ขอความกรุณาใช้ไม้ยมกให้ถูกหลักภาษาไทยกันหน่อยเถอะ

กระทู้คำถาม
เป็นข้าราชการค่ะ เขียนหนังสือถึงอธิบดี มีประโยคหนึ่งเขียนว่า ขออนุมัติเดินทางไปราชการ 3 ครั้ง ครั้งละ 5 คน และ ไปเยี่ยมชุมชน
10 จังหวัด จังหวัดละ 5 แห่ง และ เบิกค่าเบี้ยเลี้ยง 5 คน คนละ 480 บาท หน้าห้องให้มาแก้ใหม่ เป็น ขออนุมัติเดินทางไปราชการ 3 ครั้ง ๆ ละ 5 คน
และเยี่ยมชุมชน 10 จังหวัด ๆ ละ 5 แห่ง และ เบิกค่าเบี้ยเลี้ยง 5 คน ๆละ 480 บาท เราไปเถียงหัวชนฝาเลยว่า ถ้าใช้ไม้ยมกอย่างนี้มันไม่ถูกหลักภาษาไทย
อธิบายไป การใช้ไม้ยมกมันใช้เพื่อซ้ำคำข้างหน้า แต่นี่มันเป็นคำเดียวกันก็จริง แต่มันเป็นวลีใหม่ไปแล้ว บลาๆๆๆๆ เขาก็ว่า ใช้กันมาอย่างนี้แต่ไหนแต่ไรแล้ว ยังไงก็จะแก้ให้ได้ มันก็ใช่จริงๆ ด้วย เห็นใช้กันจังไม้ยมกในลักษณะนี้ ยกเว้นเราที่ไม่ใช้ แล้วรู้ไหม หน้าห้องที่ผ่าน 3-4 ขั้นตามแต่ละระดับ ให้ใช้ไม้ยมก
เหมือนกันหมด เราก็ว่าแล้วแต่เจ้านาย (อธิบดี) ก็แล้วกัน ก็แก้ไป แล้วบอกเขาไปว่านี่แก้แบบขัดใจมาก เพื่อๆ มีความเห็นว่าไงคะ ขอโทษด้วยที่ระบายแบบนี้ ออกจะไร้สาระ (ที่ไม่ไร้สาระ) ไปหน่อยค่ะ ขอบคุณนะคะที่เข้ามาอ่านและออกความเห็นนะคะ
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
องค์กรแต่ละแห่งมีการใช้ภาษาแตกต่างกัน
ภาษาถูกปรับใช้ตามความถนัดของแต่ละบุคคล
การใช้ไม้ยมกเพื่อย่อคำให้สั้นลง ผมก็ว่าสะดวกดี ความหมายก็ไม่ได้ผิดอะไร

ภาษาจีนยังมีย่อคำ
ภาษาอังกฤษยังมีใช้สัญลักษณ์ขึ้นมาทดแทน
การยึดติดกับหลักความคิดของคนยุคก่อนมากเกินไป หัวสมองจะไม่พัฒนานะครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่