“รากนครา” ละครสะท้อนแนวคิด “ชีวิตและหัวใจไม่สำคัญเท่าบ้านเมือง” เรื่องราวของความรักท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงและการชิงอำนาจทางการเมืองของ 3 อาณาจักรคือ
เชียงพระคำ เชียงเงิน และเมืองมัณฑ์ ซึ่งส่งผลต่อชีวิตของผู้ครองนครทั้ง 3 ด้วยเช่นกัน ไม่เว้นแม้กระทั่งการแต่งงาน ซึ่งอีกหนึ่งฉากสำคัญที่จะได้เห็นวัฒนธรรมการแต่งงานของชนชั้นสูงของชาวล้านนาในอดีตก็คือฉากการแต่งงานของ “เจ้าศุขวงศ์” (หมาก ปริญ) กับ “เจ้าแม้นเมือง” (แต้ว ณัฐพร) ในชุดแต่งงานที่มีต้นแบบจาก “ชุดกาบคำ” ชุดแต่งงานของชนชั้นสูงซึ่งมีความหมายมากกว่าความสวยงาม
เรื่องราวในประวัติศาสตร์เล่าถึง “ชุดกาบคำ” ว่าเป็นเครื่องแต่งกายในวาระพิเศษของกษัตริย์แห่งราชสำนักมัณฑะเลย์ นอกจากนี้ยังเป็นชุดที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นเครื่องยศแก่เจ้าฟ้า มหาเทวี เมืองเชียงตุงและไทยใหญ่ รวมถึงหัวเมืองประเทศราชและรัฐในปกครองทั้งหลายที่ได้ส่งเครื่องบรรณาการมาถวายเพื่อขอสวามิภักดิ์ ซึ่งการมอบ ชุดกาบคำ ให้ในลักษณะนี้นอกจากจะเป็นการเผยแผ่วัฒนธรรมการแต่งกายแล้ว ยังเป็นเหมือนการส่งมอบสัญลักษณ์ให้คนในปกครองได้ใช้ร่วมกัน ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของหลายประเทศในยุคล่าอาณานิคม นอกจากนี้ ชุดกาบคำ ยังได้รับอิทธิพลมาจาก “ชุดมหาลดา” ของราชสำนักพม่า ซึ่งได้รับช่วงต่อมาจากพุทธศาสนาอีกทอดหนึ่ง เกี่ยวกับ “ชุดมหาลดาปสาธน์” ของนางวิสาขามหาอุบาสิกา ที่มีการปักดิ้นเงินดิ้นคำ เพชรนิลจินดาและสวมชฎารูปนกยูง ตามพุทธประวัติอีกด้วย และนี่เป็นอีกหนึ่งความประณีตของทีมงานผู้จัด ละคร “รากนครา” ที่ต้องการนำเสนอคุณค่าทางวัฒนธรรมผ่านเรื่องราวความรักและความกตัญญูรู้คุณแผ่นดิน ซึ่งเป็นหน้าที่ของทุกคน
สกู๊ปพิเศษ เครื่องแต่งกาย 3 เมือง เชียงพระคำ เชียงเงิน เมืองมัณฑ์
ซึ่งนอกจากจะมีเรื่องราวที่เข้มข้นทุกตอนแล้ว ยังจะได้เห็นวัฒนธรรมที่งดงามของชาวล้านนาโบราณที่มีความเป็นมาอย่างยาวนาน และอยู่ในวิถีชีวิตรอบด้านของชาวล้านนาในยุคนั้น
การแต่งกาย ชาวล้านนาจะนิยมทอผ้าฝ้าย และผ้าไหม ขึ้นเอง เพื่อใช้ทำเป็นเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม การแต่งกายของผู้ชายล้านนาโดยทั่วไปจะสวมเสื้อคอจีนติดกระดุม ถ้าเป็นเจ้านายจะสวมเสื้อไหมคล้ายเสื้อครุยทับอีกชั้นหนึ่ง จะมีผ้าพันเอว 2 ผืน คือ รัดทับเสื้อและผ้าเตี่ยว เพื่อโชว์ลายสักตั้งแต่เอวลงมาเสมอเข่าหรือต่ำกว่าเข่าเล็กน้อย ซึ่งเป็นความนิยมของชายชาวล้านนาในสมัยนั้น ส่วนการแต่งกายของผู้หญิงจะนุ่งซิ่นลายขวางเกือบคล่อมเท้า ท่อนบนมีผ้าผืนหนึ่งไว้คล้องคอ พันหน้าอก หรือ พาดบ่า เกล้าผมมวยกลางศรีษะปักปิ่นไว้ที่ผมหรือเสียบดอกไม้ประดับ
ประเพณี ชาวล้านนามีขนบธรรมเนียมที่แฝงไปด้วยคติความเชื่ออยู่ในประเพณีต่างๆ เช่น ประเพณีการแต่งงาน จะมีแนวปฏิบัติที่อยู่บนศีลธรรมในการครองเรือน โดยธรรมเนียมแต่โบราณของล้านนา จะนิยมให้ฝ่ายชายย้ายมาอยู่บ้านของฝ่ายหญิง เรียกว่า “วิวาหมงคล” เพื่อให้ฝ่ายชายได้รับใช้พ่อแม่ฝ่ายหญิง เป็นเวลา 3 ปีเป็นอย่างน้อย
ภาษา ภาษาล้านนา หรือเรียกอีกอย่างว่า “คำเมือง” เป็นคำพูดของชาวล้านนาที่มีความไพเราะ คำเมือง เป็นภาษาของคนไท-ยวน ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยหรืออาณาจักรล้านนา มักจะพูดกันมากใน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา น่าน ลำพูน ลำปาง ตาก และ แพร่
ศิลปะ ชาวล้านนามีชีวิตอยู่กับธรรมชาติ มีจิตใจอ่อนโยน ทำให้มีนิสัยรักความงาม รักศิลปะและดนตรี โดยเฉพาะด้านศิลปะนับว่ามีความชำนาญมาก งานศิลปะเด่น ๆ เช่น งานปูนปั้น งานแกะสลักไม้ การทำเครื่องเงิน เครื่องเขิน ด้านดนตรีและการละเล่นก็จะมีวงดนตรีที่เรียกว่า วงสะล้อ ซอ ซึง ส่วนระบำรำฟ้อนก็จะมี ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน เป็นต้น
สกู๊ปพิเศษ สถานที่ถ่ายทำละคร รากนครา
“พี่อ๊อฟ-พงษ์พัฒน์” ผู้กำกับมือรางวัลงานละเอียด ยกกองบุกไปถ่ายทำกันถึงเมืองเหนือ เพื่อให้ได้ภาพของเมืองสมมติที่ใกล้เคียงตามบทประพันธ์มากที่สุด และเพื่อให้ผู้ชมได้เห็นความยิ่งใหญ่ของ เชียงพระคำ เชียงเงิน และเมืองมัณฑ์ อาณาจักรในจินตนาการซึ่งเป็นสถานที่ของเรื่องราวทั้งหมด โดยใช้สถานที่ถ่ายทำที่ยังคงความงดงามตามวัฒนธรรมทางเหนือให้เห็นอยู่ บางส่วนก็จะเป็น โรงแรม เมืองโบราณ รวมไปถึง โรงถ่ายภาพยนตร์พระนเรศวร พร้อมมิตรสตูดิโอ
สำหรับฉากที่มีเรื่องราวในวังจะอิงจากวัดเก่าทางภาคเหนือหลายแห่ง ซึ่งอนุรักษ์และรักษาสถาปัตยกรรมเก่าแก่ไว้ได้อย่างสมบูรณ์ อย่างเช่น “วัดศรีรองเมือง” วัดเก่าแก่ในเขตเทศบาลเมืองลำปาง ซึ่งมีความสำคัญทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ และมีรูปแบบสถาปัตยกรรมพม่าที่โดดเด่น สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2448 ใช้เวลาสร้างประมาณ 7 ปี จุดเด่นอยู่ที่วิหารใหญ่ซึ่งเป็นวิหารประธาน คือ “วิหารไม้” ซึ่งมีหลังคาจั่วซ้อนกันเป็นชั้นเล็กชั้นน้อย มียอดแหลม 9 ยอดมีลายฉลุบนสังกะสี ใช้ประดับบนจั่ว และเชิงชายหลังคา เพิ่มความอ่อนช้อยและสง่างามตามแบบศิลปะพม่า นอกจากนี้บริเวณรอบๆ วัด ยังมี “ต้นศรีมหาโพธิ์” จากประเทศอินเดีย “ต้นกระเจา” ต้นไม้ประจำจังหวัดลำปาง อายุกว่า 119 ปี พระอุโบสถสร้างรูปทรงแปลกตา อายุราวๆ 80 ปี สร้างใน พ.ศ.2474 และอีกหลายสิ่งก่อสร้างที่ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจอีกมากมาย
สกู๊ปพิเศษ บทบาทของนักแสดงนำ หมาก แต้ว มิว นิว น้ำฝน
รากนครา ว่าด้วยเรื่องราวทางการเมืองของ 3 แผ่นดินทางตอนเหนือของสยาม ที่กำลังต้องเผชิญหน้ากับการรุกรานของชาติวันตก เมืองแรกคือเมืองเชียงพระคำ ประกอบไปด้วย “เจ้าศุขวงศ์” หรือ “เจ้าน้อย” เจ้าราชภาติยะแห่งเมืองเชียงพระคำที่มีแนวคิดแบบตะวันตก หัวก้าวหน้า เนื่องจากได้ไปศึกษาต่อที่สิงคโปร์เป็นเวลากว่า 10 ปี แต่มีความอ่อนโยน โรแมนติกและรักเดียวใจเดียว ซึ่งได้ หมาก ปริญ มารับบท
“เจ้าละอองคำ” ญาติของเจ้าศุขวงศ์ ถูกหมายมั่นให้แต่งงานกับเจ้าศุขวงศ์มาตั้งแต่เด็ก และด้วยเติบโตมาในวังจึงเป็นกุลสตรี อ่อนหวาน เป็นที่รักของเจ้าย่าของเจ้าศุขวงศ์ โดยได้ พลอย ภัทรากร มารับบท และ “เจ้าจักรคำ” ลูกพี่ลูกน้องกับเจ้าน้อย เป็นคนหัวก้าวหน้าเช่นเจ้านาย จิตใจดี มีเมตตา และอ่อนโยน แสดงโดย บอล จิตตาภานุ ซึ่งทั้ง 3 คน เป็นคนของเมืองเชียงพระคำ
เมืองต่อมาเป็นเมืองสำคัญมากแห่งหนึ่งของเรื่อง ก็คือเมืองเชียงเงินที่ปกครองโดย “เจ้าหลวงแสงอินทะ” ผู้เจ้าเล่ห์ รับบทโดย อู๋ ธนากร โดยเจ้าเมืองมีลูก 3 คน ได้แก่ “เจ้าอุปราชหน่อเมือง” เป็นคนที่ตรงไปตรงมา มุ่งมั่น เพียรพยายามเพื่อบ้านเมืองเป็นหลัก จึงเป็นคนที่ยอมหักไม่ยอมงอ รักชาติยิ่งชีพ บทนี้ได้ นิว ชัยพล มาร่วมแสดง ซึ่งเรื่องนี้เป็นผลงานชิ้นแรกที่นิวได้ร่วมงานกับช่อง 3
“เจ้าแม้นเมือง” เป็นผู้หญิงสวย ฉลาด มั่นใจ เด็ดเดี่ยวและเข้มแข็งเหมือนผู้ชาย ทำทุกอย่างเพื่อบ้านเมืองเป็นหลัก รับบทโดย แต้ว ณฐพร นักแสดงสาวที่ถูกตั้งฉายาจากแฟนคลับว่าเป็นวุ้นแปลภาษา และลูกสาวคนสุดท้อง “เจ้ามิ่งหล้า” ผู้หญิงที่สวยสะดุดตา ฉลาด เอาแต่ใจ รักตัวเอง ไม่ค่อยเห็นหัวใคร โดยเฉพาะพี่สาวเจ้าแม้นเมือง ได้ มิว นิษฐา มารับบทโดยเรื่องนี้เป็นครั้งแรกที่มิวพลิกเล่นร้าย
สกู๊ปพิเศษ ผลงานของผู้กำกับ อ๊อฟ พงษ์พัฒน์
การประชันบทบาทเข้มข้นของ 3 พระนาง หมาก แต้ว มิว
นอกจากนี้ยังมีตัวละครอีกมากมายซึ่งได้นักแสดงมากฝีมือมาถ่ายทอดอารมณ์และเรื่องราว น้ำฝน พัชรินทร์ แสดงเป็น “เจ้านางปัทมสุดา” ชายา “กษัตริย์เมืองมัณฑ์” ผู้มีจิตใจโหดเหี้ยม แต่ทำทุกอย่างเพื่อบ้านเมือง, ทวีศักดิ์ ธนานันท์ แสดงเป็น “มิสเตอร์จอห์น แบร็กกิ้น” ฝรั่งชาวอังกฤษเพื่อนเจ้าศุขวงศ์ เป็นคนซื่อสัตย์ กตัญญูรู้คุณ, สรวงสุดา ลาวัณย์ประเสริฐ แสดงเป็น “เจ้านางข่ายคำ” แม่ของเจ้ามิ่งหล้า ผู้ยอมทำทุกอย่างเพื่อให้ลูกสาวกับตัวเองโดดเด่น และเรืองอำนาจ, ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ แสดงเป็น “เจ้าย่าเรือนคำ” ย่าของเจ้าน้อย เป็นคนใจกว้าง มีบารมี ฉลาดมองคน ทำให้ทุกคนเคารพเกรงใจ
รวมสกู๊ป “รากนครา” ความงดงามวิถี “ล้านนา” ตัวละคร เครื่องแต่งกาย สถานที่ถ่ายทำเนรมิตฉากวัง 3 เมือง
“รากนครา” ละครสะท้อนแนวคิด “ชีวิตและหัวใจไม่สำคัญเท่าบ้านเมือง” เรื่องราวของความรักท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงและการชิงอำนาจทางการเมืองของ 3 อาณาจักรคือ เชียงพระคำ เชียงเงิน และเมืองมัณฑ์ ซึ่งส่งผลต่อชีวิตของผู้ครองนครทั้ง 3 ด้วยเช่นกัน ไม่เว้นแม้กระทั่งการแต่งงาน ซึ่งอีกหนึ่งฉากสำคัญที่จะได้เห็นวัฒนธรรมการแต่งงานของชนชั้นสูงของชาวล้านนาในอดีตก็คือฉากการแต่งงานของ “เจ้าศุขวงศ์” (หมาก ปริญ) กับ “เจ้าแม้นเมือง” (แต้ว ณัฐพร) ในชุดแต่งงานที่มีต้นแบบจาก “ชุดกาบคำ” ชุดแต่งงานของชนชั้นสูงซึ่งมีความหมายมากกว่าความสวยงาม
เรื่องราวในประวัติศาสตร์เล่าถึง “ชุดกาบคำ” ว่าเป็นเครื่องแต่งกายในวาระพิเศษของกษัตริย์แห่งราชสำนักมัณฑะเลย์ นอกจากนี้ยังเป็นชุดที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นเครื่องยศแก่เจ้าฟ้า มหาเทวี เมืองเชียงตุงและไทยใหญ่ รวมถึงหัวเมืองประเทศราชและรัฐในปกครองทั้งหลายที่ได้ส่งเครื่องบรรณาการมาถวายเพื่อขอสวามิภักดิ์ ซึ่งการมอบ ชุดกาบคำ ให้ในลักษณะนี้นอกจากจะเป็นการเผยแผ่วัฒนธรรมการแต่งกายแล้ว ยังเป็นเหมือนการส่งมอบสัญลักษณ์ให้คนในปกครองได้ใช้ร่วมกัน ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของหลายประเทศในยุคล่าอาณานิคม นอกจากนี้ ชุดกาบคำ ยังได้รับอิทธิพลมาจาก “ชุดมหาลดา” ของราชสำนักพม่า ซึ่งได้รับช่วงต่อมาจากพุทธศาสนาอีกทอดหนึ่ง เกี่ยวกับ “ชุดมหาลดาปสาธน์” ของนางวิสาขามหาอุบาสิกา ที่มีการปักดิ้นเงินดิ้นคำ เพชรนิลจินดาและสวมชฎารูปนกยูง ตามพุทธประวัติอีกด้วย และนี่เป็นอีกหนึ่งความประณีตของทีมงานผู้จัด ละคร “รากนครา” ที่ต้องการนำเสนอคุณค่าทางวัฒนธรรมผ่านเรื่องราวความรักและความกตัญญูรู้คุณแผ่นดิน ซึ่งเป็นหน้าที่ของทุกคน
ซึ่งนอกจากจะมีเรื่องราวที่เข้มข้นทุกตอนแล้ว ยังจะได้เห็นวัฒนธรรมที่งดงามของชาวล้านนาโบราณที่มีความเป็นมาอย่างยาวนาน และอยู่ในวิถีชีวิตรอบด้านของชาวล้านนาในยุคนั้น
การแต่งกาย ชาวล้านนาจะนิยมทอผ้าฝ้าย และผ้าไหม ขึ้นเอง เพื่อใช้ทำเป็นเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม การแต่งกายของผู้ชายล้านนาโดยทั่วไปจะสวมเสื้อคอจีนติดกระดุม ถ้าเป็นเจ้านายจะสวมเสื้อไหมคล้ายเสื้อครุยทับอีกชั้นหนึ่ง จะมีผ้าพันเอว 2 ผืน คือ รัดทับเสื้อและผ้าเตี่ยว เพื่อโชว์ลายสักตั้งแต่เอวลงมาเสมอเข่าหรือต่ำกว่าเข่าเล็กน้อย ซึ่งเป็นความนิยมของชายชาวล้านนาในสมัยนั้น ส่วนการแต่งกายของผู้หญิงจะนุ่งซิ่นลายขวางเกือบคล่อมเท้า ท่อนบนมีผ้าผืนหนึ่งไว้คล้องคอ พันหน้าอก หรือ พาดบ่า เกล้าผมมวยกลางศรีษะปักปิ่นไว้ที่ผมหรือเสียบดอกไม้ประดับ
ประเพณี ชาวล้านนามีขนบธรรมเนียมที่แฝงไปด้วยคติความเชื่ออยู่ในประเพณีต่างๆ เช่น ประเพณีการแต่งงาน จะมีแนวปฏิบัติที่อยู่บนศีลธรรมในการครองเรือน โดยธรรมเนียมแต่โบราณของล้านนา จะนิยมให้ฝ่ายชายย้ายมาอยู่บ้านของฝ่ายหญิง เรียกว่า “วิวาหมงคล” เพื่อให้ฝ่ายชายได้รับใช้พ่อแม่ฝ่ายหญิง เป็นเวลา 3 ปีเป็นอย่างน้อย
ภาษา ภาษาล้านนา หรือเรียกอีกอย่างว่า “คำเมือง” เป็นคำพูดของชาวล้านนาที่มีความไพเราะ คำเมือง เป็นภาษาของคนไท-ยวน ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยหรืออาณาจักรล้านนา มักจะพูดกันมากใน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา น่าน ลำพูน ลำปาง ตาก และ แพร่
ศิลปะ ชาวล้านนามีชีวิตอยู่กับธรรมชาติ มีจิตใจอ่อนโยน ทำให้มีนิสัยรักความงาม รักศิลปะและดนตรี โดยเฉพาะด้านศิลปะนับว่ามีความชำนาญมาก งานศิลปะเด่น ๆ เช่น งานปูนปั้น งานแกะสลักไม้ การทำเครื่องเงิน เครื่องเขิน ด้านดนตรีและการละเล่นก็จะมีวงดนตรีที่เรียกว่า วงสะล้อ ซอ ซึง ส่วนระบำรำฟ้อนก็จะมี ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน เป็นต้น
“พี่อ๊อฟ-พงษ์พัฒน์” ผู้กำกับมือรางวัลงานละเอียด ยกกองบุกไปถ่ายทำกันถึงเมืองเหนือ เพื่อให้ได้ภาพของเมืองสมมติที่ใกล้เคียงตามบทประพันธ์มากที่สุด และเพื่อให้ผู้ชมได้เห็นความยิ่งใหญ่ของ เชียงพระคำ เชียงเงิน และเมืองมัณฑ์ อาณาจักรในจินตนาการซึ่งเป็นสถานที่ของเรื่องราวทั้งหมด โดยใช้สถานที่ถ่ายทำที่ยังคงความงดงามตามวัฒนธรรมทางเหนือให้เห็นอยู่ บางส่วนก็จะเป็น โรงแรม เมืองโบราณ รวมไปถึง โรงถ่ายภาพยนตร์พระนเรศวร พร้อมมิตรสตูดิโอ
สำหรับฉากที่มีเรื่องราวในวังจะอิงจากวัดเก่าทางภาคเหนือหลายแห่ง ซึ่งอนุรักษ์และรักษาสถาปัตยกรรมเก่าแก่ไว้ได้อย่างสมบูรณ์ อย่างเช่น “วัดศรีรองเมือง” วัดเก่าแก่ในเขตเทศบาลเมืองลำปาง ซึ่งมีความสำคัญทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ และมีรูปแบบสถาปัตยกรรมพม่าที่โดดเด่น สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2448 ใช้เวลาสร้างประมาณ 7 ปี จุดเด่นอยู่ที่วิหารใหญ่ซึ่งเป็นวิหารประธาน คือ “วิหารไม้” ซึ่งมีหลังคาจั่วซ้อนกันเป็นชั้นเล็กชั้นน้อย มียอดแหลม 9 ยอดมีลายฉลุบนสังกะสี ใช้ประดับบนจั่ว และเชิงชายหลังคา เพิ่มความอ่อนช้อยและสง่างามตามแบบศิลปะพม่า นอกจากนี้บริเวณรอบๆ วัด ยังมี “ต้นศรีมหาโพธิ์” จากประเทศอินเดีย “ต้นกระเจา” ต้นไม้ประจำจังหวัดลำปาง อายุกว่า 119 ปี พระอุโบสถสร้างรูปทรงแปลกตา อายุราวๆ 80 ปี สร้างใน พ.ศ.2474 และอีกหลายสิ่งก่อสร้างที่ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจอีกมากมาย
รากนครา ว่าด้วยเรื่องราวทางการเมืองของ 3 แผ่นดินทางตอนเหนือของสยาม ที่กำลังต้องเผชิญหน้ากับการรุกรานของชาติวันตก เมืองแรกคือเมืองเชียงพระคำ ประกอบไปด้วย “เจ้าศุขวงศ์” หรือ “เจ้าน้อย” เจ้าราชภาติยะแห่งเมืองเชียงพระคำที่มีแนวคิดแบบตะวันตก หัวก้าวหน้า เนื่องจากได้ไปศึกษาต่อที่สิงคโปร์เป็นเวลากว่า 10 ปี แต่มีความอ่อนโยน โรแมนติกและรักเดียวใจเดียว ซึ่งได้ หมาก ปริญ มารับบท
“เจ้าละอองคำ” ญาติของเจ้าศุขวงศ์ ถูกหมายมั่นให้แต่งงานกับเจ้าศุขวงศ์มาตั้งแต่เด็ก และด้วยเติบโตมาในวังจึงเป็นกุลสตรี อ่อนหวาน เป็นที่รักของเจ้าย่าของเจ้าศุขวงศ์ โดยได้ พลอย ภัทรากร มารับบท และ “เจ้าจักรคำ” ลูกพี่ลูกน้องกับเจ้าน้อย เป็นคนหัวก้าวหน้าเช่นเจ้านาย จิตใจดี มีเมตตา และอ่อนโยน แสดงโดย บอล จิตตาภานุ ซึ่งทั้ง 3 คน เป็นคนของเมืองเชียงพระคำ
เมืองต่อมาเป็นเมืองสำคัญมากแห่งหนึ่งของเรื่อง ก็คือเมืองเชียงเงินที่ปกครองโดย “เจ้าหลวงแสงอินทะ” ผู้เจ้าเล่ห์ รับบทโดย อู๋ ธนากร โดยเจ้าเมืองมีลูก 3 คน ได้แก่ “เจ้าอุปราชหน่อเมือง” เป็นคนที่ตรงไปตรงมา มุ่งมั่น เพียรพยายามเพื่อบ้านเมืองเป็นหลัก จึงเป็นคนที่ยอมหักไม่ยอมงอ รักชาติยิ่งชีพ บทนี้ได้ นิว ชัยพล มาร่วมแสดง ซึ่งเรื่องนี้เป็นผลงานชิ้นแรกที่นิวได้ร่วมงานกับช่อง 3
“เจ้าแม้นเมือง” เป็นผู้หญิงสวย ฉลาด มั่นใจ เด็ดเดี่ยวและเข้มแข็งเหมือนผู้ชาย ทำทุกอย่างเพื่อบ้านเมืองเป็นหลัก รับบทโดย แต้ว ณฐพร นักแสดงสาวที่ถูกตั้งฉายาจากแฟนคลับว่าเป็นวุ้นแปลภาษา และลูกสาวคนสุดท้อง “เจ้ามิ่งหล้า” ผู้หญิงที่สวยสะดุดตา ฉลาด เอาแต่ใจ รักตัวเอง ไม่ค่อยเห็นหัวใคร โดยเฉพาะพี่สาวเจ้าแม้นเมือง ได้ มิว นิษฐา มารับบทโดยเรื่องนี้เป็นครั้งแรกที่มิวพลิกเล่นร้าย
การประชันบทบาทเข้มข้นของ 3 พระนาง หมาก แต้ว มิว
นอกจากนี้ยังมีตัวละครอีกมากมายซึ่งได้นักแสดงมากฝีมือมาถ่ายทอดอารมณ์และเรื่องราว น้ำฝน พัชรินทร์ แสดงเป็น “เจ้านางปัทมสุดา” ชายา “กษัตริย์เมืองมัณฑ์” ผู้มีจิตใจโหดเหี้ยม แต่ทำทุกอย่างเพื่อบ้านเมือง, ทวีศักดิ์ ธนานันท์ แสดงเป็น “มิสเตอร์จอห์น แบร็กกิ้น” ฝรั่งชาวอังกฤษเพื่อนเจ้าศุขวงศ์ เป็นคนซื่อสัตย์ กตัญญูรู้คุณ, สรวงสุดา ลาวัณย์ประเสริฐ แสดงเป็น “เจ้านางข่ายคำ” แม่ของเจ้ามิ่งหล้า ผู้ยอมทำทุกอย่างเพื่อให้ลูกสาวกับตัวเองโดดเด่น และเรืองอำนาจ, ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ แสดงเป็น “เจ้าย่าเรือนคำ” ย่าของเจ้าน้อย เป็นคนใจกว้าง มีบารมี ฉลาดมองคน ทำให้ทุกคนเคารพเกรงใจ
แนะนำตัวละคร เจ้าหน่อเมือง
แนะนำตัวละคร เจ้ามิ่งหล้า
แนะนำตัวละคร เจ้าแม้นเมือง
แนะนำตัวละคร เจ้าศุขวงศ์
ตะลุยอุ๊ยเมาท์ ทำความรู้จักคาแรคเตอร์ นิสัยใจคอ ความเป็นมาของตัวละครหลัก
(เจ้าศุขวงศ์ เจ้าแม้นเมือง เจ้ามิ่งหล้า เจ้าหน่อเมือง เจ้านางปัทมสุดา กษัตริย์เมืองมัณฑ์ เจ้าหลวงแสนอินทะ)
ทุกวันจันทร์ – อังคาร เวลา 20.20 น. ทางช่อง 33 เริ่มตอนแรก วันอังคารที่ 5 กันยายน นี้
Cr. Ch3Thailand -- [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้