ช่วง 19th ทำไมชาติตะวันตกดูไม่ค่อยกักการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ญี่ปุ่นเลยครับ

เห็นการพัฒนาของญี่ปุ่นดูก้าวกระโดดมากๆ แลดูทั้งอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมันนี ฯลฯ จะยอมถ่ายทอดเทคโนโลยีตะวันตกต่างๆแก่ญี่ปุ่นแบบไม่มีห่วงเลย ต่างกับสยามชัดๆ ทำไมชาติตะวันตกดูไม่ค่อยกักการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ญี่ปุ่นเลยครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 8
1. ญี่ปุ่นเป็นตลาดที่ใหญ่พอตัว   
ตลาดที่ใหญ่ ทำให้ พวกทุนยุค 2 เช่น อเมริกา เยอรมัน เข้าขวางพวกอังกฤษฝรั่งเศส  อีกทั้งญี่ปุ่น มี 2 ศูนย์อำนาจ
มีพวกฝรั่งให้ท้ายแต่ละศูนย์คือ พวกโชกุนโตกุกาวะ คุยอังกฤษ พวกพันธมิตรนิยมจักรพรรดิจับมือฝรั่งเศส แล้วก็ได้รับความช่วยเหลือทั้งคู่ แต่สุดท้ายญี่ปุ่นก็เกี้ยเซี้ยยอมกัน ทำให้ได้อาวุธยุทโธปกรณ์ไปเยอะระดับหนึ่ง ยากแก่การยึดครอง ที่พ่วงมาก็คือมีระบบตลาดรองรับระบบอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาต่อได้

2. ญี่ปุ่นทุ่มทุนมหาศาลกับการแปลงานวิชาการ ญี่ปุ่นคัดเลือกงานวรรณกรรม งานวิชาการวิทยาศาสตร์ ชั้นเยี่ยมของฝรั่ง แปลหมด ทุ่มงบมหาศาล  ว่ากันว่าเกือบ 10% ของงบประมาณแผ่นดินสมัยนั้น ทั้งๆที่อาวุธเรือรบก็ต้องสร้าง ทางรถไฟโครงสร้างประเทศก็ต้องทำ  ญี่ปุ่นก็ยังทุ่นงบให้การแปลงานวิชาการในระดับสูงมากๆ  
(นึกง่ายๆว่า อย่างไทยเราอ้างว่าให้ศึกษาภาษาอังกฤษให้หนักๆ ก่อน แล้วผลเป็นไง แต่จริงๆแล้วถ้าเป้าหมายคือพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี วิธีที่ให้ช่างวิศวกรในประเทศครอบครองทักษะความรู้ได้เร็วที่สุด ก็ต้องไปทางนั้น ขีดความสามารถทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมถึงจะยกระดับ ไม่ต้องไล่ไปเรียนภาษาอังกฤษก่อน

ปัจจุบันทั้งญี่ปุ่นและเกาหลี มีหน่วยงานกึ่งรัฐที่ทำหน้าที่นำหางานต่างประเทศรับหน้าที่เจรจาธุรกิจแปลความต้องการลูกค้าแล้วส่งให้วิศวกรหรือผู้เชี่ยวชาญที่ไม่เก่งภาษาในบ้านตัวเองทำ คิดง่ายๆ การเคี่ยวเข็ญให้ช่างเทคนิคให้เรียนภาษาอังกฤษจะได้สำเร็จสักกี่คน)   

3. ลูกค้ารายสำคัญคืออเมริกา ซึ่งญี่ปุ่นส่งคนไปอยู่ไปเรียนเยอะแยะ และรับโอนมาเบื้องต้นคืออุตสาหกรรมเบาเช่นสิ่งทอ  อเมริกาตอนนั้น ก็เทียบได้กับจีนปัจจุบัน คือหนีจากอุตสาหกรรมสิ่งทอ ไปอย่างอื่น หลักๆคือก๊อบปี้สินค้าจากยุโรปแหลกราญ  หนังสือสารคดีเคยลงบทความเสนอเรื่องโปสเตอร์ล้อเลียนอเมริกาในหนังสือพิมพ์ยุโรปยุคนั้น อ่านแล้วนึกถึงที่ฝรั่งล้อจีนในปัจจุบัน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่