หน้าแรก
คอมมูนิตี้
ห้อง
แท็ก
คลับ
ห้อง
แก้ไขปักหมุด
ดูทั้งหมด
เกิดข้อผิดพลาดบางอย่าง
ลองใหม่
แท็ก
แก้ไขปักหมุด
ดูเพิ่มเติม
เกิดข้อผิดพลาดบางอย่าง
ลองใหม่
{room_name}
{name}
{description}
กิจกรรม
แลกพอยต์
อื่นๆ
ตั้งกระทู้
เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก
เว็บไซต์ในเครือ
Bloggang
Pantown
PantipMarket
Maggang
ติดตามพันทิป
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้
เกี่ยวกับเรา
กฎ กติกา และมารยาท
คำแนะนำการโพสต์แสดงความเห็น
นโยบายเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล
สิทธิ์การใช้งานของสมาชิก
ติดต่อทีมงาน Pantip
ติดต่อลงโฆษณา
ร่วมงานกับ Pantip
Download App Pantip
Pantip Certified Developer
เลนส์เก่า เล่าใหม่ #7 Pentacon 135mm 2 8 ข้าวหลามเยอรมันสายพันธ์ Meyer
กระทู้สนทนา
เลนส์มือหมุน
เลนส์กล้อง
สวัสดีครับ จริงๆแล้วตั้งใจจะเขียนเรื่องนี้ในวันจันทร์ที่ 4 แต่ดูภาระกิจกระทันหันได้มาคอยผมก่อนแล้ว ว่างแค่วันนี้ก็เลยเอาซะหน่อยกลัวจะหาเวลาว่างมาเขียนไม่ได้ภายในอาทิตย์นี้ วันนี้ผมจะมาพูดถึงเลนส์มือหมุนเยอรมันตัวนึง ซึ่งฝรั่งให้ฉายาว่า Bokeh Monster นั่นก็คือ Pentacon 135mm 2.8 M42 ผมอยากจะขอพูดถึงประวัติของเลนส์ตัวนี้สักนิดหน่อยพอเป็นน้ำจิ้ม จะได้รู้ที่มาที่ไปของเลนส์ตัวนี้ ซึ่งถ้าหากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ
[ข้อมูลส่วนใหญ่ได้จากค้นหาและเรียบเรียงใหม่โดยผมเอง โดยจะมีลิ้งค์ข้อมูลอ้างอิง หากผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ ขออนุญาตคัดลอกโดยไม่ได้บอกกล่าวกับเจ้าของบทความนะครับ]
Pentacon เป็นชื่อที่ถูกให้กำเนิดโดย Zeiss Ikon ในเมือง Dresden เมืองนี้ตั้งอยู่ที่เยอรมันตะวันตก เป็นเมืองที่มีอุตสาหกรรมการผลิตกล้องเลนส์ในเชิงพาณิชย์ มีหลากหลายโรงงาน เมืองนี้นี่เองเป็นที่ที่ Pentaprism ถูกพัฒนาครั้งในแรก [*Pentaprism จะมีลักษณะแก้วใสๆก้อน เป็นชิ้นส่วนที่สำคัญส่วนหนึ่งในการทำงานของช่องมองภาพในกล้อง]
การก่อตั้ง Pentacon นั้นเกิดจากการรวมตัวของหลายๆบริษัทในเมือง Dresden นี้ให้เป็นกลุ่มเดียว และตั้งชื่อว่า VEB Pentacon และหนึ่งในบริษัทที่ถูกรวบเข้าด้วยกันนั้นคือ Meyer Optik และผลิตเลนส์ออกมาในนาม Pentacon เลนส์หลายตัวของ Pentacon ถูกพัฒนามาจาก Meyer Optik ฉะนั้นไม่แปลกเลยที่หลายคนจะมองว่าเป็นเลนส์เครือญาติกันนั่นเอง [บางรุ่นฟ้อนวงแหวนปรับรูรับแสงถอดออกมาจาก Meyer Optik เป๊ะๆเลย] Pentacon ยังผลิตอุปกรณ์กล้องอย่างอื่นด้วยไม่ใช่แค่กล้องและเลนส์เท่านั้น เช่นเครื่องโปรเจคเตอร์
Pentacon มีชื่อเสียงในด้านการผลิตเลนส์ให้กับกล้องฟิลม์ SLR ในรุ่น Praktica-series และกล้องฟิลม์ Medium Format นามว่า Pentacon Six และ ปัจจุบัน Pentacon ได้กลายเป็นส่วนนึงของ Schneider Kreuznach ไปแล้ว
กลับมาเข้าเรื่องของเราคือ Pentacon 135mm 2.8 อย่างที่ผมได้อธิบายไว้ข้างต้นว่า เลนส์ Pentacon นั้นก็คือเอาเลนส์ Meyer Optik มาพัฒนาต่อ ซึ่งเลนส์ Meyer นั้นก็มีเลนส์ระยะเดียวกันนี้เช่นกัน มาลองดูรูปเลนส์ Meyer ต้นแบบของเลนส์ตัวนี้กันครับ
[แนะนำให้ดมยาดมก่อนชมสักหน่อย เพราะม้าลายกำลังมา อาจจะตาลายสักนิดนึง ^_^]
ซึ่ง Pentacon ตัวโฉมแรกออกมาหน้าตาเหมือนกับ Meyer ตัวต้นฉบับเป๊ะ ไม่ว่าจะ Body หรือ Optic Design
เปรียบเทียบ
ลองดูใบโบรชัวร์กันครับ ผมเห็นครั้งแรกตกใจมาก เพราะอ่านไม่ออกอีกเช่นเคยภาษาเยอรมัน
เลนส์ Pentacon ระยะ 135mm 2.8 นั้นจริงๆแล้วมีหลายโฉมมากๆครับ มี 3 Mount คือ
- M42 [ที่กระทู้นี้พูดถึงคือเม้าท์นี้]
- Exakta
- Praktica B-System
เท่าที่พอจะแบ่งเป็นเวอร์ชั่นได้ ก็จะเป็นสองเวอร์ชั่นใหญ่ ดังนี้ครับ
ตัวแรกก่อน Version 1 เป็นบอดี้ม้าลายเหมือนกับ Meyer Optik 135mm 2.8 เป๊ะ
จากนั้นก็เป็น Version แรก ที่มีหลายโฉมมาก
รายละเอียดของ Version 1 คือ
- Single Coat เคลือบโค้ดเลนส์ชั้นเดียว
- มีใบเบลด 15 ใบ
- รูรับแสงปรับที่ด้านบน และมีรูรับแสงแคบสุดที่ F32
- มี Hood ในตัว
- มีระยะเข้าใกล้แบบ [Close Focus] อยู่ที่ 150Cm ถือว่าใกล้กว่าตัว Version 2
หลังจากนั้นก็มาเป็น Version 2 สังเกตุที่ตรงปรับค่ารูรับแสงจะเหมือน Meyer Optik เลย
รายละเอียดของ Version 2 คือ
- มีใบเบลดรูรับแสง หกใบ เมื่อหรี่รฃค่ารูรับแสงแคบ ในเบลดจะเป็น หกเหลี่ยมเหมือน Meyer Optik
- มีค่ารูรับแสงแคบสุดอยู่ที่ F22 และปรับค่ารูรับแสงด้านล่างของเลนส์ สังเกตุตฟ้อนเหมือนยก Meyer มาใส่เลย
- เคลือบเลนส์แบบ Multicoat ซึ่งพัฒนาต่อยอดมาจาก Version 1 นั่นเอง
- ระยะเข้าใกล้แบบ [Close Focus] อยู่ที่ 170Cm
มาดูเลนส์ตัวนี้ที่ผมนำมาพูดถึงกันครับ Pentacon 135mm 2.8 M42 Version 1 โฉมตัวหนังสือเขียว
G.D.R เยอรมันตะวันออก
ระยะเข้าใกล้แบบมากที่สุดคือ 5ฟุต หรือ 1.5 เมตร
Mount แบบ M42
Hood อยู่ด้านบนสามารถหมุนถอดได้เลย
ลักษณะเมื่อถอดและใส่
รูรับแสงแคบสุดอยู่ที่ F32
เลนส์ตัวนี้ใบเบลดเคยผ่านการซ่อมมาจากเจ้าของเก่า ซึ่งเมื่อหรี่มันจะไม่กลมเหมือนใบเบลดต้นฉบับสักเท่าไหร่ แต่ผมถ่ายโบเก้จากค่ารูรับแสงกว้างสุด ฉะนั้นผลจะไม่แตกต่างกันเท่าไหร่ ใบเบลดจะมีน้ำมันหล่อลื่นเป็นเรื่องปกติของเลนส์ตัวนี้
มาลองดูโบเก้กันก่อน
ย้อนแสงมี Flare มากพอสมควร
มาดูภาพตัวอย่างที่ได้จากเลนส์ตัวนี้กันครับ ภาพไม่ได้แต่งนะครับหลังกล้องมาย่อใส่ลายน้ำเท่านั้น *ผมถ่ายด้วยกล้อง Olympus OMD EM1 และ Panasonic GX7 ซึ่งเป็นเซนเซอร์ m4/3 ภาพจากเลนส์ตัวเดียวกันนี้หากถ่ายด้วยกล้องที่เซนเซอร์ต่างขนาดกันไปเช่น APSC หรือ FullFrame อาจจะได้ลักษณะโบเก้ที่ไม่เหมือนกันซะทีเดียวครับ เรียกว่าต่างเซนเซอร์โบเก้ไม่เหมือนกัน แต่โทนของภาพจะเคียงกันครับ*
มาลองดูภาพบุคคลบ้าง
ยก Snap ไปเรื่อยล่ะครับ
ข้อความกำลังจะเต็มขอไปต่อที่ความเห็นที่ 1 นะครับ
*แก้ไขเว้นวรรค แก้ไขชื่อกระทู้ไม่ได้ จุดหายแก้ไม่ได้ตรง 2.8 ขออภัยด้วยนะครับ T_T*
แก้ไขข้อความเมื่อ
▼
กำลังโหลดข้อมูล...
▼
แสดงความคิดเห็น
กระทู้ที่คุณอาจสนใจ
## เลนส์มือหมุนระยะ 135 f2.8 ตัวไหนคม สีสด
ช่ ว ย แ น ะ นำ เลนส์มือหมุนระยะ 135 f 2.8 ตัวไหนคม สีสด ไม่หนักมากถ้ามีภาพประกอบด้วย จะขอบคุณมากๆเลยค่ะงบ ไม่เกือน 4,000 บาท Pentacon 135 f2.8 /
แสงตะวันที่ขอบฟ้า
เลนส์มือหมุน pantacon กับ pentax
ระหว่างเลนส์ Pentacon 135/2.8 กับ เลนส์ Pentax Super-Takumar 135mm F3.5 M42 อันไหน คมกว่ากันครับ แล้วถ้า Pentax Super-Takumar 135mm F3.5 M42 กับ SMC 200mm 4.0 Asahi Pentax Takumar Tele Lens M42 ความคม
สุรนาท
เลนส์เก่า เล่าใหม่ #1 Meyer Optik Gorlitz Oreston 50mm 1.8 M42 Zebra
สวัสดีครับ เพิ่งผ่านพ้นวันไหว้ตรุษจีนไปเมื่อวาน วันนี้วันเที่ยวไม่ได้ไปไหน มาโพสกระทู้แบ่งปันความรู้กันดีกว่า วันนี้ผมจะมาพูดถึงเลนส์มือหมุนตัวนึง นั่นก็คือ Meyer Optik Gorlitz Oreston 50mm 1.8 m42 Z
takkub
SMC Takumar 135/3.5 & Meyer optik Trioplan 100/2.8
จังหวะดี เลนส์งอกมาไล่เลี่ยกัน 2 ตัว SMC Takumar 135/3.5 กับ Meyer optik Trioplan 100/2.8 เลยได้โอกาสเอามาลองซักกะหน่อย เริ่มด้วย Meyer optik Trioplan 100/2.8 ตัวนี้ เบลดไม่มี เอฟกว้างสุด ที่ 2.8 ตลอด
kopcamp
Canon 550d ใช้เลนส์Canon 18-135mm STM ได้ไหมครับ
ผมใช้กล้องCanon 550d ถ้าผมซื้อเลนส์Canon 18-135mm STM ต้องใช้adapterเเปลงไหมครับหรืออย่างไงเเนะนำทีครับ
สมาชิกหมายเลข 8063001
ภาพถ่ายด้วยเลนส์มือหมุน ณ หมู่บ้านร่องกล้าซากุระเมืองไทย
สมาชิกหมายเลข 2879985
เปิดแฟลชแล้วภาพออกโทนแดง
หวัดดีครับ ตามหัวข้อกระทู้เลยครับ คือผมใช้กล้อง Olympus OMD EM10 M2 เลนส์ M.Zuiko ED 12-40 mm f/2.8 Pro ถ่ายภาพแสงปกติได้สวยมาก แต่ถ้าถ่ายภาพด้วยการเปิดแฟลชหัวกล้อง ภาพที่ได้จะออกโทนแดงตลอด จะแก้ไขหรื
เดือนยี่ ปีระกา
มีใครเคยใช้ EF70-200 f4 IS ตัวแรกบ้างครับ
พอดีผมกำลังตัดสินใจซื้ออยู่ครับ ใช้คู่กับ RP อยากทราบรีวิว+ดูภาพจากเลนส์ที่พี่ๆใช้อยู่ครับ ปล. - ผมคิดว่าไม่ไป 2.8 I,II เพราะมันหนักมากเลยครับ ไม่น่าถือไหว + งบจำกัด - ใช้ถ่ายงานของมหาลัย ส่วนมากเป็น
สมาชิกหมายเลข 4008198
เลนส์มือหมุนระยะ 135
สอบถามครับพอดีสนใจเลนส์มือหมุนระยะ 135 ครับ สนใจอยู่ 2 เลนส์ครับแต่มีงบได้แค่เลนส์เดียว 1.pentacon 135mm f2.8 15 blades 2.komura 135mm f2.8 ไม่เคยใช้ระยะนี้ครับใครพอจะแนะนำได้ไหมครับหากจะเลือก เลนส์ต
สมาชิกหมายเลข 1626960
กล้อง SONY α7C II + เลนส์ Sony FE 16-25mm f/2.8 G ในงบ 100K+/- นิดหน่อย เน้นวิว+คน แบบนี้ดีรึเปล่าครับ
กำลังดูกล้องสักตัว พยายามหาข้อมูลในงบที่พอไหว เน้นถ่ายวิวกับคน ไปเที่ยวทั่วไปกล้อง+เลนส์ ตามหัวข้อ พอได้มั๊ยครับ
KINKIMONO
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ
เลนส์มือหมุน
เลนส์กล้อง
บนสุด
ล่างสุด
อ่านเฉพาะข้อความเจ้าของกระทู้
หน้า:
หน้า
จาก
แชร์ : 34
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
ยอมรับ
เลนส์เก่า เล่าใหม่ #7 Pentacon 135mm 2 8 ข้าวหลามเยอรมันสายพันธ์ Meyer
[ข้อมูลส่วนใหญ่ได้จากค้นหาและเรียบเรียงใหม่โดยผมเอง โดยจะมีลิ้งค์ข้อมูลอ้างอิง หากผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ ขออนุญาตคัดลอกโดยไม่ได้บอกกล่าวกับเจ้าของบทความนะครับ]
Pentacon เป็นชื่อที่ถูกให้กำเนิดโดย Zeiss Ikon ในเมือง Dresden เมืองนี้ตั้งอยู่ที่เยอรมันตะวันตก เป็นเมืองที่มีอุตสาหกรรมการผลิตกล้องเลนส์ในเชิงพาณิชย์ มีหลากหลายโรงงาน เมืองนี้นี่เองเป็นที่ที่ Pentaprism ถูกพัฒนาครั้งในแรก [*Pentaprism จะมีลักษณะแก้วใสๆก้อน เป็นชิ้นส่วนที่สำคัญส่วนหนึ่งในการทำงานของช่องมองภาพในกล้อง]
การก่อตั้ง Pentacon นั้นเกิดจากการรวมตัวของหลายๆบริษัทในเมือง Dresden นี้ให้เป็นกลุ่มเดียว และตั้งชื่อว่า VEB Pentacon และหนึ่งในบริษัทที่ถูกรวบเข้าด้วยกันนั้นคือ Meyer Optik และผลิตเลนส์ออกมาในนาม Pentacon เลนส์หลายตัวของ Pentacon ถูกพัฒนามาจาก Meyer Optik ฉะนั้นไม่แปลกเลยที่หลายคนจะมองว่าเป็นเลนส์เครือญาติกันนั่นเอง [บางรุ่นฟ้อนวงแหวนปรับรูรับแสงถอดออกมาจาก Meyer Optik เป๊ะๆเลย] Pentacon ยังผลิตอุปกรณ์กล้องอย่างอื่นด้วยไม่ใช่แค่กล้องและเลนส์เท่านั้น เช่นเครื่องโปรเจคเตอร์
Pentacon มีชื่อเสียงในด้านการผลิตเลนส์ให้กับกล้องฟิลม์ SLR ในรุ่น Praktica-series และกล้องฟิลม์ Medium Format นามว่า Pentacon Six และ ปัจจุบัน Pentacon ได้กลายเป็นส่วนนึงของ Schneider Kreuznach ไปแล้ว
กลับมาเข้าเรื่องของเราคือ Pentacon 135mm 2.8 อย่างที่ผมได้อธิบายไว้ข้างต้นว่า เลนส์ Pentacon นั้นก็คือเอาเลนส์ Meyer Optik มาพัฒนาต่อ ซึ่งเลนส์ Meyer นั้นก็มีเลนส์ระยะเดียวกันนี้เช่นกัน มาลองดูรูปเลนส์ Meyer ต้นแบบของเลนส์ตัวนี้กันครับ
[แนะนำให้ดมยาดมก่อนชมสักหน่อย เพราะม้าลายกำลังมา อาจจะตาลายสักนิดนึง ^_^]
ซึ่ง Pentacon ตัวโฉมแรกออกมาหน้าตาเหมือนกับ Meyer ตัวต้นฉบับเป๊ะ ไม่ว่าจะ Body หรือ Optic Design
เปรียบเทียบ
ลองดูใบโบรชัวร์กันครับ ผมเห็นครั้งแรกตกใจมาก เพราะอ่านไม่ออกอีกเช่นเคยภาษาเยอรมัน
เลนส์ Pentacon ระยะ 135mm 2.8 นั้นจริงๆแล้วมีหลายโฉมมากๆครับ มี 3 Mount คือ
- M42 [ที่กระทู้นี้พูดถึงคือเม้าท์นี้]
- Exakta
- Praktica B-System
เท่าที่พอจะแบ่งเป็นเวอร์ชั่นได้ ก็จะเป็นสองเวอร์ชั่นใหญ่ ดังนี้ครับ
ตัวแรกก่อน Version 1 เป็นบอดี้ม้าลายเหมือนกับ Meyer Optik 135mm 2.8 เป๊ะ
จากนั้นก็เป็น Version แรก ที่มีหลายโฉมมาก
รายละเอียดของ Version 1 คือ
- Single Coat เคลือบโค้ดเลนส์ชั้นเดียว
- มีใบเบลด 15 ใบ
- รูรับแสงปรับที่ด้านบน และมีรูรับแสงแคบสุดที่ F32
- มี Hood ในตัว
- มีระยะเข้าใกล้แบบ [Close Focus] อยู่ที่ 150Cm ถือว่าใกล้กว่าตัว Version 2
หลังจากนั้นก็มาเป็น Version 2 สังเกตุที่ตรงปรับค่ารูรับแสงจะเหมือน Meyer Optik เลย
รายละเอียดของ Version 2 คือ
- มีใบเบลดรูรับแสง หกใบ เมื่อหรี่รฃค่ารูรับแสงแคบ ในเบลดจะเป็น หกเหลี่ยมเหมือน Meyer Optik
- มีค่ารูรับแสงแคบสุดอยู่ที่ F22 และปรับค่ารูรับแสงด้านล่างของเลนส์ สังเกตุตฟ้อนเหมือนยก Meyer มาใส่เลย
- เคลือบเลนส์แบบ Multicoat ซึ่งพัฒนาต่อยอดมาจาก Version 1 นั่นเอง
- ระยะเข้าใกล้แบบ [Close Focus] อยู่ที่ 170Cm
มาดูเลนส์ตัวนี้ที่ผมนำมาพูดถึงกันครับ Pentacon 135mm 2.8 M42 Version 1 โฉมตัวหนังสือเขียว
G.D.R เยอรมันตะวันออก
ระยะเข้าใกล้แบบมากที่สุดคือ 5ฟุต หรือ 1.5 เมตร
Mount แบบ M42
Hood อยู่ด้านบนสามารถหมุนถอดได้เลย
ลักษณะเมื่อถอดและใส่
รูรับแสงแคบสุดอยู่ที่ F32
เลนส์ตัวนี้ใบเบลดเคยผ่านการซ่อมมาจากเจ้าของเก่า ซึ่งเมื่อหรี่มันจะไม่กลมเหมือนใบเบลดต้นฉบับสักเท่าไหร่ แต่ผมถ่ายโบเก้จากค่ารูรับแสงกว้างสุด ฉะนั้นผลจะไม่แตกต่างกันเท่าไหร่ ใบเบลดจะมีน้ำมันหล่อลื่นเป็นเรื่องปกติของเลนส์ตัวนี้
มาลองดูโบเก้กันก่อน
ย้อนแสงมี Flare มากพอสมควร
มาดูภาพตัวอย่างที่ได้จากเลนส์ตัวนี้กันครับ ภาพไม่ได้แต่งนะครับหลังกล้องมาย่อใส่ลายน้ำเท่านั้น *ผมถ่ายด้วยกล้อง Olympus OMD EM1 และ Panasonic GX7 ซึ่งเป็นเซนเซอร์ m4/3 ภาพจากเลนส์ตัวเดียวกันนี้หากถ่ายด้วยกล้องที่เซนเซอร์ต่างขนาดกันไปเช่น APSC หรือ FullFrame อาจจะได้ลักษณะโบเก้ที่ไม่เหมือนกันซะทีเดียวครับ เรียกว่าต่างเซนเซอร์โบเก้ไม่เหมือนกัน แต่โทนของภาพจะเคียงกันครับ*
มาลองดูภาพบุคคลบ้าง
ยก Snap ไปเรื่อยล่ะครับ
ข้อความกำลังจะเต็มขอไปต่อที่ความเห็นที่ 1 นะครับ
*แก้ไขเว้นวรรค แก้ไขชื่อกระทู้ไม่ได้ จุดหายแก้ไม่ได้ตรง 2.8 ขออภัยด้วยนะครับ T_T*