ทุกวันนี้เห็นคนใช้ไม้ยมกแบบผิด ๆ กันมาก เห็นแล้วสะดุดตา คันมือยิบ ๆ
คือ แค่เป็นคำเดียวกันที่เขียนติดกันก็ใช้ไม้ยมกกันแล้ว โดยที่ไม่ได้สนใจความหมายของคำเลย
อ้างอิงจากสำนักงานราชบัณฑิตสภา
ไม้ยมก ชื่อเครื่องหมายวรรคตอน รูปดังนี้
ๆ
มีหลักเกณฑ์การใช้ดังต่อไปนี้
ใช้เขียนหลังคำ วลี หรือประโยค เพื่อให้อ่านซ้ำคำ วลีหรือประโยคอีกครั้งหนึ่ง
ตัวอย่าง
(๑) เด็กเล็ก ๆ [เด็ก-เล็ก-เล็ก]
(๒) ในวันหนึ่ง ๆ [ใน-วัน-หนึ่ง-วัน-หนึ่ง]
(๓) แต่ละวัน ๆ [แต่-ละ-วัน-แต่-ละ-วัน]
(๔) มีเสียงตะโกนว่า “ไฟไหม้ ๆ” [มี-เสียง-ตะ-โกน-ว่า-ไฟ-ไหฺม้-ไฟ-ไหฺม้]
หมายเหตุ
๑. คำที่เป็นคำซ้ำ ต้องใช้ไม้ยมก หรือยมก เสมอ เช่น สีดำ ๆ [สี-ดำ-ดำ] เด็กตัวเล็ก ๆ [เด็ก-ตัว-เล็ก-เล็ก]
๒. ไม่ควรใช้ไม้ยมก หรือ ยมก ในกรณีดังต่อไปนี้
๒.๑
เมื่อเป็นคำคนละบทคนละความ
ฉันจะไปปทุมวัน ๆ นี้
ต้องเป็น ฉันจะไปปทุมวันวันนี้
เขาเคยมาทุกวัน ๆ นี้ไม่มา
ต้องเป็น เขาเคยมาทุกวัน วันนี้ไม่มา
เขาซื้อสี ๕ กระป๋อง ๆ ละ ๕๐ บาท
ต้องเป็น เขาซื้อสี ๕ กระป๋อง กระป๋องละ ๕๐ บาท
๒.๒ เมื่อรูปคำเดิมเป็นคำ ๒ พยางค์ ที่มีเสียงซ้ำกัน เช่น นานา - นานาชาติ
๒.๓
เป็นคำคนละชนิดกัน
ตัวอย่างคนคนนี้ เช่น คนคนนี้มีวินัย (คนคำแรกเป็นสามานยนาม คนคำหลังเป็นลักษณนาม)
๒.๔ เมื่อเป็นคำประพันธ์
ฝากไว้ให้ใช้ภาษาไทยกันอย่างถูกต้องด้วยนะคะ ผู้เขียนภาษาไทยทั้งหลาย
เว็บไซต์ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา
http://www.royin.go.th/
ฝากถึงผู้เขียนทั้งหลาย เรื่องการใช้ไม้ยมก
คือ แค่เป็นคำเดียวกันที่เขียนติดกันก็ใช้ไม้ยมกกันแล้ว โดยที่ไม่ได้สนใจความหมายของคำเลย
อ้างอิงจากสำนักงานราชบัณฑิตสภา
ไม้ยมก ชื่อเครื่องหมายวรรคตอน รูปดังนี้ ๆ
มีหลักเกณฑ์การใช้ดังต่อไปนี้
ใช้เขียนหลังคำ วลี หรือประโยค เพื่อให้อ่านซ้ำคำ วลีหรือประโยคอีกครั้งหนึ่ง
ตัวอย่าง
(๑) เด็กเล็ก ๆ [เด็ก-เล็ก-เล็ก]
(๒) ในวันหนึ่ง ๆ [ใน-วัน-หนึ่ง-วัน-หนึ่ง]
(๓) แต่ละวัน ๆ [แต่-ละ-วัน-แต่-ละ-วัน]
(๔) มีเสียงตะโกนว่า “ไฟไหม้ ๆ” [มี-เสียง-ตะ-โกน-ว่า-ไฟ-ไหฺม้-ไฟ-ไหฺม้]
หมายเหตุ
๑. คำที่เป็นคำซ้ำ ต้องใช้ไม้ยมก หรือยมก เสมอ เช่น สีดำ ๆ [สี-ดำ-ดำ] เด็กตัวเล็ก ๆ [เด็ก-ตัว-เล็ก-เล็ก]
๒. ไม่ควรใช้ไม้ยมก หรือ ยมก ในกรณีดังต่อไปนี้
๒.๑ เมื่อเป็นคำคนละบทคนละความ
ฉันจะไปปทุมวัน ๆ นี้ ต้องเป็น ฉันจะไปปทุมวันวันนี้
เขาเคยมาทุกวัน ๆ นี้ไม่มา ต้องเป็น เขาเคยมาทุกวัน วันนี้ไม่มา
เขาซื้อสี ๕ กระป๋อง ๆ ละ ๕๐ บาท ต้องเป็น เขาซื้อสี ๕ กระป๋อง กระป๋องละ ๕๐ บาท
๒.๒ เมื่อรูปคำเดิมเป็นคำ ๒ พยางค์ ที่มีเสียงซ้ำกัน เช่น นานา - นานาชาติ
๒.๓ เป็นคำคนละชนิดกัน
ตัวอย่างคนคนนี้ เช่น คนคนนี้มีวินัย (คนคำแรกเป็นสามานยนาม คนคำหลังเป็นลักษณนาม)
๒.๔ เมื่อเป็นคำประพันธ์
ฝากไว้ให้ใช้ภาษาไทยกันอย่างถูกต้องด้วยนะคะ ผู้เขียนภาษาไทยทั้งหลาย
เว็บไซต์ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา
http://www.royin.go.th/