เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจากราคะ
อันกิเลสเครื่องผูกคือราคะผูกไว้
นักเต้นรำรวบรวมเข้าไว้ซึ่งธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ในท่ามกลางสถานเต้นรำ
ในท่ามกลางสถานมหรสพ
แก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น
เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจากโทสะ
อันกิเลสเครื่องผูกคือโทสะผูกไว้
นักเต้นรำรวบรวมเข้าไว้ซึ่งธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ
ในท่ามกลางสถานเต้นรำ
ในท่ามกลางสถานมหรสพ
แก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น
เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจากโมหะ
อันกิเลสเครื่องผูกคือโมหะผูกไว้
นักเต้นรำย่อมรวบรวมไว้ซึ่งธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ
ในท่ามกลางสถานเต้นรำ
ในท่ามกลางสถานมหรสพ
แก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น
นักเต้นรำนั้น
ตนเองก็มัวเมาประมาท
ตั้งอยู่ในความประมาท
เมื่อแตกกายตายไป
ย่อมบังเกิดในนรกชื่อปหาสะอนึ่ง
ถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า
นักเต้นรำคนใดทำให้คนหัวเราะ รื่นเริงด้วย
คำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง ในท่ามกลางสถานเต้นรำ
ในท่ามกลางสถานมหรสพผู้นั้นเมื่อแตกกายตายไป
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชื่อปหาสะ
ความเห็นของเขานั้นเป็นความเห็นผิด
ดูกรนายคามณี
ก็เราย่อมกล่าวคติสองอย่างคือ
นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน อย่างใดอย่างหนึ่ง
ของบุคคลผู้มีความเห็นผิด ฯ
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๘
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
หน้าที่ ๓๑๔/๔๐๒ ข้อที่ ๕๘๙-๕๙๑
เคราะห์ร้ายอันใหญ่หลวงของอาชีพให้ความบันเทิง(พระสูตร)
อันกิเลสเครื่องผูกคือราคะผูกไว้
นักเต้นรำรวบรวมเข้าไว้ซึ่งธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ในท่ามกลางสถานเต้นรำ
ในท่ามกลางสถานมหรสพ
แก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น
เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจากโทสะ
อันกิเลสเครื่องผูกคือโทสะผูกไว้
นักเต้นรำรวบรวมเข้าไว้ซึ่งธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ
ในท่ามกลางสถานเต้นรำ
ในท่ามกลางสถานมหรสพ
แก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น
เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจากโมหะ
อันกิเลสเครื่องผูกคือโมหะผูกไว้
นักเต้นรำย่อมรวบรวมไว้ซึ่งธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ
ในท่ามกลางสถานเต้นรำ
ในท่ามกลางสถานมหรสพ
แก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น
นักเต้นรำนั้น
ตนเองก็มัวเมาประมาท
ตั้งอยู่ในความประมาท
เมื่อแตกกายตายไป
ย่อมบังเกิดในนรกชื่อปหาสะอนึ่ง
ถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า
นักเต้นรำคนใดทำให้คนหัวเราะ รื่นเริงด้วย
คำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง ในท่ามกลางสถานเต้นรำ
ในท่ามกลางสถานมหรสพผู้นั้นเมื่อแตกกายตายไป
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชื่อปหาสะ
ความเห็นของเขานั้นเป็นความเห็นผิด
ดูกรนายคามณี
ก็เราย่อมกล่าวคติสองอย่างคือ
นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน อย่างใดอย่างหนึ่ง
ของบุคคลผู้มีความเห็นผิด ฯ
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๘
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
หน้าที่ ๓๑๔/๔๐๒ ข้อที่ ๕๘๙-๕๙๑