งานวิจัยควรมี 6 บทหรือ 5 บท (Research papers should have 5 or 6 chapters?)

กระทู้สนทนา
งานวิจัยควรมี 6 บทหรือ 5 บท (Research papers should have 5 or 6 chapters?)
https://ppantip.com/topic/36158148

ผมไปอ่านในไลน์กลุ่มใหญ่มากที่ประกอบด้วยผู้รู้ทางการศึกษา มีประเด็นเรื่องงานวิจัยควรมีกี่บท  มีผู้เขียนท่านหนึ่งให้ความเห็นข้างล่าง...

CB มี่จริงรายงานวิจัยควร ๖ บท คือ
๑) บทนำ
๒) ทบทวนวรรณกรรม
๓) วิธีดำเดินการวิจัย
๔) ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
๕) ผลการวิจัย ตอบวัตถุประสงค์ คำถามวิจัย และสมมติฐาน ถ้ามี
๖) สรุปการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

ผลการวิจัยเป็น หัวใจของการวิจัยที่จะต้องนำมาแสดงอย่างชุดเจนเป็นเอกเทศ มิใช่นำไป "หมก" ไว้ในบทที่ ๔ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล บางคนเอาผลการวิจัยไปหมกไว้ในภาคผนวกครับ

ทำไมจึงเกิดภาพวิจัย ๕ บท
สาเหตุเพราะ อาจารย์ที่ำ เรียนอเมริการุ่นแรก เมื่อ ๖๐ ปีมรแล้ว ก็ทำวิจัยแบบสำรวจ ที่ปรึกษาเห็นว่า ข้อมูลและข้อค้นพบไม่มากจึงให้รวมผลการวิเคราะห์ข้อมูลและผลการวิจัย ไว้ในบทเดียวกัน บทที่ ๖ จึงร่นมาเป็นบทที่ ๕
ที่ถูกต้องคือรายงานวิจัยไม่ควรน้อยกว่า ๖ บทครับ cb ทำวิทยานิพนธ์ ป.เอก ที่ University of Southern California  (USC) ที่เป็นผู้นำด้าน Education ก็ทำ ๖ บทครับ
19:00 CB เสนอความเห็นเพื่อให้ได้ภาพที่ถูกต้อง ส่วนใครจะทำกี่บทก็ เป็นเสรีภาพทางวิชาการ แต่ถ้าไม่ติดยึดภาพเดิมๆ จะเห็นว่า ผลการวิจัย ควร แยกเป็นเอกเทศครับท่านวิชัย ขอบคุณครับ

ผมเขียนให้ความเห็น..

ประสบการณ์ตรงของผมคือเมื่อสี่เดือนก่อนผมเป็นผู้ทรงคุณวุฒิสอบนักศึกษา ป.เอกทางการศึกษาที่ มรภ.มหาสารคาม ที่ผมจริงๆแล้วได้ดูงานนักศึกษาสามคนมาหลายเดือนและทำคลินิกวิจัยให้และอ่านงานให้เขาหลายรอบ ในระหว่างการสอบ dissertation proposal ก็มีกรรมการสอบท่านหนึ่งทักท้วงว่าทำไมวางแผนทำงานวิจัย 6 บท proposal ทำไมมีสี่บทไม่มีสามบทเหมือนงานอื่น  ตัวประธานหลักสูตรและเลขาหลักสูตรซึ่งเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลักและรองสลับกันกับนักศึกษาสามคนก็ตอบว่าเป็นเอกลักษณ์ของหลักสูตร

ตัวท่านประธานสอบซึ่งเก่งมากและเป็น รศ.ดร. ก็โยนมาทางผม  ผมก็พยายามหลีกเลี่ยงท่านก็ไม่ยอม  ผมก็เลยตอบว่าผมอ่านงานวิจัยปริญญาเอกภาษาอังกฤษทางการศึกษาและสังคมศาสตร์มามากหลายปี (จาก ProQuest เป็นส่วนใหญ่) ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ  เชิงปริมาณสวนใหญ่จะเป็นห้าบท ส่วนงานวิจัยเชิงคุณภาพและแบบผสมวิธี (mixed methods research) ก็แล้วแต่ผู้วิจัย บางทีก็เป็นหกบท เพราะเขาต้องการจะเน้นหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งขี้นมา และในหลักสูตรนี้ผมเห็นว่าชื่อหลักสูตรคือ EMLD หรือ Educational Management for Local Development เขาเน้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research) ซึ่งต้องเน้นการศึกษาบริบท (context) เพีอให้ผู้อ่านงานวิจัยเข้าใจบริบท จึงแยกหัวข้อบริบทที่เป็นเรืองของพื้นที่ ประเพณีวัฒนธรรม เศรษกิจ ฯลฯ เป็นบทหนี่งต่างหาก  และผมก็ไปอ่านเจอในหนังสือของ Prof. John Creswell และหนังสือของ Prof. Harry Walcott ก็เขียนในทำนองเดียวกันว่าไม่จำเป็นที่งานวิจัยให้เป็นห้าบทครับ ที่ประชุมก็ยอมรับได้ และท่านประธานสอบก็ชมภายหลังกับนักศึกษาสามคนที่สอบว่าท่านได้รับความรู้ใหม่เป็นวิชาการดี  ผมมีอ้างอิงบ้างข้างล่าง

.. สรายุทธ จันทร์ 27 ก.พ. 60  

http://johnwcreswell.com/

https://us.sagepub.com/en-us/nam/writing-up-qualitative-research/book233101

https://ppantip.com/topic/36046394
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่