เปิดชีวิต’ผู้พิพากษาหญิง’สมลักษณ์ จัดกระบวนพล บทบาทในกระบวนการยุติธรรม ตุลาการ และความศักดิ์สิทธิ์
วันที่ 13 สิงหาคม 2560 - 14:58 น.
เมื่อกระบวนการยุติธรรมถูกตั้งคำถาม ในฐานะผู้พิพากษาหญิงผู้คร่ำหวอดในแวดวงตุลาการมากว่า 36 ปี
ก่อนเข้ามาสู่แวดวงองค์กรอิสระ เปิดมุมมองใหม่ที่สังคมควรเข้าใจ และศาลต้องปรับตัว ......
มองเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของศาลอย่างไร?
เหตุการณ์บางอย่างทำให้อาจารย์ งง คือมีคนเอาระเบิดไปขว้างศาล ในชีวิตของการเป็นผู้พิพาษามา 36 ปี
ไม่เคยนะ ตอนอยู่ที่จันทบุรี คนที่นั่นให้ความเคารพผู้พิพากษามาก แล้วที่นั่นเป็นศาลเก่าผู้พิพากษาจะเดินปน
กันไปกับคู่ความ ตอนเราเดินผ่านทุกคนจะหลีกทางให้โดยที่ไม่ต้องบอก ก็มาคุยกับเพื่อนว่า อาจจะด้วยความ
ที่ผู้พิพาษามีบารมีคนศรัทธามาก แต่เพื่อนก็พูดแบบขำๆ ว่าเขาเกรงบารมีหรือเขาเกรงกลิ่นศาลกันแน่ (หัวเราะ)
เพราะเสื้อครุยที่เราสวมไม่เคยซักเลย บางคนใช้จนกระทั่งเกษียณอายุ เพราะรู้สึกว่าใส่นิดเดียวแค่ไม่กี่ชั่วโมง
ก็ถอดแล้ว
แต่มันเป็นการแสดงอย่างหนึ่งว่าประชาชนให้ความเคารพและศรัทธาผู้พิพากษาด้วยความจริงใจ ดังนั้น มันมีอะไรเกิดขึ้นในสังคมจึงทำให้คนไปขว้างระเบิดใส่ศาล ในบรรพตุลาการไม่เคยมีเหตุการณ์แบบนี้
แล้วสิ่งที่เจอกับตัวเองเลย ตอนถูกเชิญไปพูดบนเวทีเสวนาเรื่องเกี่ยวกับกฎหมาย เรื่องเกี่ยวกับศาล คือนอกจาก
คนที่ไปฟังจะว่าศาลแล้ว วิทยากรที่นั่งอยู่ข้างๆ ก็ว่าศาลด้วย ต่อว่าจนกระทั่งเราก็บอกว่า ไม่รู้วันนี้มาเป็นวิทยากร
หรือมาเป็นจำเลยสังคม แล้วสิ่งที่เขาว่านี้บางเรื่องก็อาจจะเป็นความเข้าใจผิด บางเรื่องก็อาจจะเป็นเรื่องจริง
เหมือนกันที่ศาลมีการเปลี่ยนแปลงไป ตรงนี้ก็ต้องยอมรับว่าความศรัทธาในศาลวันนี้ลดระดับลง
แต่อยากฝากถึงศาลและผู้พิพากษาว่าอย่าเพิ่งไปโกรธสังคม ต้องหันมาดูตัวเราด้วยว่ามีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ความศรัทธาลดลงแล้วพยายามปรับปรุง เพราะการปรับปรุงตัวเองมันง่ายกว่าการไปบอกว่า ทำไมคุณไม่เคารพฉัน
เวลาได้ยินสังคมตั้งคำถามเรื่องความยุติธรรมของศาลรู้สึกอย่างไร?
มันเจ็บปวดมาก ทุกครั้งที่เขาตำหนิเรื่องการทำงานของศาลมากขนาดนี้ ถึงแม้ตอนนี้จะไม่ได้อยู่ในศาล
หรือไม่ได้เป็นผู้มีอำนาจในศาล ก็ยังอยู่รู้สึกอดห่วงใยไม่ได้
ปชช.จะพูดหรือวิจารณ์ระบบตุลาการทำได้มั้ย ควรมีขอบเขตแค่ไหน?
ถ้าพูดตามหลักวิชาการได้ แต่ถ้าวิจารณ์คดีไหนคดีหนึ่งว่า ตัดสินแบบนี้ไม่ถูกต้อง ไปกินสินบน
มาหรือเปล่า อย่างนี้ไม่ได้ แต่ถ้าระบบศาลน่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้เป็นไปทางวิชาการ เป็น
ความคิดอ่าน ทำได้
มีวิธีไหนที่จะเรียกความเชื่อมั่นจากประชาชนบ้าง?
ตอนนี้มีประเด็นที่พูดกันมากเรื่อง 2 มาตรฐาน ต้องพยายามแก้เรื่องนี้ให้ได้ ซึ่งผู้พิพากษาผู้ใหญ่ของเรา
ท่านมีความกล้าหาญไม่เกรงกลัวใคร ไม่ว่าจะเป็นใคร ยิ่งใหญ่มาจากไหนถ้าท่านทำผิด ท่านก็กล้าจะพิพากษา
ลงโทษ อย่างกรณีคดีกินป่า นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ท่านไม่เกรงกลัวท่านบอกว่าเป็นไงเป็นกัน ถึงแม้จะเกี่ยว
กับการเมืองเราต้องให้ความยุติธรรม เมื่อเขาได้รับความยุติธรรม ความสามัคคีก็จะเกิดขึ้นเอง เพราะเมื่อไหร่ที่บ้านเมืองยุ่งเหยิงสถาบันศาลจะต้องเป็นหลักที่จะแก้ไขและให้ความยุติธรรมกลับคืนสู่สังคม
แล้วทุกอย่างมันจะค่อยๆ ดีขึ้นเอง
ตอนนี้เป็นทั้งอาจารย์และเป็นอดีตผู้พิพากษา ชอบอะไรมากกว่ากัน?
ชอบทั้งสองอย่าง เพราะจิตวิญญาณเมื่อเริ่มแรกอยากเป็นอาจารย์ แต่พอเป็นผู้พิพากษา
ก็คิดว่าอาชีพนี้เหมาะกับเรา เวลาทำงานก็ทำงานของเราให้ดีเรื่อยๆ ไม่ไปข้ามใคร แล้ว
การเป็นผู้พิพากษาต้องเคารพผู้อาวุโส ถ้าเราไม่ทำผิดจนอยู่ไม่ได้ เขาก็ไม่ข้ามรุ่นกัน ขนาด
จะขึ้นรถยังต้องขึ้นตามอาวุโส นี่คือวัฒนธรรมของเรา
สิ่งที่ถ่ายทอดและสิ่งคาดหวังกับลูกศิษย์?
นอกจากความรู้ด้านกฎหมายที่ไม่เคยขยัก เวลาลูกศิษย์มีความเห็นต่างเราก็ยอมรับฟังไม่ใช่ถือความเห็นเราเป็นหลัก
แล้วมักจะบอกลูกศิษย์เสมอว่า พวกคุณจะเป็นคนเก่งกฎหมายมากแค่ไหนได้เกียรตินิยมมา อาจารย์ก็ดีใจด้วย แต่จะดีใจที่สุดเมื่อพวกคุณเป็นนักกฎหมายที่ดี ซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ อย่าขายวิญญาณของนักกฎหมาย คือ เป็นที่พึ่ง
ของประชาชน รักษาความเป็นธรรม ไม่ไปทำอะไรที่ทำให้สังคมเดือดร้อนเพื่อประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้อง เป็นสิ่ง
ที่สอนมาทุกรุ่น และคิดว่าจะสอนไปตลอดถ้ามหาวิทยาลัยยังเชิญให้สอน
คนที่เรียนกฎหมายในประเทศไทย จะประสบสำเร็จต้องมีคุณสมบัติอะไร?
ผู้พิพากษา ต้องทำหน้าที่โดยปราศจากอคติ คืออคติ 4 แล้วต้องมีความเป็นกลาง จะเขียนบทความเสมอว่า
กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระบิดากฎหมายไทย จะกราบทูลรัชกาลที่ 5 พระราชบิดาว่า ข้าพระพุทธเจ้าจ้าง
เขามาเป็นกลาง ควบคุมเขาไม่ได้ ต้องให้เขามีความสำนึกตัวเอง รับผิดชอบตัวเอง จึงให้เงินเดือนศาลมาก
กว่าคนอื่น จะได้ไม่เกิดการคอร์รัปชั่น หรือคนโน้นสั่งให้ทำเพื่อฉัน
ถ้าสังคมไทยไม่มีศาลจะเป็นอย่างไร?
คงวุ่นวายรบรากันใหญ่ ใครไม่พอใจใครก็ทุบหัวกัน แล้วพอประเทศใหญ่ขึ้นก็ต้องมีใครสักคนหรือคณะที่มา
ทำการแทน โดยต้องผ่านการอบรมผ่านการดูแล มีอุดมการณ์ มีความคิดความอ่าน เคารพอาวุโส
สวัสดียามบ่าย ... วันอาทิตย์ ... เปิดชีวิต’ผู้พิพากษาหญิง’สมลักษณ์ จัดกระบวนพล ..มติชนออนไลน์ ../sao..เหลือ..noi
วันที่ 13 สิงหาคม 2560 - 14:58 น.
เมื่อกระบวนการยุติธรรมถูกตั้งคำถาม ในฐานะผู้พิพากษาหญิงผู้คร่ำหวอดในแวดวงตุลาการมากว่า 36 ปี
ก่อนเข้ามาสู่แวดวงองค์กรอิสระ เปิดมุมมองใหม่ที่สังคมควรเข้าใจ และศาลต้องปรับตัว ......
มองเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของศาลอย่างไร?
เหตุการณ์บางอย่างทำให้อาจารย์ งง คือมีคนเอาระเบิดไปขว้างศาล ในชีวิตของการเป็นผู้พิพาษามา 36 ปี
ไม่เคยนะ ตอนอยู่ที่จันทบุรี คนที่นั่นให้ความเคารพผู้พิพากษามาก แล้วที่นั่นเป็นศาลเก่าผู้พิพากษาจะเดินปน
กันไปกับคู่ความ ตอนเราเดินผ่านทุกคนจะหลีกทางให้โดยที่ไม่ต้องบอก ก็มาคุยกับเพื่อนว่า อาจจะด้วยความ
ที่ผู้พิพาษามีบารมีคนศรัทธามาก แต่เพื่อนก็พูดแบบขำๆ ว่าเขาเกรงบารมีหรือเขาเกรงกลิ่นศาลกันแน่ (หัวเราะ)
เพราะเสื้อครุยที่เราสวมไม่เคยซักเลย บางคนใช้จนกระทั่งเกษียณอายุ เพราะรู้สึกว่าใส่นิดเดียวแค่ไม่กี่ชั่วโมง
ก็ถอดแล้ว
แต่มันเป็นการแสดงอย่างหนึ่งว่าประชาชนให้ความเคารพและศรัทธาผู้พิพากษาด้วยความจริงใจ ดังนั้น มันมีอะไรเกิดขึ้นในสังคมจึงทำให้คนไปขว้างระเบิดใส่ศาล ในบรรพตุลาการไม่เคยมีเหตุการณ์แบบนี้
แล้วสิ่งที่เจอกับตัวเองเลย ตอนถูกเชิญไปพูดบนเวทีเสวนาเรื่องเกี่ยวกับกฎหมาย เรื่องเกี่ยวกับศาล คือนอกจาก
คนที่ไปฟังจะว่าศาลแล้ว วิทยากรที่นั่งอยู่ข้างๆ ก็ว่าศาลด้วย ต่อว่าจนกระทั่งเราก็บอกว่า ไม่รู้วันนี้มาเป็นวิทยากร
หรือมาเป็นจำเลยสังคม แล้วสิ่งที่เขาว่านี้บางเรื่องก็อาจจะเป็นความเข้าใจผิด บางเรื่องก็อาจจะเป็นเรื่องจริง
เหมือนกันที่ศาลมีการเปลี่ยนแปลงไป ตรงนี้ก็ต้องยอมรับว่าความศรัทธาในศาลวันนี้ลดระดับลง
แต่อยากฝากถึงศาลและผู้พิพากษาว่าอย่าเพิ่งไปโกรธสังคม ต้องหันมาดูตัวเราด้วยว่ามีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ความศรัทธาลดลงแล้วพยายามปรับปรุง เพราะการปรับปรุงตัวเองมันง่ายกว่าการไปบอกว่า ทำไมคุณไม่เคารพฉัน
เวลาได้ยินสังคมตั้งคำถามเรื่องความยุติธรรมของศาลรู้สึกอย่างไร?
มันเจ็บปวดมาก ทุกครั้งที่เขาตำหนิเรื่องการทำงานของศาลมากขนาดนี้ ถึงแม้ตอนนี้จะไม่ได้อยู่ในศาล
หรือไม่ได้เป็นผู้มีอำนาจในศาล ก็ยังอยู่รู้สึกอดห่วงใยไม่ได้
ปชช.จะพูดหรือวิจารณ์ระบบตุลาการทำได้มั้ย ควรมีขอบเขตแค่ไหน?
ถ้าพูดตามหลักวิชาการได้ แต่ถ้าวิจารณ์คดีไหนคดีหนึ่งว่า ตัดสินแบบนี้ไม่ถูกต้อง ไปกินสินบน
มาหรือเปล่า อย่างนี้ไม่ได้ แต่ถ้าระบบศาลน่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้เป็นไปทางวิชาการ เป็น
ความคิดอ่าน ทำได้
มีวิธีไหนที่จะเรียกความเชื่อมั่นจากประชาชนบ้าง?
ตอนนี้มีประเด็นที่พูดกันมากเรื่อง 2 มาตรฐาน ต้องพยายามแก้เรื่องนี้ให้ได้ ซึ่งผู้พิพากษาผู้ใหญ่ของเรา
ท่านมีความกล้าหาญไม่เกรงกลัวใคร ไม่ว่าจะเป็นใคร ยิ่งใหญ่มาจากไหนถ้าท่านทำผิด ท่านก็กล้าจะพิพากษา
ลงโทษ อย่างกรณีคดีกินป่า นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ท่านไม่เกรงกลัวท่านบอกว่าเป็นไงเป็นกัน ถึงแม้จะเกี่ยว
กับการเมืองเราต้องให้ความยุติธรรม เมื่อเขาได้รับความยุติธรรม ความสามัคคีก็จะเกิดขึ้นเอง เพราะเมื่อไหร่ที่บ้านเมืองยุ่งเหยิงสถาบันศาลจะต้องเป็นหลักที่จะแก้ไขและให้ความยุติธรรมกลับคืนสู่สังคม
แล้วทุกอย่างมันจะค่อยๆ ดีขึ้นเอง
ตอนนี้เป็นทั้งอาจารย์และเป็นอดีตผู้พิพากษา ชอบอะไรมากกว่ากัน?
ชอบทั้งสองอย่าง เพราะจิตวิญญาณเมื่อเริ่มแรกอยากเป็นอาจารย์ แต่พอเป็นผู้พิพากษา
ก็คิดว่าอาชีพนี้เหมาะกับเรา เวลาทำงานก็ทำงานของเราให้ดีเรื่อยๆ ไม่ไปข้ามใคร แล้ว
การเป็นผู้พิพากษาต้องเคารพผู้อาวุโส ถ้าเราไม่ทำผิดจนอยู่ไม่ได้ เขาก็ไม่ข้ามรุ่นกัน ขนาด
จะขึ้นรถยังต้องขึ้นตามอาวุโส นี่คือวัฒนธรรมของเรา
สิ่งที่ถ่ายทอดและสิ่งคาดหวังกับลูกศิษย์?
นอกจากความรู้ด้านกฎหมายที่ไม่เคยขยัก เวลาลูกศิษย์มีความเห็นต่างเราก็ยอมรับฟังไม่ใช่ถือความเห็นเราเป็นหลัก
แล้วมักจะบอกลูกศิษย์เสมอว่า พวกคุณจะเป็นคนเก่งกฎหมายมากแค่ไหนได้เกียรตินิยมมา อาจารย์ก็ดีใจด้วย แต่จะดีใจที่สุดเมื่อพวกคุณเป็นนักกฎหมายที่ดี ซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ อย่าขายวิญญาณของนักกฎหมาย คือ เป็นที่พึ่ง
ของประชาชน รักษาความเป็นธรรม ไม่ไปทำอะไรที่ทำให้สังคมเดือดร้อนเพื่อประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้อง เป็นสิ่ง
ที่สอนมาทุกรุ่น และคิดว่าจะสอนไปตลอดถ้ามหาวิทยาลัยยังเชิญให้สอน
คนที่เรียนกฎหมายในประเทศไทย จะประสบสำเร็จต้องมีคุณสมบัติอะไร?
ผู้พิพากษา ต้องทำหน้าที่โดยปราศจากอคติ คืออคติ 4 แล้วต้องมีความเป็นกลาง จะเขียนบทความเสมอว่า
กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระบิดากฎหมายไทย จะกราบทูลรัชกาลที่ 5 พระราชบิดาว่า ข้าพระพุทธเจ้าจ้าง
เขามาเป็นกลาง ควบคุมเขาไม่ได้ ต้องให้เขามีความสำนึกตัวเอง รับผิดชอบตัวเอง จึงให้เงินเดือนศาลมาก
กว่าคนอื่น จะได้ไม่เกิดการคอร์รัปชั่น หรือคนโน้นสั่งให้ทำเพื่อฉัน
ถ้าสังคมไทยไม่มีศาลจะเป็นอย่างไร?
คงวุ่นวายรบรากันใหญ่ ใครไม่พอใจใครก็ทุบหัวกัน แล้วพอประเทศใหญ่ขึ้นก็ต้องมีใครสักคนหรือคณะที่มา
ทำการแทน โดยต้องผ่านการอบรมผ่านการดูแล มีอุดมการณ์ มีความคิดความอ่าน เคารพอาวุโส