By มาร์ตี้ แม็คฟราย
คงได้รู้กันไปแล้วว่าในยุคสมัยที่วงการฮอลลีวูดหากินด้วยการมี “จักรวาล” ของตัวเอง ซึ่งวอร์เนอร์ก็กำลังเดินทางไปตามนั้น เพราะได้มีประกาศสร้างจักรวาล Conjuring โดยมีหนัง Annabelle: Creation เป็นหนังเรื่องแรกที่จะเชื่อมทั้งหนังเรื่องก่อนและหนังที่จะตามมาหลังจากนี้เข้าด้วยกัน
แน่นอนว่าหัวเรือใหญ่คนที่เป็นผู้ให้กำเนิด Conjuring อย่าง เจมส์ วาน ก็มาทำหน้าที่โปรดิวเซอร์ และดันเด็กปั้นของตัวเองอย่าง เดวิด เอฟ. แซนด์เบิร์ก ที่เคยกำกับ Light Out มากำกับต่อจาก จอห์น อาร์. ลีโอเนตติ ผู้กำกับภาคก่อนที่ถูกเปลี่ยนออกไป (ชดเชยที่ผลงานชวนส่ายหัว แต่ทำกำไรดี)
- เดวิด เอฟ. แซนด์เบิร์ก -
กับผลงานในเรื่องนี้เดวิด เอฟ. แซนด์เบิร์กได้แสดงให้เห็นจริง ๆ แล้วว่าเขาสามารถเป็นร่างทรงและศิษย์เอกในเรื่องความสยองขวัญในแบบ เจมส์ วาน ได้ดีที่สุดแล้วในตอนนี้ เพราะใน Annabelle: Creation ได้เปิดโอกาสให้แซนด์เบิร์กได้แสดงฝีมืออย่างจริงจัง ในแบบที่เราไม่ได้เห็นในผลงานก่อนหน้าของเขาอย่าง Light Out
เพราะใน Light Out แม้ว่าแซนด์เบิร์กจะสร้างขึ้นจากหนังสั้นของตัวเอง แต่หนังเองก็มี ”เงื่อนไข” ที่กลายเป็นการผูกมัดตัวเองในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างฉากผี ที่ถูกจำกัดไว้ด้วยเงื่อนไขเรื่อง ความมืด และ แสงไฟ ทำให้แซนด์เบิร์กไม่สามารถงัดเซ้นส์ในแง่ความสยองขวัญออกมาได้ดีเท่าที่ควร (อีกทั้งตัวเนื้อเรื่องในหนังที่ก็ไม่มีอะไรแปลกใหม่เลยแม้แต่นิด ทำให้หนังก็ได้กลายเป็นหนังสยองขวัญที่ผ่านมาและผ่านไปทันที)
แต่กับหนัง Annabelle: Creation เมื่อหนังไม่ได้ถูกกำจัดเรื่องเงื่อนไขอะไรบางอย่างอีกแล้ว ทำให้แซนด์เบิร์กสามารถ
“โชว์ของ” ในเรื่องเซ้นส์ความสยองขวัญของตัวเองได้อย่างเต็มที่ ซึ่งสิ่งที่เราได้เห็นคือแซนด์เบิร์กมีลายเซ็นที่ละม้ายคล้ายคลึงกับเจมส์ วานค่อนข้างชัด ทั้งกลวิธีที่ใช้ในฉากผี การใช้บรรยากาศโดยรอบของหนังเป็นเครื่องมือ จังหวะในฉากผีที่มีลำดับค่อยเป็นค่อยไปไม่รีบร้อนที่จะตุ้งแช่เร็ว (เพื่อยืดอารมณ์คนดูให้เหนื่อยไปก่อน)
และจุดที่โดดเด่นที่สุดคือการไม่เล่นท่ายาก แต่ใช้มุกง่าย ๆ หรือสิ่งของใกล้ตัวในการหลอกหลอน (แต่เป็นมุกง่าย ๆ ไม่ได้ตื้นเขินในการสร้างความหวาดกลัว) ทำให้ก็ต้องยอมรับว่าความน่ากลัวของหนังเรื่องนี้เข้าขั้นดีเลย ทั้งความคิดสร้างสรรค์และความโหดทางอารมณ์ ซึ่งจุดนี้คงต้องยกเครดิตให้กับความสามารถของผู้กำกับ
- จุดแข็งคือผี จุดอ่อนคือมีแต่ผี -
หากจุดแข็งของหนังคือฉากผีมีความสร้างสรรค์ น่ากลัว และมีมาเสิร์ฟคอหนังสยองขวัญตลอดทั้งเรื่อง จุดอ่อนของหนังก็หนีไม่พ้นในเรื่องที่ว่าหนังมันมีแต่ฉากผีนี่แหละ ...
แม้ว่า เดวิด เอฟ. แซนด์เบิร์ก จะแก้ตัวและพิสูจน์ตัวเองได้ดีในแง่การกำกับฉากสยองขวัญได้ดี แต่จุดอ่อนของเขาที่เราได้เห็นจาก Light Out ก็ยังมีให้เราเห็นในเรื่องนี้เหมือนเดิม นั้นคือปัญหาในเรื่องของเรื่องราวและตัวละคร เพราะในหนังเรื่องนี้สามารถพูดได้เต็มปากเลยว่าเป็นหนังที่เดินเรื่องราวด้วยฉากสยองขวัญเป็นหลักอย่างเดียวจริง ๆ สังเกตได้จากที่เรามักจะเห็นตัวละครมีความกล้าเกินมนุษย์มนา และมักจะปล่อยให้ความอยากรู้อยากเห็นพาตัวเองไปสู่ความสยองขวัญอยู่ร่ำไป ซึ่งเข้าใจได้ เพราะการกระทำแบบนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของซีนผีที่เป็นจุดขายของหนัง
จริง ๆ ในกรณีนี้อาจไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร โดยเฉพาะกับหนังสยองขวัญของฮอลลีวูด เพราะแม้แต่หนังขึ้นหิ้งอย่าง The Conjuring ทั้งสองภาคของวานก็เป็นแบบนั้นเหมือนเดิม แต่สิ่งที่วานเก่งกาจและฉลาดกว่าคือการใส่มิติของตัวละครเพิ่มลงไป ทำให้แม้ว่าเส้นเรื่องในหนังจะไม่มีอะไรและเดินตามสูตรสำเร็จเพียงไหน วานก็ยังทำให้หนังผีมีอะไรมากกว่าแค่หลอกหลอนตัวละครและเปิดเผยเรื่องราวบางอย่างในช่วงท้าย ด้วยการโฟกัสที่ตัวละครอยู่เสมอ
เหมือนกับใน The Conjuring ที่เขาไม่ได้ปล่อยตัวละครนำของเรื่องอย่าง เอ็ด และ ลอร์เรน มีหน้าที่เพียงเจอผีหลอกและปราบผี แต่ยังพาไปรู้ถึงชีวิตจิตใจ ทัศนคติ และความผูกพัน เพื่อให้เราเข้าถึง เข้าใจและเอาใจช่วยด้วย ไม่ใช่ว่าตัวละครถูกทิ้งให้เผชิญกับผีอย่างเดียวโดยที่เราไม่ได้มีความรู้สึกร่วมกับตัวละครเลย
- จักรวาล Conjuring เริ่มแล้วอย่างเป็นทางการ -
อย่างที่บอกไปว่าสตูดิโอวอร์เนอร์จะเริ่มจักรวาล Conjuring อย่างเป็นทางการจากหนังเรื่องนี้ ซึ่งหนังในจักรวาลหลังจากนี้ที่จะตามมาคือ The Nun (2018) (ผีแม่ชีใน The Conjuring 2), The Crooked Man และ The Conjuring 3
ทำให้เราจะได้เห็น Easter Egg ที่หนังตั้งใจเปิดมาให้เราเห็นเยอะแยะไปหมด ทั้งเพื่อกล่าวถึงและเชื่อมโยงกับเรื่องราวของหนังเรื่องก่อนหน้า และปูทางไปถึงหนังเรื่องต่อไปที่จะออกมาในจักรวาลด้วย โดยเฉพาะผีแม่ชีที่เราได้เห็นฤทธิ์เดชกันไปแล้วจาก The Conjuring 2 (ที่กำลังจะมีหนังแยกเดี่ยวของตัวเองในปี 2018) ที่หนังตั้งใจเปิดอะไรบางอย่างที่จะนำไปสู่หนังเรื่องต่อไป นอกจากนั้นยังมีการเปิดตัวละครผีตัวใหม่ (หุ่นไล่กานั่นไง) หยอด ๆ ไว้อีกด้วย
เอาเป็นว่าสำหรับคอหนังสยองขวัญก็คงดีใจกันเป็นแถวที่จะได้เห็นหนังผีในจักรวาลมีมาอีกเยอะ แถมตัวหนังที่เปิดด้วย Annabelle: Creation ยังอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจอีกต่างหาก
ขอบคุณรูปภาพจาก Warner Bros. Pictures
ติดตามบทความจากภาพยนตร์เรื่องอื่น ๆได้ที่
https://www.facebook.com/thelastseatsontheleft
[Review] Annabelle: Creation: จุดแข็งคือผี จุดอ่อนคือ.. (มีแต่ผี)
By มาร์ตี้ แม็คฟราย
คงได้รู้กันไปแล้วว่าในยุคสมัยที่วงการฮอลลีวูดหากินด้วยการมี “จักรวาล” ของตัวเอง ซึ่งวอร์เนอร์ก็กำลังเดินทางไปตามนั้น เพราะได้มีประกาศสร้างจักรวาล Conjuring โดยมีหนัง Annabelle: Creation เป็นหนังเรื่องแรกที่จะเชื่อมทั้งหนังเรื่องก่อนและหนังที่จะตามมาหลังจากนี้เข้าด้วยกัน
แน่นอนว่าหัวเรือใหญ่คนที่เป็นผู้ให้กำเนิด Conjuring อย่าง เจมส์ วาน ก็มาทำหน้าที่โปรดิวเซอร์ และดันเด็กปั้นของตัวเองอย่าง เดวิด เอฟ. แซนด์เบิร์ก ที่เคยกำกับ Light Out มากำกับต่อจาก จอห์น อาร์. ลีโอเนตติ ผู้กำกับภาคก่อนที่ถูกเปลี่ยนออกไป (ชดเชยที่ผลงานชวนส่ายหัว แต่ทำกำไรดี)
- เดวิด เอฟ. แซนด์เบิร์ก -
กับผลงานในเรื่องนี้เดวิด เอฟ. แซนด์เบิร์กได้แสดงให้เห็นจริง ๆ แล้วว่าเขาสามารถเป็นร่างทรงและศิษย์เอกในเรื่องความสยองขวัญในแบบ เจมส์ วาน ได้ดีที่สุดแล้วในตอนนี้ เพราะใน Annabelle: Creation ได้เปิดโอกาสให้แซนด์เบิร์กได้แสดงฝีมืออย่างจริงจัง ในแบบที่เราไม่ได้เห็นในผลงานก่อนหน้าของเขาอย่าง Light Out
เพราะใน Light Out แม้ว่าแซนด์เบิร์กจะสร้างขึ้นจากหนังสั้นของตัวเอง แต่หนังเองก็มี ”เงื่อนไข” ที่กลายเป็นการผูกมัดตัวเองในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างฉากผี ที่ถูกจำกัดไว้ด้วยเงื่อนไขเรื่อง ความมืด และ แสงไฟ ทำให้แซนด์เบิร์กไม่สามารถงัดเซ้นส์ในแง่ความสยองขวัญออกมาได้ดีเท่าที่ควร (อีกทั้งตัวเนื้อเรื่องในหนังที่ก็ไม่มีอะไรแปลกใหม่เลยแม้แต่นิด ทำให้หนังก็ได้กลายเป็นหนังสยองขวัญที่ผ่านมาและผ่านไปทันที)
แต่กับหนัง Annabelle: Creation เมื่อหนังไม่ได้ถูกกำจัดเรื่องเงื่อนไขอะไรบางอย่างอีกแล้ว ทำให้แซนด์เบิร์กสามารถ
“โชว์ของ” ในเรื่องเซ้นส์ความสยองขวัญของตัวเองได้อย่างเต็มที่ ซึ่งสิ่งที่เราได้เห็นคือแซนด์เบิร์กมีลายเซ็นที่ละม้ายคล้ายคลึงกับเจมส์ วานค่อนข้างชัด ทั้งกลวิธีที่ใช้ในฉากผี การใช้บรรยากาศโดยรอบของหนังเป็นเครื่องมือ จังหวะในฉากผีที่มีลำดับค่อยเป็นค่อยไปไม่รีบร้อนที่จะตุ้งแช่เร็ว (เพื่อยืดอารมณ์คนดูให้เหนื่อยไปก่อน)
และจุดที่โดดเด่นที่สุดคือการไม่เล่นท่ายาก แต่ใช้มุกง่าย ๆ หรือสิ่งของใกล้ตัวในการหลอกหลอน (แต่เป็นมุกง่าย ๆ ไม่ได้ตื้นเขินในการสร้างความหวาดกลัว) ทำให้ก็ต้องยอมรับว่าความน่ากลัวของหนังเรื่องนี้เข้าขั้นดีเลย ทั้งความคิดสร้างสรรค์และความโหดทางอารมณ์ ซึ่งจุดนี้คงต้องยกเครดิตให้กับความสามารถของผู้กำกับ
- จุดแข็งคือผี จุดอ่อนคือมีแต่ผี -
หากจุดแข็งของหนังคือฉากผีมีความสร้างสรรค์ น่ากลัว และมีมาเสิร์ฟคอหนังสยองขวัญตลอดทั้งเรื่อง จุดอ่อนของหนังก็หนีไม่พ้นในเรื่องที่ว่าหนังมันมีแต่ฉากผีนี่แหละ ...
แม้ว่า เดวิด เอฟ. แซนด์เบิร์ก จะแก้ตัวและพิสูจน์ตัวเองได้ดีในแง่การกำกับฉากสยองขวัญได้ดี แต่จุดอ่อนของเขาที่เราได้เห็นจาก Light Out ก็ยังมีให้เราเห็นในเรื่องนี้เหมือนเดิม นั้นคือปัญหาในเรื่องของเรื่องราวและตัวละคร เพราะในหนังเรื่องนี้สามารถพูดได้เต็มปากเลยว่าเป็นหนังที่เดินเรื่องราวด้วยฉากสยองขวัญเป็นหลักอย่างเดียวจริง ๆ สังเกตได้จากที่เรามักจะเห็นตัวละครมีความกล้าเกินมนุษย์มนา และมักจะปล่อยให้ความอยากรู้อยากเห็นพาตัวเองไปสู่ความสยองขวัญอยู่ร่ำไป ซึ่งเข้าใจได้ เพราะการกระทำแบบนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของซีนผีที่เป็นจุดขายของหนัง
จริง ๆ ในกรณีนี้อาจไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร โดยเฉพาะกับหนังสยองขวัญของฮอลลีวูด เพราะแม้แต่หนังขึ้นหิ้งอย่าง The Conjuring ทั้งสองภาคของวานก็เป็นแบบนั้นเหมือนเดิม แต่สิ่งที่วานเก่งกาจและฉลาดกว่าคือการใส่มิติของตัวละครเพิ่มลงไป ทำให้แม้ว่าเส้นเรื่องในหนังจะไม่มีอะไรและเดินตามสูตรสำเร็จเพียงไหน วานก็ยังทำให้หนังผีมีอะไรมากกว่าแค่หลอกหลอนตัวละครและเปิดเผยเรื่องราวบางอย่างในช่วงท้าย ด้วยการโฟกัสที่ตัวละครอยู่เสมอ
เหมือนกับใน The Conjuring ที่เขาไม่ได้ปล่อยตัวละครนำของเรื่องอย่าง เอ็ด และ ลอร์เรน มีหน้าที่เพียงเจอผีหลอกและปราบผี แต่ยังพาไปรู้ถึงชีวิตจิตใจ ทัศนคติ และความผูกพัน เพื่อให้เราเข้าถึง เข้าใจและเอาใจช่วยด้วย ไม่ใช่ว่าตัวละครถูกทิ้งให้เผชิญกับผีอย่างเดียวโดยที่เราไม่ได้มีความรู้สึกร่วมกับตัวละครเลย
- จักรวาล Conjuring เริ่มแล้วอย่างเป็นทางการ -
อย่างที่บอกไปว่าสตูดิโอวอร์เนอร์จะเริ่มจักรวาล Conjuring อย่างเป็นทางการจากหนังเรื่องนี้ ซึ่งหนังในจักรวาลหลังจากนี้ที่จะตามมาคือ The Nun (2018) (ผีแม่ชีใน The Conjuring 2), The Crooked Man และ The Conjuring 3
ทำให้เราจะได้เห็น Easter Egg ที่หนังตั้งใจเปิดมาให้เราเห็นเยอะแยะไปหมด ทั้งเพื่อกล่าวถึงและเชื่อมโยงกับเรื่องราวของหนังเรื่องก่อนหน้า และปูทางไปถึงหนังเรื่องต่อไปที่จะออกมาในจักรวาลด้วย โดยเฉพาะผีแม่ชีที่เราได้เห็นฤทธิ์เดชกันไปแล้วจาก The Conjuring 2 (ที่กำลังจะมีหนังแยกเดี่ยวของตัวเองในปี 2018) ที่หนังตั้งใจเปิดอะไรบางอย่างที่จะนำไปสู่หนังเรื่องต่อไป นอกจากนั้นยังมีการเปิดตัวละครผีตัวใหม่ (หุ่นไล่กานั่นไง) หยอด ๆ ไว้อีกด้วย
เอาเป็นว่าสำหรับคอหนังสยองขวัญก็คงดีใจกันเป็นแถวที่จะได้เห็นหนังผีในจักรวาลมีมาอีกเยอะ แถมตัวหนังที่เปิดด้วย Annabelle: Creation ยังอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจอีกต่างหาก
ขอบคุณรูปภาพจาก Warner Bros. Pictures
ติดตามบทความจากภาพยนตร์เรื่องอื่น ๆได้ที่ https://www.facebook.com/thelastseatsontheleft