แนะนำขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัท หน่อยคะ

สวัสดีค่ะ คืออยากทราบเรื่องวิธีการจัดตั้งบริษิท เป็นแบบบริษัทผลิตเบเกอรี่ ขายส่งร้านกาแฟภายในจังหวัด รายเล็กๆทำกันเองภายในครอบครัวอ่ะค่ะ ประมาณว่าเป็นคนกลาง แต่ไม่เคยมีความรู้ในเรื่อนี่มา แต่พอศึกษาได้คร่าวๆจากเว็บไซต์ของกระทรวงพาณิชย์ว่าต้องมีการจองชื่อ ... ขั้นตอนเล็กน้อย เราพอทำเอง เราอยากรู้แบบละเอียดๆถี่ยิบมากกว่านั้นว่าเราจะสามารถทำเองได้เลยรึเปล่า หรือจำเป็นต้องจ้างทนาย อะไรยังไง ต้องมีเงินเท่าไหร ใช้เอกสารอะไรบ้าง สถานที่ที่ใช้ต้องเป็นยังไง ??? ..........  ขอพี่น้องผู้รู้ และผู้มีประสบการช่วยชี้แนะด้วยน่ะค่ะ   ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
เรียน สมาชิกหมายเลข 2689106

ขออนุญาตตอบคำถามดังนี้ค่ะ

ขั้นการดําเนินการในการจัดตั้งบริษัทจํากัด มี 2 ขั้นตอน คือ
1.การจดทะเบียนหนังสือบริคณหสนธิ
2.การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจํากัด

ซึ่งทั้งสองขั้นตอน จะทำคนละวัน หรือทำให้เสร็จภายในวันเดียวกันก็ได้

ในการจดทะเบียนหนังสือบริคณหสนธิ ตองดําเนินการดังตอไปนี้
1.ผูเริ่มกอการจองชื่อนิติบุคคล โดยสามารถจองชื่อนิติบุคคลได้ผ่านทางเว็บไซด์ www.dbd.go.th
2.เมื่อไดรับอนุญาตใหใชชื่อแลว ผูเริ่มกอการอยางนอย 3 คน เขาชื่อกันจัดทําหนังสือบริคณหสนธิ  ผูเริ่มกอการจะตองมีคุณสมบัติ คือ เปนบุคคลธรรมดา จะเปนนิติบุคคลไมได มีอายุตั้งแต 12 ปขึ้นไป และจะตองจองซื้อหุนอยางนอยคนละ 1 หุน
3.ผูเริ่มกอการยื่นจดทะเบียนหนังสือบริคณหสนธิตอนายทะเบียนภายใน 30 วันนับแตวันที่นายทะเบียนอนุญาตใหจองชื่อนิติบุคคล
4.ผูเริ่มกอการทุกคนตกลงในหนังสือ ริคณหสนธิ ฉบับนี้สิ้นผล หากไมไดจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทภายใน 10 ป นับแตวันที่จดทะเบียนหนังสือบริคณหสนธิ

เมื่อจดทะเบียนหนังสือบริคณหสนธิแลว ก็ใหดําเนินการดังนี้
1.ผูเริ่มกอการจัดใหมีการจองซื้อหุนทั้งหมด
2.เมื่อมีการจองซื้อหุนหมดแลว ก็ใหผูเริ่มกอการออกหนังสือนัดประชุมผูเขาชื่อซื้อหุนเพื่อประชุมจัดตั้งบริษัท  การออกหนังสือนัดประชุมจะตองหางจากวันประชุมอยางนอย 7 วัน
3. จัดประชุมผูเขาชื่อซื้อหุนเพื่อจัดตั้งบริษัท  
3.1 องคประชุมจะตองมีผูเขาชื่อซื้อหุนเขารวมประชุมไมนอยกวากึ่งหนึ่งของจํานวน ผูเขาชื่อซื้อหุนทั้งหมดและนับจํานวนหุนรวมกันไมนอยกวากึ่งหนึ่งของหุนทั้งหมด (จะมอบฉันทะใหผูอื่นเขาประชุมแทนก็ได)
3.2 วาระการประชุม  
(1) ทําความตกลงตั้งขอบังคับของบริษัท  
(2) ใหสัตยาบันแกบรรดาสัญญาซึ่งผูเริ่มกอการไดทําไว และคาใชจายที่ผูเริ่มกอการตองจายในการเริ่มกอตั้งบริษัท  
(3) กําหนดจํานวนเงินซึ่งจะใหแกผูเริ่มกอการ (ถามี)
(4) ในกรณีที่บริษัทจะออกหุนบุริมสิทธิ ใหกําหนดจํานวนหุนบุริมสิทธิพรอมทั้งกําหนดสภาพและบุริมสิทธิของหุนบุริมสิทธิวามีสภาพหรือสิทธิอยางไร  
(5) ในกรณีที่บริษัทจะออกหุนเพื่อเปนการตอบแทนการลงทุนดวยทรัพยสินหรือแรงงาน  จะตองกําหนดจํานวนหุนสามัญหรือหุนบุริมสิทธิซึ่งออกใหเหมือนหนึ่งวาไดใชเต็มคาแลวหรือไดใชแตบางสวนเพราะไดใชคาหุนดวยอยางอื่นนอกจากตัวเงิน โดยจะตองระบุรายละเอียดใหชัดเจนทั้งในหนังสือนัดประชุม
และมติที่ประชุม    แรงงานที่จะนํามาตีราคาเปนคาหุนของบริษัทตองเปนแรงงานที่ไดกระทําไปแลว  
(6) การเรียกชําระคาหุน  
(7) เลือกตั้งกรรมการและกําหนดอํานาจกรรมการ  
(8) เลือกผูสอบบัญชีรับอนุญาตพรอมทั้งกําหนดคาสินจาง   การตั้งผูสอบบัญชีรับอนุญาตเพื่อตรวจสอบและรับรองงบการเงินตองแตงตั้งบุคคลธรรมดาเทานั้น จะแตงตั้งสํานักงานตรวจสอบบัญชีไมได
4. ผูเริ่มกอการมอบหมายกิจการงานทั้งหมดใหแกคณะกรรมการที่ไดรับการแตงตั้งจากที่ประชุม
5. คณะกรรมการเรียกเก็บคาหุนจากผูเขาชื่อซื้อหุน อยางนอยรอยละ 25 ของมูลคาหุน
6. เมื่อเก็บคาหุนไดครบแลว ใหกรรมการผูมีอํานาจจัดทําคําขอจดทะเบียนตั้งบริษัทแลวยื่นจดทะเบียนตอนายทะเบียน

การยื่นจดทะเบียนจะตองใหกรรมการผูมีอํานาจเปนผูลงลายมือชื่อในคําขอจดทะเบียนและตองยื่นจดทะเบียนภายใน 3 เดือนนับแตวันที่ที่ประชุมจัดตั้งบริษัท ถาไมจดทะเบียนภายในกําหนดเวลาดังกลาวจะทําใหการประชุมตั้งบริษัทเสียไป  หากตอไปตองการจดทะเบียนตั้งบริษัทก็ตองดําเนินการจัดประชุมผูจองซื้อหุนใหม

สำหรับเอกสารหลักฐานต่างๆ สามารถดูข้อมูลได้จากเว็บไซด์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า www.dbd.go.th นอกจากนี้แบบพิมพจดทะเบียนสามารถขอและซื้อไดจากหนวยงานของกรมพัฒนาธุรกิจการคาหรือ Download จาก www.dbd.go.th

ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท แบ่งค่าธรรมเนียมออกเป็น 2 ส่วน
1.ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ
         คิดตามทุนที่จดทะเบียน โดยทุนจดทะเบียนที่ไม่เกิน 1,000,000 แรกเสียค่าธรรมเนียม 500 บาท และทุก 100,000 ที่เพิ่มขึ้นคิดค่าธรรมเนียม 50 บาท (เศษของ 100,000 บาท ให้คิดเป็น 100,000 บาท) แต่สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท
2. ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนบริษัทจำกัด
         คิดตามทุนที่จดทะเบียน โดยทุนจดทะเบียนที่ไม่เกิน 1,000,000 เสียค่าธรรมเนียม 5,000 บาท และทุก 100,000 ที่เพิ่มขึ้นคิดค่าธรรมเนียม 500 บาท (เศษของ 100,000 บาท ให้คิดเป็น 100,000 บาท)แต่สูงสุดไม่เกิน 250,000 บาท

กรณีจัดตั้งบริษัทจำกัดภายในวันเดียว ให้ชำระค่าธรรมเนียมจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนบริษัทจำกัด พร้อมกันได้ค่ะ

Malinee
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่