ชมภาพ 5 โลโก้ใหม่ "ช้างศึก" พร้อมโหวตใช้จริงถึง 31 ส.ค.นี้
ชมโฉม 5 โลโก้ใหม่ของทีมฟุตบอลทีมชาติไทย คณะกรรมการเลือกจากผู้ส่งเข้าประกวด พร้อมเปิดให้แฟนบอลร่วมโหวตเพื่อนำไปใช้ได้ถึงวันที่ 31 สิงหาคมนี้
ภายหลังจากสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย มีแผนที่จะเปลี่ยโลโก้ทีมฟุตบอลทีมชาติไทยใหม่ โดยมีการตั้งคณะกรรมการคัดเลือก พร้อมเปิดให้มีการออกแบบนำและเข้าประกวด จากผู้ส่งเข้าร่วมมากกว่า 1,000 ชิ้น ล่าสุดสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯก็ได้ทำการคัดเลือกในเบื้องต้น โดยมี นายพาทิศ ศุภะพงษ์ รองเลขาธิการฝ่ายต่างประเทศและโฆษกสมาคมฯ , นายศรัณย์ บุลสุข รองประธานบริษัท แพลน บี อีเลฟเว่น จำกัด , อาจารย์ปัญญา วิจินธนสาร ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ จิตรกรรม ประจำปี 2557, นาย ประสพโชค ธนะเศรษฐวิไล ผู้ออกแบบงานสร้างและกำกับศิลป์ภาพยนตร์เรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ผู้คร่ำหวอดเรื่องประวัติศาสตร์ และ นาย วรทิตย์ เครือวาณิชกิจ ผู้ก่อตั้งบริษัท ฟาร์มกรุ๊ป และกราฟิคดีไซเนอร์ผู้ออกแบบสัญลักษณ์ไทยลีก เป็นคณะกรรมการร่วมตัดสิน
ซึ่งทางคณะกรรมการได้ทำการคัดเลือกผลงานที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อกำหนด โดยพิจารณาถึงความสวยงาม, ความร่วมสมัย รวมถึงความคิดสร้างสรรค์ จนได้ 5 ผลงานในรอบสุดท้าย อันได้แก่
1. นายปริตณัฐ เครืออารีย์
2. Mr. Adiet Firmansyah
3. นายต่อพงศ์ บูรณพิเชษฐ์
4. นายพิสุทธิ์ กองกิจ
5. นายรณชิต แสนปิง
โดยสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ จะทำการเปิดให้แฟนบอลโหวตเพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาตัดสินครั้งสุดท้าย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2560 ก่อนที่จะประกาศผลอย่างเป็นทางการ และสมาคมฯ จะนำผลงานไปพัฒนาต่อจนสมบูรณ์
ทางด้านของ อ. ปัญญา วิจินธนสาร กล่าวเสริมว่า “สำหรับตราสัญลักษณ์แบบดั้งเดิมนั้น เป็นการแสดงให้เห็นว่าเรามีประวัติศาสตร์ จากการที่พระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานตราสัญลักษณ์ด้วยพระองค์เอง แสดงออกถึงความสง่างามความสูงส่ง”
“แต่ในปัจจุบัน ผมคิดว่าการใช้งานตราสัญลักษณ์ฟุตบอลได้เปลี่ยนสถานะไป ซึ่งสมาคมฟุตบอลหลายๆประเทศก็รีแบรนด์ตราของตัวเองในลักษณะที่เป็นสากลขึ้น ให้เข้ากับความสมัยใหม่ เรียบง่าย ร่วมสมัย ซึ่งการใช้ตราพระราชทานในบางครั้งอาจมีปัญหาในเรื่องของความไม่เหมาะสมในการนำไปใช้"
“โดยแบบเดิมก็อาจจะใช้ในวาระที่สำคัญๆ และมีคุณค่า ส่วนแบบใหม่จะใช้ในแนวทางที่กว้างขวางกับทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นสื่อหรือตามสาธารณะ ซึ่งผมคิดว่ามันเป็นเรื่องของการแสดงความความสากล”
ขณะที่ นาย ประสพโชค ธนะเศรษฐวิไล ก็กล่าวเพิ่มเติมว่า “ตราพระราชทานเป็นสิ่งที่สูงส่ง เพราะเป็นตราที่พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทาน จึงควรใช้เฉพาะในโอกาสที่สำคัญๆ ซึ่งการจะเอามาใช้กับเรื่องทั่วๆไปจึงไม่น่าจะเหมาะสม”
นอกจากนี้ นาย ศรัณย์ บุลสุข ก็ให้ความเห็นเกี่ยวกับการรีแบรนด์ตราสัญลักษณ์ทีมชาติไทยว่า “สมัยนี้มีช่องทางในการใช้ตราสัญลักษณ์มากกว่าแต่ก่อน ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อนในการนำไปวางบนสื่อต่างๆ เพราะฉะนั้นจึงต้องมีการปรับใช้ที่ง่ายและมีความเป็นสากล”
ทั้งนี้ผู้ชนะเลิศจะได้รับรางวัล 100,000 บาท และรางวัลชมเชย 2 รางวัลๆ ละ 30,000 บาท สำหรับผู้ชนะเลิศนั้น จะได้รับเชิญจากทางสมาคมฯ เพื่อทำการมอบรางวัลและหารือถึงการพัฒนาจนสมบูรณ์เพื่อนำไปใช้งานในกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับทีมชาติไทยต่อไป
แบบที่ 1
ผลงานลำดับที่ 1 โดย ปริตณัฐ เครืออารีย์
ความเห็นจากคณะกรรมการ :
อ. ปัญญา วิจินธนสาร “ความน่าสนใจก็คือการออกแบบค่อนข้างเรียบง่าย และเห็นตราชัด รวมถึงปีที่ก่อตั้ง แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการจากอดีต ซึ่งความโดดเด่นคือการใช้ช้างทั้งตัวเข้ามาเป็นแบบ เพราะไม่ค่อยได้เห็นใครใช้แบบนี้”
นาย ประสพโชค ธนะเศรษฐวิไล “เป็นชิ้นที่ทำขึ้นมาตรงตามโจทย์ของเรา และเป็นหนึ่งในไม่กี่แบบที่ส่งมาเป็นช้างเต็มตัว มีคชาภรณ์เป็นช้างศึก”
นาย วรทิตย์ เครือวาณิชกิจ “แบบนี้ก็นำเสนอความแตกต่างจากแบบอื่นๆ และตรงตามโจทย์ที่ตั้งไว้ แต่มีความเป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง”
แบบที่ 2
ผลงานลำดับที่ 2 โดย Adiet Firmansyah
ความเห็นจากคณะกรรมการ
อ. ปัญญา วิจินธนสาร - “มันเปี่ยมไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ของหัวช้าง ความอิ่มสมบูรณ์ของรูปทรงและตัวหนังสือ มีความผสมผสานกันระหว่างความอ่อนช้อยของความเป็นไทย แต่ถูกปรับให้ดูเรียบง่ายขึ้น ถือว่าเป็นหนึ่งในแบบที่สมบูรณ์แบบที่สุดเลยทีเดียว”
นาย ประสพโชค ธนะเศรษฐวิไล - “ใช้ลวดลายน้อย แต่ใช้ความคิดเยอะ จะเห็นได้ว่ามีการใช้สีของธงชาติเป็นรูปทรง ให้เกิดเอกลักษณ์ขึ้นมา”
นาย วรทิตย์ เครือวาณิชกิจ - “ส่วนตัวผมชอบ 3 ชิ้นตรงกลาง เป็นการจัดพื้นที่ของรูป และพื้นที่ว่างที่อยู่รอบๆรูปได้อย่างลงตัว ความดุดัน ความเป็นไทย ดูมีครบ”
แบบที่ 3
ผลงานลำดับที่ 3 โดย ต่อพงศ์ บูรณพิเชษฐ์
ความเห็นของคณะกรรมการ :
อ. ปัญญา วิจินธนสาร - “มันมีทั้งความทันสมัยและความเรียบง่าย หัวช้างดูขึงขัง และมีรูปธงชาติ มีพลัง มีความเคลื่อนไหวอยู่ ซึ่งต่างจากคนอื่นๆ แล้วการเล่นน้ำหนักทำได้สวยมาก และยังสามารถใช้วางบนสื่ออื่นๆได้อีกเนื่องจากความเป็นสากลของมัน”
นาย ประสพโชค ธนะเศรษฐวิไล - “มันมีความร่วมสมัย กลมกลืนกันระหว่างสมัยเก่ากับสมัยใหม่ ซึ่งเหมาะที่จะใช้กับทุกวาระโอกาส ไม่ว่าจะเป็นทั้งในแบบทางการหรือไม่เป็นทางการ”
นาย วรทิตย์ เครือวาณิชกิจ - “เป็นชิ้นที่ลงตัวมากอีกชิ้นหนึ่ง ดูแล้วน่าจะใช้วางลงสื่อต่างๆ ได้เยอะด้วย การจัดวางพื้นที่ก็ทำได้ดี ถึงแม้ว่ามันอาจจะดูไม่เหมือนโล่ห์แบบไทยๆ เท่าไร แต่ก็น่าจะปรับไปพัฒนาได้ ย่อ ขยาย ได้ไม่เป็นปัญหา”
แบบที่ 4
ผลงานลำดับที่ 4 โดย พิสุทธิ์ กองกิจ
ความเห็นจากคณะกรรมการ :
อ. ปัญญา วิจินธนสาร - “มันมีความผสมผสานระหว่างลวดลายไทย กับลวดลายช้างเข้าด้วยกัน เขาไม่ได้มีความว่าจะต้องมีกรอบหรือโครงสร้างมากำหนด ให้ตัวลวดลายเป็นตัวแสดงพลังของมันออกมาเอง ก็เป็นอีกแบบที่เราเห็นว่าน่าสนใจ”
นาย ประสพโชค ธนะเศรษฐวิไล - “เขามีความฉลาดในการสร้างรูปทรงที่สมดุลขึ้นมาให้เป็นรูปช้าง ก็จะเห็นเป็นรูปทรงง่ายๆเลยว่าเป็นช้าง ซึ่งตรงกับแนวคิดของเรา”
นาย วรทิตย์ เครือวาณิชกิจ - “ความสมดุลถือว่าเป็นสัญลักษณ์ที่ทรงพลังที่สุด นำไปวางตรงไหนก็จะดูดุและมีความเป็นพลัง ก็ชอบความเรียบง่ายของมันด้วย เวลาไปใช้ในสื่อต่างๆ ก็สามารถทำได้ง่าย การจัดวางพื้นที่ว่างก็ทำได้ดี”
แบบที่ 5
ผลงานลำดับที่ 5 โดย รณชิต แสนปิง
ความเห็นจากคณะกรรมการ
อ. ปัญญา วิจินธนสาร -“ถือเป็นแบบที่น่าสนใจมาก เขาคิดนอกกรอบจากสัญลักษณ์หรือแบบที่มาใช้ในเรื่องของกีฬา ใช้ตัวอักษรผสมสานเป็นโลโก้อันใหม่ขึ้นมา ถือว่ามีชั้นเชิงมาก”
นาย ประสพโชค ธนะเศรษฐวิไล - “เขาหลุดออกจากความคิดเก่า แล้วใช้โครงสร้างของรูปทรงเรขาคณิตมาใช้เป็นแบบฟอร์มขึ้นมา แสดงถึงเอกลักษณ์ของความเป็นช้าง มันบ่งบอกถึงความกล้าหาญในการออกแบบออกจากสิ่งเก่าๆ”
นาย วรทิตย์ เครือวาณิชกิจ - “ผมชอบในความกล้าของเขาในการวาดช้างออกมาในแบบที่เราไม่คาดคิด การใช้เส้นน้ำหนักเดียว หรือการย่อขยายทำได้ง่าย ชอบความเรียบง่ายของมัน ที่เลือกเพราะอยากให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างการวาดภาพประกอบและสัญลักษณ์ ซึ่งเรากำลังมองหาสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์อยู่ และนี่ก็เป็นตัวอย่างที่ดี”
โดยแฟนบอลสามารถไปกดโหวตได้ที่
http://fathailand.org/campaign/2/voting
ที่มา
https://manager.co.th/Sport/ViewNews.aspx?NewsID=9600000081589
*** ปิดโหวต วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2560 เวลา 16:19:57 น.
มาร่วมโหวตเลือกโลโก้ช้างศึกแบบใหม่กันครับ
ชมโฉม 5 โลโก้ใหม่ของทีมฟุตบอลทีมชาติไทย คณะกรรมการเลือกจากผู้ส่งเข้าประกวด พร้อมเปิดให้แฟนบอลร่วมโหวตเพื่อนำไปใช้ได้ถึงวันที่ 31 สิงหาคมนี้
ภายหลังจากสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย มีแผนที่จะเปลี่ยโลโก้ทีมฟุตบอลทีมชาติไทยใหม่ โดยมีการตั้งคณะกรรมการคัดเลือก พร้อมเปิดให้มีการออกแบบนำและเข้าประกวด จากผู้ส่งเข้าร่วมมากกว่า 1,000 ชิ้น ล่าสุดสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯก็ได้ทำการคัดเลือกในเบื้องต้น โดยมี นายพาทิศ ศุภะพงษ์ รองเลขาธิการฝ่ายต่างประเทศและโฆษกสมาคมฯ , นายศรัณย์ บุลสุข รองประธานบริษัท แพลน บี อีเลฟเว่น จำกัด , อาจารย์ปัญญา วิจินธนสาร ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ จิตรกรรม ประจำปี 2557, นาย ประสพโชค ธนะเศรษฐวิไล ผู้ออกแบบงานสร้างและกำกับศิลป์ภาพยนตร์เรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ผู้คร่ำหวอดเรื่องประวัติศาสตร์ และ นาย วรทิตย์ เครือวาณิชกิจ ผู้ก่อตั้งบริษัท ฟาร์มกรุ๊ป และกราฟิคดีไซเนอร์ผู้ออกแบบสัญลักษณ์ไทยลีก เป็นคณะกรรมการร่วมตัดสิน
ซึ่งทางคณะกรรมการได้ทำการคัดเลือกผลงานที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อกำหนด โดยพิจารณาถึงความสวยงาม, ความร่วมสมัย รวมถึงความคิดสร้างสรรค์ จนได้ 5 ผลงานในรอบสุดท้าย อันได้แก่
1. นายปริตณัฐ เครืออารีย์
2. Mr. Adiet Firmansyah
3. นายต่อพงศ์ บูรณพิเชษฐ์
4. นายพิสุทธิ์ กองกิจ
5. นายรณชิต แสนปิง
โดยสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ จะทำการเปิดให้แฟนบอลโหวตเพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาตัดสินครั้งสุดท้าย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2560 ก่อนที่จะประกาศผลอย่างเป็นทางการ และสมาคมฯ จะนำผลงานไปพัฒนาต่อจนสมบูรณ์
ทางด้านของ อ. ปัญญา วิจินธนสาร กล่าวเสริมว่า “สำหรับตราสัญลักษณ์แบบดั้งเดิมนั้น เป็นการแสดงให้เห็นว่าเรามีประวัติศาสตร์ จากการที่พระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานตราสัญลักษณ์ด้วยพระองค์เอง แสดงออกถึงความสง่างามความสูงส่ง”
“แต่ในปัจจุบัน ผมคิดว่าการใช้งานตราสัญลักษณ์ฟุตบอลได้เปลี่ยนสถานะไป ซึ่งสมาคมฟุตบอลหลายๆประเทศก็รีแบรนด์ตราของตัวเองในลักษณะที่เป็นสากลขึ้น ให้เข้ากับความสมัยใหม่ เรียบง่าย ร่วมสมัย ซึ่งการใช้ตราพระราชทานในบางครั้งอาจมีปัญหาในเรื่องของความไม่เหมาะสมในการนำไปใช้"
“โดยแบบเดิมก็อาจจะใช้ในวาระที่สำคัญๆ และมีคุณค่า ส่วนแบบใหม่จะใช้ในแนวทางที่กว้างขวางกับทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นสื่อหรือตามสาธารณะ ซึ่งผมคิดว่ามันเป็นเรื่องของการแสดงความความสากล”
ขณะที่ นาย ประสพโชค ธนะเศรษฐวิไล ก็กล่าวเพิ่มเติมว่า “ตราพระราชทานเป็นสิ่งที่สูงส่ง เพราะเป็นตราที่พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทาน จึงควรใช้เฉพาะในโอกาสที่สำคัญๆ ซึ่งการจะเอามาใช้กับเรื่องทั่วๆไปจึงไม่น่าจะเหมาะสม”
นอกจากนี้ นาย ศรัณย์ บุลสุข ก็ให้ความเห็นเกี่ยวกับการรีแบรนด์ตราสัญลักษณ์ทีมชาติไทยว่า “สมัยนี้มีช่องทางในการใช้ตราสัญลักษณ์มากกว่าแต่ก่อน ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อนในการนำไปวางบนสื่อต่างๆ เพราะฉะนั้นจึงต้องมีการปรับใช้ที่ง่ายและมีความเป็นสากล”
ทั้งนี้ผู้ชนะเลิศจะได้รับรางวัล 100,000 บาท และรางวัลชมเชย 2 รางวัลๆ ละ 30,000 บาท สำหรับผู้ชนะเลิศนั้น จะได้รับเชิญจากทางสมาคมฯ เพื่อทำการมอบรางวัลและหารือถึงการพัฒนาจนสมบูรณ์เพื่อนำไปใช้งานในกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับทีมชาติไทยต่อไป
แบบที่ 1
ผลงานลำดับที่ 1 โดย ปริตณัฐ เครืออารีย์
ความเห็นจากคณะกรรมการ :
อ. ปัญญา วิจินธนสาร “ความน่าสนใจก็คือการออกแบบค่อนข้างเรียบง่าย และเห็นตราชัด รวมถึงปีที่ก่อตั้ง แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการจากอดีต ซึ่งความโดดเด่นคือการใช้ช้างทั้งตัวเข้ามาเป็นแบบ เพราะไม่ค่อยได้เห็นใครใช้แบบนี้”
นาย ประสพโชค ธนะเศรษฐวิไล “เป็นชิ้นที่ทำขึ้นมาตรงตามโจทย์ของเรา และเป็นหนึ่งในไม่กี่แบบที่ส่งมาเป็นช้างเต็มตัว มีคชาภรณ์เป็นช้างศึก”
นาย วรทิตย์ เครือวาณิชกิจ “แบบนี้ก็นำเสนอความแตกต่างจากแบบอื่นๆ และตรงตามโจทย์ที่ตั้งไว้ แต่มีความเป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง”
แบบที่ 2
ผลงานลำดับที่ 2 โดย Adiet Firmansyah
ความเห็นจากคณะกรรมการ
อ. ปัญญา วิจินธนสาร - “มันเปี่ยมไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ของหัวช้าง ความอิ่มสมบูรณ์ของรูปทรงและตัวหนังสือ มีความผสมผสานกันระหว่างความอ่อนช้อยของความเป็นไทย แต่ถูกปรับให้ดูเรียบง่ายขึ้น ถือว่าเป็นหนึ่งในแบบที่สมบูรณ์แบบที่สุดเลยทีเดียว”
นาย ประสพโชค ธนะเศรษฐวิไล - “ใช้ลวดลายน้อย แต่ใช้ความคิดเยอะ จะเห็นได้ว่ามีการใช้สีของธงชาติเป็นรูปทรง ให้เกิดเอกลักษณ์ขึ้นมา”
นาย วรทิตย์ เครือวาณิชกิจ - “ส่วนตัวผมชอบ 3 ชิ้นตรงกลาง เป็นการจัดพื้นที่ของรูป และพื้นที่ว่างที่อยู่รอบๆรูปได้อย่างลงตัว ความดุดัน ความเป็นไทย ดูมีครบ”
แบบที่ 3
ผลงานลำดับที่ 3 โดย ต่อพงศ์ บูรณพิเชษฐ์
ความเห็นของคณะกรรมการ :
อ. ปัญญา วิจินธนสาร - “มันมีทั้งความทันสมัยและความเรียบง่าย หัวช้างดูขึงขัง และมีรูปธงชาติ มีพลัง มีความเคลื่อนไหวอยู่ ซึ่งต่างจากคนอื่นๆ แล้วการเล่นน้ำหนักทำได้สวยมาก และยังสามารถใช้วางบนสื่ออื่นๆได้อีกเนื่องจากความเป็นสากลของมัน”
นาย ประสพโชค ธนะเศรษฐวิไล - “มันมีความร่วมสมัย กลมกลืนกันระหว่างสมัยเก่ากับสมัยใหม่ ซึ่งเหมาะที่จะใช้กับทุกวาระโอกาส ไม่ว่าจะเป็นทั้งในแบบทางการหรือไม่เป็นทางการ”
นาย วรทิตย์ เครือวาณิชกิจ - “เป็นชิ้นที่ลงตัวมากอีกชิ้นหนึ่ง ดูแล้วน่าจะใช้วางลงสื่อต่างๆ ได้เยอะด้วย การจัดวางพื้นที่ก็ทำได้ดี ถึงแม้ว่ามันอาจจะดูไม่เหมือนโล่ห์แบบไทยๆ เท่าไร แต่ก็น่าจะปรับไปพัฒนาได้ ย่อ ขยาย ได้ไม่เป็นปัญหา”
แบบที่ 4
ผลงานลำดับที่ 4 โดย พิสุทธิ์ กองกิจ
ความเห็นจากคณะกรรมการ :
อ. ปัญญา วิจินธนสาร - “มันมีความผสมผสานระหว่างลวดลายไทย กับลวดลายช้างเข้าด้วยกัน เขาไม่ได้มีความว่าจะต้องมีกรอบหรือโครงสร้างมากำหนด ให้ตัวลวดลายเป็นตัวแสดงพลังของมันออกมาเอง ก็เป็นอีกแบบที่เราเห็นว่าน่าสนใจ”
นาย ประสพโชค ธนะเศรษฐวิไล - “เขามีความฉลาดในการสร้างรูปทรงที่สมดุลขึ้นมาให้เป็นรูปช้าง ก็จะเห็นเป็นรูปทรงง่ายๆเลยว่าเป็นช้าง ซึ่งตรงกับแนวคิดของเรา”
นาย วรทิตย์ เครือวาณิชกิจ - “ความสมดุลถือว่าเป็นสัญลักษณ์ที่ทรงพลังที่สุด นำไปวางตรงไหนก็จะดูดุและมีความเป็นพลัง ก็ชอบความเรียบง่ายของมันด้วย เวลาไปใช้ในสื่อต่างๆ ก็สามารถทำได้ง่าย การจัดวางพื้นที่ว่างก็ทำได้ดี”
แบบที่ 5
ผลงานลำดับที่ 5 โดย รณชิต แสนปิง
ความเห็นจากคณะกรรมการ
อ. ปัญญา วิจินธนสาร -“ถือเป็นแบบที่น่าสนใจมาก เขาคิดนอกกรอบจากสัญลักษณ์หรือแบบที่มาใช้ในเรื่องของกีฬา ใช้ตัวอักษรผสมสานเป็นโลโก้อันใหม่ขึ้นมา ถือว่ามีชั้นเชิงมาก”
นาย ประสพโชค ธนะเศรษฐวิไล - “เขาหลุดออกจากความคิดเก่า แล้วใช้โครงสร้างของรูปทรงเรขาคณิตมาใช้เป็นแบบฟอร์มขึ้นมา แสดงถึงเอกลักษณ์ของความเป็นช้าง มันบ่งบอกถึงความกล้าหาญในการออกแบบออกจากสิ่งเก่าๆ”
นาย วรทิตย์ เครือวาณิชกิจ - “ผมชอบในความกล้าของเขาในการวาดช้างออกมาในแบบที่เราไม่คาดคิด การใช้เส้นน้ำหนักเดียว หรือการย่อขยายทำได้ง่าย ชอบความเรียบง่ายของมัน ที่เลือกเพราะอยากให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างการวาดภาพประกอบและสัญลักษณ์ ซึ่งเรากำลังมองหาสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์อยู่ และนี่ก็เป็นตัวอย่างที่ดี”
โดยแฟนบอลสามารถไปกดโหวตได้ที่ http://fathailand.org/campaign/2/voting
ที่มา https://manager.co.th/Sport/ViewNews.aspx?NewsID=9600000081589