Mixed Methods Research การวิจัยแบบผสมวิธี .. 20/8/2560
https://ppantip.com/topic/36789361
การวิจัยแบบผสมวิธีได้รับความนิยมมากตั้งแต่ช่วง 1980s หรือเกือบสามสิบปีที่ผ่านมา แต่ยังมีการเข้าใจผิดจนถึงปัจจุบันว่าเป็นการใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเมื่อไรก็เรียกว่า Mixed Methods Research ซึงมีเงื่อนไขมากกว่านั้น งานของนักวิชาการที่ศึกษาระเบียบวิธีวิจัย Mixed Methods Research อย่างจริงจังเป็นที่ยอมรับ (Johnson, Onwuegbuzie, and Turner, 2007) ได้กำหนดประเภทการออกแบบการวิจัยดังนี้
1 นำด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitatively driven approaches/designs) เน้นการวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลักและเสริมด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อให้ได้ผลการวิจัยที่มีคุณค่ามากขึ้นและหรือลึกซึ้งเสริมให้กับการวิจัยเชิงปริมาณ
2 นำด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitatively driven approaches/designs) เน้นการวิจัยเชิงคุณภาพก่อนและเสริมด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ (Hesse-Biber, 2010)
3 มีการใช้เท่าเทียมกันหรือมีปฏิสัมพันธ์กัน (Interactive or equal status designs) ให้ความสำคัญเท่าเทียมกันและหรือมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ
4 กำหนดความสำคัญของแบบการวิจัยผสมกัน (Mixed priority designs) เป็นการใช้ข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพนำมาวิเคราะห์ผสมผสานกัน
Creswell and Clark (2011) ชี้ว่าในการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยเริ่มด้วยปัญหาการวิจัย สมมติฐานการวิจัย การใช้เครื่องมือและการเก็บข้อมูล ประชากร และการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อการพิสูจน์สมมติฐาน (Verify the hypothesis) ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยเน้นการสำรวจหาคำตอบ (Explore human experiences) ที่มาจากประสบการณ์ของมนุษย์ (human experience) ไม่มีการตั้งสมมติฐานเพื่อพิสูจน์ การวิจัยเชิงปริมาณเชื่อว่าสามารถเอาไปอ้างอิงกับบริบทอื่นได้ที่เรียกว่าสามัญการ (Generalization) ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพไม่เน้นการไปอ้างอิง แต่เน้นที่บริบท (Context-based หรือ Context-specific) ซึ่งก็อาจเอาไปเป็นตัวอย่างการวิจัยในบริบทอื่นๆได้
ดังนั้น Mixed Methods Research ตามความหมายของนักวิชาการที่ได้กล่าวถึงข้างต้น จึงมิใช่การเอาการวิจัยเชิงปริมาณมาต่อด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพหรือสลับกัน แล้วเรียกว่าการวิจัยแบบผสมวิธี แต่ต้องกำหนดการออกแบบงานวิจัยโดยมีเหตุผลรองรับดังที่ได้กล่าวถึงประเภทข้างต้น
อ้างอิง
Creswell, J. W., & Plano Clark, V. L. (2011). Designing and conducting mixed methods research.
Los Angeles, CA: Sage.
Hesse-Biber, S. (2010). Emerging methodologies and methods practices in the field of mixed
method research. Qualitative Inquiry, 16(6), 415-418.
Johnson, R. B., Onwuegbuzie, A. J., & Turner, L. A. (2007). Toward a Definition Mixed Methods
Research. Journal of Mixed Methods Research, 1, 112-133.
Mixed Methods Research การวิจัยแบบผสมวิธี .. 20/8/2560 สรายุทธ กันหลง
https://ppantip.com/topic/36789361
การวิจัยแบบผสมวิธีได้รับความนิยมมากตั้งแต่ช่วง 1980s หรือเกือบสามสิบปีที่ผ่านมา แต่ยังมีการเข้าใจผิดจนถึงปัจจุบันว่าเป็นการใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเมื่อไรก็เรียกว่า Mixed Methods Research ซึงมีเงื่อนไขมากกว่านั้น งานของนักวิชาการที่ศึกษาระเบียบวิธีวิจัย Mixed Methods Research อย่างจริงจังเป็นที่ยอมรับ (Johnson, Onwuegbuzie, and Turner, 2007) ได้กำหนดประเภทการออกแบบการวิจัยดังนี้
1 นำด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitatively driven approaches/designs) เน้นการวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลักและเสริมด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อให้ได้ผลการวิจัยที่มีคุณค่ามากขึ้นและหรือลึกซึ้งเสริมให้กับการวิจัยเชิงปริมาณ
2 นำด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitatively driven approaches/designs) เน้นการวิจัยเชิงคุณภาพก่อนและเสริมด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ (Hesse-Biber, 2010)
3 มีการใช้เท่าเทียมกันหรือมีปฏิสัมพันธ์กัน (Interactive or equal status designs) ให้ความสำคัญเท่าเทียมกันและหรือมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ
4 กำหนดความสำคัญของแบบการวิจัยผสมกัน (Mixed priority designs) เป็นการใช้ข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพนำมาวิเคราะห์ผสมผสานกัน
Creswell and Clark (2011) ชี้ว่าในการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยเริ่มด้วยปัญหาการวิจัย สมมติฐานการวิจัย การใช้เครื่องมือและการเก็บข้อมูล ประชากร และการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อการพิสูจน์สมมติฐาน (Verify the hypothesis) ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยเน้นการสำรวจหาคำตอบ (Explore human experiences) ที่มาจากประสบการณ์ของมนุษย์ (human experience) ไม่มีการตั้งสมมติฐานเพื่อพิสูจน์ การวิจัยเชิงปริมาณเชื่อว่าสามารถเอาไปอ้างอิงกับบริบทอื่นได้ที่เรียกว่าสามัญการ (Generalization) ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพไม่เน้นการไปอ้างอิง แต่เน้นที่บริบท (Context-based หรือ Context-specific) ซึ่งก็อาจเอาไปเป็นตัวอย่างการวิจัยในบริบทอื่นๆได้
ดังนั้น Mixed Methods Research ตามความหมายของนักวิชาการที่ได้กล่าวถึงข้างต้น จึงมิใช่การเอาการวิจัยเชิงปริมาณมาต่อด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพหรือสลับกัน แล้วเรียกว่าการวิจัยแบบผสมวิธี แต่ต้องกำหนดการออกแบบงานวิจัยโดยมีเหตุผลรองรับดังที่ได้กล่าวถึงประเภทข้างต้น
อ้างอิง
Creswell, J. W., & Plano Clark, V. L. (2011). Designing and conducting mixed methods research.
Los Angeles, CA: Sage.
Hesse-Biber, S. (2010). Emerging methodologies and methods practices in the field of mixed
method research. Qualitative Inquiry, 16(6), 415-418.
Johnson, R. B., Onwuegbuzie, A. J., & Turner, L. A. (2007). Toward a Definition Mixed Methods
Research. Journal of Mixed Methods Research, 1, 112-133.