้อคอนโด ต้องผ่อนหนี้แต่ละเดือนไม่เกิน 30% เท่ากับว่าสามารถผ่อนได้เท่ากับ 30% x 30,000 = 9,000 บาท (คิดเป็นวงเงินสินเชื่อที่ขอได้ประมาณ 1.0-1.2 ล้านบาท) เมื่อรวมค่าใช้จ่ายหลักๆ อย่างค่าส่วนกลางเดือนละ 1,000 บาท ค่าน้ำไฟอีก 1,000 บาท รวมแล้วเดือนๆ หนึ่งก็ตกประมาณ 11,000 บาท คิดเป็นสัดส่วนก็เกือบๆ 40% ของรายได้ต่อเดือนแล้วครับ
แต่อย่าพึ่งเบาใจ โดยส่วนใหญ่การขอสินเชื่อบ้านหรือรถจากธนาคารหรือสถาบันการเงิน จะกำหนดวงเงินกู้สูงสุดไว้ เช่น บ้านสามารถกู้ได้สูงสุด 80-95% ของราคาบ้าน หรือรถสามารถกู้ได้สูงสุด 75-85% ของราคารถ หรือพูดให้ง่ายๆ คือให้ไม่หมด ที่เหลือต้องหาเงินมาดาวน์เอง จุดนี้ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญ เพราะหากเราต้องการซื้อบ้านในราคา 2 ล้านบาท ธนาคารให้กู้เพียง 1 ล้าน 6 แสนบาท เราก็ต้องมีเงินดาวน์ 4 แสนบาท อย่าลืมคิดเรื่องนี้กันด้วยนะครับ
เพื่อนๆ ที่อ่านมาถึงตรงนี้คิดว่า ตัวเองเหมาะที่จะซื้อบ้าน หรือ รถยนต์ก่อนดี เผื่อเป็นไอเดียสำหรับเพื่อนๆ ที่ยังไม่กล้าตัดสินใจไว้ใช้เป็นแนวทางครับ
บ้าน กับ รถยนต์ ซื้ออะไรก่อนดี?
การจะซื้อ บ้าน หรือ รถยนต์ หากแนะนำกันทั่วไปก็จะบอกกันว่าซื้อบ้านก่อนสิ แต่จริงๆ แล้วมันถูกต้องรึยัง หากลองคิดกันไปลึกๆ แล้ว ก็ต้องบอกว่าไม่ถูกต้องทั้งหมด เพราะบ้านกับรถยนต์ก็มีวัตถุประสงค์ที่ไม่เหมือนกัน แต่ดันเป็นหนี้ที่มีมูลค่าสูง และใช้ระยะเวลาผ่อนนาน นี่ยังไม่นับเรื่องค่าบำรุงรักษาอีกนะ ตามมาอีกเพียบ เรียกได้ว่าวางแผนไม่ดีมีกินแกลบแน่นอน
แล้วจะใช้อะไรตัดสินล่ะว่าควรจะซื้ออะไรดี? ก่อนจะคิดขอแนะนำให้รวบรวมลมปราณ เอ้ยรวบรวมก่อนว่าเราจะซื้อมันเพราะมีความจำเป็นอย่างไร ลองเขียนลงในกระดาษถึงข้อดีข้อเสียของบ้านหรือรถยนต์ เช่น บ้านปัจจุบันเราพักอาศัยกับพ่อแม่ แต่ต้องเดินทางไกล รอรถเมล์ก็นาน แถมเจอ 3 ต่อ แต่ละรอบใช้ระยะเวลา 2-3 ชม.ต่อวัน โดยเฉพาะสาวๆถ้าต้องกลับบ้านดึกก็ยิ่งน่ากังวลเรื่องความปลอดภัย หากมีความจำเป็นดังนี้ รถยนต์ก็อาจจะเป็นตัวเลือกแรกในการตัดสินใจ หรือคนที่เดินทางมาทำงานในกรุงเทพฯ และคิดว่าจะอยู่ยาว การที่ต้องจ่ายค่าที่พักให้กับผู้ให้เช่าเทียบกับการที่เราผ่อนคอนโดฯ หรือบ้านเอง ก็น่าจะเป็นตัวเลือกที่ควรซื้อ อีกทั้งบ้านยังเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ในอนาคตหากต้องการขายหรือปล่อยเช่าก็สามารถทำได้
หากเพื่อนๆ คิดถึงความจำเป็นของแต่ละคนได้แล้ว (ความจำเป็นนะ) สิ่งสำคัญที่ต้องคิดตามมาเลยคือ แล้วเราจะผ่อนไหวไหม การขอสินเชื่อจากธนาคารหรือสถาบันการเงิน ภาระหนี้ต่อเดือนไม่ควรเกิน 40-60% ของรายได้ แต่ทั้งนี้ K-Expert แนะนำว่า ภาระผ่อนหนี้ต่อเดือนไม่ควรเกิน 30% ของรายได้ เพราะหากเราต้องเอารายได้ไปผ่อนเยอะ อาจกระทบกับการเงินเราในอนาคตได้ เพราะอย่าลืมการซื้อแล้วไม่ใช่ว่าจบ เพราะจะมีทั้งค่าบำรุงรักษา ภาษี และอื่นๆ ตามมาอีกเพียบ
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ หากรายได้ต่อเดือนอยู่ที่ 30,000 บาท โดยเลือกว่าจะซื้อคอนโด ต้องผ่อนหนี้แต่ละเดือนไม่เกิน 30% เท่ากับว่าสามารถผ่อนได้เท่ากับ 30% x 30,000 = 9,000 บาท (คิดเป็นวงเงินสินเชื่อที่ขอได้ประมาณ 1.0-1.2 ล้านบาท) เมื่อรวมค่าใช้จ่ายหลักๆ อย่างค่าส่วนกลางเดือนละ 1,000 บาท ค่าน้ำไฟอีก 1,000 บาท รวมแล้วเดือนๆ หนึ่งก็ตกประมาณ 11,000 บาท คิดเป็นสัดส่วนก็เกือบๆ 40% ของรายได้ต่อเดือนแล้วครับ
แต่อย่าพึ่งเบาใจ โดยส่วนใหญ่การขอสินเชื่อบ้านหรือรถจากธนาคารหรือสถาบันการเงิน จะกำหนดวงเงินกู้สูงสุดไว้ เช่น บ้านสามารถกู้ได้สูงสุด 80-95% ของราคาบ้าน หรือรถสามารถกู้ได้สูงสุด 75-85% ของราคารถ หรือพูดให้ง่ายๆ คือให้ไม่หมด ที่เหลือต้องหาเงินมาดาวน์เอง จุดนี้ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญ เพราะหากเราต้องการซื้อบ้านในราคา 2 ล้านบาท ธนาคารให้กู้เพียง 1 ล้าน 6 แสนบาท เราก็ต้องมีเงินดาวน์ 4 แสนบาท อย่าลืมคิดเรื่องนี้กันด้วยนะครับ
เพื่อนๆ ที่อ่านมาถึงตรงนี้คิดว่า ตัวเองเหมาะที่จะซื้อบ้าน หรือ รถยนต์ก่อนดี เผื่อเป็นไอเดียสำหรับเพื่อนๆ ที่ยังไม่กล้าตัดสินใจไว้ใช้เป็นแนวทางครับ