จัด Team building แบบไหน ให้โดนใจนาย ได้ใจเพื่อนร่วมงาน
แนะนำข้อมูลเบื้องต้นสำหรับ HR หรือเจ้าของกิจการ
รวมถึงผู้ที่อยากจัดสัมมนา Team Building
อาจจะยาวหน่อย แต่น่าจะมีประโยชน์นะครับ
ในการเลือกแนวทางในการจัดให้ได้ประเด็นโดนใจนาย
ได้บรรยากาศถูกใจเพื่อนร่วมงานที่ต้องเข้าร่วมสัมมนา
เพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการตัดสินใจเลือกจัดรูปแบบต่างๆที่เหมาะกับองค์กรนะครับ
เนื่องจากพอจะมีประสบการณ์ทำงานสายงานฝึกอบรม(training)มาพอสมควร
เลยอยากแชร์ให้เป็นแนวทาง ถ้าใครมีข้อมูลอะไรจะร่วมแลกเปลี่ยนแนะนำเพิ่มเติมก็ยินดีครับ
เพื่อให้เข้าใจง่ายจะแบ่งเป็น 3 หัวข้อหลักๆดังนี้นะครับ
1)รูปแบบของการจัดกิจกรรม Team building
2)กระบวนการหรือวิธีการหลักๆของการจัด Team building
3)สไตล์หรือแนวทางของวิทยากร Team building
1)รูปแบบของการจัดกิจกรรม Team building
รูปแบบของการจัดกิจกรรม Team building มีหลายรูปแบบ ทั้งการจัดในห้องประชุมทั้งหมด การจัดในห้องประชุมช่วงแรกก่อนจะไปทำภารกิจด้านนอกหรือกลางแจ้ง และการจัดแบบกิจกรรมเป็นภารกิจต่างๆโดยไม่มีกิจกรรมในห้องประชุมเลย ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้จัดว่าต้องการรูปแบบไหน กลุ่มผู้เข้าร่วมเหมาะกับกิจกรรมอะไร
1.1 การจัดในห้องประชุมทั้งหมด ส่วนใหญ่จะมีรูปแบบการใช้กิจกรรม เกม หรือกิจกรรมนันทนาการ ประกอบเพื่อเชื่อมโยงประเด็น มีวิทยากรนำกระบวนการสรุปหรือบรรยายเพื่อประมวลแนวคิดสู่การทำงาน สามารถใช้ได้ทั้งแบบที่ต้องการสื่อประเด็น เช่นหลักการทำงานร่วมกันเป็นทีม วิสัยทัศน์องค์ ค่านิยม Core value ต่างๆ หรือต้องการเน้นความเป็นทีม ขึ้นอยู่กับกระบวนการที่สามารถคุยกับวิทยากรได้ว่าอยากให้มีสัดส่วน เนื้อหาสาระและความสนุกสนานอย่างไร ต้องการสื่อประเด็นให้ชัดเจนขนาดไหนเป็นต้น ใช้ได้กับผู้เข้าร่วมทุกกลุ่ม ขึ้นอยู่กับความหนักเบาของกิจกรรม
1.2 การจัดกิจกรรมทั้งในห้องประชุมและนอกห้องประชุม ส่วนใหญ่ก็จะเริ่มด้วยการละลายพฤติกรรม(Ice breaking)เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้ละลายความเป็นตัวตนและกล้าที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนก่อน จากนั้นอาจมีการบรรยายแนวคิด มีกิจกรรมสร้างพลังทีม จากนั้นจึงออกไปทำภารกิจจำลองในรูปแบบต่างๆ เช่น เข้าฐาน walk Rally ,ภารกิจพิเศษต่างๆ ตามที่กำหนด หรือการทำ CSR ร่วมกัน ก่อนจะเข้ามาสรุปถอดประสบการณ์ เพื่อเทียบเคียงการทำงานเป็นทีมให้ประสบความสำเร็จ รูปแบบนี้จะไม่เหมาะกับกลุ่มผู้สูงอายุ ที่ไม่แข็งแรง สามารถปรับรูปแบบให้เหมาะกับเนื้อหาหรือประเด็นที่ต้องการสื่อได้
1.3 การจัดแบบกิจกรรมเป็นภารกิจต่างๆโดยไม่มีกิจกรรมในห้องประชุมเลย เช่น แข่งกีฬา(sport day), Amazing race ,Walk Rally ,Car Rally,ภารกิจ Survivor CSR เป็นทีมต่างๆเป็นต้น
ส่วนใหญ่จะเหมาะกับกลุ่มที่รู้จักสนิทสนมกันพอสมควรอยู่แล้ว เพราะจะไม่ได้ละลายพฤติกรรมกันก่อน และ ไม่เหมาะกับกลุ่มผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่จะไม่เน้นประเด็นเนื้อหามากนัก
2)กระบวนการหรือวิธีการหลักๆของการจัด Team building
โดยทั่วไปกระบวนการหรือวิธีการสร้างความสัมพันธ์เพื่อการเรียนรู้บทบาทการทำงานร่วมกัน หรือTeam building นั้น จะมีลำดับคร่าวๆดังนี้
2.1 การละลายพฤติกรรมหรือ Ice Breaking เพื่อละลายตัวตน และเริ่มสร้างการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
2.2 กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ สร้างพลังทีม (Group Relationship)เพื่อสร้างความสัมพันธ์กันเป็นทีม ได้แสดงบทบาท สร้างความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในทีม และสร้างการยอมรับในตัวตันของกันและกันในทีมก่อนจะเริ่มสู่การร่วมกันทำภารกิจต่างๆ
2.3 ภารกิจสร้างทีม(Team building)เพื่อจำลองการทำงานร่วมกันเพื่อสร้างความสำเร็จของทีมในรูปแบบต่างๆ เช่น กิจกรรมฐาน mini walk rally , ,Amazing Race ภารกิจพิเศษต่างๆ ตามที่กำหนด หรือการทำ CSR ร่วมกัน
2.4 การสรุปแนวคิด จากกิจกรรมสู่การทำงานจริง เพื่อทบทวนประสบการณ์และจุดประกายให้กับผู้เข้าร่วมเข้าใจความคิดรวบยอดของการจัดกิจกรรม ในครั้งนั้นๆ
โดยในกระบวนการทั้งหมดมักจะมีการให้สะสมคะแนน ให้รางวัลเพื่อสร้างแรงกระตุ้นในการทำกิจกรรมต่างๆของผู้เข้าร่วม ความหนักเบาของกิจกรรมก็ขึ้นอยู่ความต้องการของผู้จัด และความพร้อมของผู้เข้าร่วม
3)สไตล์หรือแนวทางของวิทยากร Team building
ส่วนใหญ่วิทยากรแต่ละท่านก็จะมีแนวทางหรือ Style ที่ใช้ที่แตกต่างกัน อยู่ประมาณ 3 รูปแบบหลักๆ คือ
3.1 วิทยากรแนวบรรยาย จะมีผู้ช่วยวิทยากรทำหน้าที่ละลายพฤติกรรม เตรียมความพร้อมให้ก่อนที่จะบรรยายหลักการ แนวคิด ทฤษฎีการทำงานต่างๆ เชื่อมโยงกับเนื้อหาสาระของผู้จัด วิทยากรแนวนี้จะเหมาะกับกลุ่มผู้บริหาร ข้าราชการระดับสูง ผู้สูงอายุ หรือกลุ่มระดับหัวหน้างานขึ้นไป
3.2 วิทยากรแนวนันทนาการ จะใช้กิจกรรมนันทนาการแนวลูกเสือ ใช้เพลงเป็นหลัก ฉิ่ง ฉาบ กรับ กลอง หรือเครื่องดนตรีครบ มีการใช้เกมนันทนาการในการสื่อประเด็น จะเหมาะกับกลุ่มที่เน้นความสนุกสนานเป็นหลัก เหมาะกับงาน ทีไม่เน้นประเด็นเยอะมากนัก หรือกิจกรรม Sport day ใช้ได้ดีกับกลุ่มพนักงานระดับปฏิบัติการจนถึงหัวหน้างาน ไม่เหมาะกับระดับผู้บริหาร ผู้สูงอายุ
3.3 วิทยากรแนวกิจกรรมเกม ในการสื่อประเด็น เป็นหลัก จะใช้เกม กิจกรรมสื่อประเด็นเป็นหลักในการจัดกระบวนการ ไปพร้อมๆกับการสื่อสารประเด็นพร้อมกัน ซึ่งสามารถปรับกิจกรรม เกมต่างๆให้เหมาะกับเนื้อหา วัตถุประสงค์ ของงานได้หลากหลาย รวมถึงกลุ่มผู้เข้าร่วมได้ทุกกลุ่ม ยกเว้นงาน แนว sport day
ทั้งหมดก็เป็นแนวทางคร่าวๆนะครับ ที่สำคัญไม่ว่าจะจัดรูปแบบไหน วิทยากรแนวไหน ก็ควรเน้นให้ใช้กิจกรรมที่สร้างการมีส่วนร่วมของผู้เข้าร่วมให้มากที่สุดนะครับ ส่วนแต่ละองค์กรจะเลือกใช้กิจกรรมที่มีเนื้อหาวัตถุประสงค์ขนาดไหน ความ Action ของกิจกรรมหนักเบาแค่ไหน รูปแบบการอบรมสัมมนารูปแบบใด ก็สามารถปรึกษาวิทยากรที่ท่านติดต่อให้แนะนำแนวทางที่ตรงกับความต้องการขององค์กรหรือหน่วยงานของท่านได้ครับ
ส่วนใหญ่ผู้บริหารมักชอบวิทยากรที่เชื่อมโยงเนื้อหาสาระได้ดี มีหลักการ ใช้กิจกรรมที่สื่อถึงประเด็นวัตถุประสงค์ได้ละเอียดและชัดเจนตรงประเด็นเห็นภาพ
แต่ผู้เข้าร่วมมักชึ่นชอบกิจกรรมที่สนุกสนาน ระดับปฏิบัติการต้องให้สนุกนำมากๆ ไม่เหมาะกับประเด็นแบบลึกซึ้ง หัวหน้างานขึ้นไปก็สนุกได้ แต่ต้องเพิ่มเนื้อหาสาระ หลักการ ทษฤฎีเข้าไปมากขึ้น ส่วนผู้สูงอายุใช้กิจกรรมแบบเพลิดเพลิน เน้นแชร์ เล่าเประสบการณ์ ไม่เหมาะให้ทำกิจกรรมนันทนาการหนักๆ
สิ่งสำคัญที่อยากฝากไว้สำหรับผู้จัดที่มีความคาดหวังการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรในองค์กร หลังจากจัด Team Building ควรจัดให้มีกิจกรรม การติดตามประเมินผลประเมินการพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยนำครับ เพราะการไปสัมมนาครั้งนึงส่วนใหญ่จัดกัน 1-2 วัน วิทยากรที่มีประสบการณ์จะช่วยจุดประกาย ให้แนวทาง สร้างพลังความกระตือรือร้นให้ผู้เข้าร่วมมีไฟอยากพัฒนาและเปลี่ยนแปลงได้ แต่หากกลับไป ไม่มีกิจกรรมอะไรต่อเนื่อง ติดตามประเมินผล ผ่านไปมันก็ไม่เกิดความเปลี่ยนแปลงในระยะยาวครับ
หวังว่าคงเป็นข้อมูลประกอบการจัดสัมมนา Team Building หรือสัมมนาเพื่อพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้กับผู้ที่สนใจได้บ้างไม่มากก็น้อยนะครับ
จัด Team Building แบบไหน ให้โดนใจนาย ถูกใจเพื่อนร่วมงาน
แนะนำข้อมูลเบื้องต้นสำหรับ HR หรือเจ้าของกิจการ
รวมถึงผู้ที่อยากจัดสัมมนา Team Building
อาจจะยาวหน่อย แต่น่าจะมีประโยชน์นะครับ
ในการเลือกแนวทางในการจัดให้ได้ประเด็นโดนใจนาย
ได้บรรยากาศถูกใจเพื่อนร่วมงานที่ต้องเข้าร่วมสัมมนา
เพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการตัดสินใจเลือกจัดรูปแบบต่างๆที่เหมาะกับองค์กรนะครับ
เนื่องจากพอจะมีประสบการณ์ทำงานสายงานฝึกอบรม(training)มาพอสมควร
เลยอยากแชร์ให้เป็นแนวทาง ถ้าใครมีข้อมูลอะไรจะร่วมแลกเปลี่ยนแนะนำเพิ่มเติมก็ยินดีครับ
เพื่อให้เข้าใจง่ายจะแบ่งเป็น 3 หัวข้อหลักๆดังนี้นะครับ
1)รูปแบบของการจัดกิจกรรม Team building
2)กระบวนการหรือวิธีการหลักๆของการจัด Team building
3)สไตล์หรือแนวทางของวิทยากร Team building
1)รูปแบบของการจัดกิจกรรม Team building
รูปแบบของการจัดกิจกรรม Team building มีหลายรูปแบบ ทั้งการจัดในห้องประชุมทั้งหมด การจัดในห้องประชุมช่วงแรกก่อนจะไปทำภารกิจด้านนอกหรือกลางแจ้ง และการจัดแบบกิจกรรมเป็นภารกิจต่างๆโดยไม่มีกิจกรรมในห้องประชุมเลย ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้จัดว่าต้องการรูปแบบไหน กลุ่มผู้เข้าร่วมเหมาะกับกิจกรรมอะไร
1.1 การจัดในห้องประชุมทั้งหมด ส่วนใหญ่จะมีรูปแบบการใช้กิจกรรม เกม หรือกิจกรรมนันทนาการ ประกอบเพื่อเชื่อมโยงประเด็น มีวิทยากรนำกระบวนการสรุปหรือบรรยายเพื่อประมวลแนวคิดสู่การทำงาน สามารถใช้ได้ทั้งแบบที่ต้องการสื่อประเด็น เช่นหลักการทำงานร่วมกันเป็นทีม วิสัยทัศน์องค์ ค่านิยม Core value ต่างๆ หรือต้องการเน้นความเป็นทีม ขึ้นอยู่กับกระบวนการที่สามารถคุยกับวิทยากรได้ว่าอยากให้มีสัดส่วน เนื้อหาสาระและความสนุกสนานอย่างไร ต้องการสื่อประเด็นให้ชัดเจนขนาดไหนเป็นต้น ใช้ได้กับผู้เข้าร่วมทุกกลุ่ม ขึ้นอยู่กับความหนักเบาของกิจกรรม
1.2 การจัดกิจกรรมทั้งในห้องประชุมและนอกห้องประชุม ส่วนใหญ่ก็จะเริ่มด้วยการละลายพฤติกรรม(Ice breaking)เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้ละลายความเป็นตัวตนและกล้าที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนก่อน จากนั้นอาจมีการบรรยายแนวคิด มีกิจกรรมสร้างพลังทีม จากนั้นจึงออกไปทำภารกิจจำลองในรูปแบบต่างๆ เช่น เข้าฐาน walk Rally ,ภารกิจพิเศษต่างๆ ตามที่กำหนด หรือการทำ CSR ร่วมกัน ก่อนจะเข้ามาสรุปถอดประสบการณ์ เพื่อเทียบเคียงการทำงานเป็นทีมให้ประสบความสำเร็จ รูปแบบนี้จะไม่เหมาะกับกลุ่มผู้สูงอายุ ที่ไม่แข็งแรง สามารถปรับรูปแบบให้เหมาะกับเนื้อหาหรือประเด็นที่ต้องการสื่อได้
1.3 การจัดแบบกิจกรรมเป็นภารกิจต่างๆโดยไม่มีกิจกรรมในห้องประชุมเลย เช่น แข่งกีฬา(sport day), Amazing race ,Walk Rally ,Car Rally,ภารกิจ Survivor CSR เป็นทีมต่างๆเป็นต้น
ส่วนใหญ่จะเหมาะกับกลุ่มที่รู้จักสนิทสนมกันพอสมควรอยู่แล้ว เพราะจะไม่ได้ละลายพฤติกรรมกันก่อน และ ไม่เหมาะกับกลุ่มผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่จะไม่เน้นประเด็นเนื้อหามากนัก
2)กระบวนการหรือวิธีการหลักๆของการจัด Team building
โดยทั่วไปกระบวนการหรือวิธีการสร้างความสัมพันธ์เพื่อการเรียนรู้บทบาทการทำงานร่วมกัน หรือTeam building นั้น จะมีลำดับคร่าวๆดังนี้
2.1 การละลายพฤติกรรมหรือ Ice Breaking เพื่อละลายตัวตน และเริ่มสร้างการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
2.2 กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ สร้างพลังทีม (Group Relationship)เพื่อสร้างความสัมพันธ์กันเป็นทีม ได้แสดงบทบาท สร้างความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในทีม และสร้างการยอมรับในตัวตันของกันและกันในทีมก่อนจะเริ่มสู่การร่วมกันทำภารกิจต่างๆ
2.3 ภารกิจสร้างทีม(Team building)เพื่อจำลองการทำงานร่วมกันเพื่อสร้างความสำเร็จของทีมในรูปแบบต่างๆ เช่น กิจกรรมฐาน mini walk rally , ,Amazing Race ภารกิจพิเศษต่างๆ ตามที่กำหนด หรือการทำ CSR ร่วมกัน
2.4 การสรุปแนวคิด จากกิจกรรมสู่การทำงานจริง เพื่อทบทวนประสบการณ์และจุดประกายให้กับผู้เข้าร่วมเข้าใจความคิดรวบยอดของการจัดกิจกรรม ในครั้งนั้นๆ
โดยในกระบวนการทั้งหมดมักจะมีการให้สะสมคะแนน ให้รางวัลเพื่อสร้างแรงกระตุ้นในการทำกิจกรรมต่างๆของผู้เข้าร่วม ความหนักเบาของกิจกรรมก็ขึ้นอยู่ความต้องการของผู้จัด และความพร้อมของผู้เข้าร่วม
3)สไตล์หรือแนวทางของวิทยากร Team building
ส่วนใหญ่วิทยากรแต่ละท่านก็จะมีแนวทางหรือ Style ที่ใช้ที่แตกต่างกัน อยู่ประมาณ 3 รูปแบบหลักๆ คือ
3.1 วิทยากรแนวบรรยาย จะมีผู้ช่วยวิทยากรทำหน้าที่ละลายพฤติกรรม เตรียมความพร้อมให้ก่อนที่จะบรรยายหลักการ แนวคิด ทฤษฎีการทำงานต่างๆ เชื่อมโยงกับเนื้อหาสาระของผู้จัด วิทยากรแนวนี้จะเหมาะกับกลุ่มผู้บริหาร ข้าราชการระดับสูง ผู้สูงอายุ หรือกลุ่มระดับหัวหน้างานขึ้นไป
3.2 วิทยากรแนวนันทนาการ จะใช้กิจกรรมนันทนาการแนวลูกเสือ ใช้เพลงเป็นหลัก ฉิ่ง ฉาบ กรับ กลอง หรือเครื่องดนตรีครบ มีการใช้เกมนันทนาการในการสื่อประเด็น จะเหมาะกับกลุ่มที่เน้นความสนุกสนานเป็นหลัก เหมาะกับงาน ทีไม่เน้นประเด็นเยอะมากนัก หรือกิจกรรม Sport day ใช้ได้ดีกับกลุ่มพนักงานระดับปฏิบัติการจนถึงหัวหน้างาน ไม่เหมาะกับระดับผู้บริหาร ผู้สูงอายุ
3.3 วิทยากรแนวกิจกรรมเกม ในการสื่อประเด็น เป็นหลัก จะใช้เกม กิจกรรมสื่อประเด็นเป็นหลักในการจัดกระบวนการ ไปพร้อมๆกับการสื่อสารประเด็นพร้อมกัน ซึ่งสามารถปรับกิจกรรม เกมต่างๆให้เหมาะกับเนื้อหา วัตถุประสงค์ ของงานได้หลากหลาย รวมถึงกลุ่มผู้เข้าร่วมได้ทุกกลุ่ม ยกเว้นงาน แนว sport day
ทั้งหมดก็เป็นแนวทางคร่าวๆนะครับ ที่สำคัญไม่ว่าจะจัดรูปแบบไหน วิทยากรแนวไหน ก็ควรเน้นให้ใช้กิจกรรมที่สร้างการมีส่วนร่วมของผู้เข้าร่วมให้มากที่สุดนะครับ ส่วนแต่ละองค์กรจะเลือกใช้กิจกรรมที่มีเนื้อหาวัตถุประสงค์ขนาดไหน ความ Action ของกิจกรรมหนักเบาแค่ไหน รูปแบบการอบรมสัมมนารูปแบบใด ก็สามารถปรึกษาวิทยากรที่ท่านติดต่อให้แนะนำแนวทางที่ตรงกับความต้องการขององค์กรหรือหน่วยงานของท่านได้ครับ
ส่วนใหญ่ผู้บริหารมักชอบวิทยากรที่เชื่อมโยงเนื้อหาสาระได้ดี มีหลักการ ใช้กิจกรรมที่สื่อถึงประเด็นวัตถุประสงค์ได้ละเอียดและชัดเจนตรงประเด็นเห็นภาพ
แต่ผู้เข้าร่วมมักชึ่นชอบกิจกรรมที่สนุกสนาน ระดับปฏิบัติการต้องให้สนุกนำมากๆ ไม่เหมาะกับประเด็นแบบลึกซึ้ง หัวหน้างานขึ้นไปก็สนุกได้ แต่ต้องเพิ่มเนื้อหาสาระ หลักการ ทษฤฎีเข้าไปมากขึ้น ส่วนผู้สูงอายุใช้กิจกรรมแบบเพลิดเพลิน เน้นแชร์ เล่าเประสบการณ์ ไม่เหมาะให้ทำกิจกรรมนันทนาการหนักๆ
สิ่งสำคัญที่อยากฝากไว้สำหรับผู้จัดที่มีความคาดหวังการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรในองค์กร หลังจากจัด Team Building ควรจัดให้มีกิจกรรม การติดตามประเมินผลประเมินการพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยนำครับ เพราะการไปสัมมนาครั้งนึงส่วนใหญ่จัดกัน 1-2 วัน วิทยากรที่มีประสบการณ์จะช่วยจุดประกาย ให้แนวทาง สร้างพลังความกระตือรือร้นให้ผู้เข้าร่วมมีไฟอยากพัฒนาและเปลี่ยนแปลงได้ แต่หากกลับไป ไม่มีกิจกรรมอะไรต่อเนื่อง ติดตามประเมินผล ผ่านไปมันก็ไม่เกิดความเปลี่ยนแปลงในระยะยาวครับ
หวังว่าคงเป็นข้อมูลประกอบการจัดสัมมนา Team Building หรือสัมมนาเพื่อพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้กับผู้ที่สนใจได้บ้างไม่มากก็น้อยนะครับ