หุ้นโรงไฟฟ้ากำลังติดลมบน แต่หุ้นไฟฟ้าก็จะมีศัพท์แสงเฉพาะของเขา
วันนี้เลยรวบรวมคำศัพท์ที่จำเป็นต่อการเข้าใจเวลาฟังหรืออ่านบทวิเคราะห์หุ้นไฟฟ้า
ต่อจากนี้ไปไฟฟ้าจะทวีความสำคัญและใช้เป็นพลังงานหลักหลายๆส่วน
นอกจากใช้ในบ้านและอุตสาหกรรมแล้ว ยังลามมาถึงรถยนต์ไฟฟ้าที่กำลังเป็นกระแส
บางคนบอกภายใน 10 ปีข้างหน้ารถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มส่วนแบ่งตลาดมากขึ้น
ตอนนี้ก็เริ่มมีรถยนต์ไฟฟ้า100%แล้ว เช่น ยี่ห้อเทสล่า นิสสันลีฟ
มิตซูบิชิไอมีฟ ทาง ปตท และบางจาก ก็เตรียมศึกษาในการสร้างปั๊ม
ชาร์ทไฟสำหรับรถยนต์ไฟฟ้ากันแล้ว อนาคตหุ้นไฟฟ้ามาแน่นอน
......
เราได้ใช้วิชาฟิสิกส์ที่เรียนมาในการศึกษาหุ้นไฟฟ้าก็ตอนนี้แหละครับ ซึ่งเป็นวิชาแรกและวิชาเดียวที่ผมติด F สมัยมัธยม555
ไฟฟ้ามี2ระบบ
>>>ไฟกระแสตรง เช่น แบตเตอรี ถ่านไฟฉาย ก็จะมีแรงดันประมาณ
1-12 โวลท์ หรือมากกว่าเล็กน้อย
>>>ไฟกระแสสลับก็ไฟฟ้าในบ้านครับแปลงลงจากสายส่งที่มีแรงดันมากกว่าหมื่นโวลท์ลงหม้อแปลง เพื่อใช้ในบ้านมีแรงดัน 220 โวลท์
การคิดเงินค่าไฟฟ้าคิดจากกำลังไฟ กิโลวัตต์/ชั่วโมง (1,000 วัตต์/ชั่วโมง)หรือเรียกง่ายๆว่า หน่วย หรือ ยูนิท เช่น เราเปิดสปอร์ทไลท์ ขนาด1,000 วัตต์ ไว้ 1 ชม ก็จะกินไฟ1หน่วย ค่าไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัย จะคิดเป็นอัตราก้าวหน้า พอสรุปได้คร่าวๆดังนี้
ใช้ไฟน้อยไม่เกิน 150 หน่วย/เดือน จะคิดค่าไฟ 2.27บาท/หน่วย
เกิน 400หน่วย/เดือน จะคิดค่าไฟ 2.97 บาท/หน่วย
>>>> การคิดค่าไฟฟ้า=ค่าไฟฟ้า+ค่า FT+vat7%
หน่วยวัดกำลังผลิต/การคิดเงินค่าไฟฟ้า
>>วัตต์ คือ หน่วยวัดพลังงานไฟฟ้า
กำลังไฟ 1 วัตต์เป็นหน่วยเอสไอของกำลังตั้งชื่อตาม เจมส์ วัตต์
>>1 วัตต์ มีค่าเท่ากับ 1 จูล ของ พลังงาน ต่อ วินาที
หรือเทียบง่ายๆ 1 วัตต์ เท่ากับพลังงานที่ใช้ในการยกแอปเปิลหนึ่งลูกหนัก
102 กรัม สูงหนึ่งเมตร ตามแรงดึงดูดของโลก
>> Kilo Watt กิโลวัตต์ : หน่วยวัดกำลังไฟฟ้า 1 Kilo = 1,000 วัตต์
>>Megawatt(MW)เมกะวัตต์:หน่วยวัดกำลังไฟฟ้าที่ใช้กันมากที่สุด
เพื่อให้ทราบกำลังที่ส่งออก (Power output) ของแหล่งผลิตไฟฟ้า
1 MW = 1,000,000 วัตต์
>>Giga Watt (GW)กิกะวัตต์ : หน่วยวัดกำลังผลิตไฟฟ้ารวมของบริษัท
1 กิกะวัตต์ = 1,000 MW หรือ1,000,000,000 วัตต์
โฆษณาขายยาคั่นรายการ: แหล่งท่องเที่ยว อ.แจ้ห่ม ลำปาง
ดอยฟ้างาม บ้านสาแพะ ต.บ้านสา อ.แจ้ห่ม บ้านปมเอง
ขอบคุณ:ภาพจากอินเตอร์เนต
>>>ผู้จัดจำหน่ายไฟฟ้าหลักของบ้านเราเป็นรัฐวิสาหกิจ 2 แห่ง คือ
1.การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ตัวย่อ MEA(Metropolitan Electricity Authority)
2.การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)ตัวย่อPEA (Provincial Electricity Authority )
ที่รับไฟมาขายต่ออีกทีโดยเป็นเจ้าของเครือข่ายระบบจัดจำหน่ายแบบ
ผูกขาดสมบูรณ์แบบ
>>>ผู้ผลิตไฟฟ้าคือการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ) EGAT (Electricity Generating Authority of Thailand)
เป็นทั้งผู้ผลิตและเป็นโบรคเกอร์รับไฟจากโรงไฟฟ้าเอกชนและซื้อไฟจากประเทศเพื่อนบ้านมาขายต่อ
>>>แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย 20 ปี
( พ.ศ. 2558 – 2579) ซื่อย่อคือ แผน PDP
เมื่อถึงปี 2579 สัดส่วนการใช้ไฟฟ้าจะเป็นดังนี
1.ซื้อไฟฟ้าพลังน้ำจากต่างประเทศ 15 – 20%
2.ถ่านหินเทคโนโลยีสะอาด 20 – 25%
3.พลังงานหมุนเวียน (รวมพลังน้ำ) 15 – 20%
4.ก๊าซธรรมชาติ 30 – 40%
5.นิวเคลียร์ 0 – 5%
>>>กําลังผลิตไฟฟ้า ณ สิ้นเดือน ธันวาคม 2557 กําลังผลิตไฟฟ้ารวมของประเทศไทย เท่ากับ 37,612 เมกะวัตต์
แยกได้เป็นกําลังผลิตไฟฟ้าจาก
โรงไฟฟ้าประเภท Firm (ในระบบ กฟผ.) จํานวน 34,668 เมกะวัตต์
รับซื้อไฟฟ้าจาก SPP Non-firm จํานวน 915 เมกะวัตต์
รับซื้อไฟฟ้าจาก VSPP จํานวน 2,029 เมกะวัตต์ โดยมี
รายละเอียดดังนี้
>>>แบ่งตามประเภทโรงไฟฟ้า
- พลังความร้อนร่วม 21,145 เมกะวัตต์ ร้อยละ 56.2
- พลังความร้อน 7,538 เมกะวัตต์ ร้อยละ 20.0
- พลังงานหมุนเวียน 8,476 เมกะวัตต์ ร้อยละ 22.5
- กังหันแก๊ส เครื่องยนต์ดีเซล 153 เมกะวัตต์ ร้อยละ 0.5
- สายส่งเชื่อมโยงไทย-มาเลเซีย 300 เมกะวัตต์ ร้อยละ 0.8
รวม 37,612 เมกะวัตต์
>>>แบ่งตามผู้ผลิตไฟฟ้า
- กฟผ. 15,482 เมกะวัตต์ ร้อยละ 41.2
- เอกชนรายใหญ่ (IPP) 13,167 เมกะวัตต์ ร้อยละ 35.0
- เอกชนรายเล็ก (SPP) 4,530 เมกะวัตต์ ร้อยละ 12.0
- เอกชนรายเล็กมาก (VSPP) 2,029 เมกะวัตต์ ร้อยละ 5.4
- ซื้อไฟฟ้าต่างประเทศ 2,404 เมกะวัตต์ ร้อยละ 6.4
รวม 37,612 เมกะวัตต์
>>>แผน PDP ผลิตไฟฟ้าเพิ่มในช่วงปี 2558 - 2579
- กําลังผลิตไฟฟ้า ณ ธันวาคม 2557 = 37,612 เมกะวัตต์
- กําลังผลิตไฟฟ้าใหม่ ในช่วงปี 2558 - 2579 =57,459 เมกะวัตต์
- กําลังผลิตที่ปลดออกจากระบบ ในช่วงปี 2558-2579 = 24,736 เมกะวัตต์
- รวมกําลังผลิตไฟฟ้า ณ สิ้นปี 2579 = 70,335 เมกะวัตต์
กําลังผลิตไฟฟ้าใหม่ในช่วงปี 2558-2579แยกตามประเภทโรงไฟฟ้า ดังนี้
1.โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 21,648 เมกะวัตต์
- ในประเทศ 12,105 เมกะวัตต์
- ซื้อไฟฟ้าต่างประเทศ 9,543 เมกะวัตต์
2.โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ 2,101 เมกะวัตต์
3.โรงไฟฟ้าโคเจนเนอเรชั่น 4,119 เมกะวัตต์
4. โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม 17,478 เมกะวัตต์
5. โรงไฟฟ้าพลังความร้อน 12,113 เมกะวัตต์
- โรงไฟฟ้าถ่านหิน/ลิกไนต์ 7,390 เมกะวัตต์
- โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 2,000 เมกะวัตต์
- โรงไฟฟ้ากังหันแก๊ส 1,250 เมกะวัตต์
- ซื้อไฟฟ้าต่างประเทศ 1,473 เมกะวัตต์
รวม 57,459 เมกะวัตต์
>>>แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก(AEDP)จนถึงปี2579
อันนี้สำคัญสำหรับหุ้นพลังงานทดแทนทั้งหลายที่บริษัทที่ทำกิจการอื่นไม่รุ่ง
ก็จะมาทำพลังงานทดแทนทำบ้างไม่ทำบ้าง ขายฝันไปวันๆ
แผนทั้งหมดมีดังนี้รวม 19,634 เมกะวัตต์ คิดเป็น 34% ของกำลังไฟฟ้าใหม่
ประกอบด้วย
แสงอาทิตย์ 6,000 mw = 30%
พลังลม 3,002mw = 15%
พลังน้ำ3,282mw = 17%
ไฟฟ้าจากขยะ500mw = 3%
ชีวมวล 5,570 mw = 28%
ก๊าซชีวภาพ 1,280mw = 7%
ข้อมูล:จากกระทรวงพลังงาน
>>>> การคิดค่าไฟฟ้าครัวเรือน=ค่าไฟฟ้า+ค่า FT+vat7%<<<
ค่า FT อีก มันคืออะไร มาเริ่มศัพท์มนุษย์ไฟฟ้ากันเลยครับ
1.ค่า FT ย่อมาจาก Float time คือค่าใช้จ่ายที่แปรผันในการผลิตไฟฟ้า
คิดแบบลอยตัวตามค่าเชื้อเพลิง/ค่าซื้อไฟฟ้า/อัตราแลกเปลี่ยน/งบอุดหนุนไฟฟ้า
ปรับทุกๆ4เดือน (ปัจจุบันค่า FT = 0.159บาท/หน่วย)
2.COD คือ วันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ ย่อมาจาก
(Commercial Operation Date)
SCOD หมายถึงกําหนดวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ
เชิงพาณิชย์ตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (Scheduled Commercial Operation Date)
3. Feed-in Tariff หรือ FIT หมายถึง อัตราการรับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจาก
การผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทน ตามนโยบายของรัฐบาล
ที่จะประกาศเป็นคราว ๆ ไป
4.Adder คือส่วนเพิ่มที่จ่ายให้ผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานทดแทน
โดยจะจ่ายเพิ่มจากค่าไฟฐาน เช่น ค่าไฟฐาน 2.50 บาท/หน่วย
+Adder 0.30 บาท/หน่วย ค่าไฟที่ได้ =2.80 บาท/หน่วย
5.ผู้ผลิตไฟฟ้าแบ่งเป็น
5.1 การไฟฟ้าฝ่ายผลิต EGAT(กฟผ.)มีกำลังผลิตเอง4,800Mw
+ซื้อจากผู้ผลิตเอกชน+ซื้อจากต่างประเทศ
5.2 ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนแบ่งตามขนาดการผลิตดังนี้
>>>VSPP คือ ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (Very Small Power Producer)
มีกำลังผลิตรวม 2,300 MW โดยมีปริมาณพลังไฟฟ้าขายเข้าระบบไม่เกิน
1-10 MW ส่วนมากเป็นพลังงานทดแทน โซล่าฟาร์ม พลังลม โรงไฟฟ้าชีวมวล
ในช่วงปี 2558 – 2579กําหนดให้มีการรับซื้อไฟฟ้าจาก VSPP (ตามแผน AEDP) กําลังผลิตไฟฟ้ารวม 9,735.6 เมกะวัตต์
(1) พลังงานหมุนเวียน รวมกําลังผลิตไฟฟ้า 9,701 เมกะวัตต
(2) ระบบการผลิตพลังงานความร้อนและไฟฟ้าร่วม (Cogeneration) รวมกําลังผลิตไฟฟ้า 34.6 เมกะวัตต
>>> SPP คือ (Small Power Producer) ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กโครงการผลิตไฟฟ้าโดยใช้ระบบการผลิตพลังงาน
ความร้อน และไฟฟ้าร่วมกัน (Cogeneration) มีกำลังผลิต 3,500 MW โดยใช้พลังงานนอกรูปแบบ กากหรือเศษวัสดุเหลือใช้เป็นเชื้อเพลิง โครงการ SPP แต่ละโครงการ จะจำหน่ายไฟฟ้าให้ กฟผ. ไม่เกิน 90 เมกะวัตต์ เป้ากำลังผลิตเพิ่มปี 2558- 2568 จากจำนวน97ราย
รวม 5,922 mw
>>> IPP คือ (Independent Power Producer) ผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระรายใหญ่ ตามแผนปี 2558-2568
จะมีกำลังผลิตเพิ่ม 8,070 MW จาก 7 โครงการ สเป็นของกัฟล์ 6 โครงการ ดังนั้นถ้าหุ้นไฟฟ้าGULF ที่จะ IPO ก็น่าสนใจครับ
6.Solar Rooftop
หมายถึงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์โดยเทคโนโลยีแผง
PhotovoltaicPanelที่ติดตั้งบนหลังคาดาดฟ้าหรือส่วนหนึ่งส่วนใดบนอาคาร
7.ชนิดของโรงไฟฟ้า
>>>โรงไฟฟ้าระบบ Cogeneration
คือโรงไฟฟ้าการผลิตพลังงาน 2 รูปแบบได้แก่พลังงานไฟฟ้า และพลังงานความร้อน,ไอน้ำ,อากาศร้อนจากแหล่งเชื้อเพลิงชนิดเดียว Cogeneration ประกอบด้วย Gas Turbine, Generator และ Heat Recovery เมื่อก๊าซธรรมชาติ ผ่านการจุดระเบิดให้เกิดแรงดันอากาศร้อนไปขับตัว Turbine การหมุนของ Turbine จะส่งไปยัง Generator เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ก๊าซฯ ที่ปล่อยออกมามีอุณหภูมิประมาณ 370 -550สามารถนำไปให้ความร้อนโดยตรงเช่นใช้กับเตาเผาหรือเครื่องอบแห้งและนำความร้อนไปใช้กับของเหลวเช่นการทำน้ำร้อนและผลิตไอน้ำเพื่อทำความร้อนหรือความเย็น ซึ่งเป็นที่นิยมที่สุด ระบบ Cogeneration นี้นับว่าเพิ่มประสิทธิภาพ โดยมีประสิทธิภาพสูงถึง 90%และลดต้นทุนในการผลิต
>>>โรงไฟฟ้าชนิด Combined Cycle Power Plant
โรงไฟฟ้าพลังความร้อนมีหลักการทำงานโดยนำเอาเทคโนโลยีของโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซและโรงไฟฟ้าพลังไอน้ำมาใช้งานเป็นระบบร่วมกันคือนำไอเสีย
จากโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซไปผ่านหม้อน้ำและถ่ายเทความร้อนให้กับน้ำ จนเดือดกลายเป็นไอเพื่อขับกังหันไอน้ำสำหรับผลิตไฟฟ้าต่อไป โดยทั่วไปโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมมีประสิทธิภาพ 40-45%
>>>Geothermal power
ไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ การใช้ไอน้ำที่ร้อนยวดยิ่ง (Superheated steam) จากใต้ดินขับเคลื่อนกังหันเพื่อให้เกิดกระแสไฟฟ้า
>>>Hydroelectric Power(HEP)
ไฟฟ้าพลังน้ำคือกระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากน้ำในเขื่อนหมุนกังหันผลิตไฟ
>>>Steam Power Plantโรงไฟฟ้าพลังไอน้ำ
>>>Wind Power ไฟฟ้าพลังลม การแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากลมกังหันจะจับพลังงานของลมไว้ด้วยใบพัดที่
กำลังหมุนและเปลี่ยนไปเป็นกระแสไฟฟ้า
>>>Wind farm เรียกกังหันลมที่อยู่กันเป็นกลุ่ม
>>>Solar Power
ไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์กระแสไฟฟ้าที่เกิดจากการเปลี่ยนพลังงาน
จากดวงอาทิตย์ ซึ่งตามปกติจะใช้แผง Solar Panel
>>>Solar farm ใช้เรียกที่ผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
8. Two Part Tariff คือโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า ที่ กฟผ กำหนด แบ่งเป็นสองส่วน =ส่วนที่หนึ่งกำหนดจากต้นทุนในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าของเอกชน
และค่าความพร้อมจ่าย(AvailabilityPayment)หรือมันคือค่าใช้จ่ายคงที่
ของโรงไฟฟ้า+ค่าเชื้อเพลิงและค่าใช้จ่ายผันแปรอื่นๆ ที่เกิดจากการผลิตไฟฟ้า เพื่อจำหน่ายเข้าระบบของ กฟผ
9.Energy Payment ค่าพลังงานไฟฟ้า
10.Alternative Energy Development Plan: AEDP
คือ แผนพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก
มีต่อครับ
คู่มือหุ้นสำหรับมือใหม่: รู้ก่อนลุย หุ้นไฟฟ้าและพลังงานทดแทน
วันนี้เลยรวบรวมคำศัพท์ที่จำเป็นต่อการเข้าใจเวลาฟังหรืออ่านบทวิเคราะห์หุ้นไฟฟ้า
ต่อจากนี้ไปไฟฟ้าจะทวีความสำคัญและใช้เป็นพลังงานหลักหลายๆส่วน
นอกจากใช้ในบ้านและอุตสาหกรรมแล้ว ยังลามมาถึงรถยนต์ไฟฟ้าที่กำลังเป็นกระแส
บางคนบอกภายใน 10 ปีข้างหน้ารถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มส่วนแบ่งตลาดมากขึ้น
ตอนนี้ก็เริ่มมีรถยนต์ไฟฟ้า100%แล้ว เช่น ยี่ห้อเทสล่า นิสสันลีฟ
มิตซูบิชิไอมีฟ ทาง ปตท และบางจาก ก็เตรียมศึกษาในการสร้างปั๊ม
ชาร์ทไฟสำหรับรถยนต์ไฟฟ้ากันแล้ว อนาคตหุ้นไฟฟ้ามาแน่นอน
......
เราได้ใช้วิชาฟิสิกส์ที่เรียนมาในการศึกษาหุ้นไฟฟ้าก็ตอนนี้แหละครับ ซึ่งเป็นวิชาแรกและวิชาเดียวที่ผมติด F สมัยมัธยม555
ไฟฟ้ามี2ระบบ
>>>ไฟกระแสตรง เช่น แบตเตอรี ถ่านไฟฉาย ก็จะมีแรงดันประมาณ
1-12 โวลท์ หรือมากกว่าเล็กน้อย
>>>ไฟกระแสสลับก็ไฟฟ้าในบ้านครับแปลงลงจากสายส่งที่มีแรงดันมากกว่าหมื่นโวลท์ลงหม้อแปลง เพื่อใช้ในบ้านมีแรงดัน 220 โวลท์
การคิดเงินค่าไฟฟ้าคิดจากกำลังไฟ กิโลวัตต์/ชั่วโมง (1,000 วัตต์/ชั่วโมง)หรือเรียกง่ายๆว่า หน่วย หรือ ยูนิท เช่น เราเปิดสปอร์ทไลท์ ขนาด1,000 วัตต์ ไว้ 1 ชม ก็จะกินไฟ1หน่วย ค่าไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัย จะคิดเป็นอัตราก้าวหน้า พอสรุปได้คร่าวๆดังนี้
ใช้ไฟน้อยไม่เกิน 150 หน่วย/เดือน จะคิดค่าไฟ 2.27บาท/หน่วย
เกิน 400หน่วย/เดือน จะคิดค่าไฟ 2.97 บาท/หน่วย
>>>> การคิดค่าไฟฟ้า=ค่าไฟฟ้า+ค่า FT+vat7%
หน่วยวัดกำลังผลิต/การคิดเงินค่าไฟฟ้า
>>วัตต์ คือ หน่วยวัดพลังงานไฟฟ้า
กำลังไฟ 1 วัตต์เป็นหน่วยเอสไอของกำลังตั้งชื่อตาม เจมส์ วัตต์
>>1 วัตต์ มีค่าเท่ากับ 1 จูล ของ พลังงาน ต่อ วินาที
หรือเทียบง่ายๆ 1 วัตต์ เท่ากับพลังงานที่ใช้ในการยกแอปเปิลหนึ่งลูกหนัก
102 กรัม สูงหนึ่งเมตร ตามแรงดึงดูดของโลก
>> Kilo Watt กิโลวัตต์ : หน่วยวัดกำลังไฟฟ้า 1 Kilo = 1,000 วัตต์
>>Megawatt(MW)เมกะวัตต์:หน่วยวัดกำลังไฟฟ้าที่ใช้กันมากที่สุด
เพื่อให้ทราบกำลังที่ส่งออก (Power output) ของแหล่งผลิตไฟฟ้า
1 MW = 1,000,000 วัตต์
>>Giga Watt (GW)กิกะวัตต์ : หน่วยวัดกำลังผลิตไฟฟ้ารวมของบริษัท
1 กิกะวัตต์ = 1,000 MW หรือ1,000,000,000 วัตต์
โฆษณาขายยาคั่นรายการ: แหล่งท่องเที่ยว อ.แจ้ห่ม ลำปาง
ดอยฟ้างาม บ้านสาแพะ ต.บ้านสา อ.แจ้ห่ม บ้านปมเอง
ขอบคุณ:ภาพจากอินเตอร์เนต
>>>ผู้จัดจำหน่ายไฟฟ้าหลักของบ้านเราเป็นรัฐวิสาหกิจ 2 แห่ง คือ
1.การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ตัวย่อ MEA(Metropolitan Electricity Authority)
2.การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)ตัวย่อPEA (Provincial Electricity Authority )
ที่รับไฟมาขายต่ออีกทีโดยเป็นเจ้าของเครือข่ายระบบจัดจำหน่ายแบบ
ผูกขาดสมบูรณ์แบบ
>>>ผู้ผลิตไฟฟ้าคือการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ) EGAT (Electricity Generating Authority of Thailand)
เป็นทั้งผู้ผลิตและเป็นโบรคเกอร์รับไฟจากโรงไฟฟ้าเอกชนและซื้อไฟจากประเทศเพื่อนบ้านมาขายต่อ
>>>แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย 20 ปี
( พ.ศ. 2558 – 2579) ซื่อย่อคือ แผน PDP
เมื่อถึงปี 2579 สัดส่วนการใช้ไฟฟ้าจะเป็นดังนี
1.ซื้อไฟฟ้าพลังน้ำจากต่างประเทศ 15 – 20%
2.ถ่านหินเทคโนโลยีสะอาด 20 – 25%
3.พลังงานหมุนเวียน (รวมพลังน้ำ) 15 – 20%
4.ก๊าซธรรมชาติ 30 – 40%
5.นิวเคลียร์ 0 – 5%
>>>กําลังผลิตไฟฟ้า ณ สิ้นเดือน ธันวาคม 2557 กําลังผลิตไฟฟ้ารวมของประเทศไทย เท่ากับ 37,612 เมกะวัตต์
แยกได้เป็นกําลังผลิตไฟฟ้าจาก
โรงไฟฟ้าประเภท Firm (ในระบบ กฟผ.) จํานวน 34,668 เมกะวัตต์
รับซื้อไฟฟ้าจาก SPP Non-firm จํานวน 915 เมกะวัตต์
รับซื้อไฟฟ้าจาก VSPP จํานวน 2,029 เมกะวัตต์ โดยมี
รายละเอียดดังนี้
>>>แบ่งตามประเภทโรงไฟฟ้า
- พลังความร้อนร่วม 21,145 เมกะวัตต์ ร้อยละ 56.2
- พลังความร้อน 7,538 เมกะวัตต์ ร้อยละ 20.0
- พลังงานหมุนเวียน 8,476 เมกะวัตต์ ร้อยละ 22.5
- กังหันแก๊ส เครื่องยนต์ดีเซล 153 เมกะวัตต์ ร้อยละ 0.5
- สายส่งเชื่อมโยงไทย-มาเลเซีย 300 เมกะวัตต์ ร้อยละ 0.8
รวม 37,612 เมกะวัตต์
>>>แบ่งตามผู้ผลิตไฟฟ้า
- กฟผ. 15,482 เมกะวัตต์ ร้อยละ 41.2
- เอกชนรายใหญ่ (IPP) 13,167 เมกะวัตต์ ร้อยละ 35.0
- เอกชนรายเล็ก (SPP) 4,530 เมกะวัตต์ ร้อยละ 12.0
- เอกชนรายเล็กมาก (VSPP) 2,029 เมกะวัตต์ ร้อยละ 5.4
- ซื้อไฟฟ้าต่างประเทศ 2,404 เมกะวัตต์ ร้อยละ 6.4
รวม 37,612 เมกะวัตต์
>>>แผน PDP ผลิตไฟฟ้าเพิ่มในช่วงปี 2558 - 2579
- กําลังผลิตไฟฟ้า ณ ธันวาคม 2557 = 37,612 เมกะวัตต์
- กําลังผลิตไฟฟ้าใหม่ ในช่วงปี 2558 - 2579 =57,459 เมกะวัตต์
- กําลังผลิตที่ปลดออกจากระบบ ในช่วงปี 2558-2579 = 24,736 เมกะวัตต์
- รวมกําลังผลิตไฟฟ้า ณ สิ้นปี 2579 = 70,335 เมกะวัตต์
กําลังผลิตไฟฟ้าใหม่ในช่วงปี 2558-2579แยกตามประเภทโรงไฟฟ้า ดังนี้
1.โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 21,648 เมกะวัตต์
- ในประเทศ 12,105 เมกะวัตต์
- ซื้อไฟฟ้าต่างประเทศ 9,543 เมกะวัตต์
2.โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ 2,101 เมกะวัตต์
3.โรงไฟฟ้าโคเจนเนอเรชั่น 4,119 เมกะวัตต์
4. โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม 17,478 เมกะวัตต์
5. โรงไฟฟ้าพลังความร้อน 12,113 เมกะวัตต์
- โรงไฟฟ้าถ่านหิน/ลิกไนต์ 7,390 เมกะวัตต์
- โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 2,000 เมกะวัตต์
- โรงไฟฟ้ากังหันแก๊ส 1,250 เมกะวัตต์
- ซื้อไฟฟ้าต่างประเทศ 1,473 เมกะวัตต์
รวม 57,459 เมกะวัตต์
>>>แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก(AEDP)จนถึงปี2579
อันนี้สำคัญสำหรับหุ้นพลังงานทดแทนทั้งหลายที่บริษัทที่ทำกิจการอื่นไม่รุ่ง
ก็จะมาทำพลังงานทดแทนทำบ้างไม่ทำบ้าง ขายฝันไปวันๆ
แผนทั้งหมดมีดังนี้รวม 19,634 เมกะวัตต์ คิดเป็น 34% ของกำลังไฟฟ้าใหม่
ประกอบด้วย
แสงอาทิตย์ 6,000 mw = 30%
พลังลม 3,002mw = 15%
พลังน้ำ3,282mw = 17%
ไฟฟ้าจากขยะ500mw = 3%
ชีวมวล 5,570 mw = 28%
ก๊าซชีวภาพ 1,280mw = 7%
ข้อมูล:จากกระทรวงพลังงาน
>>>> การคิดค่าไฟฟ้าครัวเรือน=ค่าไฟฟ้า+ค่า FT+vat7%<<<
ค่า FT อีก มันคืออะไร มาเริ่มศัพท์มนุษย์ไฟฟ้ากันเลยครับ
1.ค่า FT ย่อมาจาก Float time คือค่าใช้จ่ายที่แปรผันในการผลิตไฟฟ้า
คิดแบบลอยตัวตามค่าเชื้อเพลิง/ค่าซื้อไฟฟ้า/อัตราแลกเปลี่ยน/งบอุดหนุนไฟฟ้า
ปรับทุกๆ4เดือน (ปัจจุบันค่า FT = 0.159บาท/หน่วย)
2.COD คือ วันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ ย่อมาจาก
(Commercial Operation Date)
SCOD หมายถึงกําหนดวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ
เชิงพาณิชย์ตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (Scheduled Commercial Operation Date)
3. Feed-in Tariff หรือ FIT หมายถึง อัตราการรับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจาก
การผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทน ตามนโยบายของรัฐบาล
ที่จะประกาศเป็นคราว ๆ ไป
4.Adder คือส่วนเพิ่มที่จ่ายให้ผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานทดแทน
โดยจะจ่ายเพิ่มจากค่าไฟฐาน เช่น ค่าไฟฐาน 2.50 บาท/หน่วย
+Adder 0.30 บาท/หน่วย ค่าไฟที่ได้ =2.80 บาท/หน่วย
5.ผู้ผลิตไฟฟ้าแบ่งเป็น
5.1 การไฟฟ้าฝ่ายผลิต EGAT(กฟผ.)มีกำลังผลิตเอง4,800Mw
+ซื้อจากผู้ผลิตเอกชน+ซื้อจากต่างประเทศ
5.2 ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนแบ่งตามขนาดการผลิตดังนี้
>>>VSPP คือ ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (Very Small Power Producer)
มีกำลังผลิตรวม 2,300 MW โดยมีปริมาณพลังไฟฟ้าขายเข้าระบบไม่เกิน
1-10 MW ส่วนมากเป็นพลังงานทดแทน โซล่าฟาร์ม พลังลม โรงไฟฟ้าชีวมวล
ในช่วงปี 2558 – 2579กําหนดให้มีการรับซื้อไฟฟ้าจาก VSPP (ตามแผน AEDP) กําลังผลิตไฟฟ้ารวม 9,735.6 เมกะวัตต์
(1) พลังงานหมุนเวียน รวมกําลังผลิตไฟฟ้า 9,701 เมกะวัตต
(2) ระบบการผลิตพลังงานความร้อนและไฟฟ้าร่วม (Cogeneration) รวมกําลังผลิตไฟฟ้า 34.6 เมกะวัตต
>>> SPP คือ (Small Power Producer) ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กโครงการผลิตไฟฟ้าโดยใช้ระบบการผลิตพลังงาน
ความร้อน และไฟฟ้าร่วมกัน (Cogeneration) มีกำลังผลิต 3,500 MW โดยใช้พลังงานนอกรูปแบบ กากหรือเศษวัสดุเหลือใช้เป็นเชื้อเพลิง โครงการ SPP แต่ละโครงการ จะจำหน่ายไฟฟ้าให้ กฟผ. ไม่เกิน 90 เมกะวัตต์ เป้ากำลังผลิตเพิ่มปี 2558- 2568 จากจำนวน97ราย
รวม 5,922 mw
>>> IPP คือ (Independent Power Producer) ผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระรายใหญ่ ตามแผนปี 2558-2568
จะมีกำลังผลิตเพิ่ม 8,070 MW จาก 7 โครงการ สเป็นของกัฟล์ 6 โครงการ ดังนั้นถ้าหุ้นไฟฟ้าGULF ที่จะ IPO ก็น่าสนใจครับ
6.Solar Rooftop
หมายถึงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์โดยเทคโนโลยีแผง
PhotovoltaicPanelที่ติดตั้งบนหลังคาดาดฟ้าหรือส่วนหนึ่งส่วนใดบนอาคาร
7.ชนิดของโรงไฟฟ้า
>>>โรงไฟฟ้าระบบ Cogeneration
คือโรงไฟฟ้าการผลิตพลังงาน 2 รูปแบบได้แก่พลังงานไฟฟ้า และพลังงานความร้อน,ไอน้ำ,อากาศร้อนจากแหล่งเชื้อเพลิงชนิดเดียว Cogeneration ประกอบด้วย Gas Turbine, Generator และ Heat Recovery เมื่อก๊าซธรรมชาติ ผ่านการจุดระเบิดให้เกิดแรงดันอากาศร้อนไปขับตัว Turbine การหมุนของ Turbine จะส่งไปยัง Generator เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ก๊าซฯ ที่ปล่อยออกมามีอุณหภูมิประมาณ 370 -550สามารถนำไปให้ความร้อนโดยตรงเช่นใช้กับเตาเผาหรือเครื่องอบแห้งและนำความร้อนไปใช้กับของเหลวเช่นการทำน้ำร้อนและผลิตไอน้ำเพื่อทำความร้อนหรือความเย็น ซึ่งเป็นที่นิยมที่สุด ระบบ Cogeneration นี้นับว่าเพิ่มประสิทธิภาพ โดยมีประสิทธิภาพสูงถึง 90%และลดต้นทุนในการผลิต
>>>โรงไฟฟ้าชนิด Combined Cycle Power Plant
โรงไฟฟ้าพลังความร้อนมีหลักการทำงานโดยนำเอาเทคโนโลยีของโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซและโรงไฟฟ้าพลังไอน้ำมาใช้งานเป็นระบบร่วมกันคือนำไอเสีย
จากโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซไปผ่านหม้อน้ำและถ่ายเทความร้อนให้กับน้ำ จนเดือดกลายเป็นไอเพื่อขับกังหันไอน้ำสำหรับผลิตไฟฟ้าต่อไป โดยทั่วไปโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมมีประสิทธิภาพ 40-45%
>>>Geothermal power
ไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ การใช้ไอน้ำที่ร้อนยวดยิ่ง (Superheated steam) จากใต้ดินขับเคลื่อนกังหันเพื่อให้เกิดกระแสไฟฟ้า
>>>Hydroelectric Power(HEP)
ไฟฟ้าพลังน้ำคือกระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากน้ำในเขื่อนหมุนกังหันผลิตไฟ
>>>Steam Power Plantโรงไฟฟ้าพลังไอน้ำ
>>>Wind Power ไฟฟ้าพลังลม การแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากลมกังหันจะจับพลังงานของลมไว้ด้วยใบพัดที่
กำลังหมุนและเปลี่ยนไปเป็นกระแสไฟฟ้า
>>>Wind farm เรียกกังหันลมที่อยู่กันเป็นกลุ่ม
>>>Solar Power
ไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์กระแสไฟฟ้าที่เกิดจากการเปลี่ยนพลังงาน
จากดวงอาทิตย์ ซึ่งตามปกติจะใช้แผง Solar Panel
>>>Solar farm ใช้เรียกที่ผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
8. Two Part Tariff คือโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า ที่ กฟผ กำหนด แบ่งเป็นสองส่วน =ส่วนที่หนึ่งกำหนดจากต้นทุนในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าของเอกชน
และค่าความพร้อมจ่าย(AvailabilityPayment)หรือมันคือค่าใช้จ่ายคงที่
ของโรงไฟฟ้า+ค่าเชื้อเพลิงและค่าใช้จ่ายผันแปรอื่นๆ ที่เกิดจากการผลิตไฟฟ้า เพื่อจำหน่ายเข้าระบบของ กฟผ
9.Energy Payment ค่าพลังงานไฟฟ้า
10.Alternative Energy Development Plan: AEDP
คือ แผนพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก
มีต่อครับ