ผมเห็นด้วยกับ คุณ
บรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารเกียรตินาคิน ที่ไปพูดในงานเสวนา “
ถอดสูทถกเศรษฐกิจ...” ของสมาคมเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ว่า ปัญหาใหญ่ของประเทศไทย (ในวันนี้และวันหน้า) ก็คือ ปัญหาเรื่องโครงสร้างเศรษฐกิจ และ ปัญหา ความเหลื่อมล้ำ ท่ามกลางแผ่นเสียงตกร่องของรัฐบาล ที่ประกาศจะแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำแทบทุกวัน แต่กลับไม่มีความคืบหน้า
ตรงกันข้าม รัฐบาลกลับออกกฎหมายมารวบอำนาจเข้ารัฐมากขึ้น จนแทบจะกลายเป็น “
รัฐข้าราชการ” ไปแล้ว ทำให้กระบวนการแก้ไขปัญหายากยิ่งขึ้น
คุณ
บรรยง กล่าวว่า ปัจจุบัน ขนาดเศรษฐกิจไทย ใหญ่เป็น อันดับ 2 ในอาเซียน มีสัดส่วนในเศรษฐกิจอาเซียนถึง 20% แต่หากยังโตในระดับ 3.5% ภายในเวลา 2 ปี มาเลเซีย จะแซงไทยขึ้นมาเป็น อันดับ 2 และภายใน 4 ปี ฟิลิปปินส์ จะแซงไทยขึ้นมาเป็น อันดับ 3 และภายใน 7 ปี เวียดนาม จะแซงไทยขึ้นมาเป็น อันดับ 4 ส่วน ไทยแลนด์ 4.0 จะหล่นจาก อันดับ 2 ในปัจจุบันลงไปอยู่ อันดับ 5
คุณ
บรรยง บอกว่า เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันน่าเป็นห่วงใน 2 ประเด็น คือ “
แข็งนอก อ่อนใน”
การเติบโต 3.5% มาจากปัจจัยภายนอกเป็นหลัก คือ การส่งออก และ การท่องเที่ยว แต่
เศรษฐกิจในประเทศอ่อนแอ เช่น ภาคเกษตร เป็นต้น
ประเด็นที่ 2 “
แข็งบน อ่อนล่าง” แข็งบนหมายถึง
คนระดับบน คนรวยที่แข็งแรง แต่คนระดับล่าง กลุ่มคนมีรายได้น้อยอ่อนแอ ในปีที่ผ่านมา บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มีกำไรเติบโตถึง 31% และไตรมาสแรกปีนี้กำไรก็เติบโตอีก 21% กำไรของบริษัทเอกชนคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 25% ของจีดีพี แต่เศรษฐกิจโดยรวมเติบโตแค่ 3.5% สะท้อนให้เห็นว่า ภาคธุรกิจส่วนอื่นเติบโตน้อยมาก นั่นหมายถึง ความเหลื่อมล้ำที่มากขึ้น คนรวยจะเอาไปหมด
ผมอยากแชร์ข้อมูลกับ คุณบรรยง ไว้ตรงนี้สักนิด เพิ่งรับฟังข้อมูลของ สภาหอการค้าไทย ที่ไปทำการบ้านเรื่อง การช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอี พบว่า ธุรกิจในประเทศไทยกว่า 99% เป็นธุรกิจเอสเอ็มอีขนาดเล็ก มีเพียง 0.3% เท่านั้นที่เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ เมื่อธุรกิจเอสเอ็มอีอ่อนแอ เศรษฐกิจในประเทศก็อ่อนแอ ความเหลื่อมล้ำก็เพิ่มขึ้น
เมื่อวานนี้ ดร.
เบญจรงค์ สุวรรณคีรี หัวหน้านักวิเคราะห์ ธนาคาร ทหารไทย ก็แถลงถึง ความเชื่อมั่นของธุรกิจเอสเอ็มอีครึ่งปีแรก ด้วยการนำ Big Data ของเอสเอ็มอี ที่จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ตั้งแต่ปี 2551–2559 กว่า 12,000 รายมาวิเคราะห์ พบว่า 3 ใน 4 หรือ 9 พันกว่ารายเป็นธุรกิจขนาดเล็กมาก รายได้ไม่เกิน 10 ล้านบาทต่อปี และ ตลอด 9 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจมีรายได้เพิ่มขึ้นเพียง 1 เท่า เท่านั้นเอง
ก็ไม่รู้เงินงบประมาณที่รัฐบาลให้ สสว.–สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ไปช่วยเอสเอ็มอีปีละหลายพันล้านบาท ช่วยกันแบบไหน ทำไมจึงไม่ส่งผลให้ธุรกิจเอสเอ็มอีดีขึ้น ยิ่งเอกชนสำรวจลงลึกไปเท่าไหร่ ก็ยิ่งไม่เห็นผลงานมากขึ้น
กลับมาที่ คุณ
บรรยง ต่อครับ อีกเรื่องหนึ่งที่ผมเห็นด้วยกับ คุณ
บรรยง และเขียนเสนอรัฐบาลไปจนหมดความมั่นใจก็คือ การปฏิรูปกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันมีกฎหมายหลายพันฉบับที่ล้าหลัง ควรต้องยกเลิก เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ แต่ก็ไม่มีความคืบหน้า หนำซ้ำรัฐบาลกลับขยันออกกฎหมายเพิ่มเรื่อยๆในเรื่องซ้ำๆ
คุณ
บรรยง ระบุว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายที่เป็น พ.ร.บ.ถึง 20,000 ฉบับ หาก รวมกฎหมายอื่น ที่คณะกรรมการกฤษฎีการวบรวมได้ มีจำนวนถึง 105,000 ฉบับ และ มีจำนวนใบอนุญาตกว่า 3,000 ใบ แค่ขอใบอนุญาตอย่างเดียวก็มึนแล้ว (อย่างสื่อทุกวันนี้ก็มีกฎหมายควบคุมถึง 25 ฉบับ แต่รัฐบาลก็ยังออกกฎหมายควบคุมสื่อเพิ่ม)
ฟังแล้วก็ไม่รู้จะร้องเพลงอะไรดี ที่พูดมานี้เฉพาะเศรษฐกิจเรื่องเดียวนะครับ ยังไม่ได้พูดถึงเรื่อง การศึกษา สังคม การเมืองยิ่งปฏิรูปดูเหมือนจะยิ่งถอยหลัง เสียดายที่ คุณ
บรรยง ไม่ได้พยากรณ์ต่อว่า อีก 10 ปีข้างหน้า ไทยจะอยู่อันดับไหนในอาเซียน.
“ลม เปลี่ยนทิศ”
JJNY : เสดตะกิดดี๊ดี...ซี้จุกสูญ ไทยจะอยู่อันดับไหนในอาเซียน โดย ลม เปลี่ยนทิศ
ตรงกันข้าม รัฐบาลกลับออกกฎหมายมารวบอำนาจเข้ารัฐมากขึ้น จนแทบจะกลายเป็น “รัฐข้าราชการ” ไปแล้ว ทำให้กระบวนการแก้ไขปัญหายากยิ่งขึ้น
คุณบรรยง กล่าวว่า ปัจจุบัน ขนาดเศรษฐกิจไทย ใหญ่เป็น อันดับ 2 ในอาเซียน มีสัดส่วนในเศรษฐกิจอาเซียนถึง 20% แต่หากยังโตในระดับ 3.5% ภายในเวลา 2 ปี มาเลเซีย จะแซงไทยขึ้นมาเป็น อันดับ 2 และภายใน 4 ปี ฟิลิปปินส์ จะแซงไทยขึ้นมาเป็น อันดับ 3 และภายใน 7 ปี เวียดนาม จะแซงไทยขึ้นมาเป็น อันดับ 4 ส่วน ไทยแลนด์ 4.0 จะหล่นจาก อันดับ 2 ในปัจจุบันลงไปอยู่ อันดับ 5
คุณบรรยง บอกว่า เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันน่าเป็นห่วงใน 2 ประเด็น คือ “แข็งนอก อ่อนใน” การเติบโต 3.5% มาจากปัจจัยภายนอกเป็นหลัก คือ การส่งออก และ การท่องเที่ยว แต่ เศรษฐกิจในประเทศอ่อนแอ เช่น ภาคเกษตร เป็นต้น
ประเด็นที่ 2 “แข็งบน อ่อนล่าง” แข็งบนหมายถึง คนระดับบน คนรวยที่แข็งแรง แต่คนระดับล่าง กลุ่มคนมีรายได้น้อยอ่อนแอ ในปีที่ผ่านมา บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มีกำไรเติบโตถึง 31% และไตรมาสแรกปีนี้กำไรก็เติบโตอีก 21% กำไรของบริษัทเอกชนคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 25% ของจีดีพี แต่เศรษฐกิจโดยรวมเติบโตแค่ 3.5% สะท้อนให้เห็นว่า ภาคธุรกิจส่วนอื่นเติบโตน้อยมาก นั่นหมายถึง ความเหลื่อมล้ำที่มากขึ้น คนรวยจะเอาไปหมด
ผมอยากแชร์ข้อมูลกับ คุณบรรยง ไว้ตรงนี้สักนิด เพิ่งรับฟังข้อมูลของ สภาหอการค้าไทย ที่ไปทำการบ้านเรื่อง การช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอี พบว่า ธุรกิจในประเทศไทยกว่า 99% เป็นธุรกิจเอสเอ็มอีขนาดเล็ก มีเพียง 0.3% เท่านั้นที่เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ เมื่อธุรกิจเอสเอ็มอีอ่อนแอ เศรษฐกิจในประเทศก็อ่อนแอ ความเหลื่อมล้ำก็เพิ่มขึ้น
เมื่อวานนี้ ดร.เบญจรงค์ สุวรรณคีรี หัวหน้านักวิเคราะห์ ธนาคาร ทหารไทย ก็แถลงถึง ความเชื่อมั่นของธุรกิจเอสเอ็มอีครึ่งปีแรก ด้วยการนำ Big Data ของเอสเอ็มอี ที่จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ตั้งแต่ปี 2551–2559 กว่า 12,000 รายมาวิเคราะห์ พบว่า 3 ใน 4 หรือ 9 พันกว่ารายเป็นธุรกิจขนาดเล็กมาก รายได้ไม่เกิน 10 ล้านบาทต่อปี และ ตลอด 9 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจมีรายได้เพิ่มขึ้นเพียง 1 เท่า เท่านั้นเอง
ก็ไม่รู้เงินงบประมาณที่รัฐบาลให้ สสว.–สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ไปช่วยเอสเอ็มอีปีละหลายพันล้านบาท ช่วยกันแบบไหน ทำไมจึงไม่ส่งผลให้ธุรกิจเอสเอ็มอีดีขึ้น ยิ่งเอกชนสำรวจลงลึกไปเท่าไหร่ ก็ยิ่งไม่เห็นผลงานมากขึ้น
กลับมาที่ คุณบรรยง ต่อครับ อีกเรื่องหนึ่งที่ผมเห็นด้วยกับ คุณบรรยง และเขียนเสนอรัฐบาลไปจนหมดความมั่นใจก็คือ การปฏิรูปกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันมีกฎหมายหลายพันฉบับที่ล้าหลัง ควรต้องยกเลิก เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ แต่ก็ไม่มีความคืบหน้า หนำซ้ำรัฐบาลกลับขยันออกกฎหมายเพิ่มเรื่อยๆในเรื่องซ้ำๆ
คุณบรรยง ระบุว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายที่เป็น พ.ร.บ.ถึง 20,000 ฉบับ หาก รวมกฎหมายอื่น ที่คณะกรรมการกฤษฎีการวบรวมได้ มีจำนวนถึง 105,000 ฉบับ และ มีจำนวนใบอนุญาตกว่า 3,000 ใบ แค่ขอใบอนุญาตอย่างเดียวก็มึนแล้ว (อย่างสื่อทุกวันนี้ก็มีกฎหมายควบคุมถึง 25 ฉบับ แต่รัฐบาลก็ยังออกกฎหมายควบคุมสื่อเพิ่ม)
ฟังแล้วก็ไม่รู้จะร้องเพลงอะไรดี ที่พูดมานี้เฉพาะเศรษฐกิจเรื่องเดียวนะครับ ยังไม่ได้พูดถึงเรื่อง การศึกษา สังคม การเมืองยิ่งปฏิรูปดูเหมือนจะยิ่งถอยหลัง เสียดายที่ คุณบรรยง ไม่ได้พยากรณ์ต่อว่า อีก 10 ปีข้างหน้า ไทยจะอยู่อันดับไหนในอาเซียน.
“ลม เปลี่ยนทิศ”