ภาพถ่ายในอดีต ... เที่ยวอิสาน 2516




ตอนปี 2516 คุณพ่อหัวหน้าครอบครัวไปรับราชการอยู่สกลนคร ในวันหยุดจึงพาครอบครัวไปที่ยวที่

พระธาตุพนม
ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ถนนชยางกูร
บ้านธาตุพนม ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม




ท้าวพญาทั้งห้าผู้เป็นใหญ่ ได้แก่
พญาสุวรรณภิงคาร เจ้าเมืองหนองหานหลวง
พญาคำแดง เจ้าเมืองหนองหานน้อย
พญาจุลณีพรหมทัต เจ้าเมืองจุลนีพรหมทัต
พญาอินทรปัตถ์ เจ้าเมืองอินทปัตถนคร
พญานันทเสน เจ้านครศรีโคตรบูรณ์อันเป็นที่ตั้งของพระธาตุ
ได้สร้างอูบมูงขึ้นเพื่อประดิษฐานพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนหน้าอก) ของพระพุทธเจ้าตามพุทธพยากรณ์

ประมาณ พ.ศ. 8 พระอุตรเถระและพระโสณเถระ สมณทูตของพระเจ้าอโศกมหาราช ได้อัญเชิญมา
และพระมหากัสสปะเถระได้นำมาประดิษฐานไว้บนภูกำพร้า
บูรณะปฏิสังขรณ์ พระธาตุพนมและอุปถัมภ์โดยกษัตริย์แห่งล้านช้าง

ก่อสร้างด้วยดินดิบ (อิฐดิบ)
ฐานพระธาตุพนมได้ขุดลงไปจนเป็นอูบมุง (อุโมง) เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ กระดูกส่วนหน้าอก
เมื่อก่อด้วยดินดิบเสร็จแล้ว จึงได้ก่อไฟเผาพระธาตุเป็นเวลากว่าหลายวัน อิฐจึงได้แห้งสนิทจรดกัน




เรณูนคร
นอกจากพระธาตุเรณูแล้ว ยังมีชื่อเสียงเรื่องผ้าทอพื้นบ้าน และเสน่ห์สาวภูไท
คาดเดาว่าวัดในภาพคือวัดบูรพาราม




พุทธอุทยานอิสาน และ พระมงคลมิ่งเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ




เมื่อปี พ.ศ.2503 สมัยยังเป็นอำเภออำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี
พระครูทัศประกาศ เจ้าอาวาสวัดมงคลมิ่งเมือง ต้องการสร้างพระพุทธรูปประธานขนาดใหญ่ ขึ้นที่บนเขาดานพระบาท
แต่สร้างไม่เสร็จเพราะขาดทุนทรัพย์

มีหลักฐานว่าเป็นพื้นที่ถูกใช้เป็นศาสนสถานมานานกว่า 2,000 ปี
เพราะมีการขุดพบพระพุทธรูปหินทรายสีแดงสององค์ ศิลปะทวาราวดี
ชาวบ้านเรียกว่า “พระขี้ล่าย” หรือ “พระละฮาย” แปลว่าไม่สวยอาจเป็นเพราะยังสร้างไม่เสร็จ
ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ด้านหลังพระมงคลมิ่งเมือง

"พระมงคลมิ่งเมือง"
เป็นสัญญลักษณ์ประจำจังหวัดอำนาจเจริญ นำแบบจากพระพุทธชินราช
สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และโบราณวัตถุทางพุทธศาสนาที่หักพังเช่น เศียรพระพุทธรูป ใบเสมาเก่า และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆไว้ที่ใต้ฐาน

ภายหลังได้สร้างต่อ เมื่อปี พ.ศ.2508 ด้วยความร่วมมือร่วมใจของประชาชนและส่วนราชการ
พระพุทธรูปขนาดหน้าตักกว้าง 11 เมตร  สูงจากพื้นดินถึงยอดพระรัศมี 20 เมตร




สถานีรถไฟอุบลราชธานี เปิดใช้เมื่อ 1 เมษายน พ.ศ. 2473




แก่งสะพือ

อยู่ในแม่น้ำมูล เขตอำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
ห่างตัวจังหวัดประมาณ 45 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 217

แก่งสะพือ เป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า "ซำพืด" หรือ "ซำปื้ด" เป็นภาษาส่วยที่แปลว่า งูใหญ่ หรืองูเหลือม




พลับพลาที่ประทับที่แก่งสะพือ  ตรงยอดไม้สูง คือดอนปู่ตาบ้านสะพือเหนือ
ขอบคุณคุณ แววตา สะใบ ที่ช่วยระบุสถานที่ค่ะ




สิ้นสุดภาพจากการท่องเที่ยวนี้ที่ ด่านชายแดนช่องเม็ก
เป็นจุดผ่านแดนไทย-ลาว ตั้งอยู่ในเขตอำเภอสิรินธร อุบลราชธานี ห่างจากตัวจังหวัดราว 90 กิโลเมตร

เป็นจุดผ่านแดนทางพื้นดินจุดเดียวในภาคอีสาน ที่สามารถเดินทางไป ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ซึ่งในขณะที่จุดอื่นจะต้องข้ามลำน้ำโขง

เป็นที่สิ้นสุดของทางหลวงหมายเลข 217 จากอุบลราชธานี


แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่