MC นู๋สร้างชาติ รับหน้าที่ค่ะ
เมื่อวานนำเสนอเรื่องศิลปินแห่งชาติไป วันนี้เป็นวันคล้ายวันจากไปของครูไพบูลย์ บุตรขัน ถึงท่านไม่ได้เป็นศิลปินแห่งชาติ (ท่านจากไปหลายปีก่อนที่จะมีการตั้งศิลปินแห่งชาติ) แต่ท่านมีผลงานมากมายต่อวงการเพลงลูกทุ่ง มารู้จักท่านกันค่ะ
ไพบูลย์ บุตรขัน (4 กันยายน พ.ศ. 2461 - 29 สิงหาคม พ.ศ. 2515) นักแต่งเพลง และนักเขียนบทละคร ที่มีผลงานที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก จนได้รับการขนานนามให้เป็น "
อัจฉริยะนักแต่งเพลงอันดับหนึ่งของไทย"
ครูไพบูลย์ บุตรขัน เดิมชื่อ ไพบูลย์ ประณีต เกิดที่บ้านท้องคุ้ง ตำบลเชียงรากใหญ่ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี เป็นบุตรของนายบุตร และนางพร้อม ประณีต ครอบครัวมีอาชีพทำนา มีฐานะยากจน มีพี่น้อง 3 คน เมื่ออายุได้ 6 ปี บิดาเสียชีวิต จึงได้รับการเลี้ยงดูโดยนายเจน บุตรขัน ผู้เป็นอา นำไปอยู่ที่อำเภอปทุมวัน กรุงเทพ และได้เปลี่ยนนามสกุลจากประณีต มาเป็นบุตรขัน
ไพบูลย์ บุตรขัน เริ่มศึกษาชั้นประถมต้นที่จังหวัดปทุมธานี ประถมปลายที่โรงเรียนสตรีปทุมวัน และศึกษาจนจบมัธยม 8 ที่โรงเรียนสวัสดิ์อำนวยเวทย์ กรุงเทพ และศึกษาดนตรีเพิ่มเติมจากครูพิณ โปร่งแก้วงาม ราวปี พ.ศ. 2476-2478 และเรียนวิชาดนตรีและโน้ตเพลงสากลเพิ่มเติมที่สมาคมวายเอ็มซีเอ แถบถนนวรจักร และได้ใช้โน้ตดนตรีประกอบการแต่งเพลงทุกครั้งตั้งแต่นั้นมา
หลังจากเรียนจบ ไพบูลย์ บุตรขัน ได้ทำงานเป็นครูสอนภาษาไทยที่โรงเรียนกว๋องสิว แล้วลาออกไปทำงานเป็นช่างไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าสามเสน แล้วลาออกไปทำงานกับคณะละคร คณะแม่แก้ว และคณะจันทโรภาส ของพรานบูรพ์ ทำหน้าที่เขียนบทละครวิทยุ และแต่งเพลง
งานเพลงของไพบูลย์ บุตรขัน เริ่มบันทึกแผ่นเสียงเมื่อประมาณ พ.ศ. 2490 จากการชักนำของ สวัสดิภาพ บุนนาค ซึ่งเป็นเพื่อนและน้องเขย เพลงในยุคแรกได้แก่เพลง "มนต์เมืองเหนือ" "คนจนคนจร" "ดอกไม้หน้าพระ" "ดอกไม้หน้าฝน" และ "ค่าน้ำนม" และได้รับการยกย่องว่าเป็นงานที่มีคุณค่า และได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน เช่น "โลกนี้คือละคร" (ขับร้องโดย ปรีชา บุณยะเกียรติ) "เบ้าหลอมดวงใจ" และ "มนต์รักลูกทุ่ง" (ขับร้องโดย ไพรวัลย์ ลูกเพชร) "ฝนเดือนหก" (ขับร้องโดย รุ่งเพชร แหลมสิงห์) "ยมบาลเจ้าขา" (ขับร้องโดย บุปผา สายชล)
"กลิ่นโคลนสาปควาย" (แต่งขึ้นในปี พ.ศ. 2496 ขับร้องโดยชาญ เย็นแข) เป็นอีกผลงานชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่งของของไพบูลย์ บุตรขัน ที่ทางราชการไทยเคยประกาศห้ามเปิดในช่วงการปราบปรามคอมมิวนิสต์ แม้จะมีการห้ามจากทางการแต่ยิ่งห้ามก็มีผู้ฟังซื้อแผ่นเสียงไปฟังเป็นจำนวนมาก เพลงนี้ยังได้รับยกย่องให้เป็นรากฐานของเพลงลูกทุ่งอีกด้วยเพราะในอดีตก่อน พ.ศ. 2500 นั้นเพลงในประเทศไทยยังมิได้แบ่งแยก ยุคสมัยที่ยังไม่ได้มีการแบ่งแยกเพลงลูกกรุงและเพลงลูกทุ่งออกจากกันอย่างชัดเจน
หลังจากเสียชีวิตไปแล้วหลายปี ในปี พ.ศ. 2532 เพลงของครูไพบูลย์ ได้รับรางวัลพระราชทานในงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกไทย ถึง 10 เพลง ได้แก่ "ชายสามโบสถ์" (ขับร้องโดย คำรณ สัมบุญณานนท์) "น้ำตาเทียน" (ขับร้องโดย ทูล ทองใจ) "บ้านไร่น่ารัก" และ "เพชรร่วงในสลัม" (ขับร้องโดย ชินกร ไกรลาศ) "ฝนซาฟ้าใส" (ขับร้องโดย ยุพิน แพรทอง) "ฝนเดือนหก" (ขับร้องโดย รุ่งเพชร แหลมสิงห์) "บุปเพสันนิวาส" และ "มนต์รักแม่กลอง" (ขับร้องโดย ศรคีรี ศรีประจวบ) "มนต์รักลูกทุ่ง" (ขับร้องโดย ไพรวัลย์ ลูกเพชร) และ "ยมบาลเจ้าขา" (ขับร้องโดย บุปผา สายชล) และในปี พ.ศ. 2534 ได้รับรางวัลจากเพลง "หนุ่มเรือนแพ" (ขับร้องโดย กาเหว่า เสียงทอง)
ตั้งแต่วัยหนุ่ม ครูไพบูลย์ บุตรขัน ป่วยเป็นโรคเรื้อนและไม่มีเงินรักษาอย่างจริงจัง ครูไพบูลย์เก็บตัวเงียบไม่ออกสังคม โดยได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากนางพร้อม ประณีต ผู้เป็นมารดาจนนางพร้อมเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2508 แต่ได้ความช่วยเหลือจากเพื่อนฝูง พาไปรักษาจนหายดี แต่ก็ยังมีร่างกายพิการ ต่อมาได้กลัยมาเป็นโรคร้ายอีกครั้ง และใช้ยาเสพติดเพื่อบรรเทาอาการ และเข้าบำบัดที่สำนักสงฆ์ถ้ำกระบอกจนหายขาดในปี พ.ศ. 2502
ครูไพบูลย์ บุตรขัน สมรสกับ ดวงเดือน บุตรขัน นักแต่งเพลงลูกศิษย์ครูไสล ไกรเลิศ ที่เป็นเพื่อนกัน ทั้งคู่ร่วมงานกันและแต่งงานกันในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2511 แต่ครูไพบูลย์ได้ล้มป่วยด้วยโรคลำไส้ อาเจียนเป็นเลือด หลังจากนั้นไม่นาน จนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2515) อายุ 54 ปี ได้รับพระราชทานเพลิงศพเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2516
ครูไพบูลย์ บุตรขัน ที่พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง (ภาพจากคุณ tom101)
ลูกศิษย์คนดังพูดถึงครูไพบูลย์ บุตรขัน
"แดน บุรีรัมย์" ศิษย์คนใกล้ชิดคนหนึ่งของครูไพบูลย์ บุตรขัน เขียนเล่าไว้ในหนังสือ "ไพบูลย์ บุตรขันราชาเพลงลูกทุ่งไทย" ว่า
"...การเขียนเพลงของครูแต่ละเพลงครูจะต้องศึกษาบุคลิก น้ำเสียงและความเหมาะสมของนักร้องแต่ละคนเสียก่อน แล้วจึงแต่งเพลงหรือมอบเพลงที่แต่งเตรียมไว้ให้ไปร้อง
ถ้าหากครูเห็นว่าไม่เหมาะสมแล้วละก้อ จะขอร้องหรืออ้อนวอนอย่างไร ครูก็จะไม่ยอม แต่หากเห็นว่าเหมาะแม้จะไม่มีเงินมาซื้อครูก็ยินมอบให้ไปร้องฟรีๆ..."
"...ในยุคที่เพลงของครูกำลังเฟื่อง ผู้สร้างภาพยนตร์ไทยแต่ละคน ก็จะกำหนดให้ครูเป็นคนเขียนเพลงประกอบภาพยนตร์เกือบทุกเรื่อง โดยเฉพาะตอนที่ครูรังสี ทัศนพยัคฆ์ จะสร้างหนังเรื่องมนต์รักลูกทุ่งก็ขอให้ครูเขียนเพลงทำเป็นไตเติ้ลด้วย นอกจากเพลงภาพยนตร์ที่ต้องเขียนอยู่แล้ว
ครูจึงต้องเดินทางไปบ้านเกิด อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี เพื่อหาบรรยากาศและสร้างอารมณ์
เมื่อไปถึงก็ออกไปนั่งที่ทุ่งนาหลังบ้าน และเป็นเวลาที่ฝนตกพอดี ในช่วงเวลาเย็นพระอาทิตย์กำลังจะตกดิน ซึ่งเป็นภาพที่สวยงามมาก
ครูเริ่มเขียนเพลงว่า
'หอมเอย หอมดอกกระถิน รวยระรินเคล้ากลิ่นกองฟาง...ได้คันเบ็ดพร้อมเหยื่อ...'
พอเขียนถึงตรงนี้ ครูก็เขียนต่อไปไม่ได้ ใช้เวลาคิดอยู่นานหลายเดือน เขียนแล้วลบ เขียนแล้วขีดฆ่า ไม่เสร็จลงได้สักที จนเจ้าหนังมาเร่งว่า การถ่ายทำหนังจะเสร็จอยู่แล้ว ทำไมเพลงไม่เสร็จสักที
ครูจึงลงมือเขียนต่อจนจบว่า
'...มีน้องนางแก้มเรื่อนั่งเตียงตกปลา ทุ่งรวงทองของเรานี้มีคุณค่า มนต์รักลูกทุ่งบ้านนา หวานแว่วแผ่วดังกังวาน...'
ซึ่งจัดว่าเป็นเพลงที่ ครูไพบูลย์ บุตรขัน ใช้เวลาเขียนนานที่สุด และทำให้ ไพรวัลย์ ลูกเพชร ดังระเบิดเถิดเทิงของยุคนั้นเลยทีเดียว"
"ไพรวัลย์ ลูกเพชร" เจ้าของเสียงร้องเพลงลูกทุ่งอมตะ มนต์รักลูกทุ่งเอง ก็เขียนเล่าไว้ใน ไพบูลย์ บุตรขัน ผู้สร้างศิลปินให้โด่งดังของ เลิศชาย คชยุทธว่า
"...เริ่มอันดับแรก เพลงที่ครูแต่งให้ผมร้อง เพลงกลิ่นธูสุโขทัย ขึ้นต้นว่า 'สุริยา นกกาเร่าร้อง เสียงไก่ขันดังก้อง ต้องลาจากน้องเสียแล้วขวัญพี่...'
เพลงนี้พอเริ่มออกมาก็ดัง แฟนเพลงชื่นชอบกันมาก พอเริ่มดังปุ๊บ ครูบอกว่า เออใช้ได้ๆ เอาอย่างนี้ดีกว่าแต่งเพลงใหม่ นิราศรักนครปฐม เนื้อเพลงมีว่า '...รถเมล์รับจ้างประจำทางสายเพชรบุรี...' โอ้โฮ เพลงนี้ดังเปรี้ยงขึ้นมาทันที
ครูบอกว่า เอาอย่างนี้ดีกว่า ลองเอาเพลงมาลัยรักจากพิษณุโลกไปร้องหน่อย เรียบร้อยดังอีก
ครูบอกว่า เอ้า ลองเอาเพลงมนต์รักลูกทุ่งไปร้องอีกหน่อย พอร้องมนต์รักลูกทุ่งปั๊บ ครูรังสี ทัศนพยัคฆ์เลยนำไปสร้างหนัง
ทีนี้ล่ะ ครูไพบูลย์ ดังระเบิด ใครๆ ก็มาห้อมล้อม อยากได้เพลงของครูไปร้อง เพราะร้องแล้วมันดัง จนครูไม่มีเวลาเลย ตอนนั้นดังทั้งหนังดังทั้งเพลง..."
ที่มา
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=18210.0;wap2
http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9490000007130
https://2g.ppantip.com/cafe/gallery/topic/G3600869/G3600869.html
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=mambyrose&month=11-2013&date=07&group=37&gblog=4
ห้องเพลงคนรากหญ้าเปิดขึ้นมามีวัตถุประสงค์ เพื่อ
1. มีพื้นที่ให้เพื่อนๆ ได้มาพบปะ พูดคุยระหว่างกัน ในภาวะที่ต้องระมัดระวังการโพสการเมืองอย่างเคร่งครัด
2. เป็นพื้นที่ พักผ่อน ลดความเครียดทางการเมือง ให้เพื่อนๆ มีกิจกรรมสนุกๆ ร่วมกัน
3. สร้างมิตรภาพและความปรองดอง ซึ่งเราหวังให้สังคมไทยเป็นเช่นนี้ แม้นคิดต่างกัน แต่เมื่อคุยกันแล้วก็เป็นเพื่อนกันเหมือนเดิม
กระทู้ห้องเพลงเป็นกระทู้เปิด มิได้ปิดกั้นผู้หนึ่งผู้ใด "ขอให้มาดี เราคือเพื่อนกัน" ซึ่งก็เหมือนกับกระทู้ทั่วไป ที่เราไม่จำเป็นต้องทราบว่า User ท่านไหนเป็นใครมาจากไหน ...ดังนั้น หากมีบุคคลใดที่มีการโพสสิ่งผิดกฎหมายและศีลธรรมอันดีของสังคมนั้น หรือสิ่งรบกวนใดๆ ในบอร์ด เป็นเรื่องส่วนบุคคล ทางห้องเพลงจึงขอแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น
ห้องเพลง**คนรากหญ้า** พักยกการเมือง มุมนี้ไม่มีสี ไม่มีกลุ่ม...มีแต่เสียง 29/8/2017 (ครูไพบูลย์ บุตรขัน คีตกวีลูกทุ่ง)
เมื่อวานนำเสนอเรื่องศิลปินแห่งชาติไป วันนี้เป็นวันคล้ายวันจากไปของครูไพบูลย์ บุตรขัน ถึงท่านไม่ได้เป็นศิลปินแห่งชาติ (ท่านจากไปหลายปีก่อนที่จะมีการตั้งศิลปินแห่งชาติ) แต่ท่านมีผลงานมากมายต่อวงการเพลงลูกทุ่ง มารู้จักท่านกันค่ะ
ไพบูลย์ บุตรขัน (4 กันยายน พ.ศ. 2461 - 29 สิงหาคม พ.ศ. 2515) นักแต่งเพลง และนักเขียนบทละคร ที่มีผลงานที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก จนได้รับการขนานนามให้เป็น "อัจฉริยะนักแต่งเพลงอันดับหนึ่งของไทย"
ครูไพบูลย์ บุตรขัน เดิมชื่อ ไพบูลย์ ประณีต เกิดที่บ้านท้องคุ้ง ตำบลเชียงรากใหญ่ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี เป็นบุตรของนายบุตร และนางพร้อม ประณีต ครอบครัวมีอาชีพทำนา มีฐานะยากจน มีพี่น้อง 3 คน เมื่ออายุได้ 6 ปี บิดาเสียชีวิต จึงได้รับการเลี้ยงดูโดยนายเจน บุตรขัน ผู้เป็นอา นำไปอยู่ที่อำเภอปทุมวัน กรุงเทพ และได้เปลี่ยนนามสกุลจากประณีต มาเป็นบุตรขัน
ไพบูลย์ บุตรขัน เริ่มศึกษาชั้นประถมต้นที่จังหวัดปทุมธานี ประถมปลายที่โรงเรียนสตรีปทุมวัน และศึกษาจนจบมัธยม 8 ที่โรงเรียนสวัสดิ์อำนวยเวทย์ กรุงเทพ และศึกษาดนตรีเพิ่มเติมจากครูพิณ โปร่งแก้วงาม ราวปี พ.ศ. 2476-2478 และเรียนวิชาดนตรีและโน้ตเพลงสากลเพิ่มเติมที่สมาคมวายเอ็มซีเอ แถบถนนวรจักร และได้ใช้โน้ตดนตรีประกอบการแต่งเพลงทุกครั้งตั้งแต่นั้นมา
หลังจากเรียนจบ ไพบูลย์ บุตรขัน ได้ทำงานเป็นครูสอนภาษาไทยที่โรงเรียนกว๋องสิว แล้วลาออกไปทำงานเป็นช่างไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าสามเสน แล้วลาออกไปทำงานกับคณะละคร คณะแม่แก้ว และคณะจันทโรภาส ของพรานบูรพ์ ทำหน้าที่เขียนบทละครวิทยุ และแต่งเพลง
งานเพลงของไพบูลย์ บุตรขัน เริ่มบันทึกแผ่นเสียงเมื่อประมาณ พ.ศ. 2490 จากการชักนำของ สวัสดิภาพ บุนนาค ซึ่งเป็นเพื่อนและน้องเขย เพลงในยุคแรกได้แก่เพลง "มนต์เมืองเหนือ" "คนจนคนจร" "ดอกไม้หน้าพระ" "ดอกไม้หน้าฝน" และ "ค่าน้ำนม" และได้รับการยกย่องว่าเป็นงานที่มีคุณค่า และได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน เช่น "โลกนี้คือละคร" (ขับร้องโดย ปรีชา บุณยะเกียรติ) "เบ้าหลอมดวงใจ" และ "มนต์รักลูกทุ่ง" (ขับร้องโดย ไพรวัลย์ ลูกเพชร) "ฝนเดือนหก" (ขับร้องโดย รุ่งเพชร แหลมสิงห์) "ยมบาลเจ้าขา" (ขับร้องโดย บุปผา สายชล)
"กลิ่นโคลนสาปควาย" (แต่งขึ้นในปี พ.ศ. 2496 ขับร้องโดยชาญ เย็นแข) เป็นอีกผลงานชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่งของของไพบูลย์ บุตรขัน ที่ทางราชการไทยเคยประกาศห้ามเปิดในช่วงการปราบปรามคอมมิวนิสต์ แม้จะมีการห้ามจากทางการแต่ยิ่งห้ามก็มีผู้ฟังซื้อแผ่นเสียงไปฟังเป็นจำนวนมาก เพลงนี้ยังได้รับยกย่องให้เป็นรากฐานของเพลงลูกทุ่งอีกด้วยเพราะในอดีตก่อน พ.ศ. 2500 นั้นเพลงในประเทศไทยยังมิได้แบ่งแยก ยุคสมัยที่ยังไม่ได้มีการแบ่งแยกเพลงลูกกรุงและเพลงลูกทุ่งออกจากกันอย่างชัดเจน
หลังจากเสียชีวิตไปแล้วหลายปี ในปี พ.ศ. 2532 เพลงของครูไพบูลย์ ได้รับรางวัลพระราชทานในงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกไทย ถึง 10 เพลง ได้แก่ "ชายสามโบสถ์" (ขับร้องโดย คำรณ สัมบุญณานนท์) "น้ำตาเทียน" (ขับร้องโดย ทูล ทองใจ) "บ้านไร่น่ารัก" และ "เพชรร่วงในสลัม" (ขับร้องโดย ชินกร ไกรลาศ) "ฝนซาฟ้าใส" (ขับร้องโดย ยุพิน แพรทอง) "ฝนเดือนหก" (ขับร้องโดย รุ่งเพชร แหลมสิงห์) "บุปเพสันนิวาส" และ "มนต์รักแม่กลอง" (ขับร้องโดย ศรคีรี ศรีประจวบ) "มนต์รักลูกทุ่ง" (ขับร้องโดย ไพรวัลย์ ลูกเพชร) และ "ยมบาลเจ้าขา" (ขับร้องโดย บุปผา สายชล) และในปี พ.ศ. 2534 ได้รับรางวัลจากเพลง "หนุ่มเรือนแพ" (ขับร้องโดย กาเหว่า เสียงทอง)
ตั้งแต่วัยหนุ่ม ครูไพบูลย์ บุตรขัน ป่วยเป็นโรคเรื้อนและไม่มีเงินรักษาอย่างจริงจัง ครูไพบูลย์เก็บตัวเงียบไม่ออกสังคม โดยได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากนางพร้อม ประณีต ผู้เป็นมารดาจนนางพร้อมเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2508 แต่ได้ความช่วยเหลือจากเพื่อนฝูง พาไปรักษาจนหายดี แต่ก็ยังมีร่างกายพิการ ต่อมาได้กลัยมาเป็นโรคร้ายอีกครั้ง และใช้ยาเสพติดเพื่อบรรเทาอาการ และเข้าบำบัดที่สำนักสงฆ์ถ้ำกระบอกจนหายขาดในปี พ.ศ. 2502
ครูไพบูลย์ บุตรขัน สมรสกับ ดวงเดือน บุตรขัน นักแต่งเพลงลูกศิษย์ครูไสล ไกรเลิศ ที่เป็นเพื่อนกัน ทั้งคู่ร่วมงานกันและแต่งงานกันในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2511 แต่ครูไพบูลย์ได้ล้มป่วยด้วยโรคลำไส้ อาเจียนเป็นเลือด หลังจากนั้นไม่นาน จนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2515) อายุ 54 ปี ได้รับพระราชทานเพลิงศพเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2516
ครูไพบูลย์ บุตรขัน ที่พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง (ภาพจากคุณ tom101)
ลูกศิษย์คนดังพูดถึงครูไพบูลย์ บุตรขัน
"แดน บุรีรัมย์" ศิษย์คนใกล้ชิดคนหนึ่งของครูไพบูลย์ บุตรขัน เขียนเล่าไว้ในหนังสือ "ไพบูลย์ บุตรขันราชาเพลงลูกทุ่งไทย" ว่า
"...การเขียนเพลงของครูแต่ละเพลงครูจะต้องศึกษาบุคลิก น้ำเสียงและความเหมาะสมของนักร้องแต่ละคนเสียก่อน แล้วจึงแต่งเพลงหรือมอบเพลงที่แต่งเตรียมไว้ให้ไปร้อง
ถ้าหากครูเห็นว่าไม่เหมาะสมแล้วละก้อ จะขอร้องหรืออ้อนวอนอย่างไร ครูก็จะไม่ยอม แต่หากเห็นว่าเหมาะแม้จะไม่มีเงินมาซื้อครูก็ยินมอบให้ไปร้องฟรีๆ..."
"...ในยุคที่เพลงของครูกำลังเฟื่อง ผู้สร้างภาพยนตร์ไทยแต่ละคน ก็จะกำหนดให้ครูเป็นคนเขียนเพลงประกอบภาพยนตร์เกือบทุกเรื่อง โดยเฉพาะตอนที่ครูรังสี ทัศนพยัคฆ์ จะสร้างหนังเรื่องมนต์รักลูกทุ่งก็ขอให้ครูเขียนเพลงทำเป็นไตเติ้ลด้วย นอกจากเพลงภาพยนตร์ที่ต้องเขียนอยู่แล้ว
ครูจึงต้องเดินทางไปบ้านเกิด อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี เพื่อหาบรรยากาศและสร้างอารมณ์
เมื่อไปถึงก็ออกไปนั่งที่ทุ่งนาหลังบ้าน และเป็นเวลาที่ฝนตกพอดี ในช่วงเวลาเย็นพระอาทิตย์กำลังจะตกดิน ซึ่งเป็นภาพที่สวยงามมาก
ครูเริ่มเขียนเพลงว่า
'หอมเอย หอมดอกกระถิน รวยระรินเคล้ากลิ่นกองฟาง...ได้คันเบ็ดพร้อมเหยื่อ...'
พอเขียนถึงตรงนี้ ครูก็เขียนต่อไปไม่ได้ ใช้เวลาคิดอยู่นานหลายเดือน เขียนแล้วลบ เขียนแล้วขีดฆ่า ไม่เสร็จลงได้สักที จนเจ้าหนังมาเร่งว่า การถ่ายทำหนังจะเสร็จอยู่แล้ว ทำไมเพลงไม่เสร็จสักที
ครูจึงลงมือเขียนต่อจนจบว่า
'...มีน้องนางแก้มเรื่อนั่งเตียงตกปลา ทุ่งรวงทองของเรานี้มีคุณค่า มนต์รักลูกทุ่งบ้านนา หวานแว่วแผ่วดังกังวาน...'
ซึ่งจัดว่าเป็นเพลงที่ ครูไพบูลย์ บุตรขัน ใช้เวลาเขียนนานที่สุด และทำให้ ไพรวัลย์ ลูกเพชร ดังระเบิดเถิดเทิงของยุคนั้นเลยทีเดียว"
"ไพรวัลย์ ลูกเพชร" เจ้าของเสียงร้องเพลงลูกทุ่งอมตะ มนต์รักลูกทุ่งเอง ก็เขียนเล่าไว้ใน ไพบูลย์ บุตรขัน ผู้สร้างศิลปินให้โด่งดังของ เลิศชาย คชยุทธว่า
"...เริ่มอันดับแรก เพลงที่ครูแต่งให้ผมร้อง เพลงกลิ่นธูสุโขทัย ขึ้นต้นว่า 'สุริยา นกกาเร่าร้อง เสียงไก่ขันดังก้อง ต้องลาจากน้องเสียแล้วขวัญพี่...'
เพลงนี้พอเริ่มออกมาก็ดัง แฟนเพลงชื่นชอบกันมาก พอเริ่มดังปุ๊บ ครูบอกว่า เออใช้ได้ๆ เอาอย่างนี้ดีกว่าแต่งเพลงใหม่ นิราศรักนครปฐม เนื้อเพลงมีว่า '...รถเมล์รับจ้างประจำทางสายเพชรบุรี...' โอ้โฮ เพลงนี้ดังเปรี้ยงขึ้นมาทันที
ครูบอกว่า เอาอย่างนี้ดีกว่า ลองเอาเพลงมาลัยรักจากพิษณุโลกไปร้องหน่อย เรียบร้อยดังอีก
ครูบอกว่า เอ้า ลองเอาเพลงมนต์รักลูกทุ่งไปร้องอีกหน่อย พอร้องมนต์รักลูกทุ่งปั๊บ ครูรังสี ทัศนพยัคฆ์เลยนำไปสร้างหนัง
ทีนี้ล่ะ ครูไพบูลย์ ดังระเบิด ใครๆ ก็มาห้อมล้อม อยากได้เพลงของครูไปร้อง เพราะร้องแล้วมันดัง จนครูไม่มีเวลาเลย ตอนนั้นดังทั้งหนังดังทั้งเพลง..."
ที่มา
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=18210.0;wap2
http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9490000007130
https://2g.ppantip.com/cafe/gallery/topic/G3600869/G3600869.html
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=mambyrose&month=11-2013&date=07&group=37&gblog=4
ห้องเพลงคนรากหญ้าเปิดขึ้นมามีวัตถุประสงค์ เพื่อ
1. มีพื้นที่ให้เพื่อนๆ ได้มาพบปะ พูดคุยระหว่างกัน ในภาวะที่ต้องระมัดระวังการโพสการเมืองอย่างเคร่งครัด
2. เป็นพื้นที่ พักผ่อน ลดความเครียดทางการเมือง ให้เพื่อนๆ มีกิจกรรมสนุกๆ ร่วมกัน
3. สร้างมิตรภาพและความปรองดอง ซึ่งเราหวังให้สังคมไทยเป็นเช่นนี้ แม้นคิดต่างกัน แต่เมื่อคุยกันแล้วก็เป็นเพื่อนกันเหมือนเดิม
กระทู้ห้องเพลงเป็นกระทู้เปิด มิได้ปิดกั้นผู้หนึ่งผู้ใด "ขอให้มาดี เราคือเพื่อนกัน" ซึ่งก็เหมือนกับกระทู้ทั่วไป ที่เราไม่จำเป็นต้องทราบว่า User ท่านไหนเป็นใครมาจากไหน ...ดังนั้น หากมีบุคคลใดที่มีการโพสสิ่งผิดกฎหมายและศีลธรรมอันดีของสังคมนั้น หรือสิ่งรบกวนใดๆ ในบอร์ด เป็นเรื่องส่วนบุคคล ทางห้องเพลงจึงขอแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น