เมืองนี้เป็นเมืองที่ไม่ได้อยู่ในลิสต์ของเราแต่แรก
ตามแผนเดิมคือต้องอยู่เที่ยวในนิวเดลี
แต่อุตส่าห์ได้เจอรุ่นพี่คนไทยที่มาเรียนที่นี่ทั้งที
ก็ต้องหาสถานที่เก๋ไก๋ไปผจญภัยกันหน่อย
หวยเลยมาออกที่เมือง Rishikesh
ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเดลีมาก ดูท่าจะเดินทางสะดวก
เมือง Rishikesh ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเดลี
สังกัดอยู่ในเขตของรัฐ Uttarakhand
ออกเสียงได้ประมาณ... อุตตะระขัน
อยู่ห่างจากเดลีประมาณ 230 กิโลเมตร
เมืองนี้เขาเคลมกันว่าเป็นเมืองโยคะโลก
มีศูนย์ฝึกโยคะมากมายหลายเจ้า
บางที่มีแพ็กเกจเป็นเดือนๆ พร้อมอาหารและที่พัก
บางที่ก็มีแบบแพ็กเกจวันเดียว
ลองเดินติดต่อเลือกดูได้ที่เมืองเลยค่ะ
แถมถ้าว่ากันตามสภาพภูมิศาสตร์แล้ว...
เมืองนี้ถือว่าอยู่แถบต้นแม่น้ำคงคาด้วย
ได้ยินชื่อแม่น้ำคงคามาตั้งแต่ตอนเรียนประถม
มาคราวนี้จะได้เห็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ชื่อดังแล้ว
เราเคยบอกไปหลายครั้งในกระทู้เก่าก่อน
ว่าถ้าอยากเที่ยวอินเดียแบบฟินเว่อร์วัง
ให้มาช่วงเดือนธันวาคม หรือไม่ก็มกราคม
เพราะมันจะเป็นช่วงที่อากาศดีที่สุด
ใต้คำว่าดีที่สุดของเราหมายถึง... มันจะไม่ร้อน
กรณีเมืองที่อยู่แถบตอนใต้ถึงตอนกลางนะ
แต่ถ้าช่วงตอนเหนือขึ้นไป หรือเมืองบนเขา
อากาศจะเย็นแบบแตะเลขตัวเดียวหรือติดลบเลย
เช่นเดียวกับเมือง Rishikesh
ช่วงที่เราไป (มกราคม 2017) อากาศยังเย็นอยู่
ไม่ว่าจะโดนโกงหรือเซ้าซี้จากคนอินเดียแค่ไหน
ก็พร้อมยิ้มรับกับสถานการณ์ได้ไม่หวั่น
หันทางซ้ายก็เซย์ไฮ หันทางขวาก็บ๊ายบาย
โอ๊ย... ถูกจริตเว่อร์
มาค่ะ ใส่เสื้อขนแกะรุ่นหนาเกินเบอร์ให้อุ่นกาย
แล้วมาเยี่ยมชมเมืองในซอกขุนเขาแห่งนี้กัน
ขอแอบกระซิบว่า…
ใครที่มาฤดูอื่นๆ สีน้ำอาจจะไม่ฟินเท่านี้นะ
เพราะมีรุ่นพี่เราไปมาช่วงหน้ามรสุม
น้ำขุ่นเป็นสีโอวัลติน แถมอากาศยังร้อนอีกค่ะ
ที่พักใน Rishikesh จะอยู่คนละฝั่งกับตัวเมือง
ต้องข้ามสะพานมา ซึ่งเขาจะมีสะพานหลักๆ
อยู่สองสะพานด้วยกัน
ชื่อว่า Ram Jhula และ Lakshman Jhula
ตามชื่อของสองหนุ่มพี่น้องในรามเกียรติ์
ใครพักอยู่ใกล้สะพานไหนก็เช็กดูให้ดีก่อน
จะได้ไม่ไปผิดสะพานกันเนาะ
แต่อิสะพานทั้งสองนี้ก็ไม่ปลอดภัยเท่าไหร่
เพราะมีน้องลิงเพ่นพ่านกันเต็มไปหมด
กระโดดโลดเต้นกันวุ่นวายเลยค่ะ
ใครมีของกินติดไม้ติดมือนี่ต้องระวัง
เพราะโดนน้องๆ จู่โจมแน่นอน (ฮ่า)
แถบที่พักจะมีร้านรวงให้เลือกชอปเยอะมาก
มีเสื้อผ้าสไตล์อินเดีย เสื้อไหมพรมถักหลากสีสัน
อาหารนานาชาติ คาเฟ่นั่งชิลเก๋ไก๋ ฯลฯ
ส่วนใหญ่แล้วคาเฟ่แถวนี้จะเป็นแนวโมเดิร์น
ไม่ได้อินเดียจ๋ามาก อาหารจะเป็นแบบฟิวชั่น
รับรองได้เลยว่าต้องถูกปาก
คนที่ไม่ค่อยอินกับอาหารอินเดียแน่นอน
ใครกำลังจะไปฝากทักทายขุ่นพี่ Mahendar
และกิ๊กสาวชาวเกาหลีของนาง
ที่ Dreamcatcher Cafe
แถว Lakshman Jhula ด้วยนะคะ
กิจกรรมและสถานที่หลักๆ ของเมืองนี้
จะค่อนข้างรีแลกซ์เสียมากกว่า
ใครเป็นสายชิล เน้นนั่งคาเฟ่ ชมธรรมชาติ
คงจะชอบ Rishikesh (หน้าหนาว) แน่นอน
1
จุดแรกที่ถือเป็นแลนด์มาร์กสำคัญของเมือง
คือเหล่าบรรดากาต (Ghat) ริมแม่น้ำ
ลักษณะของกาตที่นี่ก็คล้ายคลึงกับพาราณสี
แต่ไม่ได้ยิ่งใหญ่และมีจำนวนมากเท่า
กาต เป็นคำที่เอาไว้ใช้อธิบายสถาปัตยกรรม
ที่มีสภาพเป็นตึกใหญ่ๆ ริมแม่น้ำของอินเดีย
ซึ่งมีขั้นบันไดสร้างยาวทอดลงไปในน้ำ
เอาไว้ใช้สอยในทุกช่วงฤดู
ทำให้ไม่ว่าน้ำจะน้อยหรือเยอะ
ก็ยังเดินลงไปใช้ประโยชน์ได้เสมอ
ทั้งอาบน้ำ ซักผ้า เล่นโยคะ เรียกได้ว่า...
เป็นสิ่งปลูกสร้างสารพัดประโยชน์จริงๆ ค่ะ
ใกล้ๆ กับกาตก็จะมีวัดฮินดูเรียงรายอยู่
แต่ที่ Rishikesh จะไม่ค่อยมีพิธีกรรมทางศาสนา
ให้ดูมากเหมือนที่พาราณสีนะคะ
ถ้าใครอยากร่วมพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ย่านนี้
แนะนำให้แวะไปเมืองใกล้เคียงชื่อ Haridwar
รับรองว่าไม่ผิดหวังแน่นอนค่ะ
2
จุดต่อไปคือแม่น้ำคงคา
บริเวณริมน้ำจะมีชายหาดกระจายอยู่ทั่วเมือง
สามารถเดินลงไปชมคงคาได้แบบใกล้ชิด
แต่เขาห้ามไม่ให้อาบน้ำหรือว่ายน้ำเล่น
น่าจะเป็นเพราะกระแสน้ำรุนแรงมาก
แถมมีหินเป็นเกาะแก่งเยอะ
ถ้าโดนพัดไปกระแทกหินคงไม่น่าดูเนาะ
คนที่นี่เรียกคงคาว่าแกงจีส์ ไม่ก็แกงกา
มาจากคำว่า Ganges/Ganga
ต้องออกเสียงตามเขาให้ถูกนะคะ
และด้วยความที่กระแสน้ำรุนแรงมาก
แม่น้ำคงคาย่านนี้จึงเหมาะกับกิจกรรมเอ็กซ์ตรีม
อย่างการล่องแก่ง (Rafting) มาก
ซึ่งเขาว่าความแรงของน้ำที่นี่นั้นถือว่าเป็น
ความรุนแรงขั้นสูงของการล่องแก่งเลยทีเดียว
ใครเป็นสายแอดเวนเจอร์ก็สามารถติดต่อได้
จากที่พักใครที่พักมัน หรือบริษัททัวร์ในเมือง
ราคาไม่สามารถฟันธงได้จริงๆ ค่ะ
ก็แล้วแต่บุญแต่กรรมกันเหมือนเดิมเนาะ
ช่วงที่เราไปน้ำใสมากถึงมากที่สุด
เป็นสีฟ้าอมเขียวและใสจนเหมือนน้ำทะเล
แถมยังเย็นเจี๊ยบสะใจ วักล้างหน้าทีเดียวคือตื่น
เดินลงมานั่งอ่านหนังสือ นั่งเมาท์มอย
แค่นี้วันเวลาก็ผ่านไปอย่างรวดเร็วแล้ว
คนอินเดียบางคนเขาจะมาตักน้ำใส่ขวด
แล้วเอากลับไปฝากครอบครัวเพื่อนฝูงกัน
ซึ่งเราก็ลองตักน้ำใส่ขวดดูเหมือนกัน
ปรากฏว่าความใสนั้น…
เกือบเทียบเท่าน้ำเปล่าในขวดที่ขายกันเลยค่ะ
เอ๊ะ... หรือน้ำในขวดขุ่นเท่ากับแม่น้ำวะ
3
จุดสุดท้ายอยู่ไกลออกมาจากโซนที่พักนิดนึง
คือน้ำตกสายเล็กๆ บนภูเขา
ชื่อว่า Neer Garh Waterfall
เป็นน้ำตกที่ไม่ได้โดดเด่นอะไรมากนัก
ถือเป้็นหนึ่งในแหล่งต้นน้ำของคงคา
แต่น้ำใสมากๆ ให้อารมณ์คล้ายน้ำตกเอราวัณ
ต้องเดินขึ้นเขากันนิดหน่อยพอเหงื่อตก
ส่วนตัวคิดว่าไม่ได้สวยอะไรมากมาย
ค่าเข้าราคาถูกมาก แค่ 30 รูปี (15 บาท)
ใครอยากมาออกกำลังกายปีนเขาก็ได้อยู่
น้ำตกนี้ต้องนั่งรถออโต้ริกชอว์มา
ราคาไม่ควรเกิน 200 รูปี (100 บาท)
จริงๆ ราคานี้ถือว่าสูงมากแล้วด้วย
คนอินเดียบอกว่านางนั่งไม่เกิน 60 รูปีด้วยซ้ำ
แต่ก็เนาะ ทำยังไงได้ ใครใคร่โต้เถียงก็จัดไป
ใครใคร่ยอมรับชะตากรรมแต่โดยดีก็ทำใจ
หรือใครจะเช่ามอเตอร์ไซค์แว้นไปก็ได้
ราคาประมาณ 200 บาทต่อวัน
ถนนที่นี่ไม่วุ่นวายมากเหมือนในเมืองใหญ่
พอขับได้แบบไม่เสียวสันหลังวาบ
สำหรับใครที่เคยไปพาราณสีมาแล้ว
จะเห็นความเหมือนที่แตกต่างของทั้งสองเมือง
พาราณสีจะวุ่นวาย คนแน่น
Rishikesh จะสงบ คนน้อย
พาราณสีน้ำจะสีเหมือนโอวัลตินตลอดเวลา
Rishikesh บางช่วงน้ำจะใสเป็นสีฟ้าเขียว
แต่ทั้งคู่ก็มีเสน่ห์ในตัวของตัวเอง
พลาดไม่ได้ทั้งสองเมืองเลยค่ะ
การเดินทาง
สำหรับการเดินทางมาเมืองนี้ก็ไม่ยาก
ขอตั้งหลักที่นิวเดลีเป็นฐานที่มั่น
มีให้เลือกหลายคลาสหลายสไตล์
ตั้งแต่รถเมล์สภาพโกโรโกโส
ไปจนถึงรถทัวร์สภาพหรูเลิศราคาแพง
หรือจะรถไฟก็มีให้เลือกนั่งหลายแบบ
ใช้ระยะเวลา 5-6 ชั่วโมงโดยประมาณ
ปกติพวกรถทัวร์เราจองผ่านแอป RedBus
ราคาก็มีตั้งแต่ไม่ถึงร้อยบาทยันหลายร้อย
ส่วนการเดินทางภายในเมืองก็มีทางเดียวคือ
เหมาออโต้ริกโชว์ที่มีมิเตอร์แต่ไม่เคยใช้
หรือใครจะเช่ามอเตอร์ไซค์ไปไหนมาไหน
ก็มีให้เลือกครบครันเลยค่ะ
---
ปิดท้ายก่อนจากลากันนิดนึง
Rishikesh ควรมาช่วงหน้าหนาวก็จริง
แต่ช่วงนี้ที่อินเดียมันจะมีความผีอยู่ตรงที่
รถราชอบเลต ชอบยกเลิกกันเสียดื้อๆ
บ้างก็ว่าหมอกลงจัดบ้างล่ะ
บ้างก็ว่าคนไม่ครบตามจำนวนบ้างล่ะ
เรียกได้ว่าเป็นช่วงที่ไม่มีความแน่นอนสุดๆ
ต้องคอยปรับหาแผนสำรองกันยกใหญ่
อย่างเรากับพี่คนไทยที่ไปเจอกันที่นั่น
นัดแนะกันดิบดีว่าจะนั่งรถทัวร์ราคาแพงไปกัน
สไลด์แอปพลิเคชั่นดูก่อนเดินทางก็ชื้นใจ
เห็นมีรถให้เลือกหลากหลายอยู่
แวบไปหาอะไรกินกับแป๊บเดียวมาดูอีกที
รถราที่เคยมี… หายวับไปกลับตา
นึกว่าแอปค้างหริอว่าอะไรก็ไม่ใช่
สอบถามบริษัททัวร์รอบข้างก็บอกว่าไม่มี
แล้วเราสองสาวเดินเปล่าเปลี่ยวกลางเดลี
จะใช้ชีวิตอยู่ต่อไปได้อย่างไร
ถามที่ไหนก็บอกว่าให้มาใหม่พรุ่งนี้เถอะ
หรือไม่ก็เหมารถฉันไปสิ แหม… ได้ทีกันเชียว
แต่โชคดีที่ตอนนั้นเราเริ่มปีกกล้าขาแข็ง
เที่ยวในอินเดียสิริรวมมาก็หลายเดือนแล้ว
เริ่มรู้วิธีเอาตัวรอดในประเทศที่ไม่มีอะไรแน่นอน
เราระลึกได้ถึงสถานีขนส่งหลักของเมือง
ซึ่งจะมีอยู่ในทุกๆ เมืองของอินเดียเลย
มีหลายชื่อแล้วแต่พิกัดจีพีเอสแต่ละที่
บ้างก็เรียก ISBT บ้างก็ใช้ว่า CMBT
มันจะให้อารมณ์ประมาณขนส่งระหว่างเมือง
จะมีรถโดยสารไปยังเมืองรอบข้าง
หรือหัวเมืองหลักใกล้ๆ เมืองนั้นๆ
แถมเที่ยวรถที่มีก็ค่อนข้างดึกและถี่
และมีแนวโน้มที่จะไม่เทเรากลางคันด้วย
เรียกได้ว่าเชื่อใจได้เกือบ 90 เปอร์เซ็นต์
ราคาค่ารถก็สมกับราคา ...ถูกมาก
บางทีหน้าต่างก็ปิดไม่ได้ บางทีรถเต็มต้องยืน
แต่แล้วฉันเลือกอะไรได้ไหม...
ซึ่งตอนนั้นโชคก็เข้าข้างเราทั้งสองคน
มีรถไป Rishikesh รอบเกือบเที่ยงคืน
เราเจอชายหนุ่มเนปาลสองคน
ที่กำลังจะเดินทางไปดูตัวเจ้าสาวที่นั่น
เลยปักหลักเกาะติดสองหนุ่มไว้แน่น
แบบไม่ปล่อยให้คลาดสายตาไปเด็ดขาด (ฮ่า)
จนในที่สุดก็มาถึงตัวเมืองได้ตามแผนที่วางไว้
...โดนเทขาไปยังไม่พอ
เราสองสาวพี่น้องแสนถึกและบึกบึน
ต้องรับได้มากกว่านี้อีกสองเท่าสิ
ขากลับจาก Rishikesh มานิวเดลีก็ยังโดนอีก
ชีวิตนี้จะต้องโดนเทกันซ้ำซ้อนอะไรขนาดนี้คะ
โดนผู้ชายเทก็แล้ว ยังต้องมาโดนรถเมล์เทอีก
เรื่องมีอยู่ว่าครั้งนี้
เราสองคนได้บทเรียนจากการไม่จองรถก่อน
เลยรีบจองกันล่วงหน้าหลายวัน
แต่สุดท้าย… พอถึงเวลารถออกจริง
ก็มีคนโทรมาหาเราพร้อมยิงภาษาอินเดียรัวๆ
ยื่นมือถือไปให้เจ้าของโรงแรมที่พักอยู่ฟัง
นางแปลความได้ว่า รถรอบนี้ไม่มีแล้ว
เอ้า… เราถามกลับไปว่าทำไมล่ะ
นางตอบมาว่า เพราะว่ามีคนจองรถไม่ถึงครึ่ง
ถ้าต้องออกรถเดี๋ยวจะได้ไม่คุ้มต้นทุน
ละความผีคือไม่มีรีฟันด์ให้ด้วย (ฮือ)
เพราะนางโทรมาแคนเซิลเราหลังจากเวลา
ที่ทางแอประบุว่าให้ยกเลิกได้ฟรี อิผี
สุดท้าย เราสองศรีพี่น้อง
ก็ต้องกลับไปพึ่งรถเมล์สถาพบุโรทั่ง
นั่งกระเด้งกระดอนฝ่าแอ่งหลุมบนถนน
กลับไปเดลีกันยามค่ำคืนที่เหน็บหนาว
ถึงแม้รถคันนี้จะเป็นเบาะไม้แข็งๆ
หน้าต่างบางบานก็แตก บางบานก็ติดขัด
กลิ่นรถก็ทั้งเหม็นอับและเหม็นกลิ่นสนิม
แต่อย่างน้อย มันก็ไม่เคยเทหนูเด้อ
เรารักเธอ ...CMBT และ ISBT
[CR] พาไป Rishikesh เมืองคู่ขนานของพาราณสี ที่สงบและสะอาดกว่า แถมน้ำเป็นสีฟ้าเขียว
เมืองนี้เป็นเมืองที่ไม่ได้อยู่ในลิสต์ของเราแต่แรก
ตามแผนเดิมคือต้องอยู่เที่ยวในนิวเดลี
แต่อุตส่าห์ได้เจอรุ่นพี่คนไทยที่มาเรียนที่นี่ทั้งที
ก็ต้องหาสถานที่เก๋ไก๋ไปผจญภัยกันหน่อย
หวยเลยมาออกที่เมือง Rishikesh
ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเดลีมาก ดูท่าจะเดินทางสะดวก
เมือง Rishikesh ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเดลี
สังกัดอยู่ในเขตของรัฐ Uttarakhand
ออกเสียงได้ประมาณ... อุตตะระขัน
อยู่ห่างจากเดลีประมาณ 230 กิโลเมตร
เมืองนี้เขาเคลมกันว่าเป็นเมืองโยคะโลก
มีศูนย์ฝึกโยคะมากมายหลายเจ้า
บางที่มีแพ็กเกจเป็นเดือนๆ พร้อมอาหารและที่พัก
บางที่ก็มีแบบแพ็กเกจวันเดียว
ลองเดินติดต่อเลือกดูได้ที่เมืองเลยค่ะ
แถมถ้าว่ากันตามสภาพภูมิศาสตร์แล้ว...
เมืองนี้ถือว่าอยู่แถบต้นแม่น้ำคงคาด้วย
ได้ยินชื่อแม่น้ำคงคามาตั้งแต่ตอนเรียนประถม
มาคราวนี้จะได้เห็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ชื่อดังแล้ว
เราเคยบอกไปหลายครั้งในกระทู้เก่าก่อน
ว่าถ้าอยากเที่ยวอินเดียแบบฟินเว่อร์วัง
ให้มาช่วงเดือนธันวาคม หรือไม่ก็มกราคม
เพราะมันจะเป็นช่วงที่อากาศดีที่สุด
ใต้คำว่าดีที่สุดของเราหมายถึง... มันจะไม่ร้อน
กรณีเมืองที่อยู่แถบตอนใต้ถึงตอนกลางนะ
แต่ถ้าช่วงตอนเหนือขึ้นไป หรือเมืองบนเขา
อากาศจะเย็นแบบแตะเลขตัวเดียวหรือติดลบเลย
เช่นเดียวกับเมือง Rishikesh
ช่วงที่เราไป (มกราคม 2017) อากาศยังเย็นอยู่
ไม่ว่าจะโดนโกงหรือเซ้าซี้จากคนอินเดียแค่ไหน
ก็พร้อมยิ้มรับกับสถานการณ์ได้ไม่หวั่น
หันทางซ้ายก็เซย์ไฮ หันทางขวาก็บ๊ายบาย
โอ๊ย... ถูกจริตเว่อร์
มาค่ะ ใส่เสื้อขนแกะรุ่นหนาเกินเบอร์ให้อุ่นกาย
แล้วมาเยี่ยมชมเมืองในซอกขุนเขาแห่งนี้กัน
ขอแอบกระซิบว่า…
ใครที่มาฤดูอื่นๆ สีน้ำอาจจะไม่ฟินเท่านี้นะ
เพราะมีรุ่นพี่เราไปมาช่วงหน้ามรสุม
น้ำขุ่นเป็นสีโอวัลติน แถมอากาศยังร้อนอีกค่ะ
ที่พักใน Rishikesh จะอยู่คนละฝั่งกับตัวเมือง
ต้องข้ามสะพานมา ซึ่งเขาจะมีสะพานหลักๆ
อยู่สองสะพานด้วยกัน
ชื่อว่า Ram Jhula และ Lakshman Jhula
ตามชื่อของสองหนุ่มพี่น้องในรามเกียรติ์
ใครพักอยู่ใกล้สะพานไหนก็เช็กดูให้ดีก่อน
จะได้ไม่ไปผิดสะพานกันเนาะ
แต่อิสะพานทั้งสองนี้ก็ไม่ปลอดภัยเท่าไหร่
เพราะมีน้องลิงเพ่นพ่านกันเต็มไปหมด
กระโดดโลดเต้นกันวุ่นวายเลยค่ะ
ใครมีของกินติดไม้ติดมือนี่ต้องระวัง
เพราะโดนน้องๆ จู่โจมแน่นอน (ฮ่า)
แถบที่พักจะมีร้านรวงให้เลือกชอปเยอะมาก
มีเสื้อผ้าสไตล์อินเดีย เสื้อไหมพรมถักหลากสีสัน
อาหารนานาชาติ คาเฟ่นั่งชิลเก๋ไก๋ ฯลฯ
ส่วนใหญ่แล้วคาเฟ่แถวนี้จะเป็นแนวโมเดิร์น
ไม่ได้อินเดียจ๋ามาก อาหารจะเป็นแบบฟิวชั่น
รับรองได้เลยว่าต้องถูกปาก
คนที่ไม่ค่อยอินกับอาหารอินเดียแน่นอน
ใครกำลังจะไปฝากทักทายขุ่นพี่ Mahendar
และกิ๊กสาวชาวเกาหลีของนาง
ที่ Dreamcatcher Cafe
แถว Lakshman Jhula ด้วยนะคะ
กิจกรรมและสถานที่หลักๆ ของเมืองนี้
จะค่อนข้างรีแลกซ์เสียมากกว่า
ใครเป็นสายชิล เน้นนั่งคาเฟ่ ชมธรรมชาติ
คงจะชอบ Rishikesh (หน้าหนาว) แน่นอน
1
จุดแรกที่ถือเป็นแลนด์มาร์กสำคัญของเมือง
คือเหล่าบรรดากาต (Ghat) ริมแม่น้ำ
ลักษณะของกาตที่นี่ก็คล้ายคลึงกับพาราณสี
แต่ไม่ได้ยิ่งใหญ่และมีจำนวนมากเท่า
กาต เป็นคำที่เอาไว้ใช้อธิบายสถาปัตยกรรม
ที่มีสภาพเป็นตึกใหญ่ๆ ริมแม่น้ำของอินเดีย
ซึ่งมีขั้นบันไดสร้างยาวทอดลงไปในน้ำ
เอาไว้ใช้สอยในทุกช่วงฤดู
ทำให้ไม่ว่าน้ำจะน้อยหรือเยอะ
ก็ยังเดินลงไปใช้ประโยชน์ได้เสมอ
ทั้งอาบน้ำ ซักผ้า เล่นโยคะ เรียกได้ว่า...
เป็นสิ่งปลูกสร้างสารพัดประโยชน์จริงๆ ค่ะ
ใกล้ๆ กับกาตก็จะมีวัดฮินดูเรียงรายอยู่
แต่ที่ Rishikesh จะไม่ค่อยมีพิธีกรรมทางศาสนา
ให้ดูมากเหมือนที่พาราณสีนะคะ
ถ้าใครอยากร่วมพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ย่านนี้
แนะนำให้แวะไปเมืองใกล้เคียงชื่อ Haridwar
รับรองว่าไม่ผิดหวังแน่นอนค่ะ
2
จุดต่อไปคือแม่น้ำคงคา
บริเวณริมน้ำจะมีชายหาดกระจายอยู่ทั่วเมือง
สามารถเดินลงไปชมคงคาได้แบบใกล้ชิด
แต่เขาห้ามไม่ให้อาบน้ำหรือว่ายน้ำเล่น
น่าจะเป็นเพราะกระแสน้ำรุนแรงมาก
แถมมีหินเป็นเกาะแก่งเยอะ
ถ้าโดนพัดไปกระแทกหินคงไม่น่าดูเนาะ
คนที่นี่เรียกคงคาว่าแกงจีส์ ไม่ก็แกงกา
มาจากคำว่า Ganges/Ganga
ต้องออกเสียงตามเขาให้ถูกนะคะ
และด้วยความที่กระแสน้ำรุนแรงมาก
แม่น้ำคงคาย่านนี้จึงเหมาะกับกิจกรรมเอ็กซ์ตรีม
อย่างการล่องแก่ง (Rafting) มาก
ซึ่งเขาว่าความแรงของน้ำที่นี่นั้นถือว่าเป็น
ความรุนแรงขั้นสูงของการล่องแก่งเลยทีเดียว
ใครเป็นสายแอดเวนเจอร์ก็สามารถติดต่อได้
จากที่พักใครที่พักมัน หรือบริษัททัวร์ในเมือง
ราคาไม่สามารถฟันธงได้จริงๆ ค่ะ
ก็แล้วแต่บุญแต่กรรมกันเหมือนเดิมเนาะ
ช่วงที่เราไปน้ำใสมากถึงมากที่สุด
เป็นสีฟ้าอมเขียวและใสจนเหมือนน้ำทะเล
แถมยังเย็นเจี๊ยบสะใจ วักล้างหน้าทีเดียวคือตื่น
เดินลงมานั่งอ่านหนังสือ นั่งเมาท์มอย
แค่นี้วันเวลาก็ผ่านไปอย่างรวดเร็วแล้ว
คนอินเดียบางคนเขาจะมาตักน้ำใส่ขวด
แล้วเอากลับไปฝากครอบครัวเพื่อนฝูงกัน
ซึ่งเราก็ลองตักน้ำใส่ขวดดูเหมือนกัน
ปรากฏว่าความใสนั้น…
เกือบเทียบเท่าน้ำเปล่าในขวดที่ขายกันเลยค่ะ
เอ๊ะ... หรือน้ำในขวดขุ่นเท่ากับแม่น้ำวะ
3
จุดสุดท้ายอยู่ไกลออกมาจากโซนที่พักนิดนึง
คือน้ำตกสายเล็กๆ บนภูเขา
ชื่อว่า Neer Garh Waterfall
เป็นน้ำตกที่ไม่ได้โดดเด่นอะไรมากนัก
ถือเป้็นหนึ่งในแหล่งต้นน้ำของคงคา
แต่น้ำใสมากๆ ให้อารมณ์คล้ายน้ำตกเอราวัณ
ต้องเดินขึ้นเขากันนิดหน่อยพอเหงื่อตก
ส่วนตัวคิดว่าไม่ได้สวยอะไรมากมาย
ค่าเข้าราคาถูกมาก แค่ 30 รูปี (15 บาท)
ใครอยากมาออกกำลังกายปีนเขาก็ได้อยู่
น้ำตกนี้ต้องนั่งรถออโต้ริกชอว์มา
ราคาไม่ควรเกิน 200 รูปี (100 บาท)
จริงๆ ราคานี้ถือว่าสูงมากแล้วด้วย
คนอินเดียบอกว่านางนั่งไม่เกิน 60 รูปีด้วยซ้ำ
แต่ก็เนาะ ทำยังไงได้ ใครใคร่โต้เถียงก็จัดไป
ใครใคร่ยอมรับชะตากรรมแต่โดยดีก็ทำใจ
หรือใครจะเช่ามอเตอร์ไซค์แว้นไปก็ได้
ราคาประมาณ 200 บาทต่อวัน
ถนนที่นี่ไม่วุ่นวายมากเหมือนในเมืองใหญ่
พอขับได้แบบไม่เสียวสันหลังวาบ
สำหรับใครที่เคยไปพาราณสีมาแล้ว
จะเห็นความเหมือนที่แตกต่างของทั้งสองเมือง
พาราณสีจะวุ่นวาย คนแน่น
Rishikesh จะสงบ คนน้อย
พาราณสีน้ำจะสีเหมือนโอวัลตินตลอดเวลา
Rishikesh บางช่วงน้ำจะใสเป็นสีฟ้าเขียว
แต่ทั้งคู่ก็มีเสน่ห์ในตัวของตัวเอง
พลาดไม่ได้ทั้งสองเมืองเลยค่ะ
สำหรับการเดินทางมาเมืองนี้ก็ไม่ยาก
ขอตั้งหลักที่นิวเดลีเป็นฐานที่มั่น
มีให้เลือกหลายคลาสหลายสไตล์
ตั้งแต่รถเมล์สภาพโกโรโกโส
ไปจนถึงรถทัวร์สภาพหรูเลิศราคาแพง
หรือจะรถไฟก็มีให้เลือกนั่งหลายแบบ
ใช้ระยะเวลา 5-6 ชั่วโมงโดยประมาณ
ปกติพวกรถทัวร์เราจองผ่านแอป RedBus
ราคาก็มีตั้งแต่ไม่ถึงร้อยบาทยันหลายร้อย
ส่วนการเดินทางภายในเมืองก็มีทางเดียวคือ
เหมาออโต้ริกโชว์ที่มีมิเตอร์แต่ไม่เคยใช้
หรือใครจะเช่ามอเตอร์ไซค์ไปไหนมาไหน
ก็มีให้เลือกครบครันเลยค่ะ
---
ปิดท้ายก่อนจากลากันนิดนึง
Rishikesh ควรมาช่วงหน้าหนาวก็จริง
แต่ช่วงนี้ที่อินเดียมันจะมีความผีอยู่ตรงที่
รถราชอบเลต ชอบยกเลิกกันเสียดื้อๆ
บ้างก็ว่าหมอกลงจัดบ้างล่ะ
บ้างก็ว่าคนไม่ครบตามจำนวนบ้างล่ะ
เรียกได้ว่าเป็นช่วงที่ไม่มีความแน่นอนสุดๆ
ต้องคอยปรับหาแผนสำรองกันยกใหญ่
อย่างเรากับพี่คนไทยที่ไปเจอกันที่นั่น
นัดแนะกันดิบดีว่าจะนั่งรถทัวร์ราคาแพงไปกัน
สไลด์แอปพลิเคชั่นดูก่อนเดินทางก็ชื้นใจ
เห็นมีรถให้เลือกหลากหลายอยู่
แวบไปหาอะไรกินกับแป๊บเดียวมาดูอีกที
รถราที่เคยมี… หายวับไปกลับตา
นึกว่าแอปค้างหริอว่าอะไรก็ไม่ใช่
สอบถามบริษัททัวร์รอบข้างก็บอกว่าไม่มี
แล้วเราสองสาวเดินเปล่าเปลี่ยวกลางเดลี
จะใช้ชีวิตอยู่ต่อไปได้อย่างไร
ถามที่ไหนก็บอกว่าให้มาใหม่พรุ่งนี้เถอะ
หรือไม่ก็เหมารถฉันไปสิ แหม… ได้ทีกันเชียว
แต่โชคดีที่ตอนนั้นเราเริ่มปีกกล้าขาแข็ง
เที่ยวในอินเดียสิริรวมมาก็หลายเดือนแล้ว
เริ่มรู้วิธีเอาตัวรอดในประเทศที่ไม่มีอะไรแน่นอน
เราระลึกได้ถึงสถานีขนส่งหลักของเมือง
ซึ่งจะมีอยู่ในทุกๆ เมืองของอินเดียเลย
มีหลายชื่อแล้วแต่พิกัดจีพีเอสแต่ละที่
บ้างก็เรียก ISBT บ้างก็ใช้ว่า CMBT
มันจะให้อารมณ์ประมาณขนส่งระหว่างเมือง
จะมีรถโดยสารไปยังเมืองรอบข้าง
หรือหัวเมืองหลักใกล้ๆ เมืองนั้นๆ
แถมเที่ยวรถที่มีก็ค่อนข้างดึกและถี่
และมีแนวโน้มที่จะไม่เทเรากลางคันด้วย
เรียกได้ว่าเชื่อใจได้เกือบ 90 เปอร์เซ็นต์
ราคาค่ารถก็สมกับราคา ...ถูกมาก
บางทีหน้าต่างก็ปิดไม่ได้ บางทีรถเต็มต้องยืน
แต่แล้วฉันเลือกอะไรได้ไหม...
ซึ่งตอนนั้นโชคก็เข้าข้างเราทั้งสองคน
มีรถไป Rishikesh รอบเกือบเที่ยงคืน
เราเจอชายหนุ่มเนปาลสองคน
ที่กำลังจะเดินทางไปดูตัวเจ้าสาวที่นั่น
เลยปักหลักเกาะติดสองหนุ่มไว้แน่น
แบบไม่ปล่อยให้คลาดสายตาไปเด็ดขาด (ฮ่า)
จนในที่สุดก็มาถึงตัวเมืองได้ตามแผนที่วางไว้
...โดนเทขาไปยังไม่พอ
เราสองสาวพี่น้องแสนถึกและบึกบึน
ต้องรับได้มากกว่านี้อีกสองเท่าสิ
ขากลับจาก Rishikesh มานิวเดลีก็ยังโดนอีก
ชีวิตนี้จะต้องโดนเทกันซ้ำซ้อนอะไรขนาดนี้คะ
โดนผู้ชายเทก็แล้ว ยังต้องมาโดนรถเมล์เทอีก
เรื่องมีอยู่ว่าครั้งนี้
เราสองคนได้บทเรียนจากการไม่จองรถก่อน
เลยรีบจองกันล่วงหน้าหลายวัน
แต่สุดท้าย… พอถึงเวลารถออกจริง
ก็มีคนโทรมาหาเราพร้อมยิงภาษาอินเดียรัวๆ
ยื่นมือถือไปให้เจ้าของโรงแรมที่พักอยู่ฟัง
นางแปลความได้ว่า รถรอบนี้ไม่มีแล้ว
เอ้า… เราถามกลับไปว่าทำไมล่ะ
นางตอบมาว่า เพราะว่ามีคนจองรถไม่ถึงครึ่ง
ถ้าต้องออกรถเดี๋ยวจะได้ไม่คุ้มต้นทุน
ละความผีคือไม่มีรีฟันด์ให้ด้วย (ฮือ)
เพราะนางโทรมาแคนเซิลเราหลังจากเวลา
ที่ทางแอประบุว่าให้ยกเลิกได้ฟรี อิผี
สุดท้าย เราสองศรีพี่น้อง
ก็ต้องกลับไปพึ่งรถเมล์สถาพบุโรทั่ง
นั่งกระเด้งกระดอนฝ่าแอ่งหลุมบนถนน
กลับไปเดลีกันยามค่ำคืนที่เหน็บหนาว
ถึงแม้รถคันนี้จะเป็นเบาะไม้แข็งๆ
หน้าต่างบางบานก็แตก บางบานก็ติดขัด
กลิ่นรถก็ทั้งเหม็นอับและเหม็นกลิ่นสนิม
แต่อย่างน้อย มันก็ไม่เคยเทหนูเด้อ
เรารักเธอ ...CMBT และ ISBT
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น