Silence (Martin Scorsese, 2016) คะแนน B+
By Form Corleone
"ศรัทธาที่ต้องแลกมาด้วยชีวิตนั้นคุ้มค่าพอแล้วหรือเปล่า?" ภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนาของผู้กำกับมากฝีมือ 'Martin Scorsese' ล้วนมีประเด็นสุ่มเสี่ยงต่อความเชื่อและศรัทธาอยู่เสมอ อาทิ The Last Temptation of Christ, Kundun และครั้งนี้ถือเป็นเรื่องน่ายินดีที่เราได้ดูภาพยนตร์ 'Silence' ที่เป็นหนังที่เข้าฉายในต่างประเทศเมื่อปีที่ผ่านมาบนจอยักษ์เพราะงานภาพของหนังเรื่องนี้เข้าขั้นสวยงามในการถ่ายทำนอกสถานที่ มุมกล้องแบบแผนวิธีการจัดวางองค์ประกอบสวยงามมาก ถือได้ว่าเป็นงาน 'Cinematography' ที่ดีมากๆอีกเรื่องหนึ่งต้องบอกว่าไม่ควรพลาดในการรับชมบนจอยักษ์เพื่อซึมซับอิ่มเอมไปกับบรรยากาศในเรื่อง แม้ตัวภาพยนตร์จะมีความยาวถึง 2 ชั่วโมง 41 นาที แต่สำหรับเรานั้นเป็นช่วงเวลาที่คุ้มค่ามากๆในการพาตัวเองเข้าไปค้นหาคำตอบของศรัทธาที่อิงจากเค้าโครงเรื่องจริงในสมัยก่อน ที่มีการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ไปยังประเทศเอเชียตะวันออกที่ส่วนมากจะนับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่ ในบริบทของหนังเลือกเล่าเรื่องในการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในประเทศญี่ปุ่น เรื่องราวของสองบาทหลวง Rodrigues (Andrew Garfield), Garupe (Adam Driver) ที่แอบเข้าประเทศญี่ปุ่นพร้อมกับผู้นำทางชาวญี่ปุ่น Kichijiro (Yôsuke Kubozuka) เพื่อสืบหาความจริงจากจดหมายของบาทหลวง Ferreira (Liam Neeson) ที่บรรยายถึงความทรมานหรือความทุกข์ยากของเหล่าผู้นับถือศาสนาคริสต์และผู้เผยแพร่ศาสนาที่โดนกำจัดจนหมดสิ้น แน่นอนว่าการเผยแพร่ศาสนาหนึ่งไปยังอีกศาสนาหนึ่งหรือการป้อนข้อมูลความเชื่อในศาสนาตัวเองไปสู่ศาสนาหนึ่งมักส่งผลร้ายตามมาเสมอ นั่นคือ ความขัดแย้งระหว่างสองฝ่ายที่ศรัทธาไม่เหมือนกัน เพียงแต่ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ให้พลังในการสะท้อนถึงความเชื่อและชีวิตไปพร้อมศรัทธาที่ตัวละครแบกรับเอาไว้ได้อย่างละมุมลุ่มลึก ในขณะเดียวกันก็ก้าวร้าว+ประนีประนอมอยู่พอสมควร องค์รวมของ 'Silence' จึงเป็นงานที่ทั้งดูสนุกไปพร้อมอารมณ์เครียดและภาวะกดดันที่ตัวละครกำลังเผชิญหน้า ยิ่งไปกว่านั้น หนังเองยังชวนตั้งคำถามต่อศรัทธาอยู่ตลอดเวลา และยังให้คำตอบแบบปลายเปิดอยู่ตลอดเวลาในบางคำถามอีกด้วย
'ศรัทธาต่อพระเจ้า...ความเงียบของพระเจ้า' เนื่องจากตัวภาพยนตร์มีระยะเวลาในการเล่าเรื่องค่อนข้างยาวจึงทำให้เราสามารถแยกย่อยประเด็นต่างๆออกจากกันได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป การเปลี่ยนแปลงทัศนคติที่ตัวละครพึงมีและพึงกระทำนั้นเป็นไปตามช่วงเวลาที่หนังเล่าอย่างธรรมชาติ+แฝงไปด้วยอารมณ์ที่รุนแรงอยู่ทุกช่วงขณะ ซึ่งต้องยอมรับว่าการแสดงของ 'Andrew Garfield' นั้นให้พลังทั้งสีหน้า แววตา และท่าทาง ได้ดีมากจนเราคิดว่าน่าจะถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสก้าสาขานำชายมากกว่าการแสดงในเรื่อง 'Hacksaw Ridge' เพราะงานนี้เป็นการสื่อสารที่ต้องใช้พลังในการเล่นสูงมากที่จะทำให้เราเชื่อว่าตัวละครตัวนี้มีความศรัทธาต่อพระผู้เป็นเจ้าสูงมาก ยิ่งกว่านั้นยังต้องแสดงแบบไม่ได้ศรัทธาจนเข้าขั้นขาดสติ และถ้าจะนับตัวละครที่มีอิทธิพลต่อเส้นเรื่องคงจะหนีไม่พ้นบาทหลวง 'Ferreira' ที่รับบทโดย 'Liam Neeson' ที่ถือเป็นตัวละครที่สะท้อนศรัทธาของภาพยนตร์เรื่องนี้ในอีกแง่มุมหนึ่งและยังสามารถค้ำจูงให้ตัวหนังส่งพลังได้ในแบบที่ต้องการอีกด้วย วิธีการกระแทกความรู้สึกสามัญสำนึกของตัวละครแต่ละตัวสามารถส่งผลกระทบต่อความรู้สึกขณะที่ดูอยู่ทุกช่วงเหตุการณ์ การลงโทษผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ที่โหดเหี้ยมของญี่ปุ่น ความยากลำบากในการนำคำสอนที่ตัวเองเชื่อถือมาสู่ดินแดนอื่น ความยึดมั่นถือมั่นในศรัทธาที่ต้องแลกมาด้วยชีวิต ล้วนถูกตัวหนังสะท้อนออกมาได้อย่างแยบยลจนไม่ได้ขัดต่อความเชื่อทางศาสนาที่มีอยู่เดิมมากจนเกินไป ไม่ได้นำพาความขัดแย้งหลังจากการได้รับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ให้เกิดขึ้นในภายนอก อย่างที่บอกไปว่าตัวหนังเองมีทั้งความก้าวร้าวและความประนีประนอมไปพร้อมกัน
คำถามที่ถือเป็นประเด็นสำคัญสำหรับเราในภาพยนตร์เรื่องนี้คือ ศรัทธาต่อพระเจ้าที่ต้องแลกมาด้วยชีวิตนั้นคุ้มค่าจริงๆหรือเปล่า? หรือการพยายามทำให้ผู้คนในดินแดนอื่นที่มีความเชื่อและศรัทธาในรูปแบบอื่นอยู่แล้วนั้นหันมาเชื่อในสิ่งที่ตัวเองเชื่อโดยยึดมั่นว่าของตัวเองนั้นถูกกว่าของคนอื่นจนนำพามาซึ่งการสูญเสียต่อชีวิต การเผยแพร่ศาสนาของคริสตจักรที่ส่งผลเสียมากกว่าผลดีนั้นถูกต้องแล้วหรือ? ตัวละครบาทหลวงทั้ง Rodrigues, Garupe หรือ Ferreira ถูกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับชาวญี่ปุ่นที่หันมาเชื่อในสิ่งที่พวกเขานำมาเสนอและถ่ายทอดให้จนต้องจบชีวิตลงไปพร้อมศรัทธาความเชื่อเหล่านั้นมันถูกต้องในความหมายของการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์อย่างที่ตั้งใจไว้จริงหรือเปล่า? การสวดมนต์ภาวนาต่อพระเจ้านั้นสามารช่วยเพื่อมนุษย์ได้จริงแค่ไหน? ตัวหนังมีทั้งคำถามและคำตอบไว้ค่อนข้างชัดเจนและมีทั้งคำถามที่ไม่มีคำตอบผสมปนกันไปเช่นกัน จนแล้วจนรอด การรอคอยเสียงจากพระเจ้านั้นอาจไม่ได้ช่วยให้เราดิ้นรนเอาชีวิตรอดเท่าการกระทำตนเพื่ออยู่รอดปลอดภัยเหมือนที่ตัวละคร 'Kichijiro' ผู้ยอมเสียศรัทธาต่อพระเจ้าในการเอาชีวิตรอดไปทุกครั้ง และมาสารภาพบาปในสิ่งที่ตัวเองได้ทำต่อพระผู้เป็นเจ้าทุกครั้งไป หรือการตายจากไปคือการหลุดพ้นความทุกข์เพื่อไปอยู่กับพระผู้เป็นเจ้าบนสรวงสวรรค์กันแน่ อย่างไรก็ตาม ข้อเสียของภาพยนตร์เรื่องสำหรับเราก็คือ ถ้าใครไม่สามารถคล้อยตามไปกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเรื่องหรือเปิดใจยอมรับสิ่งที่ตัวละครในเรื่องกำลังเผชิญชะตากรรมและสวดมนต์ภาวนาต่อพระเจ้าไม่ได้ รับกับไดอะล็อกของบทภาพยนตร์ที่ค่อนข้างยาวนานไม่ได้ การนั่งดูหนังเรื่องนี้ที่มีความยาวเกือบสามชั่วโมงคงจะเป็นอะไรที่ทรมานน่าดูไม่น้อยเลยทีเดียว
ท้ายสุด 'Silence' ถือเป็นภาพยนตร์คุณภาพที่มาพร้อมเนื้อหาสาระที่รุนแรงผนวกด้วยการถ่ายทำ+งานภาพที่งดงามพิถีพิถันในทุกๆองค์ประกอบ มุมกล้องสามารถสร้างพลังในการเล่าเรื่องและถ่ายทอดความรู้สึกของตัวละครได้ทรงพลัง คำถามต่อศรัทธาที่ตัวละครมีต่อพระเจ้า ความยากลำบากในการเผยแพร่ศาสนาในสมัยก่อน วิธีการเล่าเรื่องที่อิงกับเรื่องราวที่เคยเกิดขึ้นจริง แง่มุมความเชื่อ ขนบทำเนียมประเพณีของผู้ที่ดำรงชีวิตอยู่ในถิ่นกำเนิด ความเชื่อที่หยั่งรากลึกจนไม่สามารถเพาะเมล็ดพันธ์ุความเชื่อชุดใหม่ได้อีกแล้ว การสูญเสียชีวิตเพื่อแลกกับศรัทธา ทุกสิ่งอย่างที่ 'Silence' ส่งมาถึงเรานั้นล้วนชวนตั้งคำถามและหาคำตอบในความศรัทธาเหล่านั้น ซึ่งแน่นอนว่าต่างคนต่างความคิดต่างคำตอบ สุดท้ายแล้ว คำตอบต่อหนึ่งคำถามอาจมีมากเป็นสิบวิธีในการอยู่ร่วมกันระหว่างเพื่อนมนุษย์ แม้ว่าจะมีความเชื่อที่แตกต่างกันก็ตาม เราที่เป็นมนุษย์สามารถอยู่ร่วมกันได้ เพียงแต่อาจจะเป็นการยอมถอยคนละก้าวเพื่อให้ความเชื่อเหล่านั้นยังคงอยู่แต่ไม่ได้เบียดเบียนความเชื่ออื่นที่แตกต่างจากเรา การยอมลดทิฐิต่อศรัทธาเพื่อความอยู่รอดและอยู่รวมกันโดยไม่มีการสูญเสียหรือเปล่าคือเสียงเรียกของเพื่อนมนุษย์ที่เราได้ยินดังกว่าเสียงของพระเจ้าในทุกวันนี้...หรือใครได้ยินเสียงของพระเจ้า?
ขอให้มีความสุขกับการรับชมภาพยนตร์ครับ
ตัวอย่างหนัง
ฝากกด like Page ด้วยนะครับ
Page:
https://www.facebook.com/MoviesDelightClub/
Blog:
http://moviesdelightclub.blogspot.com/
Review: Silence (Martin Scorsese, 2016) เขียนโดย Form Corleone
By Form Corleone
"ศรัทธาที่ต้องแลกมาด้วยชีวิตนั้นคุ้มค่าพอแล้วหรือเปล่า?" ภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนาของผู้กำกับมากฝีมือ 'Martin Scorsese' ล้วนมีประเด็นสุ่มเสี่ยงต่อความเชื่อและศรัทธาอยู่เสมอ อาทิ The Last Temptation of Christ, Kundun และครั้งนี้ถือเป็นเรื่องน่ายินดีที่เราได้ดูภาพยนตร์ 'Silence' ที่เป็นหนังที่เข้าฉายในต่างประเทศเมื่อปีที่ผ่านมาบนจอยักษ์เพราะงานภาพของหนังเรื่องนี้เข้าขั้นสวยงามในการถ่ายทำนอกสถานที่ มุมกล้องแบบแผนวิธีการจัดวางองค์ประกอบสวยงามมาก ถือได้ว่าเป็นงาน 'Cinematography' ที่ดีมากๆอีกเรื่องหนึ่งต้องบอกว่าไม่ควรพลาดในการรับชมบนจอยักษ์เพื่อซึมซับอิ่มเอมไปกับบรรยากาศในเรื่อง แม้ตัวภาพยนตร์จะมีความยาวถึง 2 ชั่วโมง 41 นาที แต่สำหรับเรานั้นเป็นช่วงเวลาที่คุ้มค่ามากๆในการพาตัวเองเข้าไปค้นหาคำตอบของศรัทธาที่อิงจากเค้าโครงเรื่องจริงในสมัยก่อน ที่มีการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ไปยังประเทศเอเชียตะวันออกที่ส่วนมากจะนับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่ ในบริบทของหนังเลือกเล่าเรื่องในการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในประเทศญี่ปุ่น เรื่องราวของสองบาทหลวง Rodrigues (Andrew Garfield), Garupe (Adam Driver) ที่แอบเข้าประเทศญี่ปุ่นพร้อมกับผู้นำทางชาวญี่ปุ่น Kichijiro (Yôsuke Kubozuka) เพื่อสืบหาความจริงจากจดหมายของบาทหลวง Ferreira (Liam Neeson) ที่บรรยายถึงความทรมานหรือความทุกข์ยากของเหล่าผู้นับถือศาสนาคริสต์และผู้เผยแพร่ศาสนาที่โดนกำจัดจนหมดสิ้น แน่นอนว่าการเผยแพร่ศาสนาหนึ่งไปยังอีกศาสนาหนึ่งหรือการป้อนข้อมูลความเชื่อในศาสนาตัวเองไปสู่ศาสนาหนึ่งมักส่งผลร้ายตามมาเสมอ นั่นคือ ความขัดแย้งระหว่างสองฝ่ายที่ศรัทธาไม่เหมือนกัน เพียงแต่ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ให้พลังในการสะท้อนถึงความเชื่อและชีวิตไปพร้อมศรัทธาที่ตัวละครแบกรับเอาไว้ได้อย่างละมุมลุ่มลึก ในขณะเดียวกันก็ก้าวร้าว+ประนีประนอมอยู่พอสมควร องค์รวมของ 'Silence' จึงเป็นงานที่ทั้งดูสนุกไปพร้อมอารมณ์เครียดและภาวะกดดันที่ตัวละครกำลังเผชิญหน้า ยิ่งไปกว่านั้น หนังเองยังชวนตั้งคำถามต่อศรัทธาอยู่ตลอดเวลา และยังให้คำตอบแบบปลายเปิดอยู่ตลอดเวลาในบางคำถามอีกด้วย
'ศรัทธาต่อพระเจ้า...ความเงียบของพระเจ้า' เนื่องจากตัวภาพยนตร์มีระยะเวลาในการเล่าเรื่องค่อนข้างยาวจึงทำให้เราสามารถแยกย่อยประเด็นต่างๆออกจากกันได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป การเปลี่ยนแปลงทัศนคติที่ตัวละครพึงมีและพึงกระทำนั้นเป็นไปตามช่วงเวลาที่หนังเล่าอย่างธรรมชาติ+แฝงไปด้วยอารมณ์ที่รุนแรงอยู่ทุกช่วงขณะ ซึ่งต้องยอมรับว่าการแสดงของ 'Andrew Garfield' นั้นให้พลังทั้งสีหน้า แววตา และท่าทาง ได้ดีมากจนเราคิดว่าน่าจะถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสก้าสาขานำชายมากกว่าการแสดงในเรื่อง 'Hacksaw Ridge' เพราะงานนี้เป็นการสื่อสารที่ต้องใช้พลังในการเล่นสูงมากที่จะทำให้เราเชื่อว่าตัวละครตัวนี้มีความศรัทธาต่อพระผู้เป็นเจ้าสูงมาก ยิ่งกว่านั้นยังต้องแสดงแบบไม่ได้ศรัทธาจนเข้าขั้นขาดสติ และถ้าจะนับตัวละครที่มีอิทธิพลต่อเส้นเรื่องคงจะหนีไม่พ้นบาทหลวง 'Ferreira' ที่รับบทโดย 'Liam Neeson' ที่ถือเป็นตัวละครที่สะท้อนศรัทธาของภาพยนตร์เรื่องนี้ในอีกแง่มุมหนึ่งและยังสามารถค้ำจูงให้ตัวหนังส่งพลังได้ในแบบที่ต้องการอีกด้วย วิธีการกระแทกความรู้สึกสามัญสำนึกของตัวละครแต่ละตัวสามารถส่งผลกระทบต่อความรู้สึกขณะที่ดูอยู่ทุกช่วงเหตุการณ์ การลงโทษผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ที่โหดเหี้ยมของญี่ปุ่น ความยากลำบากในการนำคำสอนที่ตัวเองเชื่อถือมาสู่ดินแดนอื่น ความยึดมั่นถือมั่นในศรัทธาที่ต้องแลกมาด้วยชีวิต ล้วนถูกตัวหนังสะท้อนออกมาได้อย่างแยบยลจนไม่ได้ขัดต่อความเชื่อทางศาสนาที่มีอยู่เดิมมากจนเกินไป ไม่ได้นำพาความขัดแย้งหลังจากการได้รับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ให้เกิดขึ้นในภายนอก อย่างที่บอกไปว่าตัวหนังเองมีทั้งความก้าวร้าวและความประนีประนอมไปพร้อมกัน
คำถามที่ถือเป็นประเด็นสำคัญสำหรับเราในภาพยนตร์เรื่องนี้คือ ศรัทธาต่อพระเจ้าที่ต้องแลกมาด้วยชีวิตนั้นคุ้มค่าจริงๆหรือเปล่า? หรือการพยายามทำให้ผู้คนในดินแดนอื่นที่มีความเชื่อและศรัทธาในรูปแบบอื่นอยู่แล้วนั้นหันมาเชื่อในสิ่งที่ตัวเองเชื่อโดยยึดมั่นว่าของตัวเองนั้นถูกกว่าของคนอื่นจนนำพามาซึ่งการสูญเสียต่อชีวิต การเผยแพร่ศาสนาของคริสตจักรที่ส่งผลเสียมากกว่าผลดีนั้นถูกต้องแล้วหรือ? ตัวละครบาทหลวงทั้ง Rodrigues, Garupe หรือ Ferreira ถูกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับชาวญี่ปุ่นที่หันมาเชื่อในสิ่งที่พวกเขานำมาเสนอและถ่ายทอดให้จนต้องจบชีวิตลงไปพร้อมศรัทธาความเชื่อเหล่านั้นมันถูกต้องในความหมายของการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์อย่างที่ตั้งใจไว้จริงหรือเปล่า? การสวดมนต์ภาวนาต่อพระเจ้านั้นสามารช่วยเพื่อมนุษย์ได้จริงแค่ไหน? ตัวหนังมีทั้งคำถามและคำตอบไว้ค่อนข้างชัดเจนและมีทั้งคำถามที่ไม่มีคำตอบผสมปนกันไปเช่นกัน จนแล้วจนรอด การรอคอยเสียงจากพระเจ้านั้นอาจไม่ได้ช่วยให้เราดิ้นรนเอาชีวิตรอดเท่าการกระทำตนเพื่ออยู่รอดปลอดภัยเหมือนที่ตัวละคร 'Kichijiro' ผู้ยอมเสียศรัทธาต่อพระเจ้าในการเอาชีวิตรอดไปทุกครั้ง และมาสารภาพบาปในสิ่งที่ตัวเองได้ทำต่อพระผู้เป็นเจ้าทุกครั้งไป หรือการตายจากไปคือการหลุดพ้นความทุกข์เพื่อไปอยู่กับพระผู้เป็นเจ้าบนสรวงสวรรค์กันแน่ อย่างไรก็ตาม ข้อเสียของภาพยนตร์เรื่องสำหรับเราก็คือ ถ้าใครไม่สามารถคล้อยตามไปกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเรื่องหรือเปิดใจยอมรับสิ่งที่ตัวละครในเรื่องกำลังเผชิญชะตากรรมและสวดมนต์ภาวนาต่อพระเจ้าไม่ได้ รับกับไดอะล็อกของบทภาพยนตร์ที่ค่อนข้างยาวนานไม่ได้ การนั่งดูหนังเรื่องนี้ที่มีความยาวเกือบสามชั่วโมงคงจะเป็นอะไรที่ทรมานน่าดูไม่น้อยเลยทีเดียว
ท้ายสุด 'Silence' ถือเป็นภาพยนตร์คุณภาพที่มาพร้อมเนื้อหาสาระที่รุนแรงผนวกด้วยการถ่ายทำ+งานภาพที่งดงามพิถีพิถันในทุกๆองค์ประกอบ มุมกล้องสามารถสร้างพลังในการเล่าเรื่องและถ่ายทอดความรู้สึกของตัวละครได้ทรงพลัง คำถามต่อศรัทธาที่ตัวละครมีต่อพระเจ้า ความยากลำบากในการเผยแพร่ศาสนาในสมัยก่อน วิธีการเล่าเรื่องที่อิงกับเรื่องราวที่เคยเกิดขึ้นจริง แง่มุมความเชื่อ ขนบทำเนียมประเพณีของผู้ที่ดำรงชีวิตอยู่ในถิ่นกำเนิด ความเชื่อที่หยั่งรากลึกจนไม่สามารถเพาะเมล็ดพันธ์ุความเชื่อชุดใหม่ได้อีกแล้ว การสูญเสียชีวิตเพื่อแลกกับศรัทธา ทุกสิ่งอย่างที่ 'Silence' ส่งมาถึงเรานั้นล้วนชวนตั้งคำถามและหาคำตอบในความศรัทธาเหล่านั้น ซึ่งแน่นอนว่าต่างคนต่างความคิดต่างคำตอบ สุดท้ายแล้ว คำตอบต่อหนึ่งคำถามอาจมีมากเป็นสิบวิธีในการอยู่ร่วมกันระหว่างเพื่อนมนุษย์ แม้ว่าจะมีความเชื่อที่แตกต่างกันก็ตาม เราที่เป็นมนุษย์สามารถอยู่ร่วมกันได้ เพียงแต่อาจจะเป็นการยอมถอยคนละก้าวเพื่อให้ความเชื่อเหล่านั้นยังคงอยู่แต่ไม่ได้เบียดเบียนความเชื่ออื่นที่แตกต่างจากเรา การยอมลดทิฐิต่อศรัทธาเพื่อความอยู่รอดและอยู่รวมกันโดยไม่มีการสูญเสียหรือเปล่าคือเสียงเรียกของเพื่อนมนุษย์ที่เราได้ยินดังกว่าเสียงของพระเจ้าในทุกวันนี้...หรือใครได้ยินเสียงของพระเจ้า?
ขอให้มีความสุขกับการรับชมภาพยนตร์ครับ
ตัวอย่างหนัง
ฝากกด like Page ด้วยนะครับ
Page: https://www.facebook.com/MoviesDelightClub/
Blog: http://moviesdelightclub.blogspot.com/